สร้างสมดุลให้โลกดิจิทัล

Loading

    ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย   วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันเคยชินกับการใช้ชีวิตคู่ขนานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง และชีวิตในโลกดิจิทัลสลับกันไปมาอย่างคุ้นเคย ไม่ว่าจะใช้ชีวิตส่วนตัวหรือชีวิตการทำงานในโลกจริงมาทั้งวันแต่เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนไปใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลก็ทำได้อย่างไร้รอยต่อ   เพราะเราคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างก้าวกระโดดเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว จากจุดเริ่มต้นในการใช้งานในด้านธุรกิจและสถาบันการศึกษา เมื่อมาถึงยุคโซเชียลมีเดีย อินเทอร์เน็ตก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนในยุคปัจจุบันไปแล้ว   แต่ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกยังมีให้เราเห็นและก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาะเรื่องความเสี่ยงในการใช้งานโดยเฉพาะด้านการดูแลสินทรัพย์ส่วนบุคคลที่ในโลกแห่งความเป็นจริงเรามักจะเข้มงวดมาก   ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากที่ต้องคิดให้ดีว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือสถาบันการเงินแห่งใด เพราะปัจจุบันมีการคุ้มครองเงินฝากเหลือเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น การคำนึงถึงความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของสถาบันการเงินที่เราจะเอาเงินไปฝากไว้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก   นอกเหนือจากนั้นก็ยังต้องรู้จักกระจายความเสี่ยงด้วยการถือครองสินทรัพย์ประเภทอื่นเพิ่มเติม รวมไปถึงของมีค่าอื่นๆ ที่ต้องคิดถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก การเก็บรักษาจึงมักกระจายทั้งเก็บไว้ที่บ้าน ที่ทำงาน รวมไปถึงบ้านพ่อแม่ ฯลฯ   หรือไม่ก็เก็บไว้ในตู้เซฟที่สถาบันการเงินต่างๆ มีไว้ให้บริการซึ่งก็จำเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเช่นกันว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือบริษัทอื่นใด จะเลือกใช้บริการที่สาขาไหนระหว่างสำนักงานใหญ่หรือสาขาย่อยที่ใกล้บ้าน   เราจะเห็นความเข้มงวดในการใช้ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงที่สวนทางกับโลกดิจิทัลโดยสิ้นเชิง เพราะสำหรับคนทั่วไปแล้วมักจะมีความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัลที่ต่ำกว่าโลกแห่งความเป็นจริงมาก   อาจเป็นเพราะเราเห็นแก่ความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานจนมองข้ามความปลอดภัยจนทำให้เราขาดสมดุลในการใช้งานระหว่างโลกทั้งสองโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วระบบการจัดการสินทรัพย์ในโลกดิจิทัลนั้นมีความซับซ้อนสูงมาก แต่เรากลับมองข้ามไปและสนใจแต่ความสะดวกที่ตัวเองจะได้รับเท่านั้น   ที่สุดแล้วเราจึงมักจะให้ข้อมูลและสิทธิในการเข้าถึงความเป็นส่วนตัวของเรากับระบบดิจิทัลมากเกินความจำเป็น จนหลายแพลตฟอร์มที่ให้บริการออนไลน์แก่เราอยู่ในทุกวันนี้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้จำนวนมหาศาล และเมื่อบริหารจัดการไม่เหมาะสมก็อาจมีข้อมูลหลุดรั่วออกมาตามที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ   ซึ่งข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเหล่านี้มีทั้งข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ไปจนถึงข้อมูลเชิงพฤติกรรมซึ่งก็คือรอยเท้าดิจิทัลที่เก็บบันทึกไว้อย่างละเอียดว่าเราเข้าไปที่เว็บใด สนใจเนื้อหาแบบไหน…

