กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อขายสินค้า

Loading

  ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในปัจจุบันสังคมไทยมีการใช้ สื่อสังคมออนไลน์ ในรูปแบบที่หลากหลาย เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ไม่จำกัดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ถูกนำมาใช้ต่อยอด ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง   เมื่อพิจารณาในแง่ของการควบคุมการใช้สื่อสังคมออนไลน์จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีรูปแบบในการควบคุมสื่อสังคมออนไลน์ที่อาจยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ   หนึ่งในประเด็นที่ผู้เขียนอยากนำเสนอ สำหรับการเข้าควบคุมสื่อสังคมออนไลน์ ให้มีประสิทธิภาพและไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคเกินจำเป็น คือ การเข้าควบคุมการขายของออนไลน์ผ่านสื่อสังคมอออนไลน์ต่าง ๆ     เมื่อพิจารณากฎหมายในการควบคุมการขายของออนไลน์ จะเห็นได้ว่าประเทศไทยยังมีบทบัญญัติกฎหมายที่เข้าควบคุมการขายของออนไลน์ ด้วยการแพร่ภาพผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับในอีกหลายประเทศ   ทำให้รูปแบบในการขายของออนไลน์ผ่านสื่อโซเชียลในบางครั้ง มีการใช้พฤติกรรมที่มีลักษณะส่อไปทางอนาจาร หรือมีการใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย ไม่เหมาะสม อาจเป็นแบบอย่างที่ไม่ถูกต้องต่อผู้บริโภคและนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบ   หากไม่มีกฎหมายที่ควบคุมการแพร่ภาพดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในประเทศไทยในระยะยาว ในขณะที่ในหลายประเทศได้ออกกฎหมาย เพื่อควบคุมกิจกรรมบางอย่างบนสื่อสังคมออนไลน์   โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่อาจเป็นการละเมิดต่อสิทธิของเด็ก หรือมีลักษณะเป็นการก่อการร้าย หรือมีลักษณะเป็นการกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน     ผู้เขียนจะยกกฎหมายของต่างประเทศที่น่าสนใจ ในการควบคุมกิจกรรมในสื่อสังคมออนไลน์ในลักษณะนี้ ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส และจีน   ในประเทศเยอรมนีมีพระราชบัญญัติตรวจสอบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (NetzDG) ซึ่งกำหนดหน้าที่ให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต้องตรวจสอบเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมและติดตามลบเนื้อหาที่เกี่ยวพันกับการก่อการร้าย การละเมิดสิทธิของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการลามกอนาจาร และจะต้องรายงานไปยังสำนักงานยุติธรรมแห่งเยอรมัน   ในส่วนของประเทศฝรั่งเศสนั้นมีพระราชบัญญัติควบคุมระบบเศรษฐกิจดิจิทัล…

