โด่งดังสมใจโดยไม่ติดคุก โจรมะกันปล้นแบงก์-หนีชิลชิล 50 ปี ก่อนตายทิ้งเบาะแสให้ไขคดี จนได้เป็นข่าวไปทั่วโลก

Loading

ธีโอดอร์ คอนราด หนุ่มหน้าใส นัยน์ตาซื่อ ซึ่งน่าจะเป็นคนท้ายๆ ในโลกที่จะลงมือทำอาชญากรรมอุกฉกรรจ์แห่งการปล้นธนาคาร เขาแปลงตัวเป็นคนใหม่ในชื่อว่า โทมัส แรนเดล ไว้หนวดเคราอำพรางใบหน้าเดิม และไปกบดานหลบหนีคดีในย่านชานเมืองของนครบอสตัน อันเป็นถิ่นที่ถูกใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังแห่งปี 1968 คือ The Thomas Crown’s Affair หนังโลดโผนด้วยจินตนาการ ซึ่งธีโอดอร์ หรือเท็ด ปลาบปลื้มหลงใหลอย่างหัวปักหัวปำ   ธีโอดอร์ คอนราด “คนมีของ” แห่งคลีฟแลนด์ สหรัฐอเมริกา มีพลังอัจฉริยะระดับไอคิว 135 พลังนี้ได้ขับเคลื่อนให้อยากปล่อยของเพื่อทำให้ผู้คนทึ่งและยอมรับในตัวเขา เขาทำอย่างนั้นด้วยการปล้นแบงก์ครั้งประวัติการณ์ตอนอายุ 20 ปีบริบูรณ์ โดยคดีนี้เป็นคดีปริศนาที่ค้างเติ่งตลอด 52 ปีที่เขากบดานหลบหนีการจับกุม เมื่อเขาจากโลกนี้ไป เขาอาจจะตั้งใจทำให้โลกทึ่งในตัวเขาอีกครั้งหนึ่งด้วยการให้เบาะแสแหล่งกบดาน เพื่อที่มือปราบคู่แค้นจะเข้ามาไขปริศนาคดีได้สำเร็จ พร้อมกับนำพาให้เรื่องราวและภาพถ่ายของเขาได้เป็นข่าวใหญ่ ปิดท้ายชีวิต 71 ปี อย่างเอิกเกริกนั่นเอง เมื่ออาการมะเร็งปอดของโทมัส แรนเดล ทรุดหนักเข้าขั้นว่าใกล้จะอยู่จะไปแล้ว แคธี ศรีภรรยาผู้แต่งงานอยู่กินกับเขานานเกือบ 4 ทศวรรษ ได้เชิญเพื่อนฝูงของคุณตาโทมัส วัย 71…

ส่อง 7 เทคโนโลยีสำคัญในระบบ “เศรษฐกิจดิจิทัล” ของไทยภายในปี 2035

Loading

  สรุป 7 เทคโนโลยี ที่จะมีอิทธิพลต่อระบบ “เศรษฐกิจดิจิทัล” ของไทยภายในปี 2035 คนทำงานรู้ก่อนปรับตัวทัน คนทำธุรกิจรู้ก่อนได้เปรียบกว่า ศักราชเปลี่ยน เทคโนโลยีปรับในอีกไม่ช้าไม่นาน “เศรษฐกิจไทย” จำเป็นต้องก้าวไปสู่ “เศรษฐกิจดิจิทัล” ที่มีเทคโนโลยีต่างๆ เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งคนที่มองเห็นโอกาสทางเทคโนโลยีได้ไกลกว่าย่อมมีโอกาสที่จะพัฒนาสินค้าและบริการหรือธุรกิจให้รุดหน้าไปคว้าโอกาสใหม่ก่อนคนอื่นได้ “กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” ชวนมองข้ามช็อตไปถึงปี 2035 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีเทคโนโลยีใดบ้างที่เป็นเทคโนโลยีสำคัญ ที่จะเข้ามากระทบกับธุรกิจเศรษฐกิจกันบ้าง โดยสรุปข้อมูลจากการคาดการณ์อนาคต 7 เทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย ภายในปี 2035 จาก DEPA และ Frost & Sullivan ที่น่าสนใจดังนี้ 1. IoT (Internet of Things) อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง  เป็นเทคโนโลยีเริ่มใช้แพร่หลายในปัจจุบัน “IoT” ช่วยยกระดับการใช้งานหรือใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์และเซ็นเซอร์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การวิเคราะห์ข้อมูล และการประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud computing) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจรวมถึงการสร้างรูปแบบและบริการทางธุรกิจใหม่ๆ โดยไม่กี่ปีข้างหน้าคาดว่าจะมีการใช้งานจำนวนอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพิ่มขึ้นหลายพันล้านเครื่องทั่วโลก ส่งผลให้ตลาด IoT ทั่วโลกจะยังคงเติบโตอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างการใช้งาน IoT เช่น บ้านอัจฉริยะ (Smart home) พลังงานอัจฉริยะ (Smart energy)…