ChatGPT ความเสี่ยงจาก การสร้างเนื้อหาที่ผิดพลาด

Loading

    ChatGPT เป็นตัวอย่างหนึ่งของ Generative AI ที่สามารถสร้างเนื้อหาได้เองกำลังเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งนำมาเขียนจดหมาย รายงาน บทความ หรือช่วยระดมความคิดเห็นต่างๆ รวมไปจนถึงนำไปเขียนโค้ดในการพัฒนาโปรแกรม   ChatGPT เป็นตัวอย่างหนึ่งของ Generative AI ที่สามารถสร้างเนื้อหาได้เองกำลังเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งนำมาเขียนจดหมาย รายงาน บทความ หรือช่วยระดมความคิดเห็นต่างๆ รวมไปจนถึงนำไปเขียนโค้ดในการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งเราจะเห็นความน่าทึ่งจากความสามารถของ ChatGPT ในการสร้างข้อมูล   แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ยังพบว่า ChatGPT อาจจินตนาการและสร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมาได้ด้วย จนเริ่มมีคำถามว่าเราควรจะอนุญาตให้มีการใช้ ChatGPT ในงานด้านต่างๆ เพียงใด และหากมีการนำมาใช้งานจำเป็นจะต้องระบุด้วยหรือไม่ว่าเนื้อหาถูกสร้างจาก ChatGPT   เหตุผลหลักที่ทำให้ ChatGPT สร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้นั้น เกิดจากการที่ ChatGPT ได้รับการเรียนรู้มาด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาลจากเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต ที่อาจประกอบไปด้วยข้อมูลทั้งที่ถูกต้อง และที่ไม่ถูกต้อง ซึ่ง ChatGPT ไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากการเรียนรู้ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่มันจะสร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกมาในบางครั้งจากคลังความรู้ที่ผิดๆ บางส่วน   นอกจากนี้ ChatGPT ถูกฝึกอบรมมาจากข้อมูลถึงเมื่อเดือนกันยายน…

เรื่องต้องรู้? “ประชุมออนไลน์” ต้องมี 7 องค์ประกอบที่ ก.ม. รองรับ!

Loading

    กำลังเป็นประเด็นร้อนของสังคม อย่างมากสำหรับกรณี คลิปการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 66 ของ ไอทีวี เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 66 กับรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น   กำลังเป็นประเด็นร้อนของสังคม อย่างมากสำหรับกรณี คลิปการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 66 ของ ไอทีวี เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 66 กับรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 66 ในประเด็นที่ว่า ไอทีวี ยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับสื่อหรือไม่ ที่พบว่า การตอบคำถามสถานะบริษัทเรื่องธุรกิจสื่อ กลับพบคำตอบไม่ตรงกับเอกสารรายงานการประชุม   โดย รายการ “ข่าว 3 มิติ” นำมาเปิดเผยที่แรก จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง และมีการตั้งข้อสังเกตว่า มีการแก้ไขรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นหรือไม่   ซึ่งการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 66 ของ ไอทีวี เป็นการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า การประชุมออนไลน์ หรือ อี-มีทติ้ง (e-Meeting)   วันนี้พามารู้จักกันว่า…

ใครคือ ‘เทด คาซินสกี’ เจ้าของฉายา ‘ยูนาบอมเบอร์’

Loading

    วันที่ 4 พฤษภาคม 1998 ผู้พิพากษาประกาศคำตัดสินลงโทษจำคุก ธีโอดอร์ จอห์น คาซินสกี หรือที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อ ‘ยูนาบอมเบอร์’ ตลอดชีวิต และให้คุมขังไว้ในเรือนจำซึ่งมีการดูแลความปลอดภัยขั้นสูงสุด นับแต่นั้นมา คาซินสกีต้องไปชดใช้กรรมความผิดที่ ‘เอดีเอ็กซ์ ฟลอเรนซ์’ ในรัฐโคโลราโด ซึ่งนับเป็นเรือนจำที่มีมาตรการควบคุมนักโทษที่เข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ห้องขังของเขามีความกว้างขนาด 3.60 x 3.60 เมตร หรือขนาดใกล้เคียงกับกระท่อมที่เขาใช้เป็นสถานที่ประดิษฐ์ระเบิด   เทด คาซินสกี เริ่มประดิษฐ์พัสดุบรรจุระเบิดที่กระท่อมในป่าเขตรัฐมอนทานาตั้งแต่ปี 1978 และจัดส่งไปทั่วประเทศ ระเบิดของเขาคร่าชีวิตเหยื่อไป 3 ราย และบาดเจ็บอีก 23 คน ส่วนหนึ่งบาดเจ็บสาหัส การส่งพัสดุระเบิดของเขากินเวลาต่อเนื่องยาวนานถึง 17 ปี และนับเป็นการติดตามหาตัวคนร้ายที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อาชญากรรมของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป้าหมายระเบิดครั้งแรกเขามุ่งไปที่มหาวิทยาลัยและสายการบิน เจ้าหน้าที่สืบสวนจึงตั้งฉายาเขาว่า ‘ยูนาบอมเบอร์’ จากอักษรตัวแรกของเป้าหมายระเบิด คาซินสกีเลือกเหยื่อของเขาแบบไม่ตั้งใจ สำหรับเขาแล้วมันคือสัญลักษณ์ของวิถีชีวิตที่ใช้เทคโนโลยีในการทำลายความสงบสุขของสังคม   เขาเกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1942 ในชิคาโก…

