เมื่อข้อมูลลูกค้ารั่ว

Loading

  ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลกลายเป็นสิ่งมีค่ามหาศาล การรั่วไหลของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลบัตรเครดิตถือเป็นฝันร้ายของทั้งบริษัทและลูกค้า เหตุการณ์เหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายทางการเงิน แต่ยังบั่นทอนความเชื่อมั่นและชื่อเสียงขององค์กรอย่างรุนแรง   หนึ่งในคดีความที่โด่งดังที่สุดและส่งผลกระทบต่อวงการธุรกิจอย่างกว้างขวางคือ คดี Target Corporation Data Security Breach ในปี 2013   Target ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ถูกแฮ็กเกอร์โจมตีจนทำให้ข้อมูลบัตรเครดิตและเดบิตของลูกค้ากว่า 40 ล้านคนรั่วไหล   เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ Target ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) ในข้อหาละเลยและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย   ส่งผลให้ Target ต้องจ่ายเงินชดเชยกว่า 100 ล้านดอลลาร์เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเครดิต ค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย และการชดเชยความเสียหายอื่น ๆ   คดีที่คล้ายคลึงกันนี้เกิดขึ้นกับ Home Depot ในปี 2014 ซึ่งข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้ากว่า 56 ล้านคนถูกขโมยไป Home Depot ถูกฟ้องร้องในข้อหาละเลยเช่นเดียวกับ Target และต้องจ่ายเงิน 179 ล้านดอลลาร์เป็นค่าชดเชยและค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี และค่าปรับปรุงระบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน…

เกิดอะไรขึ้นในจอร์เจีย ประชาชนประท้วงเดือด จี้รัฐจัดการเลือกตั้งใหม่

Loading

    จอร์เจียตกอยู่ในความวุ่นวายนับตั้งแต่พรรค “จอร์เจียน ดรีม” คว้าชัยชนะในการเลือกตั้งรัฐสภาเมื่อ 26 ต.ค. 2567 ซึ่งกลุ่มฝ่ายค้านกล่าวหาว่ามีการโกงเกิดขึ้นแล้ว   ชาวจอร์เจียหลายหมื่นคนออกมาชุมนุมกันที่หน้าอาคารรัฐสภาในกรุงทบิลิซีอีกครั้งเมื่อวันที่ 28 พ.ย. และเคลื่อนไหวต่อเนื่องจนถึงช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อประท้วงต่อต้านการตัดสินใจของรัฐบาล ที่จะระงับการเจรจาขอเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ไปจนถึงปี 2571   ตำรวจถูกส่งออกมาปราบปรามการชุมนุม โดยใช้ทั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูงและแก๊สน้ำตา จนมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก แต่ฝ่ายผู้ประท้วงก็ขว้างปาดอกไม้ไฟ ก้อนหิน และวัตถุต่างๆ เข้าใส่เจ้าหน้าที่ จนมีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 42 ราย และมีผู้ชุมนุมถูกจับกุมอีก 107 คน   อะไร เป็นสาเหตุทำให้จอร์เจียตกอยู่ในความวุ่นวายเช่นนี้?     ความไม่สงบในจอร์เจีย พรรคจอร์เจียน ดรีม ซึ่งปกครองจอร์เจียมาตั้งแต่ปี 2555 ถูกวิพากษ์วิจารณ์หลายครั้งว่าพยายามพาประเทศออกห่างจากสหภาพยุโรป และเข้าหารัสเซียมากขึ้น โดยก่อนจะถึงการเลือกตั้ง พวกเขาเร่งผลักดันผ่านกฎหมายเล่นงานองค์กรภาคประชาสังคมอิสระ และจำกัดสิทธิของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ   หลังจากพวกเขาอ้างตัวเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเมื่อ 26 ต.ค.…