ต่างประเทศเริ่มออกมาตรการรับมือ Log4Shell

Loading

  องค์กรควรรีบหาวิธีการดำเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ช่วงนี้คงไม่มีใครในวงการไซเบอร์ที่ไม่รู้จักภัยคุกคาม “Log4Shell” ช่องโหว่ใน Log4j ที่เป็นส่วนเสริมของโปรแกรมที่ทำงานบนภาษา Java และเป็นส่วนสำคัญของ Apache ซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายโดยแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น Minecraft , Apple iCloud , Tesla , Elasticsearch ฯลฯ ซึ่งอานุภาพของ Log4Shell คือการเรียกใช้โค้ดจากระยะไกล ทำให้ผู้โจมตีสามารถติดตั้งมัลแวร์บนเซิร์ฟเวอร์เป้าหมายได้อย่างง่ายดาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายวิธี ล่าสุดในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ที่หน่วยงานด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศได้จัดการประชุมฉุกเฉินโดยรวบรวมตัวแทนจากกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII) มาเข้าร่วม โดยในระหว่างนั้นหน่วยงานจะให้คำแนะนำและข้อมูลทางเทคนิคในการรับมือกับ Log4Shell Cyber ​​Security Agency (CSA) ของสิงคโปร์เตือนว่า หากช่องโหว่นี้ถูกโจมตีได้สำเร็จ จะเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์ควบคุมเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับผลกระทบได้อย่างสมบูรณ์ และยังเน้นย้ำว่าองค์กรควรรีบหาวิธีการดำเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นให้เร็วที่สุด  ทั้งนี้ CSA ได้แจ้งเตือนผู้นำในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศและกลุ่มธุรกิจต่างๆ ให้พวกเขาอัปเดตแพตช์เป็นเวอร์ชันล่าสุดทันที ซึ่ง CSA จะทำงานร่วมกับตัวแทนจาก CII เพื่อออกมาตรการบรรเทาผลกระทบ ร่างกฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์ของสิงคโปร์นั้นครอบคลุม 11 กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ช่วยให้หน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องสามารถใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อปกป้องกลุ่ม…

หน้าที่ดำเนินการตามคำร้องขอใช้สิทธิ | Tech, Law and Security

Loading

  หน้าที่ดำเนินการตามคำร้องขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นหน้าที่ของ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ที่ต้องดำเนินการตามเงื่อนไขของคำร้องขอใช้สิทธิแต่ละประเภท ภายในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด การจัดให้มีระบบการจัดการเพื่อดำเนินการตามคำร้องขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และการจัดทำบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง ครบถ้วน จะช่วยส่งเสริมให้ทุกองค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปฏิบัติต่อสิทธิต่างๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายที่กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กรในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ที่ต้องปฏิบัติเมื่อดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้หลายประการ อาทิ (1) สิทธิในการขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 30 (Right of access) (2) สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 31 (Right to data portability) (3) สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 32 (Right to object) (4) สิทธิในการขอให้ลบข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 33 (Right to erasure) (5) สิทธิในการระงับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 34 (Right to restriction of processing) (6) สิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้องตามมาตรา 36 (Right…