อคติในอัลกอริทึม

Loading

    ด้วยกระแสก้าวกระโดดของเทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) และการเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) ของเอไอ ซึ่งทำให้พัฒนาอัลกอริทึมที่สามารถตัดสินใจได้โดยอัตโนมัติ   ส่งผลให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในปัจจุบันได้อย่างกว้างขวาง แต่ทำอย่างไรเราจะแน่ใจได้ว่า อัลกอริทึมของการตัดสินใจโดยเอไอจะทำงานเพื่อตอบโจทย์มนุษย์อย่างแท้จริงแทนที่จะครอบงำการตัดสินใจของผู้ใช้งานอย่างมีอคติ?   อัลกอริทึม (Algorithm) เป็นคำที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งหมายถึงกระบวนการหรือชุดคำสั่งในการทำงานอัตโนมัติ โดยในอดีตอาจย้อนไปถึงการวางค่ายกลในพีระมิดโบราณ เพื่อป้องกันการโจรกรรม ซึ่งถือเป็นการออกแบบอัลกอริทึมที่ชาญฉลาดแบบหนึ่ง   ที่ผ่านมา ในการสั่งการคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามที่ต้องการได้นั้น จำเป็นต้องออกแบบอัลกอริทึมให้เป็นชุดคำสั่งเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้   อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน คำว่าอัลกอริทึมมักถูกใช้เป็นวงกว้างในปัญญาประดิษฐ์ โดยเฉพาะอัลกอริทึมที่สร้างขึ้นมาจากข้อมูลผ่านกระบวนการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) และการเรียนรู้เชิงลึก (deep learning)   บ่อยครั้งที่อัลกอริทึมสมัยใหม่ถูกใช้ในการคาดการณ์อนาคต เช่น คาดการณ์กลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่น่าจะซื้อสินค้าชนิดใหม่ คาดการณ์ภาพยนตร์ที่ผู้ใช้น่าจะชอบ หรือคาดการณ์ว่าอีเมลไหนจะเป็นสแปม เป็นต้น     การพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อตอบสนองความต้องการให้ตรงเป้าหมายผู้ใช้มากขึ้น ช่วยการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ   อย่างไรก็ตาม เมื่อกระบวนการตัดสินใจกลายเป็นรูปแบบระบบอัตโนมัติมากขึ้น โดยมีอัลกอริทึมช่วยตัดสินใจอยู่ข้างใน เราจึงจำเป็นที่ต้องตระหนักและระมัดระวังว่า ผลการตัดสินใจที่เอไอให้ออกมานั้นสมเหตุสมผลและมีอคติหรือไม่?…

แฮ็กเกอร์ใช้ ‘SwiftSlicer Wiper’ ทำลายโดเมนวินโดว์

Loading

    จากสถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้ออยู่ในขณะนี้ มีการเปิดการโจมตีแบบใหม่ ๆ ที่เรียกกันว่า hybrid war คือ มีการรบทั้งในรูปแบบที่เป็นสงครามทั่วไปและการโจมตีทางไซเบอร์ซึ่งสามารถปฏิบัติการได้ตลอด 24 ชั่วโมง   ซึ่งเมื่อดูทีท่าแล้วน่าจะมีการเปิดการโจมตีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว โดยสาเหตุหลักน่าจะมาจากการมีความพยายามที่รัสเซียจะตัดขาดชาวยูเครนจากข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อเป็นการเปิดการโจมตีอย่างเต็มรูปแบบ   โดยเริ่มจากการตัดสัญญานโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต และการสื่อสารเคลื่อนที่ในยูเครน อีกทั้งยังมีการโจมตีทางไซเบอร์กับสื่อของยูเครนอยู่เรื่อย ๆ   มีการเปิดเผยจากนักวิจัยด้านความปลอดภัยของยูเครนโดยระบุว่า มัลแวร์ล้างข้อมูลตัวใหม่มีชื่อว่า “SwiftSlicer Wiper” ได้รับการพัฒนามาเพื่อลบสำเนางานและเขียนทับไฟล์สำคัญที่ระบบปฏิบัติการ Windows   โดยเฉพาะไดรเวอร์และฐานข้อมูล Active Directory ซึ่งกลุ่มแฮ็กเกอร์ Sandworm เป็นผู้พัฒนา Malware SwiftSlicer ตัวนี้โดยใช้ Active Directory Group Policy ซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลระบบโดเมนเรียกใช้สคริปต์และคำสั่งได้ทั่วทั้งอุปกรณ์ทั้งหมดในเครือข่าย Windows และมีการกำหนดเป้าหมายเฉพาะของโฟลเดอร์   มัลแวร์ตัวนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อทำลายไฟล์เท่านั้น แต่ยังทำลายโดเมน windows ทั้งหมดอีกด้วย โดย SwiftSlicer จะเขียนทับด้วยข้อมูลโดยใช้บล็อก 4096…

NASA FINDER เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในตุรกีและซีเรีย

Loading

    จากสถานการณ์แผ่นดินไหวในตุรกีและซีเรียที่ยังคงมีการค้นหาผู้รอดชีวิตกันอยู่เรื่อย ๆ วันนี้เลยจะพาไปชมการพัฒนาเทคโนโลยีค้นหาผู้ประสบภัยที่น่าสนใจจากนาซา เป็นเครื่องตรวจสัญญาณชีพผู้รอดชีวิตใต้ซากปรักหักพัง ที่ช่วยให้เราหาผู้รอดชีวิตได้ง่ายขึ้น   ในภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ใต้ซากตึก อย่างเช่นกรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย ‘ความไว’ คือปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะยิ่งใช้เวลาค้นหานาน จำนวนผู้รอดชีวิตก็อาจจะลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งในปัจจุบันก็มีเทคโนโลยี ที่ช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตในสถานการณ์ลักษณะนี้หลายชิ้นด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือเครื่องมือชื่อว่า ไฟน์เดอร์ (FINDER)     ไฟน์เดอร์ (FINDER) เป็นอุปกรณ์เรดาร์คลื่นไมโครเวฟ ที่ใช้ตรวจจับการเต้นของหัวใจมนุษย์ โดยมันจะส่งสัญญาณคลื่นไมโครเวฟพลังงานต่ำ ทะลุผ่านเศษซากกองปรักหักพังได้ถึงประมาณ 9 เมตร หรือถ้าเป็นคอนกรีตแข็งจะอยู่ประมาณ 6 เมตร เมื่อเรดาร์ตรวจเจอสัญญาณชีพของผู้รอดชีวิต จากจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือแม้แต่จังหวะการหายใจ การขยับตัว ซึ่งจะท้อนกลับมายังเรดาร์ตรวจจับ ตัวเครื่องก็จะคำนวณหาระยะห่างของตำแหน่งของผู้รอดชีวิตได้     ซึ่งทีมพัฒนาระบุว่า ตัวอุปกรณ์สามารถแยกความแตกต่างระหว่างการเคลื่อนไหว ที่เกิดจากคนและเครื่องจักร และแม้กระทั่งความแตกต่างระหว่างการเคลื่อนไหวของคนกับสัตว์ ลดความสับสนที่จะขัดขวางภารกิจกู้ภัย นอกจากนี้ ข้อดีคือ ตัวอุปกรณ์มีขนาดกะทัดรัด สามารถบรรจุลงกระเป๋าเดินทางได้ อีกทั้งยังกันน้ำ สามารถพกพาไปกับทีมนักกู้ภัย ช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตในตึกต่าง ๆ ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น…

วิเคราะห์: ‘วัตถุปริศนา’ กระตุ้นสหรัฐฯ ยกระดับความมั่นคง

Loading

  ไม่กี่สัปดาห์มานี้ สหรัฐฯ ยิง 4 อากาศยานไม่ระบุประเภทที่เคลื่อนผ่านน่านฟ้าอเมริกาเหนือ ทั้งดินแดนสหรัฐฯ และแคนาดา ซึ่งแม้ว่าการวิเคราะห์ซากชิ้นส่วนของอากาศยานเหล่านี้ยังอยู่ระหว่างกระบวนการตรวจสอบอยู่ แต่เรื่องนี้ได้สร้างความกังวลด้านความมั่นคงในอเมริกาเหนือรวมทั้งทำให้ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีนตึงเครียดขึ้นอีก   อากาศยานทั้ง 4 มีอะไรบ้าง?   ประเด็นอากาศยานปริศนาเริ่มต้นเมื่อปลายเดือนมกราคม เมื่อบอลลูนขนาดใหญ่ของจีน ที่ทางการสหรัฐฯ เรียกว่าเป็นอากาศยานสอดแนม ลอยเหนือน่านฟ้าอเมริกันมาหลายวัน ก่อนสหรัฐฯ จะนำเครื่องบิน F-22 ยิงบอลลูนดังกล่าวตกไปนอกชายฝั่งรัฐเซาท์แคโรไลนา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ซึ่งฝั่งจีนยืนกรานมาตลอดว่าบอลลูนนี้ใช้เพื่อการสำรวจสภาพอากาศ   ด้านกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือ เพนตากอน ระบุว่าบอลลูนยักษ์นี้มีขนาดเท่ากับรถบัส 3 คัน และมีน้ำหนักมากกว่า 1 ตัน โดยมีเสาอากาศหลายต้น พร้อมแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่เพียงพอสำหรับเป็นแหล่งพลังงานของเซนเซอร์เก็บข้อมูลด้านข่าวกรอง   หลังจากนั้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เครื่องบินขับไล่ของสหรัฐฯ ยิงอากาศยานไม่ระบุประเภท ที่พบทางตอนเหนือของรัฐอลาสกา ตามการเปิดเผยของกองทัพสหรัฐฯ ที่ระบุว่าอยู่ “ภายในน่านฟ้าและน่านน้ำของสหรัฐฯ” แต่วัตถุชิ้นที่สองนี้ไม่มีระบบขับเคลื่อนหรือระบบควบคุมใด ๆ เลย   ต่อมาในวันที่…

