กลยุทธ์ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ จะล้าสมัยในไม่ช้า

Loading

  ปัจจุบันกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์นั้นเปราะบางเกินไป บริษัทโซลูชั่นความปลอดภัยทางไซเบอร์ในสหราชอาณาจักรได้เปิดเผยผลการสำรวจเกี่ยวกับความกังวลในการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับสูง (Chief information security officer หรือ CISO) มากกว่า 200 ราย โดย 40% เห็นว่า กลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปัจจุบัน น่าจะล้าสมัยภายในเวลาอีกเพียง 2 ปี และอีก 37% คิดว่า จะล่าสมัยภายใน 3 ปี จากจำนวนการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันประกอบกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้บริษัทต่างๆ จะต้องปรับกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจมากกว่า 3 ใน 5 หรือ 61.4% คิดว่า “ค่อนข้างมั่นใจ” ในความสามารถในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ และเพื่อเตรียมการรับมือกับความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ บริษัทต่างๆ จึงจำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเติมกับ Cybersecurity Solutions และมีเพียง 44% ของผู้ตอบแบบสอบถาม คิดว่าพวกเขามีวิธีการที่จำเป็นในการปกป้ององค์กรจากความเสี่ยงได้อย่างทันทีและมีแผนป้องกันในระยะกลาง ควบคู่ไปกับการติดตามเทรนทางด้านเทคโนโลยี เพราะมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับบริษัทต่างๆ ในการพัฒนากลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อลดการคุกคามในระยะยาว โดยผู้บริหารของบริษัทต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า CISO มีงบประมาณที่เพียงพอในการควบคุมปัญหาในระยะสั้น และเริ่มวางแผนกลยุทธ์ระยะยาว…

ฐานทัพเรือจีนในกัมพูชา การแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ยุคใหม่ ที่ทำให้สหรัฐฯ ต้องกังวล

Loading

สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศเดียวที่มีเสรีภาพในการเคลื่อนกำลังทหารไปได้ทั่วโลก และมีฐานทัพรวมตลอดถึงสิ่งอำนวยความสะดวกทางทหารอื่นๆ อยู่หลายร้อยแห่งในหลายประเทศ ได้แสดงความวิตกกังวลอย่างมากต่อรายงานข่าวการปรับปรุงฐานทัพเรือเล็กๆ ที่จังหวัดพระสีหนุของกัมพูชา ว่าอาจจะเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของภูมิภาค และกระทบต่ออำนาจอธิปไตยของกัมพูชา   พลเอก เตีย บัณห์ รัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา ได้โพสต์ในเฟซบุ๊กทางการของเขา (https://www.facebook.com/teabanh) ว่า ได้ร่วมกับ หวัง เหวินเทียน (Wang Wentian) เอกอัครราชทูตจีนประจำกัมพูชา ทำพิธีวางศิลาฤกษ์เปิดการก่อสร้างเพื่อปรับปรุงท่าเรือสอมชต (Somchot) และโกดังที่ฐานทัพเรือเรียม (Ream) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือทางวิชาการและเทคนิคระหว่างสองประเทศ ในอันที่จะพัฒนากองทัพเรือ เพื่อประโยชน์ของความมั่นคงและมั่งคั่งตามกรอบความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน ในเพจดังกล่าวลงรูปภาพมากมายเกี่ยวกับพิธีเปิด ผู้ร่วมงานมีทั้งนายทหารของกัมพูชา เจ้าหน้าที่ของจีน และแขกรับเชิญที่เป็นทูตทหารจากต่างประเทศ เพื่อแสดงว่าทั้งสองชาติมีความโปร่งใส หลังจากที่มีรายงานข่าวเมื่อปี 2019 โดยหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal ว่า กัมพูชาและจีนมีความตกลงลับๆ กัน โดยรัฐบาลปักกิ่งจะให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงฐานทัพเรือของกัมพูชา เพื่อให้เป็นฐานทางด้านยุทธศาสตร์ทางทะเลของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลา 30 ปี และหนังสือพิมพ์ Washington Post รายงานเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ว่า…

