คาดการณ์ด้านภัยไซเบอร์ ปี 2565

Loading

  คาดการณ์ด้านภัยไซเบอร์ ปี 2565 ว่าจะไปในทิศทางใด เพราะภัยไซเบอร์ใกล้ตัวและมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นมากขึ้นสร้างความเสียหายต่อผู้ใช้คอม ผู้ใช้อุปกรณ์ไอที ซึ่งส่งผลกระทบทั้งในครอบครัวและองค์กรได้ โดย ปี 2564 ที่ผ่านมา เป็นปีที่องค์กรจำนวนมากต่างเร่งเครื่องด้านนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล เนื่องมาจากโรคระบาดที่ส่งผลทั่วโลก และนั่นก็ทำให้ผู้โจมตีทางไซเบอร์อาศัยวิธีการที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ยึดโครงสร้างระบบเป็นตัวประกันและคุกคามองค์กรจำนวนมาก เพื่อเป็นการป้องกันและเตรียมรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น องค์กรจึงควรระแวดระวังแนวโน้มภัยไซเบอร์ปี 2565 โดยจัดเตรียมโซลูชันที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คาดการณ์ด้านภัยไซเบอร์ ปี 2565 พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ บริษัทด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดเผยการคาดการณ์แนวโน้มด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่จะส่งผลต่อโลกดิจิทัลในปี 2565 ดังนี้ 1.ความรุ่งเรืองของบิตคอยน์ อาชญากรไซเบอร์กำลังมั่งคั่งเพิ่มขึ้นทุกวัน ตลอดปี 2564 ที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องพบเจอกับการโจมตีจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่เพิ่มมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยในรายงานภัยคุกคามจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ของ Unit 42 เปิดเผยว่าค่าไถ่โดยเฉลี่ยที่แต่ละองค์กรต้องจ่ายในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 อยู่ที่ราว 570,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 18.8 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 82% บ่งชี้ว่าอาชญากรไซเบอร์ยังคงสร้างผลกำไรและถือเป็นภัยคุกคามไซเบอร์ที่สำคัญ เป็นที่ทราบกันดีว่าคริปโทเคอร์เรนซีหรือเงินตราเข้ารหัสลับช่วยกระตุ้นกิจการกลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ด้วยมูลค่าของคริปโทฯ ที่สูงขึ้นและการจ่ายค่าไถ่ที่ไม่สามารถติดตามตัวได้ ทำให้อาชญากรไซเบอร์มีเงินทุนและทรัพยากรมากยิ่งขึ้นเพื่อใช้โจมตีโครงสร้างระบบที่สำคัญได้ในระดับที่ใหญ่ขึ้น ไม่เพียงแค่ทำให้เกิดความเสียหายทางการเงินในภาคธุรกิจเท่านั้น แต่ยังทำลายระบบและบริการแก่สาธารณชนในวงกว้างอีกด้วย…

5 เทคนิคจับโกหกง่าย ๆ เพราะ FBI บอกว่าการอ่านภาษากายนั้น ‘ไร้สาระ’

