‘ปรัชญา’ ฉายภาพ ‘ความเสี่ยงภัยไซเบอร์’ ชี้กำลังประเมินความเสี่ยง เพื่อวางระบบป้องกันภัยคุกคาม

Loading

  ‘ปรัชญา’ ฉายภาพ ‘ความเสี่ยงภัยไซเบอร์’ ชี้กำลังประเมินความเสี่ยงเพื่อวางระบบป้องกันภัยคุกคาม เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 มีนาคม พลเอก ดร.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (ลธ.กมช.) บรรยายพิเศษ เรื่อง ความพร้อมประเทศไทยกับความปลอดภัยไซเบอร์ ในงานสัมมนาเรื่อง ไทยกับความปลอดภัยไซเบอร์ 2022 ผ่านรูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่งผ่านเฟซบุ๊ก เครือมติชน ไลน์ออฟฟิเชียลมติชน และยูทูบมติชนทีวี ที่อาคารสํานักงาน บริษัท มติชน จํากัด (มหาชน) ว่า ประวัติการเริ่ม ไซเบอร์สเปซ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีวิวัฒนาการมาข้างค่อนนาน จากที่หลายคนทราบว่า มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพียงไม่กี่ปี แต่ที่จริงแล้วอินเตอร์เน็ตถูกออกแบบขึ้นมาตั้งแต่ 60 ปีก่อน และเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ประมาณ 30 ปี ดังนั้น ระบบอินเตอร์เน็ตจึงค่อนข้างเก่า และมีความไม่ปลอดภัยต่อการใช้งานในบางมุม เนื่องจากการใช้งานในระยะเริ่มแรกต้องการประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลให้มีความรวดเร็ว มากขึ้น และเมื่ออินเตอร์เน็ตได้ออกสู่สาธารณะให้ทุกคนทั่วโลกสามารถใช้งานในการเชื่อมต่อ โดยอาศัยโปรโตคอลของอินเตอร์เน็ตได้ จึงเริ่มมีการพัฒนาการบริการ แพลตฟอร์มต่างๆ จนวิวัฒนาการมาเป็นโซเชียลมีเดีย…

“ดีอีเอส” ยกระบบไซเบอร์ซิเคียวริตี้ด้านการเงินไทยแกร่งสุด !!

Loading

  ระบุทุกภาคส่วนมีแนวโน้มการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล ดันปัญหาความปลอดภัยไซเบอร์เป็นภัยใกล้ตัว ย้ำนายกรัฐมนตรีใส่ใจ ความปลอดภัย ไซเบอร์ กับประชาชน หนุนเสริมขีดความสามารถรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ วอนทุกภาคส่วนตระหนักและสร้างความเข้าใจ ร่วมขับเคลื่อนการทำงาน นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวในการเปิดงานสัมมนา “ไทยกับความปลอดภัยไซเบอร์ 2022” วันนี้ (30 มี.ค.65) ว่า ปัจจุบันความปลอดภัยทางไซเบอร์มีความสําคัญใกล้ตัว และเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจําวัน และจะทวีความสําคัญยิ่งขึ้นตามแนวทางของโลก ที่กําลังปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลในหลากหลายมิติ ยิ่งมีการใช้งานหรือทำกิจกรรมเกี่ยวข้องกับดิจิทัลมากขึ้น ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์ ทั้งนี้ หลายประเทศตระหนักถึงภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ และได้กำหนดมาตรการในการป้องกัน ยกระดับขีดความสามารถของหน่วยงาน ตลอดจนการเร่งรัดพัฒนา บุคลากรทางไซเบอร์ เพื่อให้สามารถรองรับกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ในส่วนของประเทศไทย มีการกฎหมายคือ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 ซึ่งกําหนดให้มีการจัดตั้ง สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ขึ้นมา เพื่อดําเนินการในการกําหนดนโยบาย จัดทําแผนปฏิบัติการ ทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ ตลอดจนการประสานงาน เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น ชื่นชมที่ผ่านประเทศไทยก็มีระบบการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่ดีมาก โดยเฉพาะระบบการเงินการธนาคารยังไม่มีการถูกแฮก ถึงแม้อาจมีการถูกโจมตีก็สามารถป้องกันได้ สามารถรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบการเงินการธนาคารได้ดี รวมถึงสาธารณูปโภคต่างๆเรื่องไฟฟ้าหรือประปาหรือการขนส่งมวลชนต่างๆที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เราก็ระบบป้องกันที่ดีซึ่งรัฐบาล ท่านพลเอก…

