Flipper Zero ทามาก็อตจิ๋ว ปลอมแปลงบัตร-คีย์การ์ด แฮ็กข้อมูลได้ อันตรายแค่ไหน

Loading

  Flipper Zero อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่เหมือนของเล่นที่ต้องระวัง เนื่องจากอาจทำให้มิจฉาชีพสามารถปลอมแปลงบัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต หรือคีย์การ์ดได้ ซึ่งเป็นไวรัลใน TikTok ที่ Flipper Zero สามารถปลดล็อกได้แม้กระทั่งรถ Tesla   Flipper Zero ได้เป็นไวรัลใน TikTok มากมาย Flipper Zero มีรูปร่างหน้าตาเหมือนทามาก็อตหรือของเล่นวัยเด็กที่เราคุ้นเคยกัน ซึ่งอุปกรณ์นี้ได้เคยเปิดระดมทุนใน Kickstarter.com ไปก่อนหน้านี้   ซึ่งทางผู้ผลิตได้โพสต์วีดีโอเกี่ยวกับ Flipper Zero ว่าทำอะไรได้บ้าง โซเชียลถึงกับตะลึง เพราะอุปกรณ์จิ๋วที่ดูเหมือนทามาก็อต กลับทำได้หลากหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น โคลนคีย์การ์ดเข้าห้องโรงแรม, โคลนกุญแจเปิดรถ, โคลนรีโมททีวีหรือแอร์ ทั้งหมดนี้ทำได้ด้วยทามาก็อตจิ๋วๆ หนึ่งอัน     Flipper Zero อันตรายแค่ไหนกัน?   ผู้เชี่ยวชาญยังพูดถึงอุปกรณ์นี้ว่าไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น ซึ่งมีอุปกรณ์ที่คล้ายกับ Flipper Zero วางขายในร้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มานานแล้ว และได้พูดถึงวีดีโอการโชว์ปลดล็อกต่างๆ หรือการแฮ็ก ว่าไม่ได้ใช้เพียงอุปกรณ์เพียงอย่างเดียวแต่ต้องใช้ความรู้พอสมควร    …

ความมั่นคงปลอดภัย “ไซเบอร์ของไทย” ต้องมีความเป็นอิสระ…ไม่พึ่งใคร

Loading

    เมื่อเร็วๆ นี้มีคนร้ายเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนทั่วไป (Hacker) โดยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวประกอบไปด้วย เลขบัตรประจำตัวประชาชน, ชื่อ-นามสกุล, วัน เดือน ปีเกิด, ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ และพบมีการโพสต์จำหน่ายข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อมูลคนไทย 55 ล้านรายการ ต่อมาทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสืบสวนจนทราบว่าแฮ็กเกอร์ผู้ก่อเหตุที่ใช้ชื่อ 9near นั้นเป็นจ่าทหาร จ.ส.ท.เขมรัฐ บุญช่วย ทหารสังกัดกรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) ล่าสุดผู้ต้องหารายนี้ได้มอบตัวต่อกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ผู้ก่อเหตุยังไม่ได้นำข้อมูลไปขายหรือนำไปใช้ เพียงเป็นการนำมาโพสต์เพื่อสร้างกระแสในโซเชียลมีเดีย และเป็นการกระทำส่วนบุคคลเท่านั้นตามที่นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ยืนยัน แต่เรื่องนี้ถือว่าเป็นบทเรียนสำคัญอีกบทหนึ่งสำหรับเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (cyber security) ของไทย     ข้อที่น่าสนใจคือ…ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเลือกตั้ง เรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์นั้นนำไปสร้างเป็นประเด็นทางการเมืองได้อย่างง่ายดาย ทั้งนี้อันเนื่องมาจากประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก แต่ยังมีความรู้ความเข้าใจต่อ cyber security ไม่มากพอ   ยิ่งไปกว่านั้น…ประเทศของเรายังไม่มียุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่อิสระไม่ขึ้นต่อใคร ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของรัฐ และอดคิดไม่ได้ว่าการก่ออาชญากรรมไซเบอร์ดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองในประเทศหรือกลุ่มอิทธิพลนอกประเทศหรือไม่ ….ในที่สุด การก่ออาชญากรรมไซเบอร์ที่เป็นการกระทำส่วนบุคคลก็อาจกลายเป็นเรื่องของการก่อการร้ายทางไซเบอร์ที่สร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางได้   การสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต้องมีความเป็นอิสระโดยไม่ขึ้นต่อใคร…

