ควบคุมการใช้ ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) แบบไหนจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด

Loading

  เมื่อการใช้ประโยชน์จาก ‘ข้อมูลส่วนบุคคล’ สามารถสร้างรายได้ สร้างชื่อเสียง ขณะเดียวกัน การนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องก็สามารถทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือสูญเสียทรัพย์สินได้ หลายประเทศจึงบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมดูแลการใช้ข้อมูลของภาคส่วนต่าง ๆ   ตั้งแต่มีการออก กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ General Data Protection Regulation: GDPR ของสหภาพยุโรป และบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 จนถึงการบังคับใช้กฎหมาย PDPA ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ข้อมูลจากเว็บไซต์ของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development หรือ UNCTAD) ระบุว่า มี 137 จาก 194 ประเทศที่ออกกฎหมายเพื่อปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัว โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีสัดส่วนการบังคับใช้กฎหมายแล้ว 57%   กฎควบคุมการใช้ Data มีอิมแพ็กต่อการลงทุน   รู้หรือไม่ การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ดังกล่าว ส่งผลต่อการลงทุนของบริษัทข้ามชาติ…

ถาม-ตอบ : พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์

Loading

  ผู้เขียนจะเล่าถึงพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๖๕ ที่เพิ่งประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อกลางเดือนตุลาคม 2565 โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้การทำงานและการให้บริการของภาครัฐ สามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก     ปัญหาและที่มา ปัญหาก่อนหน้านี้ คือ กฎหมายที่มีอยู่หลายฉบับกำหนดให้การปฏิบัติราชการหรือการติดต่อกับประชาชนต้องใช้สำเนาหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือจำกัดวิธีหรือรูปแบบในการติดต่อราชการเฉพาะการติดต่อด้วยตัวบุคคล ณ สถานที่ทำการ หรือนำส่งเอกสารต่าง ๆ ทางไปรษณีย์   อันเป็นผลให้หน่วยงานของรัฐไม่สามารถนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างเต็มรูปแบบ (ซึ่งที่ผ่านมาบางหน่วยงานที่ไม่มีข้อติดขัดทางกฎหมาย และข้อจำกัดทางงบประมาณได้มีการนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการแล้วบ้าง)   ดังนั้น ที่มาของ พ.ร.บ. ปฏิบัติราชการอิเล็กทรอนิกส์ คือ การตรากฎหมายกลางเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดทางกฎหมายที่เป็นอุปสรรคของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้การดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์มีผลสมบูรณ์ในทางกฎหมาย   ใช้กับทุกหน่วยราชการหรือไม่? คำตอบ คือ “ไม่” โดย พ.ร.บ. ปฏิบัติราชการอิเล็กทรอนิกส์จะใช้กับหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงาน ยกเว้น   (๑) รัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (๒) หน่วยงานของรัฐในฝ่ายนิติบัญญัติ (๓) หน่วยงานของรัฐในฝ่ายตุลาการ (๔) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (๕) องค์กรอัยการ และ (๖) หน่วยงานอื่นของรัฐที่กำหนดในกฎกระทรวง  …

แผ่นดินไหว เขื่อนไทยปลอดภัยด้วย ระบบตรวจสุขภาพเขื่อน

Loading

  จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ ความตื่นตระหนกของประชาชนที่เป็นห่วงสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ที่อาจจะเกิดการร้าวหรือพังได้ นั่นก็คือ เขื่อนแตก และต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบเพื่อความมั่นใจ   ระบบตรวจสุขภาพเขื่อน หรือ DS-RMS (Dam Safety Remote Monitoring System) เป็นระบบที่ กฟผ. ร่วมกับ เนคเทคพัฒนาขึ้น โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับเทคโนโลยีของเครื่องมือตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อน มาบูรณาการใช้ในการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในด้านความมั่นคงปลอดภัยในเขื่อนใหญ่ ของ กฟผ.   ปัจจุบันใช้ในการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเขื่อนขนาดใหญ่ของ กฟผ. จำนวน 14 เขื่อน (จากทั้งหมด 35 เขื่อน) อาทิ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนสิรินธร เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนปากมูล เขื่อนรัชชประภา   ทีมงานพัฒนาระบบตรวจสุขภาพเขื่อนให้สามารถสื่อสารข้อมูลจากเครื่องมือวัดต่าง ๆ แบบอัตโนมัติ ทั้งเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน แผ่นดินไหว และ น้ำหลาก ที่ติดตั้งไว้ที่เขื่อนและรอบอ่างเก็บน้ำ ไปยังระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย  …

รู้จัก Dirty Bomb ระเบิดกัมมันตรังสีที่รัสเซียอ้างถึง มีอานุภาพรุนแรงแค่ไหน น่ากังวลหรือไม่