Loading

  ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้นเราได้ยินมาโดยตลอดคือถ้าอยากจับผิดโกหกใคร ก็ให้สังเกตอาการปฏิกิริยาของฝ่ายตรงข้าม แต่นักจิตวิทยาสมัยใหม่ก็ออกมาโต้แย้งว่าวิธีนี้ไม่ค่อยได้ผลสักเท่าไหร่เพราะทุกคนมีภาษากายที่แตกต่างกัน ทำให้การสังเกตภาษากายนั้นวัดไม่ได้ว่าคนนั้นพูดจริงหรือโกหกกันแน่ โทมัส ออร์เมอรอด (Thomas Ormerod) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย University of Sussex เขียนในการสัมภาษณ์กับสำนักข่าว BBC ว่า “ไม่มีสัญญาณที่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้นพร้อมกับการหลอกลวง ผมหัวเราะคิกคัก หลายคนอาจจะดูจริงจังมากขึ้น บางคนสบตาตรง ๆ บางคนกลับหลบตา” พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ‘ความประหม่า’ ที่เป็นเหมือนสัญญาณของความไม่ซื่อตรงนั้นไม่ใช่ตัวบ่งบอกที่ดีเท่าไหร่นัก โจ นาวาโร (Joe Navarro) อดีตเจ้าหน้าที่เอฟบีไอ (FBI) บอกว่าการกอดอก มองไปทางอื่น เอามือจับปาก หรือสัญญาณทางร่างกายหลาย ๆ อย่างนั้นเป็นเรื่องที่ “ไร้สาระ” ทั้งสิ้น ย้อนแย้งกับความเชื่อโดยทั่วไป สิ่งที่เป็นสัญญาณที่ชัดเจนและใช้ได้ดีกว่าในการจับโกหกคนอื่นคือสิ่งที่พวกเขาพูดออกมา มากกว่าที่จะไปจ้องจับผิดภาษากายของพวกเขา ที่จริงมันมีการศึกษาเรื่องนี้อย่างเจาะลึก แต่ในบทความนี้เราจะมาเกริ่นเป็นเวอร์ชันสั้น ๆ เผื่อว่าจะได้เอาเทคนิคนี้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ลองสังเกตห้าสัญญาณนี้ถ้าอยากรู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งกำลังโกหกอยู่รึเปล่า ก่อนที่จะจับคนโกหกได้ สิ่งที่เราต้องเข้าใจก่อนว่าการโกหกเกิดจากอะไร ในหลาย ๆ งานวิจัยบอกว่าคนที่กำลังโกหกเรื่องที่สำคัญอยู่นั้นส่วนใหญ่จะคิดมาแล้วค่อนข้างเยอะ คนที่โกหกบ่อยครั้งที่จะเริ่มโกหกโดยการปูพื้นหลังของเรื่องก่อน ซึ่งเป็นประเด็นที่พวกเขาอยากจะสื่อออกมา รู้ว่ากำลังจะโกหกเรื่องอะไร…

Metaverse มาแล้วต้องระวังตรงไหน!? Kaspersky แนะ 5 จุดปกป้องข้อมูลตัวตนดิจิทัล

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) มองทุกคนต้องเตรียมพร้อมปกป้องข้อมูลตัวตนดิจิทัลท่ามกลางกระแสความสนใจในเมตาเวิร์ส (Metaverse) ย้ำ 5 มุมมองต้องรู้เพื่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคำนึงถึงความปลอดภัยของอวาตาร์ดิจิทัล และภัยคุกคามที่อาจเกี่ยวข้องกับ Metaverse 1 ใน 5 มุมมองที่แคสเปอร์สกี้เน้นย้ำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคำนึงถึงความปลอดภัยและภัยคุกคามที่อาจเกี่ยวข้องกับ Metaverse คือการโจรกรรมข้อมูลตัวตนและการยึดบัญชีโดยแอนะล็อกเข้ากับโซเชียลเน็ตเวิร์กและเกมที่มีผู้เล่นหลายคน แคสเปอร์สกี้มองว่าอาจทำให้เกิดการสูญเสียข้อมูลส่วนบุคคล (เช่น ข้อมูลการติดต่อ หรือ meta-analogue) ซึ่งอาจนำไปสู่การแบล็กเมล์ “นอกจากนี้ ยังมีการขโมยสกุลเงินเสมือน เงินตราจริง หรือเงินคริปโตจากบัตรและวอลเล็ตที่เชื่อมโยงกับบัญชีหรือสิ่งของเสมือนจริงราคาแพง เช่น สกินหรือเครื่องแต่งกาย รวมถึงการใช้อวาตาร์เพื่อฉ้อโกง เช่น การขอยืมเงินจากเพื่อนและครอบครัว” แถลงการณ์ระบุ คำว่า metaverse นั้นเป็นคำที่คิดขึ้นมาโดย นีล สตีเวนสัน (Neal Stevenson) ในนวนิยายเรื่อง Snow Crash จากปี 1992 ซึ่งกล่าวถึง metaverse ว่าเป็นการพัฒนาอินเทอร์เน็ตขั้นตอนต่อไป เป็นโลกดิจิทัลที่รวมโลกกายภาพเข้ากับ augmented reality และ virtual reality แคสเปอร์สกี้มองว่าหลังจาก Facebook…