ญี่ปุ่นปรับกระบวนยุทธ์อย่างสำคัญ

Loading

      ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ก่อนจะถูกโจมตีด้วยระเบิดปรมาณู 2 ลูก โดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้พ่ายแพ้สงครามในที่สุด ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ห้ามมิให้ญี่ปุ่นมีกองทัพทหารเยี่ยงประเทศอื่นใด แต่อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นยังสามารถมีกองกำลังป้องกันตนเองได้ (Self-defense force) โดยจะต้องปฏิบัติการแค่ภายในอาณาบริเวณ หรือน่านน้ำและน่านอากาศ และบนภาคพื้นดินภายในเขตดินแดนของตนเองเท่านั้น   ญี่ปุ่นจึงตกในสภาพที่อยู่ใต้อาณัติของสหรัฐอเมริกา ผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยปริยาย เพราะสหรัฐฯ ได้ตั้งฐานทัพ และกองกำลังอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีนัยของการควบคุมญี่ปุ่นให้อยู่ในร่องในรอยและในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ก็อ้างตนว่าเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองญี่ปุ่นจากภยันตรายจากภายนอกประเทศด้วย จึงจัดได้ว่าญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เป็นพันธมิตรทางด้านการทหารและความมั่นคงอย่างเหนียวแน่น   จริงอยู่ที่ญี่ปุ่นรู้สึกว่ามีความมั่นคงปลอดภัย ก็เพราะมีสหรัฐฯ คอยเป็นโล่ และผู้ปกป้องคุ้มครองภัยให้ แต่ในระยะหลังๆ สหรัฐฯ ที่ทำตนเป็นเสมือนตำรวจโลก ได้มีภารกิจที่หลากหลายไปทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันก็พยายามเรียกร้องให้ประเทศพันธมิตรต่างๆ มาร่วมแบกภาระ แทนการพึ่งพาจากสหรัฐฯ อย่างเดียวแบบแต่ก่อน และยังขอให้ร่วมมือช่วยเหลือสหรัฐฯ ในโอกาสสำคัญที่จำเป็น ด้วยการร้องให้ประเทศพันธมิตรจัดเพิ่มงบประมาณทางทหาร เสริมสร้างความทันสมัยของอาวุธยุทโธปกรณ์ และการขยายและพัฒนากำลังพล อีกทั้งภยันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของโลก ก็มีรูปแบบขึ้นมาใหม่ เช่น การก่อการร้ายสากล และการบ่อนทำลายซึ่งกันและกันทางด้านระบบการสื่อสารทางอวกาศ…

มุมมองผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ การแบน TikTok อาจทำให้ ภัยคุกคาม รุนแรงขึ้น

Loading

TikTok ไม่ใช่แอปแรกและแอปเดียว ที่มีการใช้งานข้อมูลส่วนบุคล แต่ TikTok เป็นแอปที่สร้างความกังวลในกลุ่มนักการเมืองสหรัฐฯ กว่าแอปอื่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ เพราะเป็นแอปที่มาจากจีน   ซึ่งหลายคนคงเคยอ่านผ่านตามาบ้าง ทั้งเรื่องความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีน และการกีดกันการค้าด้วยการแบนหัวเว่ย, ZTE ไปแล้ว ลามมาถึง TikTok ซึ่งสหรัฐฯ ก็ฮึ่มๆ อยากแบนจากสหรัฐฯ อยู่ในตอนนี้   แต่การแบน TikTok เป็นทางออกที่ดีที่สุดจริงหรือ   Robert Olson ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้จากสถาบัน Rochester Institute of Technology เขียนบทความความเห็นว่า การแบน TikTok จะเป็นหายนะทางไซเบอร์ และอาจทำให้ความปลอดภัยทางดิจิทัลของบุคคลถดถอย   หากเกิดการแบน TikTok ในสหรัฐฯ จริงๆ วิธีที่รัฐบาลจะใช้ก็มีไม่กี่อย่าง คือถอดแอปออกจาก Play Store และ App Store หรือกรองทราฟฟิกที่ส่งไปยังที่อยู่ซึ่งเชื่อว่าเป็นของ TikTok ออกไป  …

