รู้จัก 5 ข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ควรบอกใครบนโซเชียล!

Loading

. ช่วงนี้สายมูแจกรหัสบัตร ATM กำลังระบาดบนโซเชียล…รู้หรือเปล่าว่ากำลังถูกมิจฉาชีพจับตามองอยู่ เพราะข้อมูลที่คุณกำลังโพสต์นั้น ถือเป็น 1 ในข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) มาตรา 6 ให้คำนิยามว่า “ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ” . ซึ่งเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลนั้นถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เราควรระมัดระวังเรื่อง Privacy ของตนเอง ? ไม่ควรที่บอกข้อมูลให้กับผู้อื่น หรือ เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เสี่ยงต่อการที่ข้อมูลรั่วไหล หรือ ถูก Phishing ข้อมูลจากมิจฉาชีพโดยไม่รู้ตัว!! . ใช้โซเชียลได้แต่ต้องรู้ทันภัยมิจฉาชีพนะ ด้วยความเป็นห่วงจาก DGA ❤️ ?? ใครที่อยากรู้จัก 10 ประเภทข้อมูลส่วนบุคคลตาม PDPA มารู้จักเพิ่มเติมกับพวกเรา DGA กันได้ที่ ?: https://bit.ly/3RlFTLk     ที่มา : DGAThailand   / …

Digital Risk & Digital Inequality เทรนด์ใหม่แห่งโลกดิจิทัล

Loading

  เปิดมุมมอง “Digital Risk & Digital Inequality” แนวโน้มใหม่กำลังเปลี่ยนโลกดิจิทัลอย่างสิ้นเชิงกับความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมรับมือ “ความเสี่ยงดิจิทัล” ที่องค์กรต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่ามีความหมายไม่เหมือน “ความเสี่ยงไซเบอร์” ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันกำลังปฏิวัติโลกครั้งใหญ่ เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ มิติ ถึงแม้จะมองแค่มิติทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพียงด้านเดียว ก็จะพบว่า ยังมีอีกหลายแง่มุมที่ “คน องค์กร และประเทศ” จะต้อง “รู้ และ ตามให้ทัน” การเปลี่ยนแปลงที่รุกคืบเข้ามาทุกขณะ ปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า พื้นฐานสำคัญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ต้องรู้และตามให้ทันนับจากนี้ไปมี 2 เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่ 1. จากความเสี่ยงด้านไซเบอร์ ไปสู่ความเสี่ยงด้านดิจิทัล (From Cyber Risk to Digital Risk) ขณะที่ 2. จากความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล ไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันทางดิจิทัล (From Digital Divide to…

กฎหมายกับความท้าทายใน Metaverse | สุมาพร (ศรีสุนทร) มานะสันต์

Loading

  เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสร่วมงานสัมมนาครบรอบ 25 ปี ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ในหัวข้อ “Metaverse เชื่อมโยงพื้นที่ใหม่กับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา : กฎหมายสำหรับโลกอนาคตในโลกคู่ขนาน” จึงถือโอกาสนำบางส่วนมาเล่าให้ฟังในบทความฉบับนี้ ระบบเศรษฐกิจใน Metaverse Metaverse คือความพยายามของบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะสร้างโลกเสมือนเพื่อให้คนในโลกกายภาพสามารถเข้าถึงและมีกิจกรรมต่างๆ ในโลกเสมือนดังกล่าวได้ ผ่านการเชื่อมโยงของระบบอินเทอร์เน็ต ดังนั้น กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นใน Metaverse คือ การทำธุรกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านการใช้คริปโทเคอร์เรนซี หรือ NFT โดยเงินดิจิทัลหรือคริปโทจะถูกใช้เพื่อถ่ายโอนมูลค่า และ NFT จะนำมาใช้เพื่อโอนกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หรือเป็นตัวแทนของทรัพย์สินเสมือน ดังนั้น โดยสภาพ NFT จะทำหน้าที่คล้ายตราสารในโลกปัจจุบัน (เช่น โฉนด ใบหุ้น) ที่มีหน้าที่จดบันทึกสิทธิต่าง ๆ ของเจ้าของทรัพย์ และถูกยึดโยงไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นการเฉพาะ ในทางปฏิบัติการสร้าง Virtual Asset เช่น เสื้อผ้า สิ่งของ รูปภาพ และที่ดินในโลกเสมือน…

