ครบรอบ 17 ปี เหตุสึนามิถล่ม ตามส่องหอเตือนภัย-อาคารหลบภัยยังใช้งานได้

Loading

  ศูนย์ข่าวภูเก็ต – ย้อนไปเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.47 คลื่นยักษ์สึนามิถล่มจังหวัดชายฝั่งอันดามันของไทย มีผู้เสียชีวิตกว่า 5,000 คน ตามส่องหอเตือนภัยสินามิ-อาคารหลบภัย ในพื้นที่อันดามันยังใช้งานได้จริงหรือ ถ้านับย้อนไปจากวันนี้ (26 ธ.ค.) ปี 2547 รวมระยะเวลา 17 ปี ซึ่งเป็นวันที่คนทั่วโลกต่างก็รู้สึกถึงความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง เมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันคลื่นยักษ์ขนาดใหญ่ซัดถล่มเข้าชายฝั่งของหลายประเทศ รวมทั้ง 6 จังหวัดอันดามันของประเทศไทย ซึ่งเหตุการณ์การครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายให้แก่ทรัพย์สิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ถูกคลื่นถล่มราบเป็นหน้ากลอง มีผู้เสียชีวิตและสูญหายไม่น้อยกว่า 5,000 ราย ยากที่หลายคนจะทำใจได้ แต่จากเหตุการณ์ดังกล่าว มีสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อเตรียมความพร้อมให้คนในพื้นที่หากเกิดคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความสูญเสียชีวิตลงได้ นั่นคือการสร้างหอเตือนภัยทั้ง 6 จังหวัดอันดามัน รวมทั้งการสร้างอาคารหลบภัยในพื้นที่ ซึ่งจนถึงวันนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่าหอเตือนภัยทั้งหมดจะยังสามารถใช้การและส่งสัญญาณเตือนภัยให้ประชาชนในพื้นที่ชายฝั่งได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 16 ซึ่งดูแลพื้นที่อันดามันระบุว่า ในส่วนของหอเตือนภัยทั้งหมดในทุกพื้นที่ยังสามารถส่งสัญญาณเตือนภัยได้ตามปกติทุกหอ เนื่องจากมีการทดสอบทุกวันพุธเวลา 08.00 น. ขณะที่ นางสำเนียง มณีรัตน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง กล่าวว่า…

Google: การฟ้องคดีเพื่อหยุดมัลแวร์

Loading

        Google ได้ยื่นฟ้องต่อศาล District Court ของประเทศสหรัฐอเมริกา ประจำเขต Southern District of New York เป็นคดีแรกที่ Google เอาเรื่องกับ botnet และเป็นคดีสำคัญที่จะเป็นบรรทัดฐานสำหรับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์       เมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา Google ได้ยื่นฟ้องแฮกเกอร์ชาวรัสเซีย 2 คนและบุคคลไม่ทราบชื่ออีก 17 คนเป็นจำเลย ในข้อหาร่วมกันใช้ botnet เข้าไปก่อภัยคุกคามทางไซเบอร์โดยใช้มัลแวร์ชื่อ Glupteba โดยถูกปล่อยไว้ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ให้ดาวน์โหลดฟรี ในเว็บที่ดูภาพยนต์ streaming รวมทั้งเว็บ YouTube ปลอม เป็นต้น       Glupteba เป็นมัลแวร์ที่เมื่อแฝงตัวเข้าไปในคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็จะเปลี่ยนคอมพิวเตอร์นั้นให้ทำหน้าที่เป็น botnet คือ เป็นตัวที่แพร่กระจายมัลแวร์ต่อไปได้ Botnet ของ…

“เป็นหู เป็นตา”

