ชี้หน่วยงานรัฐเสี่ยงโดนโจมตีไซเบอร์เพิ่มขึ้นหลังก.ม.บังคับให้บริการปชช.ผ่านออนไลน์

Loading

  สกมช. เผยแนวโน้มภัยคุกคามทางไซเบอร์ในประเทศไทย มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังไทยจะบังคับใช้ปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในเดือน ม.ค. 66   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) เปิดเผยว่า แนวโน้มภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และในประเทศไทย มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่ประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ   ล่าสุดได้มีกฎหมายสำคัญ คือ พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565  ที่จะบังคับใช้ในเดือน ม.ค. 66 ซึ่งมุ่งผลักดันให้หน่วยงานของรัฐจะต้องให้บริการประชาชนด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น จนอาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการต่อประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะหลายหน่วยงานรัฐยังขาดแคลนบุคลากรที่ทำงานดูแลด้านไอทีจำนวนมาก   พลอากาศตรี อมร กล่าวต่อว่า สกมช. มุ่งมั่นที่จะลดความเสี่ยงดังกล่าว เพื่อยกระดับประเทศเพื่อให้มีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยได้มีการประกาศนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2565-2570 ซึ่งจะเป็นกรอบแนวทางการดำเนินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ ที่มุ่งเน้นทั้งการเสริมสร้างศักยภาพ การป้องกัน การรับมือ ลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการตอบสนองต่อเหตุภัยคุกคาม พร้อมฟื้นฟูระบบให้กลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ความเสี่ยงด้านไซเบอร์ของประเทศ และเกิดความปลอดภัยต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น.     ——————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา :                                เดลินิวส์ออนไลน์         …

ยอดมัลแวร์พุ่ง!! อาชญากรไซเบอร์โจมตีด้วยไฟล์อันตราย 400,000 ไฟล์/วัน

Loading

  ในปี 2022 ระบบตรวจจับของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายที่แพร่กระจายโดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวัน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปี 2021 นอกจากนี้จำนวนของภัยคุกคามบางประเภทก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน   ในปี 2022 ระบบตรวจจับของ แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายที่แพร่กระจายโดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวัน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปี 2021 นอกจากนี้จำนวนของภัยคุกคามบางประเภทก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้พบว่าสัดส่วนของแรนซัมแวร์เพิ่มขึ้น 181% ทุกวัน การค้นพบต่าง ๆ นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายงาน Kaspersky Security Bulletin (KSB) ซึ่งเป็นการคาดการณ์ และรายงานเชิงวิเคราะห์ประจำปีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโลกความปลอดภัยทางไซเบอร์   ระบบตรวจจับของแคสเปอร์สกี้ค้นพบไฟล์ที่เป็นอันตรายใหม่โดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวันในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมา จากการเปรียบเทียบกับปี 2021 มีการตรวจพบไฟล์อันตรายประมาณ 380,000 ไฟล์ต่อวัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้น 5% โดยรวมแล้วในปี 2022 ระบบของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายประมาณ 122…

รีโมตพลิกป้ายทะเบียนรถ กับความน่ากลัวในอนาคต

Loading

  สน.รอตรวจ โดย บิ๊กสลีป ว่าด้วยเรื่อง ความทันสมัยที่มาพร้อมกับความน่าหวั่นวิตก เมื่อมีรีโมตพลิกป้ายทะเบียนรถ เทคนิคใหม่ที่มีขายว่อนโซเชียล ใช้ในการตบตาอำพรางการตรวจสอบของตำรวจ   ต้องยอมรับว่า โลกยุคนี้มันมีความทันสมัย มีเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกมากขึ้น อะไรที่ไม่น่าจะทำได้ ก็สามารถทำให้มันเกิดขึ้นได้ ซึ่งถ้าใช้อย่างถูกวิธีถูกกฎหมายก็คงไม่เป็นไร แต่หากนำมาใช้เพื่อมุ่งปองร้ายหรือใช้ในทางที่ผิด อะไรมันจะเกิดขึ้น   เรื่องนี้มันถูกเผยแพร่มาจากโลกโซเชียล ที่มีการแชร์คลิปการรายงานข่าวของการจับตัวคนร้ายแก๊งค้ายาเสพติด 3 ราย ที่พยายามหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 191 ในพื้นที่ จ.นนทบุรี ก่อนที่ตำรวจจะจับกุมตัวไว้ได้ และตรวจยึด ยาไอซ์ 162 กิโลกรัม เฮโรอีน 120 แท่ง และเคตามีน 97 กิโลกรัม   ก่อนที่ผู้ต้องหาจะรับสารภาพวิธีการเปลี่ยนป้ายทะเบียนรถเพื่อตบตาการตรวจสอบ ด้วยการเพียงแค่กดรีโมตเท่านั้น แล้วทะเบียนรถจากเลข 6 กม 6110 กรุงเทพมหานคร จะพับสลับไปอยู่ด้านใน ส่วนด้านหน้าจะปรากฏเปลี่ยนเป็น ฎห 7888 กรุงเทพมหานคร ใช้เวลาแค่ 3 วินาที เท่านั้น…

