วิเทศวิถี : ผู้แทนพิเศษ ปธ.อาเซียน เรื่องเมียนมา เรื่องไม่ควรวุ่นที่ดูคล้ายวุ่นวาย ในการประชุม รมว.กต.อาเซียน ครั้งที่ 54

Loading

  ผู้แทนพิเศษ ปธ.อาเซียน เรื่องเมียนมา เรื่องไม่ควรวุ่นที่ดูคล้ายวุ่นวาย ในการประชุม รมว.กต.อาเซียน 54 การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (เอเอ็มเอ็ม) ครั้งที่ 54 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรวม 18 การประชุม ซึ่งถือเป็นการประชุมใหญ่ที่ยืดยาวที่สุดในรอบปีของอาเซียนผ่านพ้นไปแล้ว หลังใช้เวลายาวนานตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญที่มีการหารือกันประเด็นแรกยังคงอยู่ที่การรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะการเข้าถึงวัคซีนและการฟื้นฟูหลังโควิด-19 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้มีการนำเงินจากกองทุนอาเซียนรับมือโควิด-19 (COVID-19 ASEAN Response Fund) ซึ่งจัดขึ้นตามข้อริเริ่มของไทยไปจัดซื้อวัคซีนให้กับประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เฉลี่ยประเทศละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการยกร่างข้อตกลง โดยสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อที่จะให้มีการลงนามในการจัดหาวัคซีนผ่านโครงการโคแวกซ์ (COVAX) ขององค์การอนามัยโลก โดยให้กองทุนเพื่อเด็ก    แห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) เป็นหน่วยงานที่ช่วยจัดซื้อและกระจายวัคซีนให้กับชาติสมาชิกอาเซียนทั้งหมด ซึ่งคิดว่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าน่าจะดำเนินการได้ ขณะนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างก็เร่งดำเนินการให้ได้ข้อยุติโดยไว เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบันน่าวิตกกังวลอย่างยิ่งยวด ไทยในฐานะฐานะประเทศผู้ประสานงานอาเซียนในเรื่องความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้ผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (บีซีจี) เพื่อช่วยฟื้นฟูภูมิภาคจากโควิด-19 และสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะที่ในความพยายามช่วยเหลือเมียนมา เพื่อรับมือกับโควิด-19 ไทยก็ได้เสนอให้มีการประชุมประเทศผู้บริจาค ซึ่งบรูไนในฐานะประเทศอาเซียนน่าจะมีการจัดการในเรื่อง ดังกล่าวในเร็วๆ…

‘เนคเทค’ จิ๊กซอว์สำคัญ ดัน ‘Open-D’ แพลตฟอร์มสาธารณะพลิกโฉม ‘ข้อมูลเปิด’

Loading

  จะดีแค่ไหน ?หากประเทศไทยมี Open Data แพลตฟอร์มสาธารณะด้านข้อมูล ซึ่งในวันนี้เนคเทค สวทช.ดัน ‘Open-D’ ขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้ได้เปิดตัวแพลตฟอร์ม AIFORTHAI , NETPIE IoT Platform ,HandySense ไปแล้ว มาในวันนี้ได้ส่งมอบแพลตฟอร์มด้านข้อมูลเปิดแก่สาธารณะ เพื่อที่จะช่วยภาครัฐมีเครื่องมือ หรือระบบที่สนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐหรือองค์กรให้กับประชาชนได้รับทราบ และเป็นการผลักดันให้นักพัฒนาระบบหรือผู้ประกอบการด้านธุรกิจสาสนเทศ สามารถนำไปต่อยอดให้บริการพัฒนาระบบเปิดเผยข้อมูลให้กับหน่วยงานต่างๆที่ไม่สามารถดำเนินการเองได้เพิ่มมากขึ้น และเป็นอีกหนึ่งสาธารณูปโภคที่สำคัญในการพัฒนาความเจริญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย โดยตัวอย่างข้อมูลภาครัฐที่มีคุณค่าสูงหากนำมาเปิดเผยได้ซึ่งเป็นชุดข้อมูลที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งเป็นชุดข้อมูลที่มีผู้สนใจนำไปใช้งาน อาทิ ภูมิอากาศ การใช้จ่ายของภาครัฐ     มาวันนี้กรุงเทพธุรกิจจะพาไปรู้จักกับแพลตฟอร์ม Open-D และลงลึกถึงทิศทางการวิจัยเทคโนโลยีด้าน Open Data ที่พร้อมเปิดให้ Download CKAN Open-D ซึ่งเป็นเครื่องมือในการจัดทำ Open Data แล้ววันนี้ แต่เหนือสิ่งอื่นใดจะต้องรู้ว่า “ข้อมูลเปิด (Open Data)” คือ ข้อมูลในแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้ และเปิดให้นำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่คิดมูลค่าซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างนวัตกรรมได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และถือเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาขับเคลื่อนและปรับรูปแบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในประเทศไทยมีเว็บไซต์ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ หรือ Data.go.th ที่ริเริ่มและดูแลโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Agency: DGA) ตั้งแต่ปี 2558 แต่กระนั้นภาครัฐก็ยังขาดซอฟต์แวร์สนับสนุนการดำเนินงานเปิดเผยข้อมูลอย่างครบวงจร ขาดโปรแกรมเครื่องมือสนับสนุนการใช้ประโยชน์ข้อมูลเปิด…

