ทุกคนเชื่อ “ทฤษฎีสมคบ” | วรากรณ์ สามโกเศศ

Loading

  เรื่องราวแนว “ทฤษฎีสมคบ” มีคนจำนวนมากในโลกเชื่อ ถึงแม้ตัวเราเองก็ตามเถอะ หากซื่อสัตย์กับตัวเองก็ต้องยอมรับว่าเชื่ออยู่บ้างเหมือนกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไรเพราะจิตวิทยาของมนุษย์เป็นเช่นนั้น ยกตัวอย่างเรื่องราวแนว “ทฤษฎีสมคบ” เช่น เอลวิส เพรสลีย์ ยังไม่ตาย , CIAเป็นผู้วางแผนเหตุการณ์ 9/11 , อเมริกาลวงโลกไม่ได้ถึงดวงจันทร์จริง , มนุษย์ต่างดาวมีจริง , ผู้มีอิทธิพลในโลกสมคบกันควบคุมเศรษฐกิจและการเมืองโลก , แตงโมถูกฆ่าตายอย่างทารุณ ฯลฯ เมื่อพูดถึง Conspiracy Theory หรือ “ทฤษฎีสมคบ” คนส่วนใหญ่มักเห็นภาพคนประหลาด หัวต่อต้านสังคม ผมยาว นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ใช้อินเทอร์เน็ต วันๆ สร้างเรื่องราวบ้าๆ บอๆ หลอกชาวโลก แต่หนังสือ Suspicious Minds (2015) โดย Rob Brotherton ชี้ให้เห็นว่าเป็นความเข้าใจผิด ความเชื่อแปลกๆ เหล่านี้มาจากคนจำนวนมากที่อยู่รอบตัวเรารวมทั้งตัวเราเองด้วย ลองมาดูกันว่าเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ในเบื้องแรกเรื่องราวจาก “ทฤษฎีสมคบ” เป็นผลพวงจากการไม่มีคำตอบอย่างครบถ้วนให้แก่คำถามสำคัญที่อยู่ในใจของผู้คนหรือคำตอบไม่จุใจ หรือไม่เชื่อบางส่วนของคำตอบที่มาจากทางการ หรือมีบางหลักฐานที่ไม่สอดคล้องกับคำตอบหรือคำอธิบายที่ได้รับมา ดังนั้น…

นักวิชาการวิศวะมหิดล ชี้ 9 ข้อเสนอแนะ บทเรียนไฟไหม้…ระวังภัยหม้อแปลงไฟฟ้า

Loading

  หลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิด ณ อาคาร 3 ชั้น ย่านสำเพ็ง ถนนราชวงศ์ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บนับสิบ ไฟไหม้อาคารและรถเสียหาย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิสูจน์หลักฐานหาสาเหตุนั้น อีกไม่กี่วันต่อมายังเกิดเหตุระทึกประกายไฟลัดวงจรหม้อแปลงไฟฟ้าใหญ่กว่าตัวเดิมที่ปากซอยวานิช 1 ซึ่งอยู่ห่างจากที่เดิม 50 เมตร     แม้จะไม่มีผู้บาดเจ็บ แต่เกิดคำถามจากประชาชนว่า ทำอย่างไรจะให้หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีอยู่ทั่วเมืองนั้นอยู่กับเราได้อย่างมั่นคงปลอดภัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ดร.สุพรรณ ทิพย์ทิพากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวะมหิดล เผย 9 ข้อเสนอแนะแก้ไขแก่หน่วยงาน และ 6 ข้อแนะนำแก่ประชาชนที่อยู่ใกล้หม้อแปลงไฟฟ้า ในประเทศไทยใช้ หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) เพื่อทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้าแรงสูงให้เป็นแรงดันไฟฟ้าสำหรับการใช้งานในครัวเรือน 2 แบบ คือ 1) แรงดันไฟฟ้าแบบ 3 เฟส (Three – Phase Transformer)…

