ตามให้ทัน “เมตาเวิร์ส” หวั่นภัยไซเบอร์ลุกลาม

Loading

  กลายเป็นประเด็นให้พูดถึงในวงกว้างสำหรับ เมตาเวิร์ส (metaverse) หลังจากที่ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง เฟซบุ๊ก (Facebook) ได้ประกาศรีแบรนด์เปลี่ยนชื่อ บริษัท ใหม่ เป็น เมตา (Meta) ภายในงานประชุม Connect 2021 ขณะเดียวกันยังประกาศวิสัยทัศน์แบบก้องโลก ที่จะผลักดัน “เมตาเวิร์ส” สู่การใช้งานในชีวิตจริง ซึ่งเมตาเวิร์ส ถือเป็นยุคต่อไปของการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยขยายประสบการณ์สู่รูปแบบ “สามมิติ” หรือมีการแสดงภาพสู่โลกแห่งความจริง และเปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถแชร์ประสบการณ์โลกเสมือนจริงหรือโลกดิจิทัลแก่ผู้อื่น ที่สามารถโต้ตอบ แบ่งปันและใช้พื้นที่เสมือนจริงร่วมกันได้ ผ่าน “อวาตาร์” ที่เป็นตัวแทนของเราในโลกเสมือน หลังจากเมตาเวิร์ส ถูกจุดประเด็นขึ้น ยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศ ทั้ง “ไมโครซอฟท์” หรือบริษัทบันเทิง อย่าง “ดิสนีย์” ก็ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องการเชื่อมโยงโลกดิจิทัลให้ ใกล้ชิดกับคนมากยิ่งขึ้นในรูปแบบ “โลกเสมือนจริง” ผ่านเทคโนโลยีวีอาร์ (Virtual reality) หรือการจำลองสภาพแวดล้อมจริงในโลกเสมือนจริง และเทคโนโลยี เออาร์ (Augmented reality) ที่เป็นเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือนเข้ากับโลกความเป็นจริง   ภาพจาก Meta (เฟซบุ๊ก)   “เมตาเวิร์ส” จึงกลายเป็นเรื่องใหม่ที่คนเฝ้าติดตามกันอย่างใกล้ชิดว่าในอนาคตข้างหน้าเทคโนโลยีนี้จะเปลี่ยนการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างเราไปอย่างไร? สำหรับประเทศไทยแล้วในมุมมองของผู้ที่อยู่ในแวววงไอที มีมุมมองในเรื่องนี้อย่างไร?? “บุญเลิศ นราไท”ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เออาร์ไอพี บอกว่า ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าในไทยคงต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะเป็นที่นิยม เพราะในต่างประเทศบริษัทต่าง ๆ เพิ่งเริ่มให้ความสำคัญ…

5 สิทธิอนุญาต (app permission) บนสมาร์ทโฟน ที่ต้องระวังเช็คทุกวัน ป้องกันข้อมูลส่วนตัวถูกขโมย

Loading

  5 สิทธิอนุญาต (app permission) บนสมาร์ทโฟน เชื่อว่าทุกคนเคยให้แอปบนโทรศัพท์ของคุณได้รับอนุญาตให้ทำบางสิ่งโดยไม่ได้คิดอะไรหรือไม่? หลายคนให้สิทธิ์แม้ที่ละเอียดอ่อน เช่น เข้าถึงกล้อง ไมโครโฟน และตำแหน่งของคุณทันทีที่ปรากฏ บทความนี้มาดูเรื่องสำคัญเกี่ยวกับประเภทการอนุญาตมือถือที่อันตรายที่สุด และวิธีที่แอปอันตรายอาจใช้ในทางที่ผิดเพื่อขโมยข้อมูลเกี่ยวกับคุณก็เป็นได้ ดังนั้นขณะติดตั้งและใช้แอป ต้องทบทวนเกี่ยวกับสิทธิ์อนุญาตของแอปมือถือด้วย ทั้ง iPhone และ Android   5 สิทธิอนุญาต (app permission) บนสมาร์ทโฟน ที่ต้องระวังเช็คทุกวัน       1. ไมโครโฟน ไม่แปลกใจเลยที่แอปบันทึกเสียงต้องการเข้าถึงไมโครโฟนของคุณ เป็นเรื่องขึ้นมาเมื่อมีเกมฟรีที่คุณเพิ่งติดตั้งมาขอการอนุญาตเข้าถึงไมโครโฟน ในปี 2017 The New York Times รายงานว่ามีเกมหลายร้อยเกมบน Google Play และบางเกมใน App Store ถูกรวมเข้ากับซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Alphonso Automated Content Recognition ซึ่ง ซอฟต์แวร์ของ Alphonso ใช้ไมโครโฟนของอุปกรณ์ของคุณเพื่อระบุภาพยนตร์และรายการทีวีที่กำลังเล่นอยู่รอบตัวคุณ…

