ทนายความหุ่นยนต์ DoNotPay เตรียมสู้คดีในศาลสหรัฐฯ ครั้งแรก

Loading

  ทนายความหุ่นยนต์ DoNotPay เตรียมสู้คดีจำเลยโดนใบสั่ง ณ ศาลสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 นี้ นับว่าเป็นครั้งแรกของโลกที่ใช้ AI ตัดสินความยุติธรรม   DoNotPay เป็นแชทบอตที่ถูกพัฒนาเพื่อช่วยผู้ใช้ในการแก้ปัญหาระบบราชการและกฎหมาย ก่อตั้งเมื่อปี 2558 โดยโจชัว บราวเดอร์ (Joshua Browder) และเริ่มให้บริการแอปพลิเคชัน ทนายความแชทบอตในปี 2563   สำนักข่าว Gizmodo รายงานว่า ทางทีมผู้สร้าง อธิบายตัวเองว่าเป็น “ทนายหุ่นยนต์คนแรกของโลก” และได้นำ AI ดังกล่าวมาทดสอบในห้องพิจารณาคดีจริงครั้งแรก ณ ศาลสหรัฐฯ เป็นคดีที่จำเลยโดนใบสั่งจราจร โดยจะเริ่มสู้คดีในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 นี้   การทำงานของทนายความหุ่นยนต์ เริ่มต้นด้วยการ ถามถึงรูปคดี ข้อมูลส่วนตัว และร่างคำฟ้องให้จำเลย ถ้าต้องขึ้นศาลอย่างคดีดังกล่าว จะแนะนำแก่จำเลยว่าควรพูดหรือไม่พูดอะไรในศาล ผ่านทางหูฟัง ที่เชื่อมต่อกับระบบ AI   ซึ่งทางบริษัทไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีได้ เนื่องจากต้องการปกป้องความเป็นส่วนตัวของจำเลย และป้องกันการละเมิดกฎระเบียบของห้องพิจารณาคดี…

วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ว่าปลอดภัยหรือไม่ วิธีเช็กเว็บสแปม เว็บปลอม เว็บอันตรายหรือไม่

Loading

  วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ว่าปลอดภัยหรือไม่ ขณะท่องเว็บไม่ว่าจะชมเว็บไซต์ผ่านทางแล็ปท็อป พีซี หรือบนสมาร์ทโฟน เป็นเรื่องง่ายที่จะเผลอเข้าเว็บไซต์ปลอม หลอกลวง โฆษณา หรือเว็บอันตรายโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการชมเว็บไซต์บนอุปกรณ์ไอทีของคุณ และรวมถึงข้อมูลสำคัญบนอุปกรณ์ของคุณด้วย มาดูวิธีตรวจสอบเว็บไซต์กันว่าปลอดภัยหรือไม่   วิธีตรวจสอบว่าเว็บไซต์ปลอดภัยหรือไม่ ตรวจสอบเว็บปลอม   1. ตรวจสอบที่อยู่เว็บไซต์ว่าพิมพ์ถูกต้องหรือไม่ ? ตัวอย่างเช่น ชื่อแบรนด์หากคุณอยู่ในเว็บไซต์หลอกลวง เช่น “homedep0t” เป็นเว็บไซต์ปลอม แทนที่จะเป็นแบรนด์จริงคือ “homedepot”   นอกเหนือจากนี้ ที่อยู่เว็บที่ใช้ “http” แทน “https” ที่ส่วนต้นของ URL ก็อาจไม่ปลอดภัยเช่นกัน เนื่องจาก Hypertext Transfer Protocol Secure (HTTPS) ได้รับการออกแบบมาสำหรับการถ่ายโอนข้อมูลและการสื่อสารที่ปลอดภัยผ่านเครือข่าย ในขณะที่ HTTP ไม่ใช่   Hypertext Transfer Protocol Secure เข้ารหัสคำขอ HTTP เพื่อให้ประสบการณ์การท่องเว็บของคุณมีความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยยิ่งขึ้น แม้ว่าไม่ใช่ทุกเว็บไซต์ที่ใช้ HTTP…

ทำไมโรงเรียนในนิวยอร์กจึงสั่งปิดกั้น ChatGPT ?

