โลกมุสลิม…ขั้วที่สามของสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงโลก

Loading

  โลกมุสลิมกำลังก้าวเข้ามาเป็นผู้คานอำนาจการเมืองระดับโลก ที่กำลังแยกค่ายแบ่งขั้วอย่างชัดเจนขึ้น รัฐอิสลามจำนวนมากเมื่อผนึกพลังกันจะมีศักยภาพไม่น้อยหน้าประเทศยักษ์ใหญ่หรือกลุ่มพหุภาคีใด ๆ   สมัยก่อนพวกเขาเหมือนยักษ์หลับ ที่ต้องยุดโยงอยู่กับขั้วใดขั้วหนึ่ง หรือไม่มีอำนาจที่แท้จริง แต่มาวันนี้ภายใต้ความขัดแย้งที่รุนแรงของฝ่ายฝรั่งตะวันตกโปรประชาธิปไตยกับฝ่ายอำนาจนิยมตะวันออก พวกเขาพร้อมผงาดขึ้นมาอย่างหนักแน่น และส่งผลให้โฉมหน้าสภาวะแวดล้อมโลกต้องเปลี่ยนไปอีกครั้ง   ในขณะที่ สหรัฐ มหาอำนาจเดี่ยวดั้งเดิมนั้นมีแนวทางปลุกกระแสพันธมิตรโดยใช้อุดมการณ์ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นหลักการที่ตกผลึกมาจากคุณค่ายึดถือของชาติตะวันตกนั้น นับว่าประสบความสำเร็จในการหาพวกมากที่สุด เพราะมนุษย์ทุกสีผิวหมู่เหล่าเผ่าพันธุ์ ปราศจากข้อจำกัดในการกีดกันแสวงหาประโยชน์     ในอดีตด้านหนึ่งนั้น จีน มหาอำนาจที่พึ่งขึ้นชั้นมา อาศัยความรู้สึกชาตินิยม ปลุกกระแสชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ผลักดันความร่วมมือระหว่างหลายภาคส่วน จนขึ้นมาทาบสหรัฐได้ คนจีนที่มีจำนวนถึง 20% ของโลกเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จนี้ แต่ในขณะที่โลกจับจ้องการเผดียงแข่งกันของสองฝ่ายนี้ โลกมุสลิมที่อาศัยความศรัทธายึดมั่นที่มีต่อศาสนาร่วมกันก็พุ่งขึ้นมาอย่างเงียบๆ พร้อมกับความหนักแน่น ชาวมุสลิมพันแปดร้อยล้านคนทั่วโลกเป็นฐานที่สำคัญของการเป็นขั้วที่สามความมั่นคงโลก   ในอดีต จักรวรรดิมุสลิมเคยยิ่งใหญ่มาแล้วหลายอาณาจักร หลายแห่งกินเวลายาวนานหลายร้อยปี ไม่ว่าจะเป็นของชาวมัวร์ในไอบีเรีย โมกุลในอินเดีย หรือออตโตมานที่เกือบพิชิตยุโรปตะวันตกได้ด้วยหากไม่สะดุดที่ปากกำแพงเวียนนาเสียก่อน แต่ในรอบร้อยปีมานี้ความยิ่งใหญ่อย่างนี้ลดลงไป   เพราะรัฐจำนวนมากเกิดปัญหาทั้งภายในและระหว่างรัฐ ไม่ว่าจะเป็นความยากจน ความเห็นแก่ตัวของชนชั้นนำที่ร่ำรวย การไปเกี่ยวข้องสนับสนุนก่อการร้าย การถูกแทรกแซงจากประเทศยักษ์ใหญ่ต่างศาสนา และการสู้รบ ผลก็คือไม่มีชาติไหนเลยที่สามารถก้าวขึ้นมามีอิทธิพลระดับท็อปไฟว์ในการเมืองโลก     แต่ที่น่าแปลกใจคือ…