รู้ทัน 4 ขั้นตอน กลโกงแก๊ง “เงินกู้ออนไลน์”

Loading

  รู้ทัน 4 ขั้นตอนกลโกงมิจฉาชีพที่อาศัยช่วงที่ประชาชน หาแหล่งเงินกู้ แอบอ้างเป็นผู้ให้บริการ “เงินกู้ออนไลน์” แล้วหลอกลวงเงินจากประชาชน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย โปรดสังเกตตรวจสอบให้แน่ใจ ก่อนตัดสินใจกู้เงิน   ปัจจุบันโลกของการสื่อสารออนไลน์ เข้ามามีบทบาทสำคัญกับชีวิตประจำวันของเรา ทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้น ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด -19 ระบาด วิถีชีวิตของเราก็ถูกปรับเปลี่ยนไป เราหันมาพึ่งการติดต่อสื่อสารออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะการจับจ่ายซื้อของ การทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านแอปพลิเคชั่นทางโทรศัพท์มือถือ และด้วยความสะดวกสบายนี้เหล่ามิจฉาชีพสบช่องทางในการหลอกลวงได้ง่ายดายหากไม่ระมัดระวัง   ซึ่งการหลอกลวงก็จะมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งในระยะหลังจะพบปัญหาการหลอกลวงกรณีการกู้เงินออนไลน์ ผ่านแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะกวาดล้างจับกุมมาเป็นระยะ แต่ก็ยังมีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อแก๊งปล่อยเงินกู้ออนไลน์เหล่านี้   อย่างกรณีล่าสุด ที่ตำรวจไซเบอร์ เปิดปฏิบัติการ “ล่าแอพเงินกู้โหด เหนือจรดใต้” บุกค้น 8 จุด ในพื้นที่ 6 จังหวัด อันสืบเนื่องจาก มีผู้เสียหายชาวกำแพงเพชร หลงกลแก๊งมิจฉาชีพไปทำเรื่องกู้เงินออนไลน์ จาก 6 แอปพลิเคชั่น และเว็บไซต์กู้เงิน แต่แทนที่จะได้เงินตามที่ต้องการกลับถูกหลอกให้โอนเงิน โดยอ้างมีค่าดำเนินการ ต่างๆ นานา…

DSI รร.นายร้อยตำรวจ นิติวิทย์ฯ ขานรับแนวทาง “การสัมภาษณ์เพื่อหาความจริง” เตรียมทดลองใช้จริง

Loading

  “การสัมภาษณ์เพื่อหาความจริง” หรือ Investigative Interview เป็นแนวทางการสืบสวนสอบสวนคดีของตำรวจในประเทศนอร์เวย์ ซึ่งยึดหลักการในการสอบสวน “สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้บริสุทธิ์” จึงเน้นไปที่การสัมภาษณ์เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงมากกว่าการตั้งเป้าหมายให้ได้คำรับสารภาพจากผู้ต้องสงสัย นี่เป็นแนวทางที่เคยถูกนำมาฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานในประเทศไทยเมื่อปี 2562 แนวทางนี้เป็นหนึ่งในข้อเสนอที่ถูกนำมาพูดถึงอีกครั้งในเวทีเสวนาที่จัดขึ้นโดย สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ภายใต้ชื่อ TIJ Forum ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ Way Out : หนทางใหม่สู่การค้นหาความจริง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากประเทศนอร์เวย์มาอธิบายถึงหลักการสัมภาษณ์เพื่อหาความจริง หลังมีผลสำรวจของ TIJ Poll จากคดี “อดีตผู้กำกับโจ้” ทำร้ายผู้ต้องสงสัยจนเสียชีวิต ระบุว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมลดลงอย่างมาก และต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เชิงโครงสร้างอำนาจในกระบวนการยุติธรรมไปจนถึงกระบวนการสืบสวนสอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงในคดี TIJ Forum จัดขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ในหัวข้อ “WAY OUT: หนทางใหม่สู่การค้นหาความจริง” (ภาคต่อ) โดยมี 3 หน่วยงานสำคัญในกระบวนการยุติธรรม คือ กรมสอบสวนคดีพิเศษ…