ลอนดอนทดลองใช้ AI ช่วยควบคุมการจราจรทางอากาศในสนามบิน

Loading

    สนามบินฮีทโธรว์ (Heathrow Airport) ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หนึ่งในสนามบินที่มีการใช้งานมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก กำลังทดลองใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เพื่อช่วยควบคุมการจราจรทางอากาศ และการใช้งานในสนามบิน เพื่อปรับปรุงด้านประสิทธิภาพ และความปลอดภัย   สนามบินฮีทโธรว์ เผชิญกับความท้าทายในการจัดการเครือข่ายการจราจรทางอากาศมาอย่างต่อเนื่อง โดย แนตส์ (NATS) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดูแลการควบคุมการจราจรทางอากาศของสนามบินแห่งนี้เผยว่า บริษัทต้องจัดการเที่ยวบินเกือบ 475,000 เที่ยวบินต่อปี หรือราว 1,400 เที่ยวบินในแต่ละวัน   ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการบินยุคใหม่ สนามบินฮีทโธรว์ จึงได้เริ่มทดลองใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ ที่มีชื่อว่า เอมี่ (Amy) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบควบคุมการจราจรทางอากาศแบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ   ตัวระบบออกแบบให้ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่มนุษย์ เพื่อช่วยให้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการจราจรทั้งภาคพื้นดิน และบนอากาศ ระบบที่ขับเคลื่อนด้วย AI นี้ จะใช้เครือข่ายกล้องความละเอียดระดับ 4K และเทคโนโลยีเรดาร์ โดยกล้องเหล่านี้ จะติดตั้งบนหอควบคุมการจราจรทางอากาศ และรอบ ๆ สนามบิน เพื่อสร้างภาพตำแหน่งเครื่องบินแบบองค์รวม ซึ่งช่วยเพิ่มความแม่นยำ และความปลอดภัย…

เช็ก 6 สถานที่ปลอดภัยที่สุด หากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 : สงครามนิวเคลียร์

Loading

    เปิดรายงานการศึกษาครั้งใหม่จากมหาวิทยาลัยนิโคเซีย ในไซปรัส ซึ่งมุ่งไปที่ผลลัพธ์เลวร้าย หากเกิดความขัดแย้งจนเป็น “สงครามนิวเคลียร์” โดยหลายประเทศอาจเผชิญภาวะอดอยากครั้งใหญ่ แล้วประเทศไหนปลอดภัยที่สุด   ขณะที่บางประเทศ เช่น อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และไอซ์แลนด์ จะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ ท่ามกลางความตึงเครียดทั่วโลกยังคงทวีความรุนแรงขึ้น ส่วนสถานที่หลบภัย ได้รับการพิจารณาว่า มีความปลอดภัยที่สุด เช่น นิวซีแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์   ถึงอย่างไรการทำความเข้าใจกับความเสี่ยงเหล่านี้ และการเตรียมพร้อม เพื่อความอยู่รอดจากสงครามนิวเคลียร์ จึงมีความสำคัญมากกว่าที่เป็นอยู่   ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มสูงขึ้น และความเสี่ยงให้เกิดความขัดแย้งนิวเคลียร์ กลายเป็นปัญหาที่น่าวิตกมากขึ้นเรื่อยๆ ในรายงานการศึกษาล่าสุด ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสาร Nature Food ได้เน้นย้ำถึงผลที่ตามมาอันเลวร้ายจากสงครามนิวเคลียร์ อาจมีผลต่อแหล่งอาหารของโลก นอกเหนือจากการทำลายล้างที่เป็นผลทันทีจากนิวเคลียร์ ซึ่งมาจากรังสี ความร้อน และผลกระทบแรงระเบิด   รายงานนี้สร้างขึ้นจากการจำลองสงครามนิวเคลียร์สร้างผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและพื้นที่เกษตรกรรม เผยให้เห็นผลคาดการณ์ชัดเจนว่า แหล่งผลิตอาหารทั่วโลกต้องหยุดชะงัก ส่งผลให้ผู้คนกว่า 6.7 พันล้านคนทั่วโลกต้องอดอยาก   นิวเคลียร์ทำลายแหล่งผลิตอาหารโลก   หากสงครามนิวเคลียร์ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดในโลกต้องเผชิญความเลวร้าย การศึกษาฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า ประเทศต่างๆ…

วิกฤตขาดบุคลากร ช่องโหว่ใหญ่เหตุ ‘ละเมิดข้อมูล’