ตะลึง! เมื่อ AI มีความคิด “อคติ” แถมยัง “เลือกปฏิบัติ” ไม่ต่างจากมนุษย์

Loading

  นักวิจัยด้านวิทยาการหุ่นยนต์กำลังหาทางป้องกันไม่ให้ ‘หุ่นยนต์’ แสดงพฤติกรรมเลือกปฏิบัติและอคติต่อมนุษย์ หลังพบว่าระบบอัลกอริทึมของ AI สามารถสร้างรูปแบบการเลือกที่รักมักที่ชังได้ เพื่อให้แน่ใจว่าหุ่นยนต์ และ AI นั้นปฏิบัติกับมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียม นักวิจัยปัญญาประดิษฐ์ จึงได้ทำการวิจัยกับแขนกลหุ่นยนต์ในสถานการณ์จำลอง โดยแขนกลนี้ถูกติดตั้งระบบการมองเห็น ทำให้สามารถเรียนรู้การเชื่อมโยงระหว่างภาพกับคำจากภาพถ่าย และข้อความออนไลน์ได้ ทีมวิจัยทดลองด้วยการให้หุ่นยนต์ดูรูปภาพใบหน้าคนหลากหลายเชื้อชาติที่ถ่ายในลักษณะเดียวกันกับพาสปอร์ต ไม่ว่าจะเป็นชาวเอเชีย คนผิวดำ คนละติน หรือคนผิวขาว แล้วให้แขนกลหยิบรูปภาพที่ตรงกับกลุ่มคำศัพท์ที่ใช้ระบุตัว เช่น “กลุ่มอาชญากร” หรือ “กลุ่มแม่บ้าน” หุ่นยนต์เลือกปฏิบัติไม่ต่างจากคน จากการทดลองกว่า 1,300,000 ครั้ง ในโลกเสมือนจริง พบว่า การจัดรูปแบบอัลกอริทึมนั้นมีความสอดคล้องกับการกีดกันทางเพศและการเหยียดเชื้อชาติในอดีต แม้จะไม่มีการเขียนข้อความหรือทำตำหนิบนรูปภาพใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เมื่อสั่งให้หุ่นยนต์หยิบใบหน้าของอาชญากร หุ่นยนต์มักเลือกภาพถ่ายของคนผิวดำมากกว่ากลุ่มอื่นถึง 10% และเมื่อให้เลือกภาพของหมอ หุ่นยนต์มักจะเลือกภาพผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเสมอ เมื่อถามว่าลักษณะของบุคคลเป็นอย่างไร หุ่นยนต์มักจะเลือกรูปภาพของชายผิวขาวมากกว่าผู้หญิง ไม่ว่าจะเชื้อชาติใดก็ตาม นอกจากนี้ในการทดลองทั้งหมดหุ่นยนต์จะเลือกรูปภาพของหญิงผิวดำน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ วิลลี่ แอคนิว นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ผู้ทำการศึกษาดังกล่าว เขาพบว่า งานวิจัยของเขาเป็นสัญญาณเตือนให้กับสาขาวิทยาการหุ่นยนต์เฝ้าระวังอันตรายจากการเลือกปฏิบัติของหุ่นยนต์ รวมถึงหาหนทางใหม่ ๆ ในการทดสอบหุ่นยนต์…