Loading

  โรงเรียนในนิวยอร์ก สั่งจำกัดเว็บไซต์ ChatGPT บนอุปกรณ์และเครือข่ายของโรงเรียน เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านผู้เชี่ยวชาญ AI ชี้ ChatGPT ยังมีข้อบกพร่องอยู่มาก   ChatGPT หรือ แชทบอตตอบคำถามอัจฉริยะ เป็นเว็บไซต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท OpenAI ปล่อยให้ใช้งานในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งได้รับความสนใจพอ ๆ กับ การเปิดตัวครั้งแรกของ iPhone ในช่วงปี 2550 การมีอยู่ของบอตตัวนี้ทำให้อุตสาหกรรม Generative AI มีเงินลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ   การทำงานของ ChatGPT จะสามารถหาคำตอบให้กับเราได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่การตอบคำถามง่าย ๆ เช่น Y2K คืออะไร สู่เรื่องเฉพาะอย่างการเขียนโค้ด แต่งเพลง ไปจนถึงเรื่องที่ผู้ถามไม่คาดคิดกับคำตอบ อย่างการเขียนบทความเกี่ยวกับสาเหตุของสงครามกลางเมืองในอเมริกา   ซึ่งความฉลาดของบอตตัวนี้จะใช้ลีลาภาษาและย่อหน้าใกล้เคียงกับมนุษย์เขียน นี่จึงเป็นเหตุให้โรงเรียนในนิวยอร์กสั่งปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์แชทบอตดังกล่าว     การปิดกั้นการเข้าถึง ChatGPT   เขตการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ตัดสินใจจำกัดเว็บไซต์ ChatGPT บนอุปกรณ์และเครือข่ายของโรงเรียน…

โฆษณา ‘Search Engine Ad’ เครื่องมือใหม่ อาชญากรไซเบอร์

Loading

  หลายปีที่ผ่านมา การโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นมากมายและหลากหลายรูปแบบ ล่าสุดเอฟบีไอออกประกาศแจ้งเตือนว่า ขณะนี้อาชญากรไซเบอร์ได้ใช้บริการโฆษณา “Search Engine Ad” โดยปลอมตัวเป็นแบรนด์เพื่อฉ้อโกงและหลอกล่อผู้ใช้งานให้เข้าระบบไปยังเว็บไซต์ปลอมที่อันตราย   เว็บไซต์เหล่านี้ดูภายนอกก็เหมือนกับหน้าเว็บอย่างเป็นทางการของธุรกิจต่างๆ ที่ถูกแอบอ้าง โดยเหล่าบรรดาแฮกเกอร์จะหลอกล่อเหยื่อให้ดาวน์โหลดมัลแวร์หรือให้ป้อนข้อมูลเพื่อเข้าสู่ระบบรวมถึงข้อมูลทางการเงิน   ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ผู้ใช้งานค้นหาโปรแกรมเพื่อดาวน์โหลด ที่หน้าเว็บไซต์ปลอมจะมีลิงก์สำหรับดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่เป็นมัลแวร์ซ่อนอยู่ ซึ่งเหล่าแฮกเกอร์เลือกซื้อโฆษณา Search Engine Ad เพื่อให้แน่ใจว่าโฆษณาของพวกเขาจะปรากฏที่ด้านบนสุดของผลการค้นหาและเพื่อโปรโมทเว็บไซต์และทำการขโมยข้อมูลหรือแรนซัมแวร์   โดย Search Engine Ad จะมีความแตกต่างอยู่ระหว่างโฆษณาและผลการค้นหาทางอินเทอร์เน็ตจริง อย่างไรก็ตาม การแจ้งเตือนดังกล่าวยังระบุอีกว่าอาชญากรไซเบอร์กำลังซื้อบริการเหล่านี้โดยใช้โดเมน (domain) ที่มีความคล้ายคลึงกับธุรกิจหรือบริการจริงเพื่อจุดประสงค์ไม่ดีที่แอบแฝงอยู่   เอฟบีไอ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า โฆษณาเหล่านี้ยังถูกใช้เพื่อแอบอ้างเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพลตฟอร์มการซื้อขายคริปโต (cryptocurrency) โดยเว็บไซต์ปลอมจะมีการขอให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลและจากนั้นจะทำการขโมยทั้งข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลบัญชีธนาคารของผู้ใช้งานออกไปทั้งหมด   หน่วยงานด้านการบังคับใช้กฏหมายเน้นย้ำว่า แม้ว่าโฆษณา search engine บนเครื่องมือจะมีรูปแบบที่ไม่เป็นอันตราย แต่ผู้ใช้งานก็ควรเลือกใช้ด้วยความระมัดระวังเมื่อเข้าถึงหน้าเว็บผ่านลิงก์ที่โฆษณา และได้เสนอข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้งานเมื่อค้นหาธุรกิจหรือบริการออนไลน์ เหล่านี้คือ   ตรวจสอบ URL เพื่อหาข้อผิดพลาดก่อนที่จะคลิกโฆษณาเพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์นั้นถูกต้องตามกฎหมาย   ควรพิมพ์ URL…

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยปณิธาน CTO ปี 2023 เพื่อการแก้ปัญหาไอทีสำหรับ CIO