Loading

  “ฟอร์ติเน็ต” เผย วิกฤติขาดแคลนบุคลากร เพิ่มช่องโหว่การละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์ สำรวจพบองค์กรในไทยเกินกว่าครึ่งต่างเคยประสบกับปัญหานี้มาแล้ว ด้านผลกระทบมีตั้งแต่ปัญหาด้านการเงิน การดำเนินงานหยุดชะงัก ตลอดจนปัญหาการเสื่อมเสียชื่อเสียง   ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต เผยว่า การมีบุคลากรด้านไซเบอร์ที่ได้รับการฝึกอบรมและผ่านการรับรองถือเป็นปราการป้องกันด่านแรกสำหรับการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์   ฟอร์ติเน็ตพบว่า 92% ขององค์กรในประเทศไทย พบว่าการละเมิดข้อมูลในปีที่ผ่านมามีส่วนมาจากการขาดทักษะทางไซเบอร์ และ 72% มาจากความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นจากช่องว่างด้านทักษะ โดยรวม 68% ขององค์กรในประเทศไทย ต่างเคยประสบกับการละเมิดเนื่องจากมีช่องว่างด้านทักษะทางไซเบอร์   รัฐิติ์พงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นเป้าหมายหลักของการโจมตีด้วยวิธีการที่ซับซ้อน   ตั้งแต่การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ตลอดจนช่วงโหว่ในซัพพลายเชน ทำให้องค์กรมากมายต้องตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงักและเกิดความไม่ปลอดภัยกับข้อมูลที่ละเอียดอ่อน   ช่องว่าง ‘ทักษะทางไซเบอร์’ กระทบหลายบริษัททั่วโลก   รายงานการศึกษาช่องว่างด้านทักษะความปลอดภัยทางไซเบอร์ในทั่วโลก (Global Cybersecurity Skills Gap Report) ของฟอร์ติเน็ตประจำปี…

เปิดหลักการ ‘6 ข้อ’ เสริมความปลอดภัย ‘OT Cybersecurity’

Loading

    คู่มือเกี่ยวกับหลักการของเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 6 ข้อเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและจัดการดูแลสภาพแวดล้อม OT ของโครงสร้างพื้นฐานให้มีความปลอดภัย   สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSA) ร่วมกับหน่วยงานรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จากออสเตรเลีย แคนาดา เยอรมนี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร เผยแพร่คู่มือเกี่ยวกับหลักการของเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 6 ข้อเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและจัดการดูแลสภาพแวดล้อม OT ของโครงสร้างพื้นฐานให้มีความปลอดภัย   1.ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ: นอกจากการเปลี่ยนแปลงของระบบไอทีมีผลกับความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจขององค์กรแล้ว สภาพแวดล้อม OT ก็มีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอาจนำไปสู่ภัยคุกคามและสามารถสร้างความเสียหายร้ายแรงให้กับอุปกรณ์หรือสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องได้ หากโครงสร้างพื้นฐานอย่างระบบประปาและพลังงานถูกโจมตี อาจทำให้เกิดหายนะกับชุมชนและบุคคลทั่วไปได้ และเพื่อความปลอดภัย ผู้ดูแลด้าน OT ควรพิจารณาวิธีการที่จะทำให้ระบบสามารถรีสตาร์ท สำรองข้อมูลเพื่อลดโอกาสที่ระบบจะหยุดทำงานและคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในทุกระบบงานไม่เว้นแม้แต่งานด้าน cyber-hygiene   2.ความรู้ทางธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญ: ทีมเจ้าหน้าที่ควรรู้ว่าสิ่งใดที่ต้องปกป้องดูแล รวมถึงความเสี่ยงและแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพราะจะทำให้ระบบภายในดีขึ้น ในทางปฏิบัติอาจมีการสร้าง Playbooks เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจที่มีข้อมูลที่เพียงพอ เช่น การกำหนดรหัสสีของสายเคเบิลประเภทต่างๆ และการระบุฟังก์ชันเพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วในกรณีฉุกเฉิน   3.ข้อมูล OT มีความสำคัญที่ต้องปกป้อง: เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐาน OT ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง…