อียู มีมติรับยูเครนมีสถานภาพเป็นผู้สมัครสมาชิกกลุ่ม

Loading

                                          Belgium EU Summit สหภาพยุโรป (อียู) ตกลงที่จะรับใบสมัครสมาชิกของยูเครนในวันพฤหัสบดี โดยขั้นตอนนี้ถือเป็นการเริ่มต้นกระบวนการรับสมาชิกใหม่ที่อาจต้องใช้เวลานานนับปีกว่าจะได้ข้อสรุป แต่จะช่วยให้ยูเครนถอยห่างออกจากอิทธิพลของรัสเซียที่ยังเดินหน้ารุกรานตนอยู่ และดึงให้กรุงเคียฟเข้าใกล้พันธมิตรชาติตะวันตกมากขึ้น ตามรายงานของสำนักข่าวเอพี รายงานข่าวระบุว่า การตัดสินใจของผู้นำประเทศสมาชิก 27 ประเทศที่สรุปยอมรับใบสมัครของยูเครนเพื่อเข้าเป็นสมาชิกอียู ที่ยื่นเข้ามาไม่กี่วัน ก่อนกองทัพรัสเซียจะเริ่มการรุกรานเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ถือเป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นเร็วกว่าปกติมาก แต่เพราะกรณีสงครามและการร้องของจากรุงเคียฟให้ทางกลุ่มช่วยเร่งกระบวนการพิจารณาโดยด่วน น่าจะมีส่วนช่วยให้ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากกรณีของยูเครนแล้ว ผู้นำอียูยังตัดสินใจอนุมัติการมอบสถานภาพผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มของประเทศมอลโดวาด้วย แต่การที่ประเทศใด ๆ จะได้เข้าเป็นสมาชิกอียูนั้นต้องใช้เวลานานนับปีหรือทศวรรษก็เป็นได้ เพราะแต่ละประเทศต้องดำเนินการหลายอย่างให้เป็นไปตามเงื่อนไขด้านเศรษฐกิจและการเมืองของกลุ่ม ซึ่งรวมถึง การตกลงที่จะปฏิบัติตามหลักนิติธรรมและหลักการของระบอบประชาธิปไตยด้วย ในการนี้ ยูเครนมีโจทย์สำคัญคือ การกำจัดกรณีทุจริตคอร์รัปชันภายในรัฐบาลและดำเนินการปฏิรูปต่าง ๆ มากมาย…

จด•หมายเหตุ : ดาต้าไพรเวซีไกด์ไลน์ – Data Privacy Guideline

Loading

นคร เสรีรักษ์* 1. มหากาพย์กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลที่คนไทยรอคอยมานานกว่า 20 ปี และยังต้องรอคอยวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ครบทุกมาตราอีก 3 ปี มาถึงวันนี้มีกรรมการชุดใหญ่แล้ว มีกรรมการกำกับสำนักงานแล้ว รอการตั้งเลขาธิการและการจัดตั้งสำนักงานถาวรขึ้นมาทำหน้าที่แทนสำนักงานชั่วคราว 2. นอกเหนือจากนี้ก็เป็นเรื่องการรอ “กฎหมายลูก” ซึ่งได้แก่ประกาศ ข้อกำหนด ระเบียบ หลักเกณฑ์ และยังมีเรื่อง “แนวทางปฏิบัติ” ซึ่งปัจจุบันมีออกมาเสนอขายให้เห็นเยอะมากในท้องตลาด 3. เริ่มที่ “หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรภาคเอกชน” ของ เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลคนปัจจุบัน ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เธียรชัยทำเสนอสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเมื่อปี 2550 สาระสำคัญ เป็นการศึกษาเพื่อวางหลักเกณฑ์และแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดเก็บโดยภาคเอกชน และเป็นการสรุปหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานสากลมานำเสนอเพื่อให้องค์กรเอกชนได้นำไปพิจารณาปรับใช้ตามความเหมาะสมหรือสอดคล้องกับธุรกิจของตน 4. ยังมีแนวทาง “แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Thailand Data Protection Guidelines)” ของศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดทำโดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทผู้ประกอบอาชีพด้านกฎหมายหลายแห่ง[1] 5. แนวทางนี้มีการเผยแพร่หลายเวอร์ชั่นแล้ว แต่มีข้อที่ต้องสังเกตคือ ผู้จัดทำประกาศแจ้งความไม่รับผิดชอบต่อเนื้อหาหนังสือไว้อย่างชัดเจนใน “ข้อปฏิเสธความรับผิด” โดยระบุว่า “‘ผู้แต่ง’ ไม่ได้ให้การรับรองหรือรับประกันใดๆ ถึงความถูกต้องครบถ้วนของเนื้อหาของงานนี้”…

