กองทัพเรือสหรัฐฯ พัฒนาขีปนาวุธ Hypersonic ต่อต้านเรือรบบนผิวน้ำ

Loading

    กองทัพเรือสหรัฐฯ พัฒนาขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก (Hypersonic) ต่อต้านเรือรบบนผิวน้ำ ร่วมกับบริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน (Lockheed Martin) และบริษัท เรย์ธีออน (Raytheon)   ปัจจุบันเทคโนโลยีขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก (Hypersonic) ได้รับความสนใจจากหลายประเทศ รวมไปถึงกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่ล่าสุดได้จับมือกับบริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน (Lockheed Martin) และบริษัท เรย์ธีออน (Raytheon) ทำการพัฒนาขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก (Hypersonic) เพื่อต่อสู้กับเรือบนผิวน้ำในโครงการ Hypersonic Air Launched Offensive Anti-Surface หรือ HALO   โครงการดังกล่าวมีมูลค่าสัญญา 116 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4,000 ล้านบาท เป้าหมายพัฒนาขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก HALO เพื่อติดตั้งเข้ากับเครื่องบินรบหลายรูปแบบของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เช่น เครื่องบินขับไล่ F/A-18 Super Hornet และเครื่องบินขับไล่ F-35C ที่ได้รับการออกแบบมาใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบินโดยเฉพาะ รวมไปถึงการติดตั้งขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิครุ่นใหม่เข้ากับเครื่องบินขับไล่เจเนอเรชันที่…

จากจุดเปลี่ยนเอไอ สู่จุดเปลี่ยนอนาคตโลก

Loading

    ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่คนทั่วโลกได้ทดลองใช้เอไอ โดยเฉพาะการเปิดตัวของ GPT4 รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมต่อยอดไปในวงกว้าง ผู้คนทั่วโลกต่างก็ได้พบกับศักยภาพใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจกันอย่างกว้างขวาง   ไม่ว่าจะนำมาใช้ในการทำงาน การเรียนหรือชีวิตประจำวันได้ที่เอไอทำได้อย่างน่าทึ่ง   บิล เกตส์ ผู้นำด้านเทคโนโลยีผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ ถึงกับนำเสนอมุมมองในเชิงบวกต่ออนาคตของเอไอผ่านจดหมายที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ส่วนตัว โดยบอกว่าเป็นครั้งที่ 2 ในชีวิตที่ได้เห็นการสาธิตเทคโนโลยีที่รู้สึกว่าเป็นการปฏิวัติวงการ   ครั้งแรกคือ การเห็นระบบอินเทอร์เฟซแบบกราฟิก (GUI) ในช่วงปี 1980 จนนำมาซึ่งระบบปฏิบัติการ Windows และเป็นพื้นฐานหลักของบริษัทไมโครซอฟท์ต่อมาอีกนับสิบปี การได้เห็นพัฒนาของเอไอ โดยทีม OpenAI เมื่อปีที่ผ่านมา เป็นครั้งที่ 2 ที่บิล เกตส์รู้สึกตื่นเต้นประหลาดใจ จากการได้เห็นเอไอสามารถผ่านการสอบวิชาชีววิทยาขั้นสูงได้อย่างรวดเร็ว     ในจดหมาย บิล เกตส์ได้กล่าวถึงศักยภาพของเอไอในยุคต่อไปที่จะนำมาใช้พัฒนาทางธุรกิจ ตลอดจนงานด้านสาธารณสุขและการศึกษาให้ก้าวหน้า สามารถลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ โดยสิ่งที่เอไอยังบกพร่องในปัจจุบันจะได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว โดย ณ จุดนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของอนาคตรูปแบบใหม่ที่กำลังจะมา   เพียงไม่กี่วันหลังจากนั้น ได้มีกลุ่มผู้นำด้านเอไอออกมาเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ ผ่านการออกจดหมายเปิดผนึกนำโดยอีลอน มัสก์ ร่วมกับผู้นำธุรกิจและนักวิชาการชื่อดังกว่า 1,000…

เรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด! “รู้ทันภัยไซเบอร์” ป้องกันอย่างไร..ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

Loading

  ปัจจุบัน Cybercrime หรือ อาชญากรรมไซเบอร์เกิดขึ้นทุกวันและมีอัตราการโจมตีเพิ่มขึ้น ทำให้องค์กรในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยมากกว่าในอดีต อีกทั้งอาชญากรรมไซเบอร์มีการพัฒนารูปแบบการจู่โจม เทคนิคและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น พร้อมแทรกซึมเข้าสู่องค์กรเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา   แล้วจะทำอย่างไร? ให้องค์กรของคุณ…สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างปลอดภัย และสามารถป้องกันพร้อมรับมือกับอาชญากรรมไซเบอร์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้   “Attackers are adapting and finding new ways to implement their techniques, increasing the complexity of how and where they host campaign operation infrastructure.” – Amy Hogan-Burney, General Manager, Digital Crimes Unit, Microsoft     1. Malware Attack ภัยคุกคามรุ่นบุกเบิกที่มักจะแฝงตัวมากับไฟล์ที่ดาวน์โหลด อีเมล และจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น…

