รู้เท่าทันแฮกเกอร์ กับเทคนิคเจาะข้อมูลแบบ “วิศวกรรมสังคม”

Loading

  รู้เท่าทันแฮกเกอร์ กับเทคนิคเจาะข้อมูลแบบ “วิศวกรรมสังคม” 5 รูปแบบ ผ่านพฤติกรรมของเรา   วิศวกรรมสังคม (Social Engineering) เป็นวิชาทางจิตวิทยาแขนงหนึ่ง เกี่ยวข้องกับ การรับรู้ข้อมูลของมนุษย์และการแสดงท่าทีต่อข้อมูลนั้น ซึ่งมิจฉาชีพมักจะนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ในการลวง และเจาะข้อมูลบุคคลเพื่อนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต, หลอกให้โอนงาน, นำข้อมูลส่วนตัว ไปใช้ในทางผิดกฎหมาย และอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบกับผู้ที่ถูกกระทำหากเคยได้ยินข่าวกันบ้างอย่างเช่น โทรศัพท์เข้ามาอ้างตัวเป็นคอลเซ็นเตอร์ธนาคาร เพื่อสอบถามข้อมูลส่วนตัวนำไปทำธุรกรรมยักยอกเงินจากบัญชีของเจ้าของเบอร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้รุนแรง และมีรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นพร้อมกับการมาถึงของยุคดิจิทัล ซึ่งเทคนิคดังกล่าว ไม่ได้อาศัยช่องโหว่ของระบบ หรือเทคโนโลยีใด ๆ หากใช้แต่เพียงช่องโหว่จากพฤติกรรมของเหยื่อ ที่มีต่อข้อมูลนั้น ๆ ในการเข้าถึงข้อมูล     การเจาะข้อมูลแบบ “วิศวกรรมสังคม” ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มี 5 รูปแบบหลัก ๆ ด้วยกันคือ   1. Baiting “ใช้เหยื่อล่อ” เป็นรูปแบบที่มีการใช้รางวัล หรือสิ่งตอบแทนเป็นเหยื่อล่อ ให้บุคคลที่ติดเหยื่อ นั้นถูกล้วงข้อมูล หรือเข้าถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลอยู่…

ฮาวทูรู้ทัน “ข่าวปลอม” นักจิตวิทยาแนะชาวเน็ต Pause ก่อน Post

Loading

  ในยุคที่ “ข่าวปลอม” หรือ “เฟกนิวส์” ยังคงถูกปล่อยออกสู่โลกโซเชียลอย่างไม่หยุดหย่อน ชวนรู้วิธีรับมือข่าวปลอมจากคำแนะนำของ “พณิดา โยมะบุตร” นักจิตวิทยาคลินิก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล   ใครเคยตกเป็นเป็นเหยื่อของ “ข่าวปลอม” หรือ “FakeNews” บ้าง? โดยเฉพาะผู้ที่เสพสื่อออนไลน์อยู่ตลอดเวลา ที่มีการเสพสื่อที่รวดเร็ว บางครั้งอาจจะไม่ทันคัดกรองให้ดี รู้ตัวอีกทีก็เผลอเชื่อข้อมูลนั้นๆ ไปแล้ว และที่แย่ไปกว่านั้นคือ เผลอแชร์ต่อข้อมูลผิดนั้นออกไปอีก แล้วแบบนี้ จะมีวิธีป้องกันและคัดกรอง “ข่าวปลอม” ที่เข้ามาวนเวียนอยู่ในการใช้ชีวิตชีวิตประจำวันได้อย่างไร จึงจะไม่เผลอตกเป็นเหยื่อการแชร์ข่าวปลอมออกไปในโลกโซเชียลให้เพิ่มเติมเข้าไปอีก   เรื่องนี้มีคำแนะนำจาก “พณิดา โยมะบุตร” นักจิตวิทยาคลินิก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่อธิบายไว้เป็น How To ให้ประชาชนสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังนี้   1. ลด ละ เลี่ยง การเสพข่าวออนไลน์ ข้อแรกที่ควรปฏิบัติคือ การพยายามลด ละ เลี่ยง การเสพข่าวออนไลน์ แม้อาจฟังดูย้อนแย้ง เพราะคนสมัยนี้เสพข่าวสารผ่านโซเชียลเป็นหลัก…