“เป็นหู เป็นตา”

Loading

  เมื่อสองเดือนก่อน ผู้บริหารระดับสูง 8 คนของสายการบินไหหลำ ใส่เสื้อเชิ้ตแขนยาว ไม่มีเสื้อกันหนาว ออกไปยืนเรียงแถวกันภายนอกอาคาร ที่นครปักกิ่ง กลางอากาศเย็นเฉียบที่ 0 องศาเซลเซียส ไม่ใช่ว่าผู้บริหาร อยู่ดีๆเกิดนึกสนุก ออกไปยืนหนาวสั่นรับความเย็นเช่นนั้น เป็นเวลานานถึง 40 นาที แต่เป็นเพราะถูกคำสั่งลงโทษ ให้ทำเช่นนั้นครับ สาเหตุก็เพราะ มีผู้โดยสารระดับพลาตินัมของสายการบิน ลงเครื่องบินที่กรุงปักกิ่งแล้วเขาเหลือบไปเห็นแอร์โฮสเตสหญิงคนหนึ่ง เธอนั่งตัวงอด้วยความหนาวสั่นอยู่ริมถนน ระหว่างที่เธอกำลังรอรถบัส   น้องคนนั้น อยู่ในชุดปฏิบัติงานของสายการบิน ที่ออกแบบไว้สำหรับใช้สวมใส่ในฤดูร้อน เป็นชุดขาสั้น มองเห็นท่อนขาสูงขึ้นไปจนเหนือเข่า และไม่มีเสื้อคลุมกันหนาว แต่ขณะนั้น อากาศได้เปลี่ยนเป็นฤดูหนาวแล้ว ผู้โดยสารคนนั้น ถ่ายภาพพนักงานต้อนรับแล้วไปให้ผู้บริหารระดับสูงของสายการบินไหหลำ ผลก็คือการลงโทษผู้บริหาร 8 คนอย่างที่เห็น เพื่อ “ให้รู้เสียบ้างว่า อย่าเอาแต่นั่งในออฟฟิศ แล้วคิดว่าฤดูอะไรก็เหมือนกันแหละ… ออกไปแก้ปัญหาซะ”   วิธีลงโทษแบบนี้ คงทำได้ในประเทศจีนและอีกบางประเทศเท่านั้น ประเทศอื่นๆคงทำได้ยากสักหน่อย แต่ประเด็นของผมไม่ได้อยู่ตรงนั้นครับ ผมมองไปที่บทบาทของผู้โดยสารคนนั้นมากกว่า มีคำกล่าวภาษาไทยที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี ที่เรียกว่า “เป็นหู เป็นตา” ผมคิดว่าผู้โดยสารคนนั้น…

การปกป้องข้อมูลด้วยการกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัม ป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ได้จริงไหม