อย่าละเลย “บิ๊กดาต้า” ปรับระบบบริหารประเทศ

Loading

  รัฐบาลไทยมีความพยายามที่จะนำบิ๊กดาต้ามาใช้ประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ดูเหมือนว่ายังไม่เทียบเท่าในต่างประเทศ ที่ใช้การประมวลผลบิ๊กดาต้าช่วยวิเคราะห์นโยบายสาธารณะต่าง ๆ ได้ผลมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สามารถวัดผลได้ดี   โลกปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วยบิ๊กดาต้าไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจหรือภาครัฐ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจมีความชัดเจนและให้ความสำคัญมานานแล้วในการกำหนดแผนธุรกิจที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลด้วยเครื่องมือต่าง เช่น ปัญญาประดิษฐ์ และในปัจจุบันที่ธุรกรรมต่าง ๆ ถูกดำเนินการผ่านออนไลน์ยิ่งทำให้ข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจมีเพิ่มขึ้นมาก จึงไม่แปลกใจที่บรรดาบิ๊กคอร์ปต่างลงทุนอย่างเต็มที่กับระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้น   สถานการณ์ดังกล่าวได้นำมาสู่โอกาสทางธุรกิจมหาศาลทั้งผู้ใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้า รวมถึงผู้ที่ลงทุนระบบจัดเก็บข้อมูลตลอดทั้งซัพพลายเชนไปจนถึงการให้บริการในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการลงทุนดังกล่าว จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าบิ๊กดาต้าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ และเกิดการแบ่งชิงบิ๊กดาต้าผ่านกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดในหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้บริโภคยอมเปิดเผยข้อมูลหรือจัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้มีการนิยามว่าบิ๊กดาต้า เป็นอีก 1 เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก   การบริหารราชการแผ่นดินยุคใหม่ในหลายประเทศล้วนใช้บิ๊กดาต้าในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นนโยายเกี่ยวกับสาธารณสุข การศึกษา การคมนาคม การบริหารจัดการน้ำ การบริหารจัดการพลังงาน การบริหารด้านการคลัง การจัดเก็บภาษี รวมไปถึงการจัดการข้อมูลด้านความมั่งคงของประเทศหรือการทหาร เพราะช่วยให้รัฐบาลคาดการณ์และวิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นยำมากขึ้น และนำไปสู่การบริหารจัดการงบประมาณให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด   รัฐบาลไทยมีความพยายามที่จะนำบิ๊กดาต้ามาใช้ประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งถือว่าเป็นทิศทางที่ดีที่การดำเนินการหลายส่วนนำบิ๊กดาต้ามาใช้ แต่ดูเหมือนว่ายังไม่เทียบเท่าเหมือนในต่างประเทศ ในขณะที่การจะก้าวไปสู่จุดดังกล่าวจะต้องมีการปฏิรูปข้อมูลภาครัฐเข้าสู่ดิจิทัล โดยเฉพาะการสร้างคลาวด์ของภาครัฐที่ใช้งานร่วมกันที่นอกจากจะเป็นการรวมข้อมูลไว้ด้วยกันแล้วยังช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างระบบจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน เพื่อใช้เครือข่ายการประมวลผลร่วมกันได้   หากการประมวลผลบิ๊กดาต้าของภาครัฐมีความสมบูรณ์ก็จะทำให้วิเคราะห์ได้ว่านโยบายสาธารณะแต่ละนโยบายได้ผลมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สามารถวัดผลได้ดี ยกตัวอย่างการที่รัฐบาลกำลังผลักดันนโยบายประกันรายได้ข้าวปี 2565 ซึ่งเป็นปีที่ 4 ใช้วงเงินประกันราคาข้าวรวมกับโครงการที่เกี่ยวข้อง 150,000…