ส่องอนาคตดิจิทัลไทยอีก 10 ปี กำหนดทิศทางขับเคลื่อน ศก.ไทย

Loading

เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาเปลี่ยนวีถีชีวิตและพฤติกรรมของคนในหลายด้าน และมีบทบาทช่วยขับเคลื่อน เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างมาก ทำให้หลายๆประเทศ ต้องมองภาพอนาคต หรือ ฟอร์ไซท์ (Foresight) เพื่อเป็นข้อมูลกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศ อย่างเช่นประเทศฟินแลนด์ ที่เป็นผู้นำในการทำ Foresight ได้นำกระบวนการมาช่วยในการวางนโยบายการ ดำเนินงานของภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมรับมือกับกความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น และให้รู้เท่าทันและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น!! สำหรับประเทศไทยทาง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า ก็ได้จัดตั้ง ฟอร์ไซท์ เซ็นเตอร์ บาย เอ็ตด้า (Foresight Center by ETDA)  ขึ้นเพื่อป็นหน่วยงานที่ช่วยศึกษาการจัดทำภาพฉายอนาคต หรือ (Foresight Research) เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น โดยความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และผู้ให้บริการ โทรคมนาคม ภาคการเงินต่างๆ โดยทำการศึกษาภาพอนาคตในยุคดิจิทัล เพื่อให้ประเทศเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น!! ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ เอ็ตด้า บอกว่า ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งเรื่องปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ และเมตาเวิร์ส ที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จึงมีคำถามว่า ต้องมีการออกกฎหมาย และวางแนวทางกำกับหรือไม่? ภาพอนาคตต่อจากนี้ 10 ปี จะก่อให้เกิดผลดี…

ไขปม PDPA ทุกมิติ ควรตระหนักแบบไม่ตระหนก (Cyber Weekend)

Loading

  ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ‘ข้อมูล’ เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับองค์กรธุรกิจเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาแอปพลิชัน เพื่อให้บริการได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าและประชาชน   แต่เมื่อเกิดกระแสบ่อยครั้งว่าข้อมูลที่ได้จากลูกค้าหรือประชาชนเกิดการ ‘หลุด’ ไปอยู่ในกลุ่มคนไม่หวังดีที่หวังผลทางธุรกิจหรือไม่ใช่ธุรกิจก็ตาม ทำให้ลูกค้าหรือประชาชนเริ่มไม่ค่อยมั่นใจเวลาจะต้องให้ข้อมูลส่วนตัวกับองค์กรธุรกิจหรือภาครัฐ ซึ่งเป็นที่มาทำให้เกิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน   ทว่า ทันทีที่ PDPA มีผลบังคับใช้ กลับเกิดกระแสความเข้าใจผิด ด้วยบทลงโทษที่รุนแรง เช่น โทษทางอาญา จำคุกสูงสุด 1 ปี หรือโทษทางปกครองที่ปรับได้ถึง 5 ล้านบาท จึงเกิดดรามาต่างๆ ขึ้นจากความไม่รู้ เช่น ห้ามถ่ายภาพติดคนอื่นในโซเชียล ห้ามติดกล้องวงจรปิด มีการนำ PDPA กล่าวอ้างเพื่อจะฟ้องร้องกันหลายกรณี ในขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอีต่างก็ตื่นกลัวว่าจะสามารถทำตามกฎหมาย PDPA ได้หรือไม่ เพราะการเก็บข้อมูลไม่ให้รั่วไหลต้องใช้เงินลงทุนจำนวนไม่น้อย   ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITPC) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงได้จัดงานเสวนาจิบน้ำชา ‘ไขข้อข้องใจ PDPA ในทุกมิติ’ เพื่อสร้างความกระจ่างชัดให้สังคมที่กำลังสับสน    …