“ขวานดำ” ลัทธิแห่งความรุนแรงในไนจีเรียที่กลายเป็นแก๊งมาเฟียระดับโลก

Loading

  บีบีซีใช้เวลา 2 ปีสืบสวนเรื่อง “Black Axe” หรือ “ขวานดำ” – กลุ่มนักศึกษาไนจีเรียที่พัฒนากลายมาเป็นแก๊งมาเฟียที่น่าหวาดหวั่น เราพบหลักฐานใหม่ที่ชี้ว่าพวกเขาเข้าไปแทรกแซงการเมือง หาเงินด้วยการหลอกลวงคน รวมถึงลงมือในปฏิบัติการสังหารไปทั่วโลก คำเตือน : มีเนื้อหารุนแรงที่อาจทำให้รู้สึกไม่สบายใจ เวลาอยู่เงียบ ๆ หลังสอนหนังสือเสร็จ ดร.จอห์น สโตน มักมีภาพจากอดีตแวบเข้ามาในหัว มันไม่ใช่เลือดหรือเสียงปืนที่หลอกหลอนเขาแต่เป็นการร้องขอ เป็นตอนที่ผู้คนร้องขอความเมตตาตอนกำลังจะตาย ขอร้องเขา ขอร้องพระเจ้า “มันเจ็บปวดมาก” เขาเล่าพร้อมส่ายหัวและมีอาการขนลุกซู่ “ครอบครัวของผู้ตาย พวกเขาจะสาปแช่งคุณ ชีวิตคุณจะถูกสาปแช่ง” ดร.สโตน สอนวิชารัฐศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัยเบนินซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของไนจีเรีย แต่ในช่วงหลายทศวรรษก่อนหน้านี้ เขาเป็นสมาชิกอาวุโสของแก๊งขวานดำ แก๊งมาเฟียที่พัวพันกับการค้ามนุษย์ การต้มตุ๋นคนผ่านอินเทอร์เน็ต และการฆาตกรรม ในท้องถิ่น ขวานดำถูกพูดถึงในฐานะ “ลัทธิ” ซึ่งบ่งบอกถึงการมีพิธีกรรมลับ ๆ เวลารับสมาชิกใหม่เข้าแก๊งรวมถึงความจงรักภักดีอย่างสูงของสมาชิก พวกเขาเป็นที่โจษจันเรื่องการใช้ความรุนแรงอย่างโหดเหี้ยม มีการเผยแพร่ภาพคนที่ไปเป็นศัตรูกับพวกเขาในสภาพร่างถูกตัดแขนขาหรือทรมาน เผยแพร่บนโซเชียลมีเดียในไนจีเรียเป็นประจำ ดร.สโตน ยอมรับว่าเขาเองก็มีส่วนร่วมในความโหดร้ายที่ว่านี้ด้วยระหว่างเป็น “Axeman” หรือ สมาชิกแก๊งขวานดำ ระหว่างให้สัมภาษณ์ เขาเล่าย้อนถึงวิธีการสังหารที่มีประสิทธิภาพที่สุดโดยโน้มตัวมาข้างหน้า ทำมือเป็นรูปปืน…

คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ทักษะที่จำเป็น บนโลกออนไลน์