วิญญาณนักสืบต้องมา! Google maps ตามตำแหน่งให้คุณได้

Loading

  หากตกอยู่ในสถานการณ์ต้องติดตามลูกหนี้ ตามเพื่อน ตามแฟน แต่ติดต่อไม่ได้ แล้วอยากจะรู้ว่าคนที่คุณตามหาเค้าอยู่ที่ไหน ลองใช้กูเกิลแมพ แบบไม่ต้องรอเช็คอินก็ตามหาได้แล้วว่าเค้าอยู่ที่ไหนกัน   ปัญหาการโทรหาไม่รับ ติดต่อไม่ได้ เฟซบุ๊กโดนบล็อก แต่ต้องตามหาเพื่อน แฟน หรือลูกหนี้ ลองใช้วิธีนี้กันดู เพราะวิธีนี้ใช้ตั้งค่าการแจ้งเตือนเข้า-ออกสถานที่นั้น ๆ และการรายงานผลแบบเรียลไทม์ได้เลย   วิธีตั้งค่า   1.กดที่รูปโปรไฟล์บัญชี Google maps ที่มุมบนด้านขวามือ   2.กดที่การแชร์ตำแหน่ง (Location Sharing)   3.กดแชร์ตำแหน่งกับปลายทาง   โดยเราจะสามารถเลือกได้ว่า จะแชร์กี่นาที หรือแชร์ตลอดเวลา จากนั้นกดตรงเพิ่มเติมเพื่อใส่ e-mail คนที่เราจะแชร์ตำแหน่งได้เลย   หรือถ้าคุณต้องการดู Timeline ว่าในแต่ละวันไปไหนมาบ้าง วิธีเข้าไปดู คือ   1.กดที่รูปโปรไฟล์บัญชี Google maps ที่มุมบนด้านขวามือ   2.กดที่เส้นทางของคุณ (Your Timeline)  …

ชี้แฮ็กข้อมูลส่วนบุคคลพุ่งทั่วโลก แนะวีธีลดความเสี่ยงตกเป็นเหยื่อ

Loading

    ผู้เชี่ยวชาญชี้ภัยคุกคามด้านการแฮ็กข้อมูลส่วนบุคคล เกิดขึ้นต่อเนื่องและมีแนวโน้มมากขึ้น แนะวีธีป้องกันความเสี่ยง ไม่ตกเป็นเหยื่อ   นายชาญวิทย์ จิวริยเวชช์ ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบระบบความปลอดภัยบนคลาวด์และโอที ของ ฟอร์ติเน็ต บริษัทผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เปิดเผยว่า จากการติดตามภัยคุกคามด้านการแฮ็กข้อมูลส่วนบุคคล ถือเป็นภัยทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและมีแนวโน้มมากขึ้น ซึ่งข้อมูลจาก Identity Theft Resource Center ในปี 65 ที่ผ่านมา มีการโจมตีด้านข้อมูลส่วนบุคคลถึง 1,800 ครั้ง มีข้อมูลที่ถูกขโมยโดยมีผู้เสียหายถึง 422 ล้านคนทั่วโลก โดยข้อมูลที่โดนขโมยมีทั้งชื่อ นามสกุล อีเมล วันเดือนปีเกิด เบอรโทรฯ ข้อมูลทางเงิน และข้อมูลสุขภาพ ฯลฯ   “การเแฮ็กข้อมูล ทางแฮ็กเกอร์จะเจาะระบบ โดยใช้เครื่องมือสแกนช่องโหว่ไปเรื่อย ๆ จนพบ ซึ่งช้อมูลส่วนบุคคลถือว่ามีความสำคัญเพราะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ โดยจุดประสงค์ของแฮ็กเกอร์ในการขโมย คือ เอาข้อมูลไปขายให้ได้เงิน หรือต้องการสวมรอยเข้าระบบต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงต้องการทำให้เจ้าของข้อมูลเสียชื่อเสียง ฯลฯ ซึ่งข้อมูลบางอย่างมีความสำคัญมาก เช่น ข้อมูลสุขภาพ…