Loading

  เมื่อสองเดือนก่อน ผู้บริหารระดับสูง 8 คนของสายการบินไหหลำ ใส่เสื้อเชิ้ตแขนยาว ไม่มีเสื้อกันหนาว ออกไปยืนเรียงแถวกันภายนอกอาคาร ที่นครปักกิ่ง กลางอากาศเย็นเฉียบที่ 0 องศาเซลเซียส ไม่ใช่ว่าผู้บริหาร อยู่ดีๆ เกิดนึกสนุกออกไปยืนหนาวสั่นรับความเย็นเช่นนั้น เป็นเวลานานถึง 40 นาที แต่เป็นเพราะถูกคำสั่งลงโทษ ให้ทำเช่นนั้นครับ สาเหตุก็เพราะ มีผู้โดยสารระดับพลาตินัมของสายการบิน ลงเครื่องบินที่กรุงปักกิ่งแล้วเขาเหลือบไปเห็นแอร์โฮสเตสหญิงคนหนึ่ง เธอนั่งตัวงอด้วยความหนาวสั่นอยู่ริมถนน ระหว่างที่เธอกำลังรอรถบัส น้องคนนั้นอยู่ในชุดปฏิบัติงานของสายการบินที่ออกแบบไว้สำหรับใช้สวมใส่ในฤดูร้อน เป็นชุดขาสั้น มองเห็นท่อนขาสูงขึ้นไปจนเหนือเข่า และไม่มีเสื้อคลุมกันหนาว แต่ขณะนั้นอากาศได้เปลี่ยนเป็นฤดูหนาวแล้ว ผู้โดยสารคนนั้น ถ่ายภาพพนักงานต้อนรับแล้วไปให้ผู้บริหารระดับสูงของสายการบินไหหลำ ผลก็คือการลงโทษผู้บริหาร 8 คนอย่างที่เห็น เพื่อ “ให้รู้เสียบ้างว่า อย่าเอาแต่นั่งในออฟฟิศ แล้วคิดว่าฤดูอะไรก็เหมือนกันแหละ…ออกไปแก้ปัญหาซะ” วิธีลงโทษแบบนี้ คงทำได้ในประเทศจีนและอีกบางประเทศเท่านั้น ประเทศอื่นๆ คงทำได้ยากสักหน่อย แต่ประเด็นของผมไม่ได้อยู่ตรงนั้นครับ ผมมองไปที่บทบาทของผู้โดยสารคนนั้นมากกว่า มีคำกล่าวภาษาไทยที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดีที่เรียกว่า “เป็นหู เป็นตา” ผมคิดว่าผู้โดยสารคนนั้น ได้ทำหน้าที่มากกว่าผู้โดยสารทั่วไป ซึ่งเมื่อเห็นแล้วคงแค่รู้สึกเห็นใจพนักงานสาวเท่านั้น แต่ผู้โดยสารคนนี้ ได้ทำหน้าที่ “เป็นหู เป็นตา”…

ไปเที่ยวระวังกล้องสปายแอบถ่าย

Loading

  หลังจากอึดอัดกับโรคระบาดกันมานาน หลายท่านเริ่มอยากออกไปเที่ยว แต่จะไปพักค้างแรมที่ไหน นอกจากจะต้องระวังเรื่องโรคระบาดแล้ว ควรใส่ใจในเรื่องการแอบถ่ายภาพในที่พักกันไว้บ้าง   การติดตั้งกล้องแอบถ่ายนี้เป็นเรื่องใหญ่ในต่างประเทศ ที่มีรายงานการสำรวจพบว่าเกินกว่าครึ่งหนึ่งของที่พักเคยมีการลักลอบติดตั้งกล้องสปายมาแล้ว   แม้ว่าบ้านเราเองยังไม่ค่อยเป็นข่าวกันในเรื่องนี้กันมากนัก แต่ถ้าตระหนักไว้บ้างในระหว่างที่ไปพักในสถานที่ต่าง ๆ ก็อาจจะปลอดภัยมากขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงว่าเรื่องส่วนตัวจะกลายเป็นเรื่องสาธารณะให้ใครต่อใครได้เห็น จากผลงานของคนไม่ดีบางคน   เมื่อกล้องถ่ายภาพยนตร์มีขนาดเล็กลงจนกระทั่งเอาไปซ่อนไว้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าแทบทุกอย่างได้ เลนซ์กล้องก็เล็กลงมากจนกระทั่งสังเกตเห็นได้ยากมากขึ้น ดังนั้น ควรตระหนักไว้ก่อนว่าอาจถูกแอบถ่ายภาพด้วยกล้องสปายนี้ได้ง่าย ๆ   และที่น่ากังวลเพิ่มขึ้นอีกคือเมื่อเจ้ากล้องสปายสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ เรื่องส่วนตัวของเราอาจกลายเป็นการไลฟ์ไปให้ใครต่อใครได้ดูกันสดๆ ไปเลย   ถ้าไปพักในที่พักที่ไม่มั่นใจว่าจะมีใครแอบเอากล้องสปายไปติดตั้งไว้ อย่าประมาทว่าฉันพักที่พักระดับห้าดาว ฉันไม่ถูกลักลอบถ่ายภาพส่วนตัวของฉันแน่ ๆ   การป้องกันเริ่มด้วยการทำความรู้จักกับกล้องสปายเหล่านี้ไว้ก่อน ลองค้นดูตามร้านค้าในอินเทอร์เน็ต จะพบว่ามีขายอยู่มากมายหลายแบบ มีทั้งราคาไม่กี่ร้อยบาท จนถึงหลายพัน   นอกจากที่เป็นกล้องอย่างเดียว ยังมีแบบที่ซ่อนไว้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะการซ่อนไว้ในอุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องประดับห้องในรูปแบบต่าง ๆ มีทั้งซ่อนไว้ในนาฬิกา ในหลอดไฟ ในตัวตรวจจับอัคคีภัยบนฝ้าเพดาน และอีกมากมายหลายรูปแบบ   รู้จักไว้จะได้รู้ตัวว่ากำลังจะไปหาอุปกรณ์หน้าตาแบบไหนบ้าง ลองหาดูว่ามีอะไรบ้างในที่พักที่เราไปพักค้างคืน ว่าอยู่ผิดที่ผิดทาง ยิ่งเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้ายิ่งน่าสงสัย แล้วลองมองหาเลนซ์ของกล้องสปาย  …