เช็คน้ำท่วม กทม. เช็คน้ำรอการระบาย ด้วยเว็บไซต์สำนักการระบายน้ำ ม.รทก. ย่อมาจากอะไร

Loading

  เช็คน้ำท่วม กทม. เช็คน้ำรอการระบาย รับมือฝนตกหนักน้ำท่วมกรุงเทพที่ตกหนักทุกวัน ด้วยเว็บไซต์สำนักการระบายน้ำ เพื่อดูระดับน้ำในแต่ละเขตรอบพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่าแต่ละจุดระดับน้ำสูงแค่ไหน เพื่อเตรียมรับมือหากน้ำท่วมเข้ามาใกล้ โดยเว็บไซต์นี้สามารถตรวจสอบระดับน้ำได้แบบ Real time ล่าสุด หลายจังหวัดเตรียมพร้อมรับมือปรับเพิ่มการระบายน้ำ 15 กันยายนนี้ โดยพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำอาจกระทบ เช็คน้ำท่วม กทม. เช็คน้ำรอการระบาย ด้วยเว็บไซต์สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร เข้าเว็บไซต์ https://weather.bangkok.go.th/water/ จะเห็นแผนที่จุดสถานนีตรวจวัดระดับน้ำ โดยแบ่งเป็น 5 สี โดยเน้น 3 สีหลักคือ  – สีเขียว ระดับน้ำปกติ  – สีเหลือง ระดับน้ำเตือนภัย  – สีแดง ระดับน้ำวิกฤติ     คุณสามารถคลิกที่ แสดงสถานีเตือนภัยและวิกฤติ เพื่อแสดงระดับน้ำเตือนภัยว่าอยู่ส่วนไหนของกรุงเทพเพื่อเตรียมการรับมือน้ำท่วม     เมื่อคลิกที่สถานีวัดระดับน้ำ จะแสดงระดับน้ำเป็นกราฟออกมา หากต้องการดูรายละเอียดขึ้นให้คลิกที่ ดูรายละเอียดสถานี ม.รทก. ย่อมาจากอะไร ม.รทก. ย่อมาจาก…

รู้จัก “พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” เพื่อก้าวสู่ “รัฐบาลดิจิทัล”

Loading

  “พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” แท้จริงแล้วคืออะไร และจะสามารถช่วยนำพาราชการไทยสู่ “รัฐบาลดิจิทัล” ได้จริงหรือไม่ ติดตามอ่านได้จากบทความนี้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ ร่างกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการพัฒนาประเทศด้วยการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ที่ได้ผ่านการเห็นชอบจากทางรัฐสภา คาดว่าจะเริ่มใช้ปี 2566 พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มีแล้วดีอย่างไร? ข้อดีของการมี “พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” มีดังนี้  – ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน  – ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน  – อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน  – ช่วยลดต้นทุนกระดาษและวัสดุสิ้นเปลือง  – ประหยัดพื้นที่จัดเก็บเอกสาร และยังเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูลอีกด้วย ไม่ใช่เพียงภาครัฐหรือหน่วยงานราชการเท่านั้นที่สามารถใช้ได้ ทุกองค์กรก็สามารถใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้เช่นกัน ตัวช่วยเปลี่ยนองค์กรให้เป็น “Intelligent Office” ระบบสำนักงานอัจฉริยะ คือซอฟต์แวร์อัจฉริยะที่จะเข้ามาช่วยบริหารระบบงานภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ “พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” และ “ข้อกำหนด PDPA” ซึ่งภายในซอฟต์แวร์ตัวนี้จะช่วยจัดการงานเอกสาร และงานประชุมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้  – ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document System)…