ความต่างระหว่าง ‘เข้าประชุม’ กับ ‘แอบฟัง’ ประชุมออนไลน์

Loading

  วิกฤติโควิด-19 ทำให้ธุรกิจและองค์กรต่างๆ ต้องปรับรูปแบบสู่การประชุมออนไลน์ ซึ่งสิ่งสำคัญของการประชุมทางไกลนี้ ควรที่จะเปิดกล้องและต้องแสดงตัวตนให้ชัดเจนว่าใครเข้าประชุม โดยเฉพาะกับการประชุมกับคนนอกองค์กร   การทำงานจากที่บ้านเป็นประจำตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 ทำให้เราเริ่มคุ้นเคยกับการประชุมออนไลน์จนเป็นเรื่องปกติ บางคนต้องประชุมออนไลน์ทั้งวัน วันละหลายประชุม ผมเองก็เช่นกัน บางวันจบจากประชุมที่หนึ่ง ก็ย้ายการประชุมอีกที่หนึ่ง ต่างองค์กรก็อาจต้องเปลี่ยนเทคโนโลยีใช้งาน รูปแบบประชุมเปลี่ยนไป การแต่งกายก็เปลี่ยนใส่สูทบ้างถอดสูทบ้าง และก็ใส่ชุดลำลองบ้าง   การประชุมที่ทำทุกวันนี้ มีทั้งแบบทางการ และไม่เป็นทางการ มีทั้งพูดคุยกันเองในบริษัท ในแผนก รวมถึงประชุมกับคนข้างนอกที่อาจไม่เคยพบมาก่อน บางประชุมเป็นทางการ ต้องบันทึกการประชุมมีกฎระเบียบ เช่น ประชุมของหน่วยราชการ การประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย การประชุมบอร์ดบริษัทมหาชน ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดว่า ด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2563   ใน พ.ร.ก.นี้ ระบุถึงขั้นตอนประชุมออนไลน์ต่างๆ รวมทั้งจัดให้ผู้ร่วมประชุมแสดงตน บันทึกการประชุม การลงคะแนน ข้อกำหนดความปลอดภัย ตลอดจนประชุมวาระลับ จากประสบการณ์ผม หน่วยงานที่ต้องจัดประชุมเหล่านี้ที่ต้องการให้ประชุมมีผลทางกฎหมาย จะเข้าใจขั้นตอน ผู้ร่วมประชุมทำตามกฎระเบียบ บริหารการประชุมไปได้ด้วยดี เหมือนประชุมในแบบปกติ   ขณะเดียวกัน ผมมักประชุมกับหน่วยงานภายนอก หรือประชุมที่อาจไม่ได้มีผลทางกฎหมาย…

สปาย vs สปาย

Loading

  หัวข้อนี้วันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสปาย ทำให้คิดถึงหนังสือการ์ตูนฝรั่งระหว่าง “สปายขาว” กับ “สปายดำ” โดยใช้นกสองตัว (คล้ายกับอีกาบ้านเรา) เป็นตัวแทนของสปายแต่ละข้าง มีการเฉือนคมกันอย่างสนุกสนาน ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ คนเขียนการ์ตูนเรื่องนี้นับว่าสมองอัจฉริยะจริง ๆ จึงขออนุญาตมาตั้งเป็นหัวข้อเรื่องนี้ เพราะวันนี้จะเขียนเรื่องเกี่ยวกับองค์กรสปายของโลกตามคำขอของผู้อ่านบางท่าน เพื่อจะให้หายเครียดจากโควิด 19 บ้าง   ผู้อ่านถามมาว่า หน่วยข่าวกรองของประเทศไหนที่ถือว่ายอดเยี่ยมที่สุดสิบอันแรกของโลก แต่ไม่ได้ระบุว่ายอดเยี่ยมที่สุดในแบบไหน เจ้าหน้าที่มากที่สุด หรืองบประมาณมากที่สุด หรือทำงานเก่งที่สุดแบบเจมส์บอนด์ ฯลฯ และขอให้วิเคราะห์ถึงข่าวล่าสุดที่ ซี.ไอ.เอ. ร่วมมือกับหน่วยข่าวเดนมาร์ก ดักฟังโทรศัพท์ของผู้นำเยอรมนี อังกฤษ และผู้นำอีกหลายประเทศคงจะโดนไปด้วย พร้อมกับคำถามว่า ในวงการนี้ เพื่อนกันเขาทำกับเพื่อนทำนองนี้ได้ด้วยหรือ   วันนี้ขอเขียนเรื่องสิบอันดับแรกเยี่ยมยอดของหน่วยข่าวกรองหรือสมัยก่อนเรียกว่าหน่วยสืบราชการลับที่เราเคยดูบ่อย ๆ ในภาพยนต์ซึ่งน่าตื่นเต้นดี   ยังไม่มีสถาบันจัดลำดับใดเคยจัดลำดับองค์กรข่าวกรองโลกมาก่อน จึงต้องไปค้นจาก “วิกีพีเดีย” ซึ่งตั้งหัวข้อไว้ว่า สิบอันดับหน่วยข่าวเยี่ยมของโลก คือ (1) สำนักวิจัยและวิเคราะห์ (R&A wing) ของอินเดีย (2) มอสสาด ของอิสราเอล (3)…