อลเวง Deepfake! วิธีสังเกต-ป้องกันตัวเองจากวิดีโอปลอม

Loading

  หลังจากมีข่าวว่ากูเกิล (Google) ได้แบนอัลกอริธึม “ดีพเฟค” (deepfake) ให้หมดจากบริการกูเกิลคอลาบอราทอรี่ (Google Colaboratory) ซึ่งเป็นบริการคอมพิวติ้งฟรีพร้อมการเข้าถึง GPU โลกก็รู้ว่ากูเกิลไม่ได้เป็นเจ้าเดียวที่พยายามควบคุม deepfake แต่หลายรัฐในสหรัฐฯ ต่างมีกฎหมายควบคุมอย่างจริงจัง แม้แต่ประเทศจีนก็มีการร่างกฎหมายกำหนดให้มีการระบุสื่อที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ และกำหนดกฎระเบียบ AI ของสหภาพยุโรป หรือ EU โดยในอนาคตอาจรวมเนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีเฉพาะนี้ด้วย นายวลาดิสลาฟ ทุชคานอฟ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ข้อมูล แคสเปอร์สกี้ ได้ออกมาอธิบายถึงตัวตนของ deepfake และวิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ทำให้เกิดการโต้เถียงกันรอบด้าน เพื่อให้เข้าใจความสำคัญของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า Deepfake เป็นตัวอย่างสำคัญของเทคโนโลยีที่พัฒนาได้เร็วกว่าที่ผู้ใช้จะเข้าใจและสามารถจัดการความยุ่งยากได้ ด้วยเหตุนี้ deepfake จึงถูกมองว่าเป็นชุดเครื่องมือที่ใช้บิดเบือนข้อมูล เป็นความท้าทายสิ่งที่สังคมคิดว่าสามารถไว้วางใจได้ ***deepfake คืออะไร? แคสเปอร์สกี้ให้นิยามดีพเฟค หรือ Deepfake ว่า โดยทั่วไปหมายถึง สื่อสังเคราะห์ประเภทต่างๆ ที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้คนและสร้างขึ้นด้วยโครงข่ายประสาทเทียมระดับลึก deepfake อาจเป็นวิดีโอ ภาพถ่าย หรือการบันทึกเสียง การใช้การเรียนรู้เชิงลึกแทนเทคนิคการตัดต่อภาพแบบดั้งเดิมได้ช่วยลดความพยายามและทักษะที่จำเป็นอย่างมากในการสร้างภาพปลอมที่น่าเชื่อถือได้ “ในช่วงแรก คำว่า deepfake นี้หมายถึงซอฟต์แวร์ชิ้นหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมใน Reddit…