ประเทศอะไรบ้างที่แบนแอป TikTok

Loading

iT24Hrs   ประเทศอะไรบ้างที่แบนแอป TikTok โดย TikTok กำลังเผชิญกับข้อจำกัดที่เพิ่มขึ้นและการแบน TikTok ในหลายประเทศทั่วโลก   โดยในสหรัฐอเมริกาได้เตรียมคำสั่งห้าม และได้พิจารณาคดีในรัฐสภาเมื่อเร็ว ๆ นี้กับ Shou Zi Chew CEO ของ TikTok ทำให้หลายคนพูดถึง TikTok เยอะ เป็นพาดหัวหลายสำนักข่าวทั้งในสหรัฐและทั่วโลก นอกจากนี้ ทั่วทั้งอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย หลายประเทศได้บังคับใช้ข้อจำกัดระดับหนึ่งกับแอป TikTok   เนื่องด้วยเหตุผลความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทแม่ ที่หลายประเทศมองว่า ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok มีสายสัมพันธ์กับรัฐบาลจีน ทำให้หน่วยงานรัฐบาลระหว่างประเทศรวมถึงคณะกรรมาธิการยุโรปและNATOได้สั่งห้ามไม่ให้พนักงานใช้ TikTok บนมือถือของบริษัท เช่นเดียวกับรัฐบาลกลางในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องด้วยเหตุผลความมั่นคงของชาติ   ประเทศอะไรบ้างที่แบนแอป TikTok   อัฟกานิสถาน กลุ่มตาลีบันห้าม TikTok ในอัฟกานิสถานในเดือนเมษายน 2565 โดยกล่าวว่าเนื้อหาของแพลตฟอร์ม “ไม่สอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม”…

‘การ์ทเนอร์’ เจาะ 8 เทรนด์ใหญ่ อิทธิพลแรงสมรภูมิ ‘ซิเคียวริตี้’

Loading

  วันนี้ที่ “ไซเบอร์ ซิเคียวริตี้” กลายเป็นวาระสำคัญของทุกองค์กร แน่นอนว่าหนึ่งในผู้ที่ต้องรับบทหนักมากที่สุดหนีไม่พ้น ผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Chief Information Security Officers หรือ CISOs)   Keypoints •   ผู้บริหารควรคิดนอกกรอบไปมากกว่าแค่เรื่องของเทคโนโลยี •   ต้องสร้างสมมุติฐานและวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ด้านการรักษาความปลอดภัยในอีกสองปีข้างหน้า •   ริชาร์ด แอดดิสคอตต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์อิงค์ กล่าวว่า ไม่ต้องสงสัยเลยว่า CISO และทีมงานด้านความปลอดภัยจะต้องมุ่งไปยังสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรของพวกเขาปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้   โดยผู้บริหารความปลอดภัยทางไซเบอร์ต้องสร้างสมมุติฐานและวางแผนเชิงกลยุทธ์ เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ด้านการรักษาความปลอดภัยในอีกสองปีข้างหน้า     1. ภายในปี 2570 50% ของผู้บริหาร CISO จะนำแนวทางปฏิบัติการออกแบบความปลอดภัยที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางมาปรับใช้ เพื่อลดแรงเสียดทานที่เกิดจากความปลอดภัยไซเบอร์และเพิ่มการควบคุมในระดับสูงสุด ผลการวิจัยของการ์ทเนอร์พบว่า มากกว่า 90% ของพนักงานยอมรับว่า ได้กระทำการที่ไม่ปลอดภัยในระหว่างการทำงานแม้ทราบดีว่าการกระทำนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงให้องค์กรแต่ก็ยังทำอยู่ดี   ปลูกฝัง Zero-Trust mindset   2. ภายในปี 2567…

กระสุนปืนใหญ่มีมอเตอร์เสริม ยิงแม่น-ไกลขึ้น 2 เท่า เขี้ยวเล็บใหม่กองทัพสหรัฐฯ

Loading

  กองทัพสหรัฐ เผยเขี้ยวเล็บใหม่ กระสุนปืนใหญ่วิถีโค้งระยะไกล ซับ คาลิเบอร์ อาร์ทิลเลอรี เพิ่มพิสัยการยิงเป็น 2 เท่าของกระสุนนำวิถีในปัจจุบัน   บีเออี ซิสเต็มส์ (BAE Systems) บริษัทผลิตยุทโธปกรณ์ และอากาศยานสัญชาติอังกฤษ และกองทัพสหรัฐฯ ประกาศความสำเร็จในการยิงกระสุนปืนใหญ่วิถีโค้งระยะไกล ซับ คาลิเบอร์ อาร์ทิลเลอรี (Sub-Caliber Artillery) ด้วยปืนใหญ่ XM907E2 ขนาด 155 มิลลิเมตร พร้อมด้วยเทคโนโลยีเพิ่มความรุนแรงของกระสุน หรือ Enhanced Lethality เพิ่มพิสัยการยิงเป็น 2 เท่าของกระสุนนำวิถีในปัจจุบัน   สำหรับกระสุน Sub-caliber round ในหมวดกระสุนปืนใหญ่นั้นคือลูกกระสุนแบบ KEP, KE (Kinetic energy penetrator) ซึ่งเป็นกระสุนลูกดอกที่ทำมาจากโลหะแข็งอย่างทังสเตนคาร์ไบน์ ซึ่งเอาไว้สำหรับยิงเจาะรถถัง-ยานเกราะโดยเฉพาะ โดยที่ตัวกระสุนจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าขนาดลำกล้องปืน ด้านส่วนที่สัมผัสผิวลำกล้องคือ ครอบกระสุนหรือหมอนรองกระสุนซึ่งจะถูกสลัดออกไปเมื่อกระสุนพ้นลำกล้อง   โดยการทดสอบกระสุนปืนแบบใหม่นี้ เกิดขึ้นที่ฐานทดสอบขีปนาวุธ ไวท์…