รู้ทัน ‘ภัยไซเบอร์’ เสริมภูมิคุ้มกันบนโลกดิจิทัล

Loading

    ครึ่งปีแรกปี 2567 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยว่า มีมูลค่าความเสียหายจากอาชญากรรมไซเบอร์สูงถึง 65,715 ล้านบาท หรือเฉลี่ยวันละ 80 ล้านบาทเลยทีเดียว   ช่วงปีที่ผ่านมา อาชญากรรมไซเบอร์ ดูเหมือนจะทวีความรุนแรง และสร้างความเสียหายให้องค์กร และผู้คนเป็นจำนวนมาก อย่างที่เราเห็นในข่าวไม่เว้นแต่ละวัน ที่มีคนโดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงินผ่านมือถือ หรือข่าวข้อมูลในองค์กรรั่วไหลจนต้องสูญเงินมหาศาล เชื่อไหมครับ ว่าแค่ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 สำนักงานตำรวจแห่งชาติเผยว่า มีมูลค่าความเสียหายจากอาชญากรรมไซเบอร์สูงถึง 65,715 ล้านบาท หรือเฉลี่ยวันละ 80 ล้านบาทเลยทีเดียว   การที่จำนวนอาชญากรรมไซเบอร์เพิ่มอย่างก้าวกระโดด ส่วนหนึ่งมาจากวิถีชีวิตผู้คนที่เปลี่ยนมาอยู่บนโลกออนไลน์แบบติดสปีดหลังโควิด ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมการเงินต่างๆ สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ รวมถึงการติดต่อสื่อสารผ่านโลกโซเชียล ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจทำให้หลายคนละเลยต่อภัยอันตรายที่มากับความสะดวกสบายของการใช้เทคโนโลยีบนโลกออนไลน์เหล่านี้   ดังนั้น การรู้เท่าทันภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats) จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องเรียนรู้ และอัปเดตอยู่เสมอ   ภัยคุกคามทางไซเบอร์สามารถเข้าถึงเราหลากหลายรูปแบบ อย่างในภาคธุรกิจ ที่พบเห็นได้บ่อย จะเป็นการรั่วไหลของข้อมูล (Data Breach) จากการโจมตีภายนอก หรือช่องโหว่ภายในระบบ…

Digital Twin: พลิกโฉมจัดการภัยพิบัติยุคใหม่

Loading

  ภัยพิบัติทางธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นด้วยความถี่ที่มากขึ้นและรุนแรงขึ้นในอนาคต แม้ประเทศไทยจะอยู่ในเขตที่เกิดภัยพิบัติไม่มากนัก แต่การเกิดขึ้นแต่ละครั้งก็ทำให้เราไม่ได้เตรียมตัวที่ดีหรือระมัดระวังอย่างเพียงพอ   การเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่แต่ละครั้ง ประชาชนจำนวนมากก็มักจะรอจนน้ำมาถึงระดับหนึ่งแล้วจึงอพยพซึ่งอาจจะไม่ทันการณ์และทำให้ความช่วยเหลือเป็นไปด้วยความยากลำบาก   ในประเทศที่ก้าวหน้าในหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ได้นำเทคโนโลยี Digital Twin หรือ ฝาแฝดดิจิทัล มาใช้ร่วมในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ   Digital Twins เป็นเทคโนโลยีที่จำลองสภาพแวดล้อมและระบบทางกายภาพในโลกจริงให้ไปอยู่ในรูปแบบ “โลกดิจิทัล” แบบจำลองของวัตถุ ระบบ หรือโครงสร้างต่าง ๆ จะสะท้อนการทำงานและการเปลี่ยนแปลงในโลกจริง   การใช้ Digital Twin ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบสถานการณ์ วิเคราะห์ข้อมูล และทดลองวิธีแก้ไขปัญหาในสภาพแวดล้อมเสมือนจริงในดิจิทัลได้ล่วงหน้า โดยไม่ต้องเสี่ยงกับความเสียหายต่อวัตถุหรือสถานการณ์จริง   Digital Twins นำมาใช้ในการจัดการภัยพิบัติ จึงช่วยจำลองสถานการณ์ทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ดินถล่ม ในพื้นที่เสี่ยง ช่วยคำนวณผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐาน และวางแผนอพยพประชาชนได้อย่างแม่นยำ   ในญี่ปุ่นนำ Digital Twin มาใช้จัดการภัยพิบัติโดยสร้างแบบจำลองเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ภาครัฐและผู้เชี่ยวชาญสามารถทดสอบแนวทางการตอบสนองในสภาพแวดล้อมปลอดภัยหรือโลกดิจิทัลก่อน…

