‘ไมโครซอฟท์’ แนะยุทธวิธี ใช้ ‘AI’ ปกป้องข้อมูลองค์กร

Loading

    “ไมโครซอฟท์” เผยภาพรวมสถานการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ปี 2567 พบว่า ลูกค้าของไมโครซอฟท์ทั่วโลกเผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์จากอาชญากรมากกว่า 600 ล้านครั้งต่อวัน   ไม่ว่าจะเป็น การโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หรือ แรนซัมแวร์ ไปจนถึงฟิชชิง (Phishing) และการโจมตีข้อมูลประจําตัว (Identity Attacks) พบด้วยว่า วิธีการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เพิ่มขึ้น 2.75 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา   ข้อมูลทางสถิติชี้ให้เห็นว่า อาชญากรรมทางไซเบอร์และการฉ้อโกงที่มุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเงินยังคงเป็นภัยคุกคามที่พบได้บ่อยที่สุด   ดึง AI กันภัยคุกคามองค์กร   สำหรับเทคนิคการเข้าถึงที่พบมากที่สุด ยังคงเป็นวิศวกรรมสังคม (Social Engineering) โดยเฉพาะการฟิชชิงทางช่องทางต่างๆ รวมถึงการขโมยข้อมูลประจำตัว และการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในแอปพลิเคชันที่เปิดให้บริการแบบสาธารณะ หรือระบบปฏิบัติการที่ไม่ได้รับการอัปเดต   นอกจากนี้ การหลอกลวงผ่านทางเทคโนโลยี (Tech scams) เพิ่มสูงขึ้นถึง 400% ตั้งแต่ปี 2565 โดยในปีที่ผ่านมาได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีความถี่รายวันเพิ่มขึ้นจาก 7,000 ครั้งในปี 2566 เป็น…

ชีวิตติด TECH-‘Mobility Data’ ข้อมูลมือถือ โอกาสแห่งอนาคตในยุคดิจิทัล

Loading

  ในยุคที่คน “ติดโทรศัพท์มือถือ” ใช้งานมากกว่าการติดต่อสื่อสาร ส่งผลให้เกิด “Mobility Data” หรือชุดข้อมูลการเคลื่อนที่ของผู้ใช้งานจากมือถือ ที่ถือว่าเป็น “Big Data” ที่สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้มากมาย   วันนี้ คอลัมน์ “ชีวิตติด TECH” มีมุมมองจากการใช้ประโยชน์จากข้อมูลมือถือ จากเวทีเสวนาหัวข้อ “สร้างนโยบายแห่งอนาคต ด้วยพลังข้อมูล Shaping the Future with Insights” ในงาน “dataCon 2024” มาแบ่งปันกัน   อย่างที่รู้ๆ กันว่า “ดาต้า” หรือ “ข้อมูล” ถือเป็นสิ่งที่ถูกนำมามาใช้ในหลายวงการ โดยเฉพาะภาคธุรกิจ และเรื่อง “บิ๊กดาต้า” จะเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทอย่างมากในอนาคต แต่ที่ผ่านมา การใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ผ่านมา ยังคงจำกัดอยู่ในแวดวงธุรกิจเป็นหลัก เช่น การนำข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคมาใช้วิเคราะห์ด้านการตลาด แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถนำไปในประโยชน์ใตด้านอื่นๆ ได้เช่นกัน อาทิ เรื่องการท่องเที่ยว เป็นต้น   “ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย” อาจารย์ภาควิชาวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า การนำ “Mobility Data” หรือข้อมูลมือถือ…

ชี้ “เซิร์ฟเวอร์”ในไทยยังเสี่ยงภัยไซเบอร์ถูกโจมตีมากกว่า 5 แสนรายการ

Loading

    แคสเปอร์สกี้เปิดตัวเลขเซิร์ฟเวอร์ไทยถูกละเมิดและใช้โจมตีมากกว่าครึ่งล้านรายการ สวนทางดัชนีความปลอดภัยไซเบอร์   ตามรายงานดัชนีความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก 2024 หรือ GCI (Global Cybersecurity Index) ประเทศไทยเร่งเครื่องขึ้นมาอยู่อันดับที่ 7 จากอันดับที่ 44 เมื่อปี 2020 โดยประเทศไทยได้รับคะแนนดัชนีปีนี้ 99.22 คะแนน ทำให้ไทยเลื่อนขึ้นมาเป็นประเทศกลุ่มระดับ 1 (Tier 1) ซึ่งมีความสามารถเป็นต้นแบบในการปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์   รายงาน GCI 2024 เผยให้เห็นถึงการปรับปรุงที่สำคัญของประเทศต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งครอบคลุมถึงมาตรการทางกฎหมาย ความสามารถทางเทคนิคและกลยุทธ์ ความคิดริเริ่มในการสร้างขีดความสามารถ ความร่วมมือ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ไซเบอร์ที่เกิดขึ้น   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า  คะแนนดัชนีของประเทศไทยนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของไทยในการปรับปรุงความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ประเทศไทยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ระดับชาติ และบริษัทหลักในอุตสาหกรรม แคสเปอร์สกี้ยินดีที่ได้สนับสนุนประเทศไทยในการสร้างความสามารถในการรับมือภัยไซเบอร์ที่สูงขึ้น   อย่างไรก็ดี ประเทศไทยกำลังเผชิญกับเหตุการณ์อันตรายทางไซเบอร์ที่มาจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์อยู่ในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จากรายงานของ…