รู้จัก HeroRATS หนูกู้ภัย ผสานเทคโนโลยีเข้ากับสัตว์ เพื่อช่วยเหลือมนุษย์

Loading

    รู้จัก HeroRATS หนูกู้ภัย หนึ่งในทางเลือกใหม่สำหรับกู้ภัยในอนาคต เพราะเมื่อเกิดภัยพิบัติ หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่เล็กและไปได้ทุกที่มากกว่า “สุนัข” ก็ “หนู” นี่แหละ นักวิจัยจึงพัฒนาอุปกรณ์และฝึกหนูให้ช่วยกู้ภัยขึ้น   HeroRATS คือ หนูกู้ภัย โดยเป็นหนูยักษ์แอฟริกันที่ถูกฝึกฝนด้านการค้นหาโดยเฉพาะ พัฒนาโดย องค์กร Apopo ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรจากประเทศแทนซาเนีย   ที่ผ่านมาองค์กร Apopo ได้ทำงานร่วมกับหนูมานานกว่าทศวรรษเพื่อใช้สำหรับ “ตรวจจับทุ่นระเบิด” ในแอฟริกา โดยอาศัยประสาทรับกลิ่นที่ไม่ธรรมดาของหนูมาเป็นข้อได้เปรียบในการค้นหาระเบิด และต่อมาในช่วงไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ GEA (กลุ่มอาสาสมัครค้นหาและกู้ภัยจากภัยพิบัติ) ซึ่งเป็นองค์กรด้านมนุษยธรรม ได้ติดต่อกับ Apopo เพื่อเสนอให้ฝึกหนูสำหรับทำงานในภารกิจค้นหาและกู้ภัยด้วย ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างขั้นตอนการฝึกฝน   ผสานเทคโนโลยีเข้ากับสัตว์ เพื่อช่วยเหลือมนุษย์   อุปกรณ์สำคัญที่ต้องมีติดตัวเจ้าหนูกู้ภัยเหล่านี้ไปด้วยเสมอก็คือ “กระเป๋าเป้ที่มีกล้องขนาดเล็กติดอยู่” ซึ่งสามารถส่งภาพวิดีโอไปยังโทรศัพท์ของผู้ช่วยชีวิตที่อยู่ด้านนอก นอกจากนี้ยังมีไมโครโฟนแบบสองทาง ทำให้ทีมกู้ภัยสามารถพูดคุยกับเหยื่อได้ด้วย   โดยหนูเหล่านี้จะถูกฝึกให้ดึงสวิตช์ไมโครโฟนบนเสื้อกั๊กเมื่อพวกมันค้นพบใครบางคน เมื่อครูฝึกได้รับเสียงสัญญาณว่ามีการค้นพบผู้รอดชีวิต ครูฝึกก็จะส่งเสียงบี๊บกลับไปยังหนู เพื่อบอกให้พวกมันกลับออกมา พร้อมรับรางวัลเป็นถั่วลิสง อะโวคาโด หรือกล้วย  …