อิทธิพล AI กับการเลือกตั้งประธานาธิบดี ความท้าทายของประชาธิปไตยยุคดิจิทัล

Loading

  อิทธิพลของ AI กับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2024 ความท้าทายของประชาธิปไตยในยุคดิจิทัล? ชาวอเมริกันเริ่มหวั่น “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)” อาจส่งผลกระทบต่อผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี ผลการสำรวจจากศูนย์วิจัย Pew ในเดือนกันยายน 2024 เผยว่า ชาวอเมริกันส่วนใหญ่เริ่มหวั่นว่า “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)” อาจส่งผลกระทบต่อผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2024 เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้อาจถูกนำไปสร้างและเผยแพร่ข้อมูลเท็จระหว่างการหาเสียง   อย่างไรก็ตาม งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม (University of Nottingham) ชี้ให้เห็นว่าศักยภาพการทำงานของ AI ที่อาจส่งอิทธิผลต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2024 นั้น ไม่ได้มีความแปลกใหม่อย่างที่หลายฝ่ายกำลังกังวล     บทบาทและอิทธิพลของ AI กับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2024 1. ให้ข้อมูลกับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง นับตั้งแต่การเปิดตัว ChatGPT ในปี 2022 สังคมเริ่มตระหนักถึงศักยภาพของ Generative AI ที่สามารถสร้างเนื้อหาตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบทความ ตอบคำถามทางประวัติศาสตร์ รวมถึงให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2024 คนส่วนใหญ่เริ่มหันมาใช้แชทบอท AI…

เลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับความพยายามลอบสังหารโดนัลด์ ทรัมป์

Loading

ภายในเวลาเพียง 2 เดือน โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับความพยายามลอบสังหารไปแล้วถึง 2 ครั้ง คือวันที่ 13 กรกฎาคม และ 15 กันยายน 2024 เราไปดูกันว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร   ความพยายามลอบสังหารที่รัฐเพนซิลเวเนีย   เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2024 โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ และเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกันในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2024 รอดชีวิตจากความพยายามลอบสังหารขณะกล่าวสุนทรพจน์ในการชุมนุมหาเสียงกลางแจ้ง ใกล้เมืองบัตเลอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย ทรัมป์ถูกยิงได้รับบาดเจ็บที่หูขวาบน โดยผู้ก่อเหตุคือนายโทมัส แมทธิว ครูกส์ ชายวัย 20 ปีจากเมืองเบเธลพาร์ค รัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งยิงกระสุนจากปืนไรเฟิลสไตล์ AR-15 จำนวน 8 นัดจากหลังคาของอาคารใกล้เคียง มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บสาหัสอีก 2 คน ต่อมาเขาถูกหน่วยต่อต้านการซุ่มยิงของหน่วยอารักขาประธานาธิบดี ยิงเสียชีวิต   หลังจากถูกยิง…

ข่าวปลอม พายุ พยากรณ์อากาศ หากแชร์แล้วระวังอาจโดนติดคุกได้!!