Binance เตือนผู้ใช้ระวังสแกมเมอร์สวมรอย Gulf Binance หลอกร่วมลงทุน

Loading

    ในโลกที่คนส่วนใหญ่สามารถสร้างโปรไฟล์โซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ปลายนิ้ว จึงไม่น่าแปลกใจหากคุณจะเจอแอคเคาท์ปลอมของบุคคลหรือองค์กรที่เป็นที่รู้จักตามหน้าโซเชียลมีเดีย คอมเมนท์ตามโพสต์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งในแอปพลิเคชันแชท อย่าง Telegram ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว องค์กรต่างๆ ไม่สามารถควมคุมแอคเคาท์ปลอมบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเหล่านี้ได้ จึงทำให้เหล่าผู้ไม่หวังดีสามารถสร้างแอคเคาท์ปลอมขึ้นมาใหม่ได้อย่างง่ายดายในเวลาแค่ไม่กี่วินาที แม้ว่าองค์กรต่างๆ จะพยายามอย่างหนักที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นไปที่ผู้ผลิตแพลตฟอร์มโดยตรงก็ตาม   บทความของ Binance ชิ้นนี้ จึงมุ่งเน้นไปที่การปกป้องผู้ใช้จากการตกเป็นเหยื่อของสแกมเมอร์ที่แอบอ้างเป็นองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อหลอกให้ผู้ใช้โอนเงินหรือแชร์ข้อมูลส่วนตัว โดยสแกมเมอร์เหล่านี้มักจะสร้างเรื่องเท็จที่อ้างอิงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน พร้อมเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมที่หลากหลาย โดยพวกเขาอาจจะติดต่อเหยื่อผ่านทางโทรศัพท์ การส่งข้อความ หรืออีเมล หรือแม้กระทั่งตั้งคอลเซ็นเตอร์ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์เพื่อเพิ่มความสมจริงและทำให้ดูเหมือนเป็นองค์กรที่ถูกต้องตามกฏหมาย   สำหรับประเทศไทย การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตหรือสแกมนั้นเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง โดยมีรายงานว่ามีเหยื่อได้รับความเสียหายจากการถูกโจรกรรมคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 31,580 ล้านบาทภายในหนี่งปี ทั้งนี้ การหลอกลวงโดยแอบอ้างชื่อองค์กรบนแพตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อย่าง Facebook ได้เกิดขึ้นกับ Gulf Binance ด้วยเช่นกัน ภายหลังจากที่บริษัทร่วมทุนระหว่าง Binance และ Gulf ได้รับใบอนุญาตผู้ประกอบกิจการสินทรัพย์ดิจิทัลจากกระทรวงการคลังของประเทศไทย ผ่านสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)   ตัวแทนจาก Gulf Binance กล่าวว่า “บริษัทกำลังอยู่ในขั้นตอนของการเตรียมความพร้อมศูนย์ซื้อขายและนายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้เป็นไปตามกำหนดการที่จะเปิดให้บริการภายในไตรมาสที่ 4…

ภัยออนไลน์ ที่จ้องเล่นงานคุณ

Loading

    ภัยออนไลน์ ที่ยังระบาดอย่างต่อเนื่อง ระวังตัวให้ดี เงินที่หามาแสนลำบาก อาจโดนปล้นไปโดยไม่รู้ตัว งั้นวันนี้เรามาอัพเดทกันหน่อยดีกว่าว่า โจรที่มากับโลกอินเทอร์เน็ต จะมาขโมยเงินของเราในรูปแบบไหนบ้าง และวิธีป้องกัน   เริ่มจากภัยหลายๆ คนมองข้าม คิดว่าไม่มีอะไร แต่หารู้ไม่ว่ากำลังเปิดประตูให้โจรเข้ามาในเครื่องของคุณ นั้นก็คือการ WiFi ฟรี   ภัยออนไลน์ WiFi ฟรี   WiFi ฟรีที่มาจากร้านกาแฟ ร้านอาหาร สนามบิน ที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่เราจะรู้ได้ยังว่า WiFi ตัวนั้นปล่อยออกมาจากร้านนั้นจริงๆ ไม่ได้มีใครก็ไม่รู้ที่เปิดคอมพิวเตอร์แล้วปล่อยสัญญาณ WiFi ที่ตั้งชื่อแบบเดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้ เราไม่มีทางรู้เลย แล้วคนร้ายที่แอบปล่อยสัญญาณก็สามารถเห็นการกระทำบนโลกอินเทอร์เน็ตของเราทุกอย่าง ถึงหลายคนจะบอกว่า https นั้นเข้ารหัส แต่มันก็ใช้ว่าจะถอดไม่ได้ เมื่อคุณอยู๋ในวง WiFi ของเขา ก็เหมือนคุณอยู่ในเงื้อมือของเขาเช่นกัน เพราะทุกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คนร้ายจะเป็นคนกลาง หรือที่เรียกว่า Man in the Middle เขาสามารถเห็นทุกอย่าง และยังสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลทุกอย่างได้ด้วย​…