อธิปไตยทางดิจิทัลกับการครอบงำทางเทคโนโลยี

Loading

แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ค้นพบแคมเปญภัยไซเบอร์รูปแบบใหม่ที่แพร่กระจายผ่านโฆษณาบนเว็บ และมุ่งเป้าโจมตีไปที่ผู้ใช้งานพีซีระบบปฏิบัติการ Windows โดยขณะที่เข้าเว็บไซต์ ผู้ใช้อาจจะคลิกโฆษณาที่โผล่ขึ้นมาปิดบังหน้าจอทั้งหมดโดยไม่รู้ตัว และไปที่หน้าเว็บ CAPTCHA ปลอม หรือข้อความแสดงข้อผิดพลาดของ Chrome ปลอม โดยหลอกให้ทำตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อดาวน์โหลดมัลแวร์สตีลเลอร์ (stealer) แคสเปอร์สกี้ตรวจพบโฆษณาอันตรายลักษณะนี้มากกว่า 140,000 รายการในเดือนกันยายนและตุลาคม 2024 และพบว่าผู้ใช้จำนวนมากกว่า 20,000 คนถูกเปลี่ยนเส้นทางไปยังหน้าเว็บปลอมที่โฮสต์สคริปต์อันตราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้จากประเทศบราซิล สเปน อิตาลี และรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้ใช้เข้าเว็บด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการทำตามขั้นตอนที่น่าสงสัยเพื่อความปลอดภัย

เกาะอกาเลกา คือ สถานีสอดแนมทางทหารแห่งใหม่ของอินเดียจริงหรือไม่ ?

Loading

  อาร์โนด์ ปูเลย์ ไม่เคยต้องการออกจากเกาะอกาเลกาซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แต่ในปีนี้เขาเก็บกระเป๋าและออกเดินทางจากมา หลังอกหักกับสิ่งที่เขามองว่ามันกำลังทำให้บ้านเกิดของเขากลายเป็นฐานทางทหาร   ก่อนหน้านี้มีเพียง 350 คนที่อาศัยอยู่บนเกาะอกาเลกา พวกเขาทำประมงและปลูกมะพร้าว ส่วนอาหารอื่น ๆ ถูกส่งมาที่นี่ปีละ 4 ครั้งด้วยเรือจากเมืองหลวงของประเทศมอริเชียสซึ่งอยู่ห่างออกไป 1,100 กิโลเมตรทางตอนใต้ ขณะที่ลานบินขนาดเล็กแทบไม่ได้ใช้ นอกจากว่ามีเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์   แต่ในปี 2015 มอริเชียสซึ่งมีเกาะอกาเลกาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ ได้ลงนามในข้อตกลงที่ช่วยให้อินเดียสร้างรันเวย์ขนาดใหญ่ 3,000 เมตร และท่าเทียบเรือขนาดใหญ่แห่งใหม่ที่นั่น อันเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในด้านความมั่นคงทางทะเลของทั้ง 2 ประเทศ   อย่างไรก็ตาม ชาวเกาะอกาเลกาบางคนกลัวว่าสิ่งนี้อาจขยายตัวไปสู่การเป็นที่ประจำการทางทหารอย่างเต็มรูปแบบ   ขณะที่ปูเลย์ ช่างซ่อมบำรุงและนักดนตรีเรกเก้วัย 44 ปี ได้นำการรณรงค์ต่อต้านโครงการนี้   “ผมรักเกาะของผม และเกาะแห่งนี้ก็รักผม” เขาบอก “แต่หากฐานทัพเปิดตัวเมื่อไร ผมก็ต้องจากไป”     หมู่เกาะอกาเลกา ประกอบด้วยเป็นเกาะเล็ก ๆ สองเกาะ (เกาะเหนือและเกาะใต้)…