Loading

    จากการรักษาความปลอดภัย ไล่ไปถึงควอนตัม ปัญญาประดิษฐ์ (AI) จนกระทั่งระบบเอดจ์ขึ้นไปยังคลาวด์ เห็นได้อย่างชัดเจนว่าโลกดิจิทัลของเรากำลังพัฒนาและขยายตัวอย่างรวดเร็วด้วยอัตราที่เร็วกว่าที่เคยเป็น และด้วยการรบกวนที่มีอยู่เป็นจำนวนมากนี้ จึงกลายเป็นเรื่องยากที่จะจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ยังไม่ต้องพูดถึงการเริ่มต้นทำสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากเฝ้าดูเรื่องเล็กน้อยอย่างบิต ไบต์ ความเร็ว การฟีดข้อมูลและอื่นๆ จากทั้งหมดที่ได้ยินมา   นี่คือสิ่งที่กำลังสร้างแรงกดดันเป็นอย่างมากให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง หรือ CIO ดังนั้น ในปีนี้แทนที่จะพูดถึงการคาดการณ์ล่วงหน้าอย่างที่เคย เรามาพูดถึง 4 เทคโนโลยีเกิดใหม่ที่สำคัญ และสิ่งที่ CIO สามารถดำเนินการจัดการสิ่งเหล่านี้ได้ในปัจจุบัน มาลองพิจารณาปณิธานแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ในปี 2023 ในรายละเอียดดังนี้   1) อย่าใช้คลาวด์โดยที่ยังไม่เข้าใจถึงค่าใช้จ่ายในระยะยาว ที่ผ่านมา มีเสียงจาก CIO ว่าความตั้งใจที่จะใช้ประโยชน์จากคลาวด์คอมพิวติ้งกำลังทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเกินงบเนื่องจากไม่ได้คิดถึงการวางแผนเชิงกลยุทธ์ว่าจะกระจายความสามารถการทำงานด้านไอทีผ่านผู้ให้บริการคลาวด์ (cloud providers) ต่างๆ กันได้อย่างไร รวมถึงว่าจะทำให้ผู้บริหารเหล่านี้ทำงานร่วมกันอย่างไร นี่คือสิ่งที่คุณจำเป็นต้องตรวจสอบโมเดลการวิเคราะห์ คำนวณ และการจัดสรรทรัพยากรที่ใช้อยู่อย่างจริงจัง รวมไปถึงต้องดูว่าในส่วนไหนที่คุณจะปรับเปลี่ยนเพื่อที่จะได้สามารถเข้าไปจัดการวางแผนและควบคุมทั้งข้อมูลและเวิร์กโหลดบนคลาวด์ต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้นโดยไม่เพิ่มความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายแอบแฝง   2) กำหนดแผนการควบคุม (control plane) ของ Zero…

เปิด 10 ข้อ ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ 2023 เตรียมองค์กรพร้อมรับความเสี่ยง

Loading

  “ปริญญา หอมเอนก” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด ทำนายแนวโน้มดังกล่าวทุกปีเช่นกัน สำหรับ Top Ten Cybersecurity & Privacy Threats and Trends 2023   ปีนี้มาพร้อมกับคำแนะนำ 10 ข้อ ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ 2023 ดังนี้   1.จัดให้มีการซ้อมหนีไฟทางไซเบอร์ หรือ Cyber Drill การสร้างความตระหนักรู้ความปลอดภัยไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว ดังนั้นองค์กรจำเป็นจะต้องจัดให้มีการซ้อมหนีไฟทางไซเบอร์ หรือที่เรียกว่า Cyber Drill เพื่อซักซ้อมแนวทางปฏิบัติที่จะรับมือกับการเผชิญเหตุอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่บุคลากรและองค์กรไปพร้อมๆ กัน   ปริญญา อธิบายว่า “Cyber Drill” (Cyber Attack Simulation) เป็นการจำลองเหตุการณ์โจมตี ทั้งการโจมตีระบบ และการโจมตีที่จิตใจคน เพราะปัจจุบันภัยไซเบอร์ ไม่ได้มาในรูปแบบการโจมตี เพื่อบุกรุกเข้าสู่ระบบสารสนเทศขององค์กรเพียงอย่างเดียว แต่จะมุ่งเป้าโจมตีไปที่จิตใจคนเพื่อให้เกิดความโลภหรือเกิดความกลัวจนรีบทำในสิ่งที่แฮกเกอร์หลอกลวงโดยไม่รู้เท่าทัน   การจำลองเหตุการณ์ Cyber Attack จะทำให้เกิดความคุ้นชินกับการโจมตีที่มุ่งเป้าไปที่ตัวบุคคล เพราะเมื่อเราได้เห็นหรือมีประสบการณ์แล้วก็จะรู้ว่า…