วิเคราะห์ลึก Top Ten Trends Cybersecurity&Data Privacy 2021

Loading

  ในทุกๆ ปี แนวโน้มด้านเทคโนโลยีและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ มีการเปลี่ยนแปลงและเกิดสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา วันนี้เราจะกล่าวถึง Top Ten Trends Cybersecurity & Data Privacy 2021 เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของผู้บริหารระดับสูงในปี 2022   วิเคราะห์ Trend ที่ 1: Personalized Marketing vs. Customer Privacy การสร้างประโยชน์ทางธุรกิจจากข้อมูลส่วนบุคคลเปลี่ยนบริบทการตลาดส่วนบุคคล   กลยุทธ์การตลาดส่วนบุคคล (Personalized Marketing) เป็นหัวใจขององค์กรในปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า (Customer Privacy) ก็ต้องตระหนักถึงการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเช่นกัน ดังนั้นทั้งสองประเด็นจึงมีเส้นทางคู่ขนานกันไปที่จำเป็นต้องอยู่บนความถูกต้อง   ผลการวิจัยจาก jebbit.com พบว่า ผู้บริโภค 67% ต้องการประสบการณ์ส่วนตัว ในขณะที่ผู้บริโภค 92% กังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลบนโลกออนไลน์   แม้ว่ากลยุทธ์ Personalized Marketing จะสร้างความประทับใจต่อลูกค้าเนื่องจากรู้ลึกถึงความต้องการ แต่ในอีกมุมหนึ่งการเข้าถึงข้อมูลที่บ่งชี้ถึงตัวตนบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อทำการตลาดส่วนบุคคลนั้น อาจเป็นต้นตอที่ทำให้องค์กรละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล…

ถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลบัตรประชาชนไปใช้ ต้องทำอย่างไรเช็กเลยที่นี่

Loading

  สตช.เผยวิธีการหากถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลบัตรประชาชนไปใช้ ต้องทำอย่างไร พร้อมเตือนคนโกงหากปลอมแปลงเอกสารมีโทษหนักคุก 3 ปี ปรับ 6 หมื่น   เมื่อ 26 มี.ค. 65 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) กล่าวว่า ขอเตือนภัยกรณีมีสื่อสังคมออนไลน์นำเสนอเกี่ยวกับการนำข้อมูลบัตรประชาชนหรือข้อมูลส่วนตัวไปซื้อขายสินค้าออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มีความห่วงใยต่อภัยทางสื่อสังคมออนไลน์ที่หลอกลวงสร้างความเสียหายให้กับประชาชน โดยสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย   ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จึงได้กำชับและสั่งการให้ทุกหน่วยในสังกัดที่เกี่ยวข้องทำการสืบสวนสอบสวน จับกุม ปราบปรามภัยทางสื่อสังคมออนไลน์ทุกรูปแบบตามกฎหมายอย่างจริงจัง มีผลการปฎิบัติเป็นรูปธรรม รวมถึงสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงภัยดังกล่าวและแนวทางในการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย   ดังเช่น กรณีที่สื่อสังคมออนไลน์มีการนำเสนอเกี่ยวกับการนำข้อมูลบัตรประชาชน หรือข้อมูลส่วนตัวไปใช้ สำหรับซื้อขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งอาจจะถูกมิจฉาชีพปลอมลายมือชื่อลงในสำเนาบัตรประชาชนแล้วนำไปใช้ในการกระทำความผิด หรือหลอกลวงผู้อื่น หากมีการแก้ไขข้อความในช่องชื่อ นามสกุล วันออกบัตร หรือวันหมดอายุ ลงในสำเนาบัตรประชาชน ไม่ว่าจะนำไปถ่ายสำเนาใหม่อีกครั้ง…

