‘จีน’ นำหน้า ‘สหรัฐฯ’ ใน ‘เทคโนโลยีสำคัญ’ ถึง 37 จากทั้งหมด 44 แขนง รายงานวิจัยจากออสเตรเลียระบุ

Loading

    หน่วยงานคลังสมองในเครือของรัฐบาลออสเตรเลียระบุในรายงานการวิจัยว่า จีนเป็นผู้นำหน้าใครๆ ในโลกเทคโนโลยีแขนงปัญญาประดิษฐ์ ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก โดรน และแบตเตอรี่รถไฟฟ้า ขณะที่สหรัฐฯ ยังครองแชมป์ในแขนงการทำชิป และการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง   ประเทศจีนเวลานี้เป็นผู้นำหน้าใครๆ ทั่วโลกในเทคโนโลยีสำคัญๆ ถึง 37 แขนง จากทั้งสิ้น 44 แขนง รวมทั้งทางด้านขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) โดรน และแบตเตอรี่รถไฟฟ้า ทั้งนี้ ตามรายงานวิจัยของออสเตรเลียที่นำออกเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้   จีนยังเป็นอันดับ 1 ของโลกในพวกเทคโนโลยีกลาโหม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ เมื่อพิจารณาจากแง่ของการทำวิจัยซึ่งมีผลกระทบอย่างสูง สถาบันนโยบายทางยุทธศาสตร์ของออสเตรเลีย (Australian Strategic Policy Institute หรือ ASPI) ระบุในรายงานฉบับดังกล่าว   ทั้งนี้ ASPI เป็นหน่วยงานคลังสมองด้านกลาโหมและนโยบายทางยุทธศาสตร์ ซึ่งตั้งฐานอยู่ในกรุงแคนเบอร์รา ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาลออสเตรเลีย และได้รับเงินทุนจากพวกรัฐบาลต่างประเทศ ตลอดจนพวกบริษัทด้านกลาโหมและเทคโนโลยีด้วย   รายงานฉบับนี้ของ ASPI ระบุอีกว่า จีนยังมีความยอดเยี่ยมในแขนงอื่นๆ…

จริงหรือที่ TikTok ส่งข้อมูลผู้ใช้ให้รัฐบาลจีน จนหลายประเทศรุมแบน

Loading

    ในช่วงที่ผ่านมา TikTok แพลตฟอร์มสัญชาติจีน เผชิญการปิดกั้นจากหลายประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ที่ออกมาตรการห้ามใช้งาน TikTok บนอุปกรณ์ของรัฐ รวมถึงการห้ามไม่ให้มีบัญชีทางการของเจ้าหน้าที่รัฐบนแพลตฟอร์ม   การแบน TikTok ลามไปถึงประเทศอื่น ๆ อย่าง แคนาดาและไต้หวัน ที่ออกมาตรการในลักษณะเดียวกัน ขณะที่ เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก ที่ก็กำลังหารือแนวทางการแบน TikTok เช่นกัน ซึ่งกระแสต่อต้าน TikTok จากนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐในหลายประเทศมีมากขึ้นทุกวัน     แต่ที่หนักหน่วงที่สุดเห็นทีจะเป็นอินเดียที่แบน TikTok ตั้งแต่ปี 2020 และเป็นการแบนชนิดที่เรียกว่าถอนรากถอนโคน ควบคุมไปยังประชาชนด้วย ไม่เฉพาะแต่ในอุปกรณ์ของรัฐเท่านั้น   เพราะเหตุใดแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมอย่างผู้คนกว่า 1,000 ล้านคนจากทั่วโลกถึงตกเป็นเป้าจากรัฐบาลทั่วโลก   ทำไมถึงแบน TikTok   ประเด็นหลักที่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ให้เหตุผลในการแบน TikTok ก็คือข้อห่วงกังวลด้านความปลอดภัย สำคัญที่สุดคือความกลัวว่า TikTok ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มของจีน…

ทำไม เมืองบักห์มุต มีความสำคัญ? รัสเซีย-ยูเครนปะทะเดือดเกือบ 8 เดือน

Loading

    ทำไมเมืองบักห์มุตจึงกลายเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางการสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ลากยาวมานานเกือบ 8 เดือน หลังจากปูตินเปิดฉากทำสงครามในยูเครนเมื่อ 24 ก.พ. 2565 ก่อนสงครามจะอุบัติขึ้น เมืองบักห์มุต ทางภาคตะวันออกของยูเครน เป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์กลางการผลิตเกลือที่สำคัญของประเทศ แต่แล้วเมืองอุตสาหกรรมเล็กๆ แห่งนี้ ได้กลับกลายเป็นสมรภูมิรบดุเดือดที่สุด จนทำให้เมืองบักห์มุต กลายสภาพเป็น ‘เมืองผี’ ร้างไร้ผู้คนจนน่าวังเวง ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญบางคน มองว่าเมืองบักห์มุต ไม่ได้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์การรบแต่อย่างใด แต่เหตุผลที่รัสเซียโหมโจมตี โดยมอบหมายให้กลุ่มทหารรับจ้างแวกเนอร์ เป็นหัวหอกบุกทะลวงยึดบักห์มุต เนื่องจากต้องการได้ลิ้มรสชัยชนะในสงคราม แม้จะเป็นเพียงชัยชนะใน ‘เชิงสัญลักษณ์’ ก็ตาม   สื่อทรงอิทธิพลในสหรัฐฯ อย่างวอชิงตันโพสต์ชี้ว่าหากมีเมืองใดเมืองหนึ่งที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่มีการห้ำหั่นบดขยี้กันอย่างดุเดือดมากที่สุดแล้วล่ะก็ เมืองนั้น คือ บักห์มุต   เพราะเมืองบักห์มุต ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของยูเครน ได้กลายเป็นศูนย์กลางการสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ลากยาวมานานถึงราว 8 เดือนแล้ว และทำให้เมืองบักห์มุตแห่งนี้ กลายสภาพเป็น ‘เมืองผี’ ร้างไร้ผู้คนจนน่าวังเวง   ตลอดเกือบ 8 เดือนที่ผ่านมา รัสเซียได้ระดมส่งกำลังทหารระลอกแล้วระลอกเล่า โดยมีกลุ่มทหารรับจ้างจากบริษัท ‘แวกเนอร์’ ในรัสเซียเป็นแกนนำในสมรภูมิรบที่นี่ บุกโจมตีเพื่อพยายามยึดเมืองบักห์มุตอย่างไม่รามือ จนทำให้ รัสเซียกำลังใกล้จะได้ชัยชนะ จ่อยึดเมืองบักห์มุตได้แล้วเต็มที…