Microsoft เตือน การโจมตี Ransomware กำลังพัฒนาไปสู่ Human-operated Ransomware

Loading

  จากการศึกษาล่าสุดในปี 2021 นี้ Microsoft พบว่าการโจมตี Ransomware กำลังพัฒนาไปสู่การโจมตีแบบ Human-operated Ransomware ที่มีมนุษย์เป็นผู้นำปฏิบัติการ พร้อมการขู่กรรโชกหลากหลายแบบ และมุ่งเป้าสร้างความเสียหายทั้งข้อมูลและชื่อเสียงขององค์กร คาดการณ์ว่า Ransomware จะสร้างความเสียหายสูงถึง 8.9 ล้านล้านบาทภายในปี 2031 Microsoft เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของ Ransomware จากการหว่านการโจมตีไปทั่ว ไปสู่การโจมตีที่มีมนุษย์เป็นผู้นำปฏิบัติการ (Human-operated) มากขึ้น ทั้งยังมุ่งเป้าโจมตีทั้งระบบขององค์กรแทนที่จะเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยอาศัยช่องโหว่ด้านความมั่นคงปลอดภัยรุกล้ำเข้าไป ก่อนที่จะแฝงตัวและจู่โจมข้อมูลที่สำคัญที่สุดขององค์กร   การโจมตี Human-operated Ransomware แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1. เข้าถึงระบบเครือข่ายขององค์กรผ่านช่องโหว่หรือ Social Engineering เช่น อีเมล เว็บ Phishing 2. ซ่อนพรางและแทรกซึมไปยังส่วนต่างๆ ของระบบเครือข่ายเพื่อขโมยข้อมูลล็อกอินและยกระดับสิทธิ์ให้สูงขึ้น 3. เข้าถึงข้อมูลสำคัญ ขโมย และเข้ารหัส แล้วเรียกค่าไถ่   เมื่อข้อมูลที่สำคัญขององค์กรถูกโจมตี…

กฎหมายในปี 2565 เทรนด์และความท้าทาย

Loading

  ฉบับส่งท้ายปีเก่านี้ ผู้เขียนขอกล่าวถึงเทรนด์กฎหมายในปี 2565 โดยแบ่งเป็น 5 หัวข้อ ครอบคลุมทั้งเรื่องของ ธุรกรรมดิจิทัล สินทรัพย์ดิจิทัล กฎหมายคุ้มครองข้อมูล การปฏิบัติงานราชการอิเล็กทรอนิกส์ และ COP26 1.เมื่อธุรกรรมดิจิทัลกำลังเข้าทดแทนธุรกรรมในแบบเดิม ผู้เขียนเชื่อว่า ในปีหน้าและปีต่อๆ ไป รูปแบบและการใช้งานของสินทรัพย์ดิจิทัล (คริปโทและโทเคนดิจิทัล) จะมีความซับซ้อน หลากหลาย และมีโอกาสเข้าทดแทนหลายบริการที่เคยอยู่ภายใต้สถาบันการเงินหรือธุรกรรมที่เคยทำในแบบเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง NFT ที่สภาพถูกสร้างมาใช้สำหรับแทนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นงานศิลป งานเพลง ของสะสม หรือแม้แต่พระเครื่อง ดังนั้น การทำ Tokenization ในรูปแบบ NFT จึงเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในสร้างนิติกรรมที่หลากหลายในทางกฎหมาย เช่น ซื้อ-ขาย/แลกเปลี่ยน/ครอบครองทรัพย์สิน และการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งผู้เขียนคาดว่า เราจะได้เห็นการพัฒนาของ NFT ที่ยึดโยงกับ Traditional assets มากขึ้นในอนาคต สิ่งที่น่าติดตามในมุมกฎหมายและการจัดทำนโยบาย คือ กรณีข้อพิพาทที่เกิดจากการทำนิติสัมพันธ์ผ่านธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือช่องทางออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศไทย ยังไม่มีแนวคำพิพากษาที่ตีความเกี่ยวกับ Blockchain และ Smart…