ความท้าทายที่มา ‘จนท.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล’

Loading

  ทำความรู้จัก “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” (DPO) กลไกสำคัญในการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหลายๆ ประเทศ   “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” หรือ DPO (Data Protection Officer) เป็นกลไกสำคัญในการพิสูจน์ให้เห็นถึงการปฏิบัติตามหลักความรับผิดชอบ เนื่องจากเป็นกลไกสำคัญในการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหลายๆ ประเทศ อาทิ สหภาพยุโรปและประเทศไทย ก่อนการบังคับใช้ GDPR มีการคาดการณ์ว่าจะทำให้มีความต้องการตำแหน่ง DPO เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายไม่น้อยกว่า 75,000 อัตรา (IAPP 2016)   ในขณะที่ข้อมูลการศึกษาของ IAPP-EY Annual Governance Report of 2019 ระบุว่ามีองค์กรไม่น้อยกว่า 5 แสนองค์กรได้ดำเนินการจดทะเบียน DPO กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรป (Data Protection Authorities, DPAs) ซึ่งสูงกว่าจำนวนที่คาดไว้มาก   IAPP-EY Report 2019 ยังแสดงข้อมูลให้เห็นด้วยว่า จากจำนวนบริษัทที่ทำการสำรวจ 375 องค์กร พบว่าร้อยละ…

Cyber Attack – คลื่นใต้น้ำแห่งยุคดิจิทัลที่ต้องจับตามอง

Loading

  ในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา มีเหตุโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นกับธุรกิจขนาดใหญ่แทบทุกสัปดาห์ก็ว่าได้ โดยสองเหตุการณ์ที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจมากที่สุดคงหนีไม่พ้นการโจมตีระบบท่อส่งน้ำมันของบริษัทโคโลเนียล ไปป์ไลน์ในสหรัฐโดยกลุ่มแฮกเกอร์ที่ใช้ชื่อในวงการว่า ดาร์กไซด์ (DarkSide) และเหตุโจมตีเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท JBS SA ผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ที่สุดของโลกจากบราซิล ซึ่งการโจมตีทั้งสองครั้งแฮกเกอร์ได้ปล่อยแรนซัมแวร์หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่เข้าโจมตีระบบของบริษัทจนสร้างความปั่นป่วนไม่น้อย   In Focus สัปดาห์นี้ ขอพาผู้อ่านแกะรอยข่าวการเรียกค่าไถ่ด้วยแรนซัมแวร์ที่ครองพื้นที่สื่อทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงประเด็นที่น่าสนใจอื่นๆ เกี่ยวกับภัยจากอาชญากรรมทางไซเบอร์   ย้อนรอยเหตุจับข้อมูลเป็นตัวประกัน เรียกค่าไถ่โคโลเนียล ไปป์ไลน์-JBS SA   เมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา สื่อหลายสำนักรายงานว่า บริษัทโคโลเนียล ไปป์ไลน์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลท่อส่งน้ำมันรายใหญ่ของสหรัฐได้ถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ส่งผลให้ต้องปิดเครือข่ายการส่งน้ำมันไปยังหลายรัฐทางภาคตะวันออกของสหรัฐ ซึ่งการโจมตีดังกล่าวได้สร้างความวิตกทั้งในภาครัฐและเอกชน เนื่องจากปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่บริษัทโคโลเนียล ไปป์ไลน์ทำการขนส่งนั้นมีปริมาณ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 45% ของปริมาณการใช้น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน และเชื้อเพลิงอากาศยานในฝั่งตะวันออกของสหรัฐ โดยไม่กี่วันหลังเหตุโจมตีดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐได้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง และในวันที่ 11 พ.ค. โคโลเนียล ไปป์ไลน์เปิดเผยว่า ท่อส่งน้ำมันของบริษัทได้เริ่มกลับมาดำเนินการได้บางส่วนแล้ว   ด้านผู้เชี่ยวชาญซึ่งร่วมสอบสวนกรณีการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเป็นฝีมือของกลุ่มอาชญากรที่มีชื่อว่า ดาร์กไซด์…