Loading

  การรับมือข้อมูลหลอกลวงและข่าวปลอม ที่แชร์อยู่ในโลกออนไลน์นั้น เราต้องวิเคราะห์และตรวจสอบอย่างรอบคอบก่อนทุกครั้งที่จะแชร์ข่าวเท็จ หรือนำเสนอต่อบุคคลอื่น ในปัจจุบัน ในแต่ละนาทีมีข่าวสารที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งต่างกับอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อนอย่างสิ้นเชิง เราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทางและรวดเร็วมากกว่าในอดีต เช่น จากสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้นมาจากหลายแหล่งที่มา ทั้งจากแหล่งที่เชื่อถือได้และไม่น่าเชื่อถือ ผู้รับข่าวสารจำนวนมากอาจไม่สามารถวิเคราะห์และการกลั่นกรองข่าวสารที่ได้รับว่าจริงหรือปลอม จึงหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ รวมทั้งอาจมีส่วนร่วมในการสร้างความเสียหายให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยแชร์ข่าวเท็จหรือแบ่งปันข้อมูลเท็จที่ได้รับ การแชร์ข้อมูลเท็จที่ได้รับมานั้น สร้างความเสียหายและผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อมเกิดขึ้นต่อตัวบุคคลผู้แชร์ข้อมูล หรือผู้ที่ถูกกล่าวถึง ทำให้ความน่าเชื่อถือของตนเองลดลง รวมทั้งเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย ส่งผลให้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีและเสียค่าปรับต่างๆ หรือกระจายข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ส่งผลให้ผู้อื่นหลงกรอกข้อมูลหรือเป็นเหยื่อจากลิงก์หรือข่าวที่เราแชร์   ดังนั้น เราต้องมีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลว่า ข่าวปลอมนั้นมีลักษณะและมีช่องทางที่มาอย่างไร โดยทั่วไป ลักษณะและการหลอกลวงที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ มีดังนี้ 1.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเพิ่มองค์ประกอบเพื่อสร้างความน่าเชื่อ ประเด็นความน่าสนใจโดยส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเชิงลบ เพื่อสร้างกระแสและเป็นประเด็นในวงกว้าง และสร้างความอยากรู้อยากเห็นของคนทั่วไป เช่น “คิดอย่างไรกับสถานการณ์นี้” หรือ “พบสมุนไพรไทยช่วยต้านโควิด-19” 2.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นจะชักนำไปในเรื่องของความเชื่อเพื่อเล่นกับความรู้สึกของบุคคล เพราะโดยทั่วไปพฤติกรรมของคนมักแบ่งการรับรู้ออกเป็นสองด้าน เช่น ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร มีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ 3.เป็นข่าวที่มีผลกระทบกับความเชื่อมั่น แบ่งแยกมุมมองและสื่อสารไปกับเฉพาะกลุ่ม โดยเป็นข่าวสารหรือข้อมูลตามสถานการณ์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้น ซึ่งในบางครั้งอาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลเก่าที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วนำมาสร้างกระแสใหม่ เพื่อสร้างผลกระทบต่อคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ อีกครั้ง…

ลาว ประเทศที่ถูกทิ้งระเบิดถล่มมากที่สุดในโลก

Loading

  ในช่วงสงครามเวียดนามลาวเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ถูกสหรัฐทิ้งระเบิดถล่มอย่างหนัก จนทำให้ประเทศนี้มีอัตราระเบิดต่อหัวประชากรมากที่สุดในโลก 1. จนถึงทุกวันนี้ยังมีชาวลาวต้องเสียชีวิตจากระเบิดที่สหรัฐอเมริกาทิ้งเอาไว้ ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2564 เจ้าหน้าที่กวาดล้างระเบิด UXO ของลาวเสียต้องสละชีวิตไป 3 คน และบาดเจ็บ 2 คนจากเหตุระเบิดในหมู่บ้านกิโลเมตร 38 เมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก จากการรายงานของ Laotian Times สื่อภาษาอังกฤษในลาว 2. UXO (Unexploded ordnance) หรือระเบิดที่ยังไม่ได้ถูกจุดชนวน ถูกทิ้งไว้โดยสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2 (หรือสงครามเวียดนาม) ทำให้ “ลาวถือเป็นประเทศที่ถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักที่สุดในโลกในอัตราต่อหัวประชากร” จากข้อมูลของเว็บไซต์ Legacies of War องค์กรที่สร้างความตระหนักเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การทิ้งระเบิดในยุคสงครามเวียดนามในประเทศลาว และสนับสนุนการกวาดล้างระเบิดที่ยังไม่ระเบิด 3. ย้อนกลับไปในช่วงสงครามเวียดนาม ขณะที่สหรัฐกำลังรบในเวียดนามอยู่นั้น ในลาวก็เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นมาด้วยระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์หรือ “ขบวนการปะเทดลาว” ที่เอียงไปทางเวียดนามและฝ่ายรัฐบาลราชอาณาจักรลาวที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ ทำให้ลาวถูกดึงเข้าสู่ความขัดแย้งครั้งใหญ่ กลายเป็นสงครามที่เรียกว่า “สงครามลับ” ในลาว 4. จากข้อมูลของ Legacies of…