สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 : ผิดไหมที่ประท้วงด้วย “กระดาษเปล่า” ในงานถวายความอาลัย

Loading

GETTY IMAGES   ในช่วงไม่กี่วันมานี้ มีคนหลายคนถูกจับกุมหลังไปทำการประท้วงที่งานถวายความอาลัยการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และพิธีประกาศขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3   พอล พาวส์แลนด์ ไม่ใช่หนึ่งในคนกลุ่มนั้น แต่ทนายคนนี้เป็นตัวละครหลักในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ทำให้เกิดกระแสถกเถียงอย่างแพร่หลาย เรื่องก็คือขณะที่เขากำลังยืนชูกระดาษที่ไม่ได้เขียนข้อความใด ๆ ที่จัตุรัสรัฐสภา เจ้าหน้าที่ตำรวจเดินเข้ามาถามข้อมูลส่วนตัวของเขา   พาวส์แลนด์ได้อัดวิดีโอบทสนทนาบางส่วนไว้และนำไปโพสต์ลงทวิตเตอร์ เขาอ้างว่าเขาได้รับแจ้งว่าจะถูกจับกุมตัวหากเขียนข้อความว่า “ไม่ใช่กษัตริย์ของผม” ลงบนกระดาษ   มีการประท้วงด้วย “กระดาษเปล่า” แบบนี้เกิดขึ้นเช่นกันที่เมืองเอดินบะระของสกอตแลนด์ขณะขบวนพระบรมศพเคลื่อนผ่าน แต่ก็ไม่ได้มีรายงานการจับกุมใครแต่อย่างใด   อย่างไรก็ดี วิดีโอของพาวส์แลนด์ทำให้ตำรวจนครบาลกรุงลอนดอนออกมาประกาศผ่านทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ว่าประชาชนมี “สิทธิที่จะประท้วง”   GETTY IMAGES การประท้วงด้วยกระดาษเปล่าที่เมืองเอดินบะระของสกอตแลนด์     ท้าทายอย่างเย้ยหยัน ?   นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กระดาษเปล่าถูกนำไปใช้ในการประท้วง แต่เรามักเห็นการกระทำเชิงสัญลักษณ์แบบนี้ในประเทศที่รัฐมีความเป็นเผด็จการและการเข้าปราบปรามประชาชนบ่อยครั้ง ยกตัวอย่างเช่นเมื่อปี 2019 นักเคลื่อนไหววัยหนุ่มในคาซัคสถานชื่ออัสลาน ซากุตดินอฟ ถูกตำรวจควบคุมตัวไปหลังถือป้ายเปล่า ๆ ที่หน้าสำนักงานของสภาเมือง…

แคสเปอร์สกี้แนะ 4 ข้อ เสริมแกร่งไซเบอร์ซิเคียวริตีไทย

Loading

  แคสเปอร์สกี้ ชี้ภัยคุกคามทางไซเบอร์พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยจำเป็นต้องมีจุดยืนที่แข็งขันมากขึ้น แนะ 4 เรื่องในการเสริมความแกร่งซัปพลายเชนไอซีที พบไตรมาส 2 ปีนี้ คนไทย 20% เจอภัยคุกคามผ่านเว็บเกือบ 5 ล้านครั้งบนคอมพิวเตอร์   น.ส.จีนี่ กัน หัวหน้าฝ่ายกิจการสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ตุรกี และแอฟริกา แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า การโจมตีทางไซเบอร์ในห่วงโซ่อุปทานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT supply chain) กำลังเพิ่มขึ้น การโจมตีลักษณะนี้เป็นอันตราย เนื่องจากสามารถเกิดช่องโหว่ได้ในทุกเฟส ตั้งแต่การออกแบบ ไปจนถึงการพัฒนา การผลิต การแจกจ่าย การจัดหาและการใช้งาน ไปจนถึงการบำรุงรักษา ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อรัฐบาล องค์กร และสาธารณชน   ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ แคสเปอร์สกี้ตรวจพบภัยคุกคามทางเว็บที่แตกต่างกัน 4,740,347 ครั้งบนคอมพิวเตอร์ของผู้เข้าร่วม Kaspersky Security Network (KSN) ในประเทศไทย โดยรวมแล้วมีผู้ใช้ชาวไทยจำนวน 20.1%…

“ปืนไทยประดิษฐ์” อาวุธเถื่อนผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ที่มีประโยชน์