ไบโอแล็บ ระเบิดเวลาที่ต้องรีบปลดชนวน

Loading

  มีหลายแนวคิดถูกหยิบขึ้นมาอธิบายการเกิดขึ้นของโควิด-19 หนึ่งในนั้นคือ โควิด-19 เกิดขึ้นภายในห้องทดลองทางชีวภาพหรือไบโอแล็บ แล้วเกิดการรั่วไหลหรือมีการจงใจปล่อยออกมาเพื่อสร้างความปั่นป่วนให้กับระบบเศรษฐกิจและการเมืองโลก   แน่นอนว่าคู่กรณีหลักในเรื่องนี้ย่อมหนีไม่พ้นจีนและสหรัฐ แต่จนถึงวันนี้คำกล่าวหาที่เกิดขึ้นต่อสองประเทศนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานหนักแน่นพอที่จะชี้ลงไปได้ว่าต้นทางของการระบาดมาจากไหนกันแน่   ไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไร สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ หลายประเทศในโลกนี้มีการพัฒนาอาวุธชีวภาพเพื่อใช้ในการสงครามจริง เรื่องนี้คือสิ่งที่น่ากังวลมากกว่าการหาที่มาของโควิด-19 เสียอีก เพราะอาวุธชีวภาพมันเป็นระเบิดเวลาที่น่ากลัวเหลือเกิน หากมองในแง่ของการสงคราม     ข้อดีของอาวุธชีวภาพมี 4 อย่าง   1. อาวุธชีวภาพสามารถปิดเกมได้เร็ว เพราะแม้ใช้ในปริมาณน้อยก็สามารถสร้างความเสียหายให้กับกำลังทหารและประชาชนได้ในวงกว้าง โดยไม่ส่งผลเสียหายเหมือนการใช้อาวุธประเภทอื่นเพื่อให้ได้ผลเช่นเดียวกัน เช่น การใช้ระเบิดนิวเคลียร์   2. มีต้นทุนในการผลิตและใช้ที่ต่ำ ด้วยปริมาณที่ไม่มาก จึงนำไปใช้ได้ง่าย ตรวจจับได้ยากจนกว่าจะสายเกินไปแล้ว ทั้งยังมีต้นทุนในการผลิตไม่สูงเมื่อเทียบกับอาวุธทำลายล้างประเภทอื่นที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับชีวิตในระดับเดียวกัน   3. สามารถสร้างได้ง่าย หากเทียบกับการพัฒนาอาวุธประเภทอื่น อาวุธชีวภาพสามารถสร้างได้ง่ายกว่า ไม่ต้องใช้องค์ความรู้สูง หากเป็นแบบที่ไม่ซับซ้อนมากก็ไม่ต้องใช้วัตถุดิบพิเศษ ประเทศที่ไม่ได้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากนักจึงสามารถพัฒนาและครอบครองอาวุธประเภทนี้ได้   4. สามารถกระจายไปใช้งานในหลายพื้นที่พร้อมกันได้สะดวก เนื่องจากเป็นอาวุธที่ใช้ปริมาณไม่มาก ไม่ต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บมากนัก จึงสะดวกต่อการซุกซ่อนและเคลื่อนย้าย     ข้อจำกัดสำคัญของอาวุธชีวภาพมี 5 อย่าง…

สภาอเมริกันสอบกรณีจลาจลรัฐสภา 6 ม.ค. กับคำถาม ‘ทรัมป์ก่ออาชญากรรมหรือไม่?’

Loading

FILE – Supporters of President Donald Trump storm the Capitol, Jan. 6, 2021, in Washington.   คณะกรรมาธิการตรวจสอบเหตุจลาจลรัฐสภา 6 ม.ค. 2021 ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ รับฟังคำให้การจากอดีตเจ้าหน้าที่ในรัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ หลายคน เกี่ยวกับความพยายามของอดีตปธน.ทรัมป์ ที่ต้องการคว่ำผลการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 รวมทั้งการปลุกระดมให้ผู้สนับสนุนตนบุกอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ จนนำไปสู่เหตุจลาจลที่มีผู้เสียชีวิตหลายราย   ถึงกระนั้น คำถามสำคัญที่คนอเมริกันต้องการคำตอบ คือ การกระทำของอดีตผู้นำสหรัฐฯ ผู้นี้เข้าข่ายก่ออาชญากรรมหรือไม่?   แคสซิดี ฮัทชินสัน หนึ่งในคณะทำงานของทำเนียบขาวในสมัยอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ให้การต่อคณะกรรมาธิการตรวจสอบเหตุจลาจลรัฐสภา 6 ม.ค. 2021 ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อวันอังคาร เกี่ยวกับการกระทำของอดีตผู้นำสหรัฐฯ ทั้งก่อนและระหว่างที่กำลังเกิดการบุกรุกอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ ในวันนั้น   Cassidy Hutchinson, former aide to…