GISTDA ส่งเทคโนโลยีอวกาศบริหารจัดการที่ดินรอบเรือนจำ

Loading

  GISTDA จับมือ กรมราชทัณฑ์ ดึงเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ บริหารจัดการที่ดินรอบเรือนจำ เล็ง เรือนจำสงขลา นำร่องก่อนใช้จริงในทัณฑสถานที่มีอยู่กว่า 143 แห่งทั่วประเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสร้างความร่วมมือ ด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ นายปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA กล่าวว่า การลงนามครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่ GISTDA จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาและดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานของกรมราชทัณฑ์ด้านการสำรวจและจัดทำแผนที่ด้านความมั่นคง และวางแผนจัดการการใช้ที่ดินบริเวณโดยรอบทัณฑสถานที่มีอยู่กว่า 143 แห่งทั่วประเทศ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมระหว่างสองหน่วยงาน และมุ่งสร้างเสริมขีดความสามารถในการพัฒนาบุคลากรและถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เข้ามาบูรณาการในการบริหารจัดการด้านความมั่นคงและความปลอดภัยของกรมราชทัณฑ์ นอกจากนี้ GISTDA จะร่วมผลักดันพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้ภารกิจของกรมราชทัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการจัดทำแผนที่แสดงอาณาบริเวณเขตเรือนจำทั่วประเทศ ที่ผ่านการจัดทำในมาตราส่วนที่เหมาะสม และมีมาตรฐาน เพื่อให้หน่วยงานภายใต้สังกัดของกรมราชทัณฑ์สามารถนำไปวางแผน ควบคุม เฝ้าระวังการกระทำผิดกฎหมายในบริเวณเรือนจำทั่วประเทศ ได้ทันการณ์ และมีประสิทธิภาพต่อไป ด้าน นายอายุตม์…

สงครามยูเครนกับตลาดซื้อขายอาวุธ

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ **************************************** สงครามและการสู้รบที่เกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นเรื่องความขัดแย้งในผลประโยชน์และความมั่นคงของประเทศคู่กรณีที่ไม่สามารถตกลงทางการทูตได้ จึงนำไปสู่การสู้รบ เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กำลังสู้รบกันอยู่ในขณะนี้ คำถามคือ อุตสาหกรรมและตลาดการซื้อขายอาวุธเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามครั้งนี้หรือไม่ อย่างไร ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งนี้ รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลกับประเทศในกลุ่มอาหรับ สหรัฐฯ กับอิรัก ซีเรีย ปากีสถาน ส่วนหนึ่งที่เปิดเผยคือความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ตกลงกันทางการทูตไม่ได้ จึงนำไปสู่สงคราม แต่ตลาดการซื้อขายอาวุธสงครามก็คึกคักและทำเงินได้มากทีเดียว แม้ว่า ประเทศต่างๆ ต้องมีการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยตามห้วงเวลา แต่นั่นก็ไม่ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตอาวุธและตลาดซื้อขายอาวุธคึกคักและทำกำไรให้เท่ากับเมื่อเกิดการสู้รบหรือสงคราม ยิ่งสงครามขยายใหญ่โต ความสูญเสียอาวุธก็เพิ่มขึ้นซึ่งจำเป็นต้องมีการทดแทนและสำรอง อุตสาหกรรมอาวุธจะทำกำไรได้มากเมื่อมีความตึงเครียดระหว่างประเทศ เกิดการเผชิญหน้าทางทหารและการสู้รบ สงคราม เพราะคู่กรณีต้องใช้อาวุธที่ทันสมัยเหนือคู่สงคราม ประเทศผู้ผลิตอาวุธขายจะทำกำไรได้มาก หุ้นสูงขึ้น คนถือหุ้นได้กำไรชนิดนับเงินกันไม่ไหว สถาบันวิจัยแห่งหนึ่งในสวีเดน (SIPRI) รายงานเมื่อปี 2564 ว่า ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา (2559-2563) ตลาดซื้อขายอาวุธขยายมากที่สุดหลังจากสิ้นสุดสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ส่งออกอาวุธมากที่สุดถึงร้อยละ 47 ในตลาดซื้อขายอาวุธของโลก ฝรั่งเศสส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 และเยอรมนีส่งออกเพิ่มร้อยละ 21 รัสเซียและจีนก็ส่งออกอาวุธได้เพิ่มขึ้นเช่นกันโดยแย่งตลาดสหรัฐฯ มาได้ในส่วนหนึ่ง โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศในทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลางเป็นตลาดอาวุธที่ใหญ่ที่สุด เพราะมีการสู้รบตลอดมาโดยพื้นฐานระหว่างอิสราเอลกับประเทศอาหรับเพื่อนบ้าน…