Loading

  เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (23 ตุลาคม) รัสเซียได้กล่าวอ้างว่าฝ่ายยูเครนเตรียมใช้ระเบิดกัมมันตรังสี หรือ Dirty Bomb เพื่อหวังพลิกเกมในสงครามที่กินเวลายืดเยื้อเข้าสู่เดือนที่ 8 ขณะที่รัฐบาลเคียฟและพันธมิตรชาติตะวันตกออกมาโต้ว่าข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะยูเครนจะใช้ระเบิดที่กระจายสารพิษในดินแดนของตัวเองไปเพื่ออะไร   แม้ตอนนี้เราจะยังไม่ทราบว่าฝ่ายใดพูดจริงหรือเท็จกันแน่ แต่วันนี้ THE STANDARD จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับระเบิดกัมมันตรังสี อาวุธล่าสุดที่อาจถูกเลือกใช้ในสมรภูมิรบ รวมทั้งดูว่าอาวุธชนิดมีอานุภาพรุนแรงแค่ไหน ส่งผลกระทบอย่างไร และทำไมรัสเซียถึงเอ่ยชื่อมันขึ้นมา   รัสเซียพูดอะไร? –   เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (24 ตุลาคม) รัสเซียได้ร่อนจดหมายถึงองค์การสหประชาชาติ (UN) โดยอ้างว่ายูเครนจะใช้ระเบิดกัมมันตรังสีในสงครามที่เกิดขึ้น และได้ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นหารือในการประชุมแบบปิดร่วมกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) เมื่อวานนี้ (25 ตุลาคม)   –   พลโท อิกอร์ คิริลลอฟ (Igor Kirillov) หัวหน้ากองกำลังป้องกันนิวเคลียร์ ชีวภาพ และเคมีของรัสเซีย เปิดเผยในการแถลงข่าวกับสื่อมวลชนว่า ยูเครนมีเป้าหมายที่จะใช้การโจมตีด้วยอาวุธดังกล่าวในประเทศของตัวเอง และโทษว่าเป็นความผิดของรัสเซีย   –   โดยวานนี้ ดมิทรี โพลีอันสกี (Dmitriy…

เบื้องหลัง Super Computer รุ่นแรก ไทยใช้แก้ปัญหาน้ำท่วม – ภัยแล้ง

Loading

  26 ปีก่อน ประเทศไทยได้ใช้งานคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง หรือ Super Computer รุ่นแรก ๆ ภายใต้หน่วยงานวิจัยระดับประเทศอย่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) โดยการนำของ ดร.รอยล จิตรดอน นักซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นแรกของประเทศไทย ที่มีส่วนผลักดันให้เกิดหน่วยปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงขึ้น เพื่อรวมกลุ่มและสนับสนุนคนใช้งานด้าน “วิทยาการเชิงคอมพิวเตอร์” ในขณะที่หลายหน่วยงานมุ่งเน้นไปที่การสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งาน   โจทย์แรกที่ศูนย์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงรับมาทำ คือการใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ จัดการกับข้อมูลน้ำขนาดใหญ่ของประเทศ โดยร่วมกับศิษย์เก่าของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเมสซาชูเสต (MIT) ที่มีส่วนสร้างอินเทอร์เน็ตขึ้นมาในยุคเริ่มต้น หลังจากที่ได้พูดคุยกับกลุ่มผู้ใช้ ทำให้รู้ว่าประเทศไทยจะต้องมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบไหน จึงจะเหมาะกับการใช้งาน         Super Computer รุ่นแรก   : จุดเริ่มต้นของทฤษฏีใหม่   ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในปี 2538 และปัญหาน้ำแล้งปี 2539 ทำให้ประเทศไทย โดยในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงริเริ่มมองหาคำตอบใหม่ ๆ ซึ่งไม่ใช่แค่การแก้ไขในเชิงโครงสร้าง แต่เป็นการบริหารจัดการที่มากกว่า จนได้ข้อสรุปว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมี tools ทางด้านไอทีที่รองรับการทำงานร่วมกับแบบกระจายศูนย์ (Distributed…

จีนกลายเป็นภัยคุกคามเจ้าเทคโนโลยีสหรัฐฯ ได้อย่างไร

Loading

ภาพโกลบอลไทมส์   เมื่อ 7 ปีที่แล้ว จีนประกาศแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ “เมดอินไชน่า 2025” ตั้งเป้าหมายการพัฒนา 10 ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของแดนมังกร ให้ผงาดทัดเทียมบนเวทีการแข่งขันระดับโลกภายในปี พ.ศ.2568   หากย้อนดูเส้นทางการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของจีน ก็จะเข้าใจได้ว่า จีนกลายเป็นภัยอันน่ากลัวต่อผู้นำด้านเทคโนโลยีอย่างสหรัฐฯ ในทุกวันนี้ได้อย่างไร   ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ กำลังถูกจีนไล่ตามมาเหลือระยะห่างกันมากน้อยแค่ไหน และเหตุใดรัฐบาลของประธานาธิบดี โจ ไบเดน จึงรู้สึกถูกคุกคามถึงขนาดต้องยกระดับมาตรการจำกัดการส่งออกเทคโนโลยีแก่จีนเมื่อเร็ว ๆ นี้ อธิบายได้จากสิ่งต่อไปนี้   1.ความเฟื่องฟูด้านการวิจัย   จีนมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ตอนนั้นเศรษฐกิจแดนมังกรกำลังบูม หลังจากการฟื้นฟูเปิดประเทศและเศรษฐกิจของผู้นำ “เติ้ง เสี่ยวผิง” ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 (พ.ศ.2533-2542)   เมื่อดูการใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งหมด (Gross R&D spending) ของแต่ละฝ่าย พบว่า จีนไล่ตามมาชนิดหายใจรดต้นคอในปัจจุบัน โดยจีนมีโอกาสลดช่องว่างให้แคบลงในช่วงที่สหรัฐฯ เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ด็อตคอมในปี 2540-2543 และวิกฤตการเงินโลกระหว่างปี 2551-2552 ซึ่งทำให้การใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของสหรัฐฯ ชะลอ…