Loading

  รู้จัก การกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัมและการรับมือกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ด้วย QKD เหตุใด “โตชิบา” จึงลงทุนวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับ QKD และวิทยาศาสตร์ควอนตัมเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการป้องกันภัยทางไซเบอร์ วิกฤตโรคระบาดกำลังทำให้แรนซัมแวร์ในลักษณะ Double-threat , การโจรกรรมข้อมูล และการโจมตีด้วยเทคนิค Supply-chain attack ที่ซับซ้อนเพิ่มสูงขึ้น โชคยังดีที่อาชญากรทางไซเบอร์ถูกขัดขวางไว้ด้วยการเข้ารหัสในระดับองค์กร ซึ่งไม่อาจถูกเจาะเข้าไปได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม ด้วยการมาถึงของการประมวลผลควอนตัม แม้แต่การปกป้องข้อมูลด้วยวิธีนี้ก็ตกอยู่ในอันตราย เมื่อขุมพลังในการประมวลผลอันทรงพลังอยู่ใกล้แค่เอื้อม อาชญากรทางไซเบอร์จะสามารถหาทางเจาะผ่านอัลกอริทึมการเข้ารหัสได้ งานวิจัยที่เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซียและประเทศไทยได้แสดงให้เห็นแล้วถึงการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมในวิทยาการเข้ารหัส และอาชญากรทางไซเบอร์ก็กำลังจับตามองการพัฒนาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด นี่คือเหตุผลที่เรายกระดับงานวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับควอนตัมของโตชิบาเพื่อให้เท่าทันต่อผู้ไม่ประสงค์ดีเหล่านี้ เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทางบริษัทได้ประกาศความร่วมมือกับ SpeQtral บริษัทด้านเทคโนโลยีควอนตัมที่ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อเสนอโซลูชันด้านการสื่อสารที่ปลอดภัยในเชิงควอนตัมที่ได้รับการสนับสนุนจากเทคโนโลยีการกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัม (QKD) ของโตชิบา การกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัมคืออะไร การกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัม (QKD) ใช้ในการกระจายรหัสลับดิจิทัลที่สำคัญเพื่อปกป้องข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูงที่จำเป็นอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมหลายภาคส่วน ข้อมูลที่ปลดล็อกจะเข้าถึงได้เฉพาะเมื่อรหัสดิจิทัลที่ถูกต้องอยู่ในมือของผู้รับแล้วเท่านั้น แต่ปัญหาคือรหัสดิจิทัลอาจถูกขโมยหรือถูกใช้ในทางที่ผิดได้ แฮกเกอร์ทางไซเบอร์สามารถปลดล็อกข้อมูลที่ขโมยมาได้โดยใช้รหัสที่มีความปลอดภัยบกพร่องได้ ส่วนสำคัญของการรักษาความปลอดภัยด้วย QKD ขึ้นอยู่กับการเข้ารหัสแต่ละบิตผ่านโฟตอน (อนุภาคของแสง) แต่ละตัวที่ถูกส่งออกมา ตัวอย่างเช่น ผ่านเส้นใยแก้วนำแสงทั่วไป เนื่องจากความพยายามในการอ่านโฟตอนจะเปลี่ยนการเข้ารหัสที่ทำไว้ จึงทำให้การรักษาความลับของรหัสแต่ละตัวสามารถได้รับการทดสอบและยืนยันได้ นอกจากนี้ QKD ยังคงมีความปลอดภัยแม้จะมีความก้าวหน้าทางด้านคณิตศาสตร์และการประมวลผลในอนาคต รวมถึงพลังในการประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์ควอนตัมอีกด้วย ซึ่งไม่เหมือนกับโซลูชันด้านความปลอดภัยอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยี QKD ข้อมูลที่เข้ารหัสไม่เพียงแต่จะปลอดภัยจากการปลดล็อก แต่ความพยายามใดๆ ในการแฮ็กรหัสดิจิทัลยังถูกตรวจจับได้ตั้งแต่เนิ่นๆ จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลและข้อความต่างๆ จะเข้าถึงได้โดยผู้รับที่ตั้งใจไว้เท่านั้น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเเห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) กำลังดำเนินการเพื่อให้เทคโนโลยี QKD ใช้งานได้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในอุตสาหกรรมเพื่อบ่มเพาะ “ตัวเข้ารหัสที่ทนต่อควอนตัม” ประเภทใหม่ลงในบริการด้านการเงิน ภาครัฐ และธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพที่ทำงานร่วมกับข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูง นอกจากนี้ ประเทศไทยก็มีการค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาการเข้ารหัสที่เข้มข้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ร่วมมือกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ในการศึกษาระบบการดักจับอะตอมเดี่ยว นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยอื่นที่กำลังศึกษาเทคโนโลยีควอนตัม เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ รวมถึงกิจการเพื่อสังคมอย่าง บริษัท ควอนตัมเทคโนโลยีฟาวเดชั่น (ประเทศไทย) จำกัด…