ท่องโลกโซเชียลยังไง? ให้ข้อมูลของเราปลอดภัย

Loading

  ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “โลกโซเชียล” สำคัญสำหรับเราขนาดไหน เพราะในทุก ๆ เช้าที่ตื่นมาหลายคนเป็นต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเพื่อเช็กโซเชียลก่อนเป็นอย่างแรก และแน่นอนว่าหากเราลองคิดตามเราก็จะรู้ว่าโลกโซเชียลมีผลกับชีวิตประจำวันเราขนาดไหน เช่น การสั่งอาหาร การสั่งสินค้า หรือแม้แต่การอ่านข่าวสารต่าง ๆ ที่สามารถทำให้เราเข้าถึงข้อมูลได้ไวกว่าช่องทางอื่น ๆ แต่เราเองต้องไม่ลืมว่าการที่เราใช้งานโซเชียลมีเดียบ่อย ๆ นั้นบางครั้งก็มีการบันทึก “ข้อมูล” หรือที่เรียกว่า DATA ของเราเอาไว้ อ่านมาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนคงกำลังสงสัยว่า.. เราสามารถท่องโซเชียลโดยที่ข้อมูลของเรายังปลอดภัยได้ไหม? เพราะเราคงไม่อยากให้ข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ถูกเผยแพร่ไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเราสามารถปกป้องข้อมูลและเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลของเราได้ แต่เราต้องมาเรียนรู้วิธีท่องโซเชียลให้ปลอดภัยเสียก่อน บทความนี้จึงอยากพาทุก ๆ คนไปรู้จักกับ “วิธีท่องโลกโซเชียลยังไง? ให้ DATA ของเราปลอดภัย” กัน เริ่มแรกเลยเรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับ “ข้อมูล” หรือ “DATA” กันก่อน ข้อมูล (DATA) คือ ข้อเท็จจริงในเรื่องต่าง ๆ ที่มาในรูปแบบ ภาพ ตัวเลข ตัวอักษร และอื่น ๆ…

รับมืออย่างไร? เมื่อ “อีเมลอันตราย” 1 ใน 4 จากทั่วโลกมุ่งเจาะ “เอเชียแปซิฟิก”

Loading

  อีเมลไม่ใช่เซฟโซน! จะรับมืออย่างไร เมื่อ 1 ใน 4 “อีเมลอันตราย” จากทั่วโลกมุ่งสู่ “เอเชียแปซิฟิก” ในปี 2022 แถม “อีเมล” ยังคงเป็นช่องทางหลักในการโจมตีด้านความปลอดภัย เพราะโอกาสสำเร็จสูง และต้นทุนต่ำกว่าวิธีอื่นๆ แม้ปัจจุบันจะมี “สมาร์ทโฟน” และแอปพลิเคชันที่ทำให้ติดต่อกันได้แบบสุดแสนจะง่ายดาย แต่ “อีเมล” ก็ยังถือเป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารโดยเฉพาะในเชิงธุรกิจ การทำงาน เพราะถูกมองว่าเป็นทางการกว่าและเหมาะกับการส่งข้อมูลในปริมาณมาก ทำให้ตลอดเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่มี “สแปมอีเมล” ฉบับแรกช่วงปี 1978 ก็มีเหล่าสแกมเมอร์พยายามใช้อีเมลเป็นช่องทางในการโจมตีด้านความปลอดภัยเสมอมา เนื่องจากอีเมลสามารถกระจายได้ง่ายกว่า ประหยัดกว่า แถมมีโอกาสทำสำเร็จสูงเสียด้วย ข้อมูลอัปเดตล่าสุดพบว่า 1 ใน 4 “อีเมลอันตราย” จากทั่วโลกมุ่งสู่ “เอเชียแปซิฟิก” หรือ “APAC” โดย Noushin Shabab หนึ่งในนักวิจัยของ “Kaspersky” อัปเดตข้อมูลในงาน Kaspersky’s 8th APAC Cyber Security Weekend เกี่ยวกับอีเมลอันตรายเหล่านี้ว่า…

วิธีป้องกัน-รับมือภัยใกล้ตัว ก่อน “ถังก๊าซรั่ว” จนไหม้หรือระเบิด

Loading

  ปภ.แนะนำวิธีการป้องกันและข้อปฏิบัติเพื่อใช้ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซ LPG อย่างถูกวิธี ป้องกันภัยใกล้ตัวก๊าซรั่วจนเกิดไฟไหม้หรือระเบิด ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิงที่บ้านและร้านอาหารนิยมใช้ประกอบอาหาร เนื่องจากใช้งานง่ายและสะดวกสบาย แต่มีคุณสมบัติไวไฟจะติดไฟอย่างรวดเร็ว หากอุปกรณ์ถังก๊าซอยู่ในสภาชำรุด ผู้ใช้งานประมาทและขาดความระมัดระวัง จะเสี่ยงต่อการระเบิดและเพลิงไหม้ได้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้แนะนำวิธีการป้องกันและข้อปฏิบัติเพื่อใช้ก๊าซหุงต้มอย่างถูกวิธีและปลอดภัยไว้ ดังนี้ การเลือกใช้ถังก๊าซ ถังก๊าซ มีเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรับรองคุณภาพมีซีลปิดผนึกที่หัวถังในสภาพสมบูรณ์ พร้อมหมายเลขถังกำกับ และมีข้อความระบุชื่อบริษัท เดือน ปี ที่ตรวจสอบถังครั้งสุดท้าย น้ำหนักถัง และน้ำหนักบรรจุอย่างชัดเจน รวมถึงตัวถังไม่มีรอยบุบ บวม หรือเป็นสนิท สายนำก๊าซ ต้องเป็นชนิดที่ใช้กับก๊าซหุงต้ม ไม่ทำจากยางหรือพลาสติก เพราะเมื่อถูกก๊าซหุงต้มจะละลาย ทำให้เกิดการรั่วไหลได้ ที่สำคัญ ต้องไม่หักงอง่ายทนต่อแรงดันและการขูดขีด สามารถต่อกับลิ้นเปิด – ปิดได้สนิทและแน่นหนา เหล็กรัดสายยางส่งก๊าซ ต้องเลือกใช้ชนิดที่ไม่เป็นสนิม มีความแข็งแรงทนทาน และควรเปลี่ยนใหม่ทุก ๆ 2 ปี วิธีป้องกันเหตุรั่วไหล -หมั่นตรวจสอบเตาแก๊สและถังก๊าซให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ห้ามเปลี่ยนอุปกรณ์หรือแก้ไขด้วยตนเอง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ -ใช้งานก๊าซหุงต้มอย่างถูกวิธี ไม่เปิดเตาแก๊สติดต่อกันหลายครั้ง…

ภัยสังคม!! บทเรียน “แอปพลิเคชันหาคู่” หลอกเหยื่อให้รัก-ลวงล่วงละเมิด-หลอกลงทุน

Loading

  ระบาดหนัก!! “แอปพลิเคชันหาคู่” ไม่ได้แฟนแต่เสี่ยงเจอมิจฉาชีพ กูรูความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ดึงสติ จะใช้แอปฯหาคู่ อย่าไว้ใจไว ต้องมองโลกในแง่ร้ายไว้ก่อน!! อุทาหรณ์ “แอปฯหาคู่” ที่ไม่อยากเจอกับตัว!! “อยากฝากถึงคนที่เล่นแอปฯหาคู่ ให้ระวังตัวให้ดี อย่าไปเจอใครง่ายๆ หลังจากนี้เข็ดแล้ว จะไม่เล่นแอปฯพวกนี้อีกเด็ดขาด” คำพูดของผู้เสียหายหญิงวัย 20 ปี กล่าวถึงบทเรียนออนไลน์ที่เจอมากับตัวสดๆ ร้อนๆ หลังจากที่เธอเล่นแอปพลิเคชันหาคู่ Omi (โอมิ) และมีนัดเจอ “บู” ชายวัย 27 ปีที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจคอมมานโด ยศ ร.ต.ท. ก่อนจะถูกข่มขืน ทำร้ายร่างกายและกักขังหน่วงเหนี่ยว จนเธอบอบช้ำไปทั้งกายและใจ ทราบในภายหลังว่า ชายคนดังกล่าวเป็น “ตำรวจเก๊” เพราะประวัติถูกจับกุมข้อหา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เมื่อปี 2561 โดยปลอมเฟซบุ๊กอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามยาเสพติด และเคยถูกจับกุมคดีเสพยาเสพติดมาแล้วถึง 12 ครั้ง สำหรับสิ่งที่ทำให้ผู้เสียหายของเหตุการณ์นี้ หลงเชื่อว่าเขาเป็นตำรวจนั้น มาจากรูปโปรไฟล์ใน TikTok และFacebook ที่สวมชุดตำรวจ อีกทั้งยังมีทั้งบัตรตำรวจ หมวกตำรวจ ปืน ชุดเกราะ…