วิธีสังเกตสัญญาณกล้องโดนแฮก พร้อมวิธีแก้ปัญหากล้องวงจรปิดถูกแฮก

Loading

  วิธีสังเกตสัญญาณกล้องโดนแฮ็ก โดยกล้องรักษาความปลอดภัยให้ความอุ่นใจโดยให้คุณตรวจสอบบ้านหรือทรัพย์สินของคุณ ตรวจสอบว่าคนอยู่ในบ้านหรือนอกบ้านทำอะไรอยู่ มองเห็นคนอยู่ในห้อง ดูสัตว์เลี้ยงของคุณ หรือแม้แต่เห็นผู้บุกรุก อย่างไรก็ตาม หากกล้องคุณถูกแฮก เจ้าของกล้องก็จะกลายเป็นที่จับตามองของแฮกเกอร์ แอบดูชีวิตส่วนตัว ทรัพย์สินในบ้าน และมีการอัดฟังเสียงของคุณด้วย บทความนี้ได้รวบรวมวิธีสังเกตว่ากล้องโดนแฮกหรือไม่ วิธีสังเกตสัญญาณกล้องโดนแฮ็ก 1.เสียงแปลกๆที่มาจากกล้อง หากคุณได้ยินเสียงผิดปกติ ให้รู้ว่ามีบางอย่างผิดปกติ โอกาสที่อาจมีใครบางคนแอบสอดแนมดูคุณผ่านกล้องที่ถูกแฮก มีสูงเลยทีเดียว 2. กล้องถูกเลื่อนหรือเอียง สิ่งที่ชัดเจนว่ากล้องถูกแฮกคือ คือกล้องถูกย้ายตำแหน่งใหม่ โดยมักจะควบคุมตำแหน่งของกล้องจากแอพหรือคอมพิวเตอร์ หากคุณสังเกตเห็นว่ากล้องเคลื่อนที่ไปเอง โดยไม่มีใครควบคุม แสดงว่ามีคนกำลังควบคุมกล้องอยู่ 3. กล้องเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่แล้ว เมื่อติดตั้งกล้องรักษาความปลอดภัยเป็นครั้งแรก โดยปกติแล้ว ระบบจะขอให้คุณสร้างบัญชีใหม่กับผู้ให้บริการ อย่างไรก็ตาม เมื่อจู่ๆ แอปกล้องรักษาความปลอดภัยขอให้คุณป้อนรหัสผ่านทันที ยังไม่ทันได้สร้างบัญชีเลย อาจเป็นไปได้ว่าอาจมีคนแฮกกล้อง ปกติแล้วคุณมักได้รับอีเมลหากมีการเปลี่ยนรหัสผ่าน แต่ก็เป็นไปได้ว่าเมื่อมีคนแฮ็กกล้องวงจรปิดของคุณไปแล้ว คุณก็อาจจะไม่ได้รับอีเมลเตือนเมื่อมีการเปลี่ยนรหัสผ่าน 4.มีการใช้ข้อมูลจำนวนมาก กล้องวงจรปิดที่ใช้รักษาความปลอดภัยมักจะใช้ข้อมูลจำนวนมากในการสตรีมวิดีโอสดไปยัง Cloud หากกล้องวงจรปิดของคุณถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมากผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณไม่ได้เข้าถึงกล้องนั้นเลยเป็นไปได้ว่าอาจถูกแฮก คุณยังสามารถตรวจสอบปริมาณข้อมูลที่ ถ่ายโอนได้โดยเข้าไปที่การตั้งค่าของเราเตอร์บางตัว และสำหรับเราเตอร์บางตัว คุณสามารถตรวจสอบทั้งการรับส่งข้อมูลและเวลาในระหว่างวันก็มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในทำนองเดียวกัน คุณสามารถติดตั้งโปรแกรมไฟร์วอลล์บนคอมพิวเตอร์ของคุณเพื่อติดตามระบบความปลอดภัยของคุณและแจ้งให้คุณทราบทุกครั้งที่มีการถ่ายโอนข้อมูลเพิ่มขึ้น 5. ประวัติการเข้าสู่ระบบที่น่าสงสัย กล้องรักษาความปลอดภัยบางตัวมาพร้อมกับแอปที่ให้คุณตรวจสอบประวัติการเข้าสู่ระบบของบัญชีของคุณ…

Gartner จัดอันดับ 7 แนวโน้ม ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ สำหรับปี 2022