Loading

  หลังจากเหตุปืนไทยประดิษฐ์ลั่นทำให้เด็กนักเรียนมัธยมที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรีเสียชีวิต หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมปืนไทยประดิษฐ์คืออะไร ทำไมจึงตกอยู่ในมือของเยาวชนได้ วันนี้ TrueID จะพาไปหาคำตอบกัน     รู้จักปืนไทยประดิษฐ์ ปืนไทยประดิษฐ์ เป็นอาวุธประเภทหนึ่งที่มีมายาวนานและมักจะถูกมองว่าเป็นปืนเถื่อน เพราะส่วนใหญ่คือการทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต นิยมทำออกมาในรูปแบบปืนพก ปืนลูกซองสั้นหรือปืนลูกโม่ แต่อย่างไรก็ตามจุดประสงค์ในการประดิษฐ์ปืนดังกล่าวนี้ ก็เพื่อการป้องกันตัวจากอันตรายรอบด้าน ผู้ที่มีความสามารถในการประดิษฐ์ปืนเหล่านี้ถูกเรียกว่า ช่างปืนไทยประดิษฐ์   ปืนไทยประดิษฐ์ ทำไมมีประโยชน์ ที่ผ่านมานโยบายหนึ่งของกองทัพเกี่ยวกับ ปืนไทยประดิษฐ์ เพื่อแก้ปัญหาอาวุธเถื่อนก็คือการให้นักโทษที่ทำความผิดในคดีปืนเถื่อนมาจัดฝึกอบรมและแลกให้ความรู้เรื่องการผลิตอาวุธแก่เจ้าหน้าที่ทหารสังกัดต่างๆ เช่น กรมสรรพาวุธ เรียกว่าเป็นการใช้ความความรู้ ความชำนาญ ในการประดิษฐ์คิดค้นอาวุธจากผู้กลุ่มผู้คนเหล่านั้นมาทำให้เกิดประโยชน์ในด้านการพัฒนาบุคลากรและการผลิตอาวุธกองทัพ เช่น ปืนพกสั้น ปืนลูกซอง ให้ทหารได้ฝึกทำปืนเหล่านี้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผลิตอาวุธพกพาใช้งานได้เอง แม้ว่าในเรื่องของคุณภาพอาจจะยังเทียบเท่าของต่างประเทศไม่ได้แต่ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี หากประสบความสำเร็จก็มีโอกาสต่อยอดด้วยการสร้างโรงงานผลิตภายใต้การดูแลของกองทัพโดยจะต้องดึงตัวผู้เชี่ยวชาญจากโรงงานต่างประเทศมาช่วยให้คำแนะนำด้วย   ปืนไทยประดิษฐ์มีกี่ประเภท กลุ่มอาวุธปืนพกดังกล่าวก็ยังมีแยกย่อยตามลักษณะเฉพาะตัวอีกหลายประเภท เช่น ลูกโม่ .22 ไทยประดิษฐ์ ลักษณะเป็นปืนพกสั้นลูกโม่ ใช้กระสุนขนาด .22 เป็นปืนที่ใช้ต้นทุนในการผลิตไม่มาก ราคาจึงไม่สูงเกินไป แต่ในประเด็นเรื่องการครอบครองก็จำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องอาวุธเถื่อนเพราะนอกจากจะผิดกฎหมายแล้วยังอาจจะได้ปืนไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดอันตรายด้วย นอกจากนี้ ยังมีปืนประเภทอื่นนอกจากปืนลูกโม่ นั่นคือ ปืนลูกซองกึ่งอัตโนมัติ…

อุปกรณ์ป้องกันการระเบิด EXPLOSION PROOF คืออะไร

Loading

  สำหรับคนทั่วไปการป้องกันการระเบิดอาจหมายความว่ามันสามารถทนต่อการจากแหล่งภายนอกเข้ามาหาภายใน อย่างไรก็ตามการป้องกันการระเบิด และ คำจำกัดความอาจมีมากกว่าที่หลายคนเข้าใจได้ ซึ่งในบทความนี้การกันการระเบิดจะหมายถึงอุปกรณ์ป้องกันการระเบิด ภายในไม่ให้ออกไปออกสู่ภายนอกอุปกรณ์ได้   การป้องกันการระเบิดคืออะไร?   เรามักจะมีความกังวลถึงความปลอดภัยในพื้นที่อันตรายมาก ๆ หรือพื้นที่ไวไฟ เช่น ห้องเก็บสารเคมี ห้องเก็บเชื้อเพลิงไวไฟ นิยมติดตั้งในอุตสาหกรรมโรงงานประเภท ปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส เป็นต้น การป้องกันการระเบิดที่อาจจะเกิดจากประกายไฟ หรือ การลุกติดไฟส่วนใหญ่มุ่งไปที่อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่นำมาใช้ภายในพื้นที่เสี่ยงดังกล่าว   “อุปกรณ์ป้องกันการระเบิด” คือวัสดุที่ได้รับการออกแบบ และ สร้างขึ้นเพื่อระงับประกายไฟ หรือ การปล่อยประจุ วัสดุอาจประกอบด้วยอะลูมิเนียมหล่อ หรือ สแตนเลส โดยมีมวล และ ความแข็งแรงมากพอปกป้องสารไวไฟไม่สามารถทะลุผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากภายในได้ออกไปสู่ด้านนอกของอุปกรณ์ได้ นอกจากนี้การออกแบบยังป้องกันการเพิ่มอุณหภูมิความร้อนพื้นผิวไม่ให้เกินระดับที่จุดเดือดอีกด้วย   มาตรฐานไฟฟ้าแห่งชาติ (NEC), สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (NFPA) และ ห้องปฏิบัติการการรับประกันภัย (UL) ได้กำหนดรหัสที่จัดหมวดหมู่แบบแบ่งพื้นที่อันตรายออกเป็นคลาส และ โซนเพื่อง่ายต่อการเลือกใช้อุปรกรณ์ระดับต่างๆที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของพื้นที่เรา     หลักการป้องกันการระเบิดเกิดขึ้นได้อย่างไร?   หลักการป้องกันไม่ให้เกิดการระเบิดคือพื้นฐานขององค์ประกอบของการติดไฟ…