ETDA พาสำรวจ 5 ประเทศต้นแบบรัฐบาลดิจิทัล พัฒนา e-Government สร้างบริการสุดล้ำเพื่อประชาชน

Loading

  โลกแห่งเทคโนโลยีหมุนและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วขึ้นทุกวัน ทุกประเทศต่างล้วนปรับตัวตามให้ได้ไวมากที่สุด ขณะที่ เทคโนโลยีก็ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของประชากรโลกเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในหลายๆ เรื่อง ด้วยเหตุนี้ ทำให้หลายประเทศโดยเฉพาะในฝั่งภาครัฐ ต่างปรับตัว และการให้บริการก้าวสู่โลกออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ด้วยรูปแบบการให้บริการที่หลายคนต่างคุ้นหู อย่าง e-Government หรือ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ คือ การจัดการบริการต่างๆ ของภาครัฐให้กับประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการติดต่อและขอรับบริการจากภาครัฐได้ง่าย รวดเร็ว และประหยัดเวลาในการตรวจสอบ การจัดทำเอกสารสำคัญต่างๆ ที่ภาครัฐร้องขอ ที่สำคัญประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย สำหรับ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) (Electronic Transactions Development Agency) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะหน่วยงานภาครัฐมีบทบาทสำคัญที่จะผลักดันและส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศดิจิทัล หรือ Digital Ecosystem ที่มั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ ทั้งระหว่างภาครัฐกับรัฐ ธุรกิจกับธุรกิจ หรือแม้แต่ภาครัฐกับภาคธุรกิจ เพื่อให้การทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ เชื่อมโยงระบบข้อมูลได้อย่างคล่องตัวและช่วยให้ประชาชนได้รับการบริการจากแต่ละหน่วยงานได้อย่างสะดวก พร้อมทั้งมีเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รองรับการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิด e-Government ขึ้น เพื่อยกระดับความสามารถของภาครัฐในการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดย e-Government…

[Guest Post] รายงาน State of Ransomware 2022 ของ Sophos ระบุ 66% ขององค์กรทั่วโลก ถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์

Loading

– ผลสำรวจเปิดเผยว่า มีการจ่ายค่าไถ่เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่า ซึ่งเป็นจำนวนเงินประมาณ 812,360 เหรียญสหรัฐ หรือกว่า 30 ล้านบาท – มีองค์กรราว 46% ที่ถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์ที่ยอมจ่ายค่าไถ่เพื่อรับข้อมูลกลับคืน 21 มิถุนายน 2565 กรุงเทพฯ ประเทศไทย – โซฟอส (Sophos) บริษัทผู้นำด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ยุคใหม่ระดับโลก เปิดรายงานสำรวจภัยคุกคามจากแรนซัมแวร์ที่เกิดขึ้นจริง ในรายงาน State of Ransomware 2022 ซึ่งระบุว่า 66% ขององค์กรที่สำรวจถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์ในปี 2564 เพิ่มขึ้น 37% จากปี 2563 โดยองค์กรต้องจ่ายค่าไถ่ เพื่อเข้าถึงรหัสข้อมูลสำคัญที่ถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์ เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่า หรือคิดเป็นเงินกว่า 812,360 ล้านดอลลาร์ (30 ล้านบาท) และยังเพิ่มขึ้น 3 เท่าในสัดส่วนขององค์กรที่จ่ายค่าไถ่ตั้งแต่ 1 ล้านดอลลาร์ขึ้นไป นอกจากนี้ รายงานยังพบว่า…