“โทริหมะ” อาชญากรรมไม่เลือกหน้าในญี่ปุ่น

Loading

ภาพจาก www.sankei.com   สวัสดีค่ะเพื่อนผู้อ่านทุกท่าน หลายท่านคงได้ข่าวหนุ่มญี่ปุ่นถือมีดไล่แทงผู้โดยสารบนรถไฟเมื่อวันฮาโลวีนที่ผ่านา อาชญากรรมแบบทำร้ายคนแบบไม่เลือกหน้าในที่สาธารณะเช่นนี้เกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้วในญี่ปุ่น ทั้งที่ญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่แสนจะปลอดภัย เมื่อวันฮาโลวีนที่ผ่านมา (31 ต.ค.) เกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญภายในรถไฟสายเคโอที่กรุงโตเกียว เมื่อหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งถือมีดแทงผู้คนภายในขบวนรถ ก่อนจุดไฟเผาตู้รถไฟ บรรดาผู้โดยสารต่างหนีเอาชีวิตรอด ปีนออกทางหน้าต่างกันจ้าละหวั่น เหตุการณ์นี้มีผู้บาดเจ็บกว่า 10 ราย และมีคุณปู่วัย 70 ปีคนหนึ่งถูกคนร้ายแทงอาการสาหัส คนร้ายแต่งชุดคอสเพลย์เลียนแบบ “โจ๊กเกอร์” ตัวละครในภาพยนตร์เรื่อง “แบทแมน” หลังก่อเหตุเขานั่งสูบบุหรี่ภายในตู้โดยสาร รอให้ตำรวจจับกุมอย่างไม่ประหวั่นพรั่นพรึง และยังบอกกับตำรวจว่าต้องการโดนประหารชีวิต พลางโอดครวญว่าตนเองมีปัญหาเรื่องงาน อีกทั้งความสัมพันธ์กับเพื่อนก็ไม่ดี ก่อนหน้านั้นไม่ถึง 3 เดือนก็มีคดีคล้ายกันเกิดขึ้นบนรถไฟสายโอดะคิว ซึ่งในคดีนั้นคนร้ายก็พยายามจะจุดไฟเผาขบวนรถไฟแต่ทำไม่สำเร็จ และในคดีโจ๊กเกอร์นี้คนร้ายก็บอกว่า คดีรถไฟสายโอดะคิวที่ผ่านมาก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงมือของเขาในครั้งนี้ด้วย   ลักษณะเด่นของ “โทริหมะ” ผู้ก่ออาชญากรรมแบบไม่เลือกหน้า ญี่ปุ่นเรียกอาชญากรประเภทนี้ว่า “โท-ริ-หมะ” (通り魔) หมายถึงคนร้ายที่จู่โจมทำร้ายคนที่ผ่านไปมาทั้งที่ไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน แบ่งออกได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ก่อเหตุในจุดเดียว ก่อเหตุในหลายจุดภายในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน และก่อเหตุแบบต่อเนื่อง  …

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล : บทบาทและหน้าที่ตามกฎหมาย

Loading

  “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” และ “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” เป็นคำใหม่ในระบบกฎหมายไทยและมีความหมายเฉพาะตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ   HIGHLIGHTS ในแต่ละองค์กร ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล คือองค์กรที่เป็นนิติบุคคล ไม่ใช่พนักงานหรือส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งภายในองค์กร สถานะ หน้าที่และความรับผิดในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ไม่สามารถมอบหมายไปยังบุคคลอื่นได้ พนักงานภายในองค์กรในบริบทของสัญญาจ้างพนักงานไม่ใช่ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ในบริบทของกิจกรรมการประมวลผลหนึ่ง ๆ บุคคลธรรมดาที่จะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามนิยามในกฎหมายนี้ต้องไม่ใช่ผู้ที่ทำการประมวลผลในนามหรือตามคำสั่งขององค์กรที่ตนสังกัด เนื่องจากเจตนารมณ์ของกฎหมายไม่ต้องการให้แยกการดำเนินการของบุคคลต่าง ๆ ในองค์กรออกจากองค์กรที่ตนเองสังกัด บุคคลธรรมดาซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ ในกรณีที่ประกอบกิจการเจ้าของคนเดียวโดยที่ไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลแยกต่างหากจากบุคคลที่เป็นเจ้าของ   พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎหมายไว้กับบุคคลสองกลุ่ม ได้แก่ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” และ “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเป็นระบบ   พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ กำหนดว่า “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (“การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล”) และ “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล   จากบทนิยามดังกล่าว อาจจำแนกลักษณะและองค์ประกอบของความเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล…