ส่อง“สมาร์ทซิตี้”ในไทย…ลงทุนยกระดับชีวิตคนท้องถิ่น

Loading

    การขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ทซิตี้” ถือเป็นหนึ่งนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 เพื่อให้ประเทศไทย   การขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ทซิตี้” ถือเป็นหนึ่งนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 เพื่อให้ประเทศไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะ ที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน!?!   ซึ่งทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างปี 2564-2565 ประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทยแล้ว 30 เมือง!?!   ทิศทาง การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ของไทยต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร? หาคำตอบได้ด้านล่างนี้?!?   ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)” บอกว่า รัฐบาลมีนโยบายนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเมืองในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ให้ยกระดับสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้เมืองเจริญทันสมัย และน่าอยู่ ช่วยพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต ของประชาชนอย่างทั่วถึง   “ภายในสิ้นปี 66 นี้มีเป้าหมายจะส่งเสริมเเมืองอัจฉริยะ เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 15 เมืองรวมเป็น 45 เมือง และประเมินว่าการพัฒนา เมืองอัจฉริยะจะช่วยให้เกิดโอกาสการลงทุนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนรวม มูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท และจะมีการสร้างมูลค่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต”     อย่างไรก็ตาม…

‘ChatGPT’ ดาบสองคม เขย่าสมรภูมิไซเบอร์

Loading

    ความพยายามของมนุษย์ในการจำลองและถอดรหัสความนึกคิดของมนุษย์ทำให้วันนี้โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่ง “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ “เอไอ” สมองกลอัจฉริยะสุดล้ำที่กำลังเข้ามาพลิกโฉมการทำงานและการใช้ชีวิต…   ฌอน ดูก้า รองประธาน และหัวหน้าหน่วยระบบรักษาความปลอดภัย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และญี่ปุ่น พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ แสดงทัศนะว่า การค้นหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ควรเป็นเรื่องที่ไม่มีพิษไม่มีภัย แต่ในความเป็นจริงทุกสิ่งอาจดีหรือร้ายขึ้นอยู่กับมนุษย์ผู้นำไปใช้   ในมุมของเอไอที่เป็นที่ฮือฮาอย่างมากขณะนี้หนีไม่พ้น “ChatGPT” บอตเอไอแบบข้อความซึ่งอาศัยความสามารถของเอไอขั้นสูง ที่ทำได้ทั้งการแก้บั๊กในการเขียนโค้ด การเขียนสูตรอาหาร การสร้างแอนิเมชัน 3 มิติ ไปจนถึงการแต่งเพลงใหม่ได้ทั้งเพลง     เรียกได้ว่า ChatGPT ได้แสดงศักยภาพของเอไอที่น่าตกใจในการปลดล็อกความสามารถใหม่ ๆ ที่เหลือเชื่ออีกทางหนึ่งหลายคนก็มองว่าเอไอเป็นดาบสองคม   อันตรายยิ่งกว่าฝีมือมนุษย์   ต่อคำถามที่ว่า แชตบอตยุคใหม่สร้างปัญหาจริงหรือไม่ นับตั้งแต่การเปิดตัว ChatGPT เมื่อปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา บรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักวิจารณ์ด้านเทคโนโลยีต่างกังวลถึงผลกระทบของเครื่องมือสร้างคอนเทนต์จากเอไอ   โดยเฉพาะในด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ว่าซอฟต์แวร์เอไอจะทำให้อาชญากรรมทางไซเบอร์กระจายไปทั่วหรือไม่   เหตุเพราะว่า แม้แต่แฮ็กเกอร์มือสมัครเล่นก็อาจใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อพัฒนาโปรแกรมมัลแวร์อัจฉริยะและลอบโจมตีเป้าหมายโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน  …