Loading

    ข่าวปลอม พายุ พยากรณ์อากาศ หากแชร์ส่งต่อผ่านโซเชียล อาจเข้าข่ายผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ กรมอุตุนิยมวิทยาออกมาเตือนประชาชนเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลอากาศเท็จบนสื่อสังคมออนไลน์ มีโทษจำคุกและปรับ หากผู้ใดสร้างหรือเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับสภาพอากาศ อาจทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนกและสับสนได้   กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนผู้โพสต์แจ้งเตือนภัยด้านอุตุนิยมวิทยาอันเป็นข้อมูลเท็จ เผยแพร่ข้อมูลบนสื่อ สังคมออนไลน์ต่างๆ อาจเข้าข่ายกระทำความผิด พระราชบัญญัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ซึ่งมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท   เนื่องด้วยในปัจจุบันนี้มีการเผยแพร่ และส่งต่อข้อมูลการแจ้งเตือนภัยทางด้านอุตุนิยมวิทยา บนสังคมออนไลน์เป็นจำนวนมาก จากผู้ที่ไม่มีหน้าที่และรับผิดชอบโดยตรง ผ่านหลากหลายช่องทางโดยเฉพาะช่องทางอินเทอร์เน็ต ที่มีความสะดวกในการรับและส่งข่าวสารต่อ ๆ กันได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่ต้องการสร้างข่าวลือ ข่าวปลอม ข่าวบิดเบือน ต้องการแสวงหาประโยชน์จากความตื่นตระหนกกับข่าวปลอมดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดและความเข้าใจคาดเคลื่อนไปจากข้อมูลจริง เกิดความตื่นตระหนก สับสนกับสถานการณ์ และเกิดความปั่นป่วนในสังคมเป็นวงกว้าง   ทั้งนี้ในช่วงที่เกิดสถานการณ์วิกฤตหรือมีภัยพิบัติ ต้องงดการส่งต่อข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือหากมีข้อสงสัยควรตรวจสอบข้อมูลที่มาจากแหล่งอ้างอิงของทางราชการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง มิฉะนั้นอาจเข้าข่ายกระทำความผิด พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกียวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 มาตรา…

ความรุนแรงทางการเมืองป่วนสหรัฐ ก่อนการเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง

Loading

ที่เมืองยอร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย ชายคนหนึ่งได้เข้าทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมที่กำลังรณรงค์หาเสียงให้รองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส โดยชกชายวัย 74 ปีที่ศีรษะ และด่าชายอีกคนหนึ่งว่า “คนสนับสนุนนิโกร” ก่อนจะหลบหนีไป   ในภาคเหนือของรัฐมิชิแกน ผู้โจมตีที่โกรธแค้นด้วยความเกลียดชังโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ใช้รถ ATV ขับชนและทำร้ายชายวัย 81 ปีที่กำลังติดป้ายรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของอดีตประธานาธิบดี   การโจมตีเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกรณีความรุนแรงทางการเมืองอย่างน้อย 300 กรณีที่สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุได้นับตั้งแต่ผู้สนับสนุนทรัมป์บุกเข้าทำลายอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021 โดยมีเหตุการณ์อย่างน้อย 51 กรณีในปีนี้ ซึ่งในขณะนี้เหลือเวลาอีกเพียงสองสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 5 พฤศจิกายน กรณีเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของความรุนแรงทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดและยาวนานที่สุดในสหรัฐฯ นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970   ความรุนแรงบางกรณีกลายเป็นข่าวใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพยายามลอบสังหารทรัมป์สอง เหตุการณ์ที่ได้รับความสนใจอื่นๆ รวมถึงการยิงสามครั้งในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาที่สำนักงานรณรงค์หาเสียงของพรรคเดโมแครตสำหรับแฮร์ริสในรัฐแอริโซนา   อย่างไรก็ตาม ยังมีกรณีอื่นๆ อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่ข้อพิพาทเรื่องการเลือกตั้งไปจนถึงสิทธิ LGBTQ+ และความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ เหตุการณ์มีตั้งแต่การทะเลาะวิวาทเล็กน้อยเรื่องป้ายการเมืองไปจนถึงการต่อสู้ที่รุนแรงมากขึ้นและการทำลายทรัพย์สินในการหาเสียง ความรุนแรงส่วนใหญ่ในปีนี้ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต ยกเว้นระหว่างความพยายามลอบสังหารทรัมป์ในเดือนกรกฎาคม ที่มีผู้เสียชีวิตสองราย ได้แก่ ผู้เข้าร่วมรับฟังการหาเสียง และมือปืน…