Loading

  หัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในการก้าวสู่ Digital Transformation คือ การอยู่บนความไม่ประมาท รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Working เป็นการผสานการขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิทัลบนระบบคลาวด์ได้อย่างไร้รอยต่อ ซึ่งจะต้องเผชิญกับรูปแบบความเสี่ยงที่หลากหลายมากกว่าเดิม ทำให้องค์กรต่างๆ จะต้องตระหนักและเข้าใจแนวโน้มด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อยกระดับมาตรฐานการรับมือต่อภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ     แนวโน้มที่ 1 คือ Attack surface expansion   ผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะความรู้ในการประยุกต์รูปแบบการทำงานมักจะเลือกความคล่องตัวให้รองรับ Hybrid Working ได้อย่างลงตัว ส่วนใหญ่ 60% เลือกที่จะทำงานจาก Remote Access จากภายนอกมากกว่า และกว่า 18% จะไม่กลับเข้ามาที่สำนักงาน ส่งผลให้ความนิยมการใช้ระบบคลาวด์สาธารณะมากขึ้น ทำให้ห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงกันอย่างสูงในรูปแบบนี้ จะต้องเจอกับความท้าทายจากการโจมตีที่ไม่ซ้ำหน้าเรียงรายกันเข้ามาแวะเวียนโดยไม่ได้นัดหมาย สิ่งนี้ทำให้องค์กรเสี่ยงต่อการโจมตีมากขึ้น Gartner แนะนำให้ผู้นำด้านความปลอดภัยมองข้ามวิธีการแบบเดิมๆ ในการตรวจสอบความปลอดภัย การตรวจจับ และการตอบสนองเพื่อรับมือในการจัดการชุดความเสี่ยงที่กว้างขึ้น     แนวโน้มที่ 2 คือ Identity system defense   ระบบการระบุตัวตนเป็นขั้นตอนพื้นฐานที่เลือกคัดกรองผู้เข้าถึงระบบที่มีสิทธิ์ แต่ก็เป็นช่องทางที่กำลังถูกโจมตีมากที่สุดเช่นกัน…

คนมีเน็ตฯบ้านรู้ไว้ เปิดวิธีป้องกัน Wi-Fi บ้านไม่ให้โดนแฮก

Loading

อินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเรา ดังนั้นการเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่ปลอดภัยก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน สำหรับใครที่เริ่มมีอินเทอร์เน็ตบ้าน นี่คือสิ่งที่คุณต้องรูป ก่อนที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของคุณจะโดนแฮกทั้งบ้าน อินเทอร์เน็ตทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้น เชื่อมต่อกันได้ง่ายมากขึ้น เช่นเดียวกับเหล่าแฮกเกอร์ที่อาศัยโอกาสเหล่านี้เข้ามาโจรกรรมข้อมูล ทรัพย์สิน และเงินเราได้มากขึ้นเช่นกัน ทำไมการต่อเน็ตฯ ต้องปลอดภัย ? ถ้าจะตอบคำถามว่า ทำไมเราต้องเชื่อมต่อ Wi-Fi หรืออินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย ? ก็ต้องย้อนถามกลับตัวเองก่อนว่า เราโอนเงินผ่านแอปฯ มือถือ หรือไม่ ? แอปฯ ธนาคารต้องใช้อินเทอร์เน็ตหรือไม่ ? กล้องวงจรปิดเราเชื่อมอินเทอร์เน็ตหรือไม่ ? เครื่องพิมพ์เราพิมพ์ไร้สายได้หรือไม่ ? ถ้าใช่ นั่นแหละ คือเหตุผลว่าทำไมเราต้องทำให้อินเทอร์เน็ตที่เราใช้ การแฮกอินเทอร์เน็ตบ้านเกิดขึ้นประจำ โดยมีการรายงานว่าอาชญากรรมทางไซเบอร์ในปี 2564 สร้างความเสียหายให้ผู้คนกว่า 6,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 293,519 ล้านบาท ซึ่งเป็นการฟิชชิง (Phishing) หรือหลอกให้คนกรอกข้อมูลส่วนตัวในเว็บไซต์ปลอม เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลส่วนตัวเป็นหลัก วิธีการป้องกันไม่ให้เราถูกแฮกส่วนหนึ่งก็คือการลดความเสียงการถูกแฮก ซึ่งก็เริ่มจากบ้านเราเป็นที่แรก ด้วยการทำให้ Wi-Fi ปลอดภัยสำหรับทุกคนในบ้าน 4 วิธีป้องกัน…