#สรุปให้ ประกาศ ก.ดิจิทัลฯ ใหม่ สั่งปิดเว็บได้ใน 24 ชม. ไม่ต้องมีคนร้องเรียน

Loading

  กระทรวงดิจิทัลฯ ออกประกาศใหม่ เพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่กระทรวง สั่งปิดเว็บได้เลยภายใน 24 ชั่วโมง ใครไม่ทำตาม ให้สันนิษฐานว่าผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้นั้น ร่วมมือ สนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ออกประกาศกระทรวง เรื่อง “ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2565” โดยเนื้อหาสาระสำคัญส่วนใหญ่ เป็นการเพิ่มอำนาจและตัวบทลงโทษให้กับเจ้าหน้าที่กระทรวงในการสั่งปิดเว็บไซต์ผิดกฎหมายให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น   โดยภายในประกาศ ระบุถึง ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และ ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ ไว้ด้วย และระบุต่ออีกว่า หากไม่ปฎิบัติตามให้สันนิษฐานว่าผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้นั้น ร่วมมือ สนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด   สำหรับประกาศดังกล่าว ใช้อำนาจตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 หรือที่เราเรียกติดปากว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์     มีอะไรเพิ่ม ?   ภายในตัวประกาศมีการเพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ หากพบความผิดตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์…

‘พาโลอัลโต’ เปิดเทรนด์ซิเคียวริตี้ เขย่าสมรภูมิธุรกิจปี 2566

Loading

  “พาโลอัลโต” เปิดคาดการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่น่าจับตามองและเฝ้าระวังปี 2566 มาดูกันว่า 5 เทรนด์ที่จะมีอิทธิพลต่อการทำธุรกิจและใช้ชีวิตจะมีอะไรบ้าง   ปี 2565 อาชญากรไซเบอร์มุ่งเป้าการโจมตีไปที่โครงสร้างระบบ ใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ ทั้งยังมีการคิดค้นวิธีใหม่ๆ เพื่อโจมตีคริปโทเคอร์เรนซี การทำงานแบบไฮบริด รวมไปถึงเอพีไอที่ไม่ปลอดภัย โดยภาพรวมนับว่าสถานการณ์รุนแรงขึ้นและสร้างความเสียหายต่อธุรกิจจำนวนมากขึ้น   พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ เผยว่า องค์กรธุรกิจต่างยอมรับว่า เคยพบกับปัญหาด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์และปัญหาข้อมูลรั่วไหลในปีที่ผ่านมา   โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ราว 11 ครั้ง แต่สิ่งที่น่ากังวลไปกว่าก็คือ มีเพียง 2 ใน 5 ที่ระบุว่าคณะกรรมการของบริษัทตระหนักมากขึ้นในเรื่องความเสี่ยงทางไซเบอร์ควบคู่ไปกับการดำเนินกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลให้เร็วขึ้น     เตรียมรับมือภัยคุกคามยุคใหม่   เอียน ลิม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัย ภาคสนาม ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า การโจมตีทางไซเบอร์ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วทุกวันนี้ทำให้ผู้บริหารธุรกิจจำเป็นต้องทบทวนแนวทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์อยู่ตลอดเวลา   ผู้บริหารต้องเลือกใช้โซลูชัน เทคโนโลยี ตลอดจนแนวทางที่ทันสมัยกว่ากลไกที่เคยใช้ในอดีต ทั้งยังต้องระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งในปี 2566…

เกิดอะไรขึ้นในเปรู? ปธน.โดนถอดถอน-คนแห่ไล่ผู้นำใหม่

Loading

    –  เปรูเผชิญมรสุมทางการเมืองอย่างหนัก ล่าสุดประธานาธิบดีถูกถอดออกจากตำแหน่ง ขณะที่รัฐบาลของประธานาธิบดีคนใหม่ก็ถูกประท้วงต่อต้านอย่างหนัก   –  ชนวนของเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากอดีตประธานาธิบดี เปโดร กาสติลโล พยายามยุบสภาที่ฝ่ายค้านครองเสียงข้างมาก เพื่อตั้งรัฐบาลฉุกเฉินเพื่อให้ได้อำนาจบริหารเต็มที่   –  การประท้วงในเปรูเริ่มบานปลาย เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจจนมีคนตาย รัฐบาลพยายามหาทางความคุมสถานการณ์ สุดท้ายก็ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน   เปรูอยู่ในสภาพปั่นป่วน เพราะความยุ่งเหยิงทางการเมืองมาตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ต้องเปลี่ยนตัวผู้นำประเทศไปแล้วหลายคน ท่ามกลางเรื่องอื้อฉาวมากมายและการสืบสวนคดีคอร์รัปชัน แต่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา พวกเขากำลังเผชิญเหตุวุ่นวายที่อาจเป็นครั้งเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์   เมื่อ 7 ธ.ค. รัฐสภาเปรูมีกำหนดการลงมติว่าจะถอดถอนประธานาธิบดี เปโดร กาสติลโล ซึ่งกำลังถูกกล่าวหาว่าคอร์รัปชันหรือไม่ แต่นายกาสติลโลกลับพยายามขัดขวางการโหวต ด้วยการประกาศยุบสภาคองเกรส และตั้งรัฐบาลฉุกเฉินขึ้นมา   การกระทำของกาสติลโลสร้างความตกตะลึงให้แก่ทุกฝ่ายรวมทั้งพันธมิตรของเขา และถูกประณามอย่างรวดเร็วว่าเป็นความพยายามก่อรัฐประหาร แต่ในวันเดียวกันนั้น นายกาสติลโลก็ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งและถูกจับกุม น.ส.ดีนา โบลูอาร์เต รองประธานาธิบดี ถูกเลื่อนขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ผู้นำหญิงคนแรกของเปรู   อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะผู้สนับสนุนนายกาสติลโล ออกมาชุมนุมประท้วงในหลายเมือง เรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ก่อนเหตุการณ์จะลุกลามบานปลายเป็นความรุนแรงภายในไม่กี่วันต่อมา เมื่อผู้ประท้วงบางกลุ่มก่อเหตุโจมตีสถานีตำรวจ, สนามบิน…