อุบัติการณ์ ‘ภัยไซเบอร์’ พันธกิจวัดใจองค์กรดิจิทัล

Loading

  แม้ว่าทุกวันนี้ผู้นำองค์กรต่างให้ความสำคัญและสนใจลงทุนเพื่อยกระดับระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทว่าก็ยังคงหลีกเลี่ยงได้ยากที่จะมีช่องโหว่และเปิดโอกาสให้โจรไซเบอร์บุกรุกเข้ามา…   พีระพงศ์ จงวิบูลย์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า การศึกษาของฟอร์ติเน็ตด้านเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน (โอที) ของประเทศไทย ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างมากในการแก้ไขช่องว่างด้านความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการที่โอทีปรับเปลี่ยนเข้าสู่การทำงานแบบดิจิทัล   โดยพบว่า 8 ใน 10 ขององค์กรด้านโอทีต่างได้รับผลกระทบต่อการดำเนินงานของสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมเนื่องจากการบุกจู่โจมทางไซเบอร์ ที่ผ่านมา 71% ขององค์กรพบปัญหาการหยุดการทำงานของระบบซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางกายภาพ ซึ่งมากกว่าการสูญเสียทั้งผลผลิตและรายได้   ปัจจุบัน ประเทศไทยตระหนักดีว่าการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์คือ ปัญหาร้ายแรงสำหรับผู้บริหารระดับสูง ดังนั้นควรมีซีอีโอทำหน้าที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์ หรือผู้มีอิทธิพลสูงสุดในการตัดสินใจในเรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้   ความรับผิดชอบ ‘C-level’   เป็นเรื่องที่ดี หากรวมเอาไซเบอร์ซิเคียวริตี้บนโอทีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบของผู้บริหารในระดับ “C-level” เพราะจะเป็นการช่วยสนับสนุนให้ทีมไอทีและโอทีทำงานร่วมกันในการร่วมกันวางแผนพร้อมให้ภาพการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ในแบบองค์รวม   รายงานสถานการณ์การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์และระบบเชิงปฏิบัติงานปีนี้ชี้ให้เห็นว่า สภาพแวดล้อมด้านระบบควบคุมอุตสาหกรรมยังคงตกเป็นเป้าหมายอาชญากรไซเบอร์ โดยในไทยองค์กร 88% ต่างเคยมีประสบการณ์การถูกบุกรุกอย่างน้อยหนึ่งครั้งช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา   โดยท็อป 3 ของการบุกรุกที่องค์กรในประเทศไทยต้องเผชิญได้แก่ มัลแวร์ แรนซัมแวร์ และแฮกเกอร์ ผลลัพธ์จากการโดนบุกรุกเหล่านี้ ทำให้เกือบ…

หากปี 2100 กรุงเทพเสี่ยงจมหาย รัฐต้องรับมืออย่างไร

Loading

  เสวนา “ววน.ขอเสริมทัพ รับมือน้ำท่วม” เผย ปี 2100 แผ่นดิน กทม.จะทรุดลง 2.4 เมตร น้ำทะเลสูงขึ้น 27 เซ็นติเมตร ด้านรองผู้ว่าฯ ชี้ ต้องจัดทำริชแม็ป-ดันงานวิจัย รับภัยพิบัติน้ำท่วม ข้อกังวลของหลาย ๆ คนเรื่อง “กรุงเทพจะจมน้ำไหม” หรือ “กรุงเทพจะหายไปจากแผนที่หรือเปล่า” เป็นประเด็นถกเถียงกันทุกครั้งหลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกันกับสถานการณ์น้ำท่วม กทม. เดือนกันยายน 2565 ที่กำลังเป็นวิกฤติ ประชาชนได้รับความเสียหาย การเข้ามาทำงานของทีมงานผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครชุดใหม่กำลังเร่งแก้ไขสถานการณ์ ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จึงได้จัดงานเสวนาในหัวข้อ “ววน.ขอเสริมทัพ รับมือน้ำท่วม” เพื่อเป็นหนึ่งในกำลังช่วยกันหารือ เสนอทางออกให้กับวิกฤติน้ำท่วม และตอบคำถามค้างคาใจของหลายคนว่า “สรุปแล้ว…กรุงเทพจะจมน้ำหรือไม่”      – งานวิจัยคาดการณ์ ทางรอดที่จะไม่จมบาดาล บุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า จากงานวิจัย “กรุงเทพฯ…