เพราะอะไรถามคำถาม AI แล้วได้คำตอบผิด ๆ ในบางครั้ง

Loading

    จากการเปิดตัวเสิร์ชเอนจิน Bing เวอร์ชันใหม่ล่าสุดของ Microsoft ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สิ่งที่มีความแตกต่างจากเสิร์ชเอนจินเจ้าอื่น ๆ ในตลาด คือ มีระบบแชตบอตที่สามารถให้คำตอบที่บรรยายเป็นคำพูดพร้อมกับความชัดเจน และกระชับเข้าใจได้อย่างง่ายยิ่งขึ้น   แต่หลังจากเปิดให้ใช้งานแชทบอทผู้ใช้ก็ได้สังเกตเห็นบางสิ่งบางอย่างที่แชทบอทยังให้คำตอบที่ไม่ถูกต้องที่ส่งผลให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดได้   เพื่อทำความเข้าใจทั้งหมดว่ามันเกิดอะไรขึ้น เราก็ต้องมารู้ว่าหลักการทำงานของแชตบอตมันทำงานได้อย่างไรเสียก่อน     1. เรานับว่าแชตบอต AI ทั้งหลายมีชีวิตหรือไม่ ?   คำตอบก็คือ ไม่มีชีวิต   ก็ดูแล้วเมื่อเราได้ถามคำถามไปยังแชตบอต แล้วรูปประโยคที่แชตบอตให้คำตอบออกมาก็ดูมีชีวิตเหมือนกับมนุษย์ตอบกลับมา สิ่งที่แชตบอตทำงานได้เพราะมีการขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า โครงประสาทเทียม หรือ Neural Network ที่ฟังดูแล้วก็เหมือนสมองคอมพิวเตอร์ แต่คำนี้แหละที่ทำให้คนเข้าใจผิดไปกันใหญ่   โครงสร้างประสาทเทียม หรือ Nerual Network เป็นระบบคณิตศาสตร์ที่มีการเรียนรู้ทักษะจากการได้รับข้อมูลดิจิทัลที่มีการป้อนข้อมูลอยู่ตลอดเวลา   ในชีวิตประจำวันมนุษย์มีการใช้งานโครงข่ายประสาทเทียมอยู่ทุกวันโดยที่ไม่รู้ตัวเช่น เทคโนโลยีระบุตัวบุคคล, สัตว์ และสิ่งของที่อยู่ใน Google Photos, ผู้ช่วยคำสั่งเสียง Siri และ Alexa…

ChatGPT คืออะไร ทำอะไรได้บ้าง คนจะอยู่ได้ยังไง? ถ้า AI ทำงานคล้าย ๆมนุษย์

Loading

    ChatGPT คืออะไร วันนี้เรารวบรวมข้อมูลมาอธิบายสั้น ๆ ให้คุณสามารถเข้าใจได้ และปัจจุบัน ChatGPT ทำอะไรได้บ้าง เชื่อถือได้ไหม และอนาคตมันจะมาแย่งงานเราได้หรือเปล่า   ChatGPT (Chat Generative Pre-trained Transformer) คือ แชทบอทที่สามารถพิมพ์คำถามหรือคำสั่งเข้าไปและสามารถตอบได้ในรูปแบบบทสนทนา     ซึ่ง ดร.ปรัชญา บุญขวัญ นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้อธิบายที่มาของ ChatGPT ว่าเป็นการทำงานคล้ายกับว่าเป็นการเดาคำและจับคู่คำที่ทำได้อย่างแม่นยำ โดยเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม ChatGPT จึงดูเก่งและฉลาดมาก     ChatGPT ทำอะไรได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยงานเขียนวิจัย ร่างฟอร์มอีเมลหรือจดหมาย รวมถึงการหาข้อมูลต่าง ๆ ในเชิงลึกที่รวดเร็วกว่าการค้นหากูเกิล ทำได้แม้กระทั่งการเขียนโปรแกรม   ChatGPT เบื้องหลังมี 3 ส่วนเล็ก ๆ ได้แก่   1.Transformer Model ทาง AI…