e-Signature กับ ตราประทับนิติบุคคลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำยังไง ? ใช้แทนกันได้ไหม ??

Loading

    ปัจจุบันการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปจดทะเบียนนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเท่านั้น แต่เราสามารถเลือกวิธีที่สะดวกสบายกว่า อย่างการจดทะเบียนนิติบุคคลออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เลย   อีกทั้งหลายบริษัทเริ่มทำเอกสารเป็นอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นเพราะทำได้ง่ายและสะดวกในการรับส่งมากกว่า แต่ก็ทำให้เกิดคำถามอื่นๆ ตามมา โดยเฉพาะนิติบุคคลที่ต้องการใช้งานทั้งการเซ็นเอกสารและใช้งานตราประทับว่าแบบอิเล็กทรอนิกส์ต้องทำยังไง ? 2 อย่างนี้สามารถใช้แทนกันได้ไหม ?   ดังนั้นบทความนี้ จะขอเล่าถึงภาพรวมของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์และนำไปสู่คำถามในเรื่องความเกี่ยวข้องของการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์และการประทับตราของนิติบุคคลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะแยกประเด็นสำคัญในการตอบคำถามนี้ออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ๆ ดังนี้   ภาพรวมของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์   เมื่อบุคคลต้องการแสดงเจตนาที่จะผูกพันตามข้อความ เช่น รับรองความถูกต้องของข้อความหรือยอมรับเงื่อนไขตามข้อความที่ปรากฏในข้อตกลง บุคคลดังกล่าวสามารถกระทำได้โดยการลงลายมือชื่อบนเอกสารกระดาษซึ่งเป็นวิธีการทั่วไปที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน หรือการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ร.บ. ธุรกรรมฯ)   ? สิ่งสำคัญของการลงลายมือชื่อ คือ การทำให้เกิดหลักฐานที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อเกี่ยวกับข้อความดังกล่าว โดยวัตถุประสงค์หรือเหตุผลของการลงลายมือชื่อนั้นอาจแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์และการทำธุรกรรมแต่ละประเภท   ประเด็นแรก:   ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตาม พ.ร.บ. ธุรกรรมฯ คืออะไร ?   ??คำตอบ สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจก่อนคือ…

คำถามนี้ “ดี” พี่ตอบให้: ความน่าเชื่อถือของ e-Signature และการรับฟังพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์

Loading

กลับมาอีกครั้งกับคำถามที่ทุกคนต้องถาม ! “e-Signature” คำดี คำเดิม !!   ถึงแม้กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะบอกชัดเจนว่า การเซ็นด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีผลทางกฎหมายเทียบเท่ากับลายเซ็นลงบนกระดาษ… แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ ว่ามันน่าเชื่อถือจริงๆ หรือเปล่า ? ต้องเป็นข้อมูลแบบไหน / ลายเซ็นอิเล็กทรอนิก์แบบไหนกันนะ ถึงจะใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ ?? วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจของทุกคนกันค่ะ   1. ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้หรือไม่ ? ตอบ : ได้ ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 11 วรรคแรก ระบุไว้ว่า “ ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน ในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์… ”   แต่การที่ศาลจะเชื่อถือในพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือความพยายามหลักฐาน โดยศาลอาจพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือวิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เช่น การสร้าง การเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น ศาลอาจพิจารณาถึงความครบถ้วน…

คำถามนี้ดีพี่ตอบให้! รวมคำถามฮิต e-Signature / Digital Signature

Loading

1. “รูปลายเซ็น ตัด แปะ” ลงในไฟล์ PDF และส่งทางอีเมลถือเป็น e-Signature หรือไม่ ? ตอบ : ก่อนอื่นต้องมาทบทวนความหมายของ e-Signature กันก่อน เนื่องจาก e-Signature หรือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ คือ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่ถูกสร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น   ดังนั้น จากคำถามข้างต้น สามารถวิเคราะห์ได้ว่า รูปลายเซ็นที่ตัดแปะลงในไฟล์ PDF สามารถเป็น e-Signature ตามมาตรา 9 ของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งจะเรียกกันว่า “e-Signature แบบทั่วไป” นั่นเอง โดย e-signature ดังกล่าวตามกฎหมายจะต้องระบุองค์ประกอบ 3 ข้อ ได้ ดังนี้ 1. สามารถระบุตัวตนของเจ้าของลายเซ็นได้ ว่าผู้เซ็นลายเซ็นคือใคร 2. สามารถระบุเจตนาตามข้อความที่เซ็นได้ ว่าเป็นการเซ็นเพื่ออะไร…