ข้อมูลส่วนบุคคล ที่เป็นภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว

Loading

  พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ตามบทบัญญัติดังกล่าว มีข้อกฎหมายที่สำคัญ ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันในการบันทึกภาพและการใช้และเผยแพร่ภาพที่บันทึกไว้ของบุคคลทั่วไป และผู้ประกอบกิจการ   ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าว คือ ภาพถ่ายบุคคล ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวของบุคคลถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่   เมื่อพิจารณา จากคำนิยามศัพท์ของ คำว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล” ที่หมาย หมายความว่าข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูล ของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ   จากคำนิยามของคำว่าข้อมูลส่วนบุคคล แล้วเห็นว่า ภาพถ่ายบุคคล ไม่ว่าจะเป็น ภาพเดี่ยวหรือถ่ายตั้งแต่สองคนขึ้นไปเป็นกลุ่มบุคคล หรือที่เรียกว่าภาพหมู่ สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ จึงเข้าข่ายเป็น ข้อมูลส่วนบุคคล   ภาพถ่ายฝูงชน (Photographs of crowds) เช่น ภาพถ่ายฝูงชนที่เข้าไปชมการแข่งขันกีฬา หรือชมการแสดง หรือกระทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด หากไม่สามารถระบุตัวบุคคลใดได้อย่างชัดแจ้งเฉพาะเจาะจง ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลใด   แต่ถ้าหากมีการขยายภาพ และตัดส่วนภาพ (crop ) จนเหลือภาพบุคคล ผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งสามารถยืนยันตัวบุคคลได้ชัดเจน…

จุดร้อนในเอเชียแปซิฟิก

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ ************ ในช่วงปี 2555 เราได้เห็นนายพลทหารอเมริกัน นักการเมืองอเมริกัน แวะมาเยี่ยมเยียนผู้นำไทยบ่อยครั้ง ซึ่งค่อนข้างผิดปกติ จริงอยู่ การเยือนเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติในช่วงปีก่อนที่ผ่านมา พบว่า ทั้งรัฐมนตรี นายพลทหารอเมริกัน แวะมาเยือนเมืองไทยบ่อย หากจะมองว่าธรรมดาก็ธรรมดา แต่ถ้ามองลึกไปกว่านั้นย่อมไม่ธรรมดา นี่ไม่นับรวมที่ผู้นำสหรัฐเชิญผู้นำมาอาเซียน ยกเว้นพม่าและกัมพูชา ไปเยือนและประชุมที่วอชิงตัน โดยอ้างว่าเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี ที่สหรัฐและอาเซียนมีข้อตกลงร่วมกัน ทั้งที่ก่อนหน้านั้นไม่เคยมี การเชิญครั้งนี้เป็นไปลักษณะร้องขอกึ่งบังคับขอให้ไปให้ได้ การที่ไม่เชิญพม่านั้นพอเข้าใจได้เพราะเป็นรัฐบาลทหารจากการยึดอำนาจ แต่สหรัฐที่ไม่เชิญผู้นำกัมพูชาทั้งที่กัมพูชาเป็นประธานอาเซียนในปีนี้ ไม่อาจเข้าใจเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากผู้นำกัมพูชาใกล้ชิดจีนและยอมให้จีนมาพัฒนาท่าเรือขนาดใหญ่ที่สามารถใช้ในกิจการทหารเมื่อจำเป็นได้ สถานทูตสหรัฐใน กทม.เผยแพร่ภาพและข่าวเรื่อง พล.ร.อ.จอห์น ซี.อากีลีโน ผู้บัญชาการกองบัญชาการภาคพื้นอินโด – แปซิฟิกของสหรัฐ มาเยี่ยมและหารือประจำปี กับ ผบ.ทหารสูงสุดของไทยเมื่อต้นวันที่ 8 มิถุนายน 2565 ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน นี่เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นและไทยเป็นเจ้าภาพ โดยพยายามเน้นให้ประชาชนเห็นว่า ข้อตกลงดังกล่าวเน้นเรื่องการทำงานร่วมกันด้านมนุษยธรรม บรรเทาสาธารณภัย การแพทย์ การฝึกร่วม ความร่วมมือด้านความมั่นคงที่ยั่งยืน สนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล เพื่อให้ไทยเป็นผู้นำในการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ฯลฯ…