พบ Malicious Code เป็นภัยคุกคามไซเบอร์อันดับหนึ่ง แนะรับมือก่อนถูกโจมตี

Loading

    พบ Malicious Code เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์สูงถึง 54% เป็นอันดับหนึ่งในปี 65 พร้อมแนะองค์กร และประชาชนทั่วไปรับมือก่อนถูกโจมตี สร้างความเสียหายมหาศาล   ศูนย์ปฏิบัติการ Cybersecurity Operations Center หรือ CSOC ของ NT cyfence ได้รวบรวมสถิติภัยคุกคามที่เกิดขึ้นกับระบบสารสนเทศในปี 2565 โดยระบุว่า กว่า 54% ของภัยคุกคามทั้งหมด มาจาก 1.Malicious Code ที่เป็นการถูกโจมตีอันดับหนึ่ง   โดยเป็นภัยคุกคามที่เกิดจากโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อส่งให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์กับผู้ใช้งาน หรือระบบ (Malicious Code) เพื่อทำให้เกิดความขัดข้อง หรือเสียหายกับระบบที่โปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ที่มีมัลแวร์ติดตั้งอยู่ โดยปกติมัลแวร์ประเภทนี้ต้องอาศัยผู้ใช้งานเป็นผู้เปิดโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ก่อน จึงจะสามารถติดตั้งตัวเองหรือทำงานได้   เช่น Virus, Worm, Trojan หรือ Spyware ต่างๆ ส่วนช่องทางที่จะทำให้มัลแวร์เข้าสู่ระบบคือ พนักงานในองค์กรขาดความตระหนักด้าน Cybersecurity…

เมื่อศาลสูงสหรัฐฯ ต้องตีความมาตรา 230 กับคดีพิพาท Google ที่อาจพลิกโฉมโลกอินเทอร์เน็ตที่เรารู้จัก

Loading

  ในวันอังคารนี้ (28 กุมภาพันธ์) ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาจะเริ่มพิจารณาคดีที่มีชื่อว่า Gonzalez v. Google ซึ่งใจความหลักของคดี คือ การตีความข้อกฎหมายที่เรียกว่า Section 230 ว่ามีขอบข่ายในการปกป้องบริษัทในอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตมากแค่ไหน และผลคำตัดสินในคดีนี้อาจจะเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมนี้ไปโดยสิ้นเชิง   กฎหมายมาตรา 230 (Section 230) คืออะไร   ในช่วงต้นทศวรรษ 90 ที่อินเทอร์เน็ตกำลังก่อร่างสร้างตัว ชาวอเมริกันต่างก็ตื่นเต้นกับเทคโนโลยีนี้มาก โดยที่ทุกคนมองว่านี่คือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ ทุกคนมองถึงโอกาสทางเศรษฐกิจอันจะเกิดจากการเชื่อมคนทุกคนบนโลกไว้ด้วยกัน แต่อย่างไรก็ดีชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะผู้ที่มีแนวคิดแบบอนุรักษนิยมมองเทคโนโลยีใหม่นี้ด้วยสายตาเป็นกังวล เพราะพวกเขามองว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไร้กฎหมายควบคุม ซึ่งอาจจะทำให้เนื้อหาในอินเทอร์เน็ตเต็มไปด้วยสิ่งที่ผิดศีลธรรมทั้งเรื่องเพศ ความรุนแรง และยาเสพติด   ในที่สุดกลุ่มอนุรักษนิยมก็ได้ผลักดันให้วุฒิสภาออกกฎหมายที่มีชื่อว่า Communication Decency Act of 1996 ซึ่งร่างกฎหมายนั้นเน้นไปที่การควบคุมเนื้อหาโป๊เปลือย โดยระบุให้การอัปโหลดหนังโป๊หรือภาพโป๊เปลือยเป็นความผิดตามกฎหมาย   แต่อย่างไรก็ดี เมื่อร่างกฎหมายได้ลงมาพิจารณาที่สภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฎร ส.ส. 2 คน คือ คริสโตเฟอร์ คอกซ์ และ รอน ไวเดน ได้ออกความเห็นว่าการออกบทลงโทษคนโพสต์อย่างเดียวไม่น่าจะเพียงพอ…