วิธีใส่ลายเซ็นใน google docs แบบลงลายมือชื่อตัวเอง

Loading

วิธีใส่ลายเซ็นใน google docs แบบลงลายมือชื่อตัวเอง เคยทำหรือไม่ หลายท่านอาจเคยเซ็นชื่อ PDF ลงบน Microsoft Word หรือ ไฟล์ PDF แล้ว แต่สำหรับ Google Docs ก็สามารถทำได้เช่นกันด้วยขั้นตอนง่ายๆ พร้อมเทคนิคการลงชื่อด้วยดังนี้   วิธีใส่ลายเซ็นใน google docs โดยเซ็นชื่อด้วยลายมือชื่อตัวเอง     เข้าเว็บไซต์ docs.google.com บนเว็บเบราว์เซอร์ จากนั้นเปิดเอกสารใหม่ของ Google Docs แล้วทำการคลิกเมนู แทรก >> เลือก ภาพวาด >> เลือก + ใหม่ ดังรูป     จะเปิดหน้าต่างภาพวาดขึ้นมา ให้คลิกที่รูปเส้น ดังรูป แล้วเลือกที่ลายเส้น     คุณสามารถใส่ลายเซ็นด้วยการคลิกเม้าส์แทนการลงปากกา แต่ถ้าอย่างง่ายที่สุดคือควรใช้หน้าจอสัมผัส หรือใช้ iPad หรือแท็บเล็ต…

ปืนแสงเลเซอร์พลังงานสูง AHEL ถูกส่งมอบให้กองทัพอากาศสหรัฐ

Loading

  ปืนแสงเลเซอร์พลังงานสูง AHEL โจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน อากาศและทางทะเล ด้วยความเร็วแสง ยืดหยุ่น แม่นยำและคล่องตัวสูง   บริษัท Lockheed Martin ผู้นำด้านเทคโนโลยีการบิน อวกาศและการทหารส่งมอบปืนยิงแสงเลเซอร์พลังงานสูงรุ่นใหม่ล่าสุด AHEL หรือ Airborne High Energy Laser ให้กับกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาสำหรับติดตั้งบนเครื่องบินขนส่ง AC-130J ที่ถูกดัดแปลงให้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาดต่าง ๆ รวมไปถึงปืนยิงแสงเลเซอร์ อาวุธรูปแบบใหม่ล่าสุดทางด้านการทหารที่กองทัพประเทศมหาอำนาจหลายประเทศกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง   การวิจัยพัฒนาปืนยิงแสงเลเซอร์ AHEL หรือ Airborne High Energy Laser เริ่มต้นเมื่อประมาณ 40 ปีก่อน จากการค้นคว้าเกี่ยวกับการควบคุมและปล่อยพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน อากาศและทางทะเล ด้วยความเร็วแสง มีความยืดหยุ่นแม่นยำคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนตำแหน่งและควบคุมระดับความเสียหายของเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปืนแสงเลเซอร์พลังงานสูงไม่เกิดเสียงดังขณะทำการยิง รวมไปถึงการใช้ต้นทุนในการโจมตีต่อครั้งที่ต่ำกว่าการใช้อาวุธจรวดเคมีและหัวรบดินระเบิด   การส่งมอบอาวุธปืนยิงแสงเลเซอร์ AHEL ให้กับกองทัพอากาศสหรัฐมีขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยขั้นตอนต่อไปเป็นการทดสอบยิงภาคพื้นดินเพื่อทำลายเป้าหมายและทดสอบติดตั้งเข้ากับเครื่องบินขนส่ง AC-130J Ghostrider ในลำดับต่อไป สำหรับเครื่องบินขนส่ง AC-130J…

สังคมโลก : สิ่งตอบแทน

Loading

  ผลสำรวจความคิดเห็นสาธารณะล่าสุด ในสหรัฐอเมริกา พบว่า ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ที่ตอบคำถาม ต้องการเห็นชาวอัฟกันที่เคยทำงานช่วยเหลือทหารกองทัพสหรัฐ และพันธมิตรนาโต ในสงครามอัฟกานิสถาน ได้รับอนุญาตให้ตั้งรกราก เริ่มชีวิตใหม่ในดินแดนอเมริกา มีเพียง 9% ของชาวอเมริกัน ที่คัดค้าน โพลสำรวจโดยสำนักข่าวเอพี-ศูนย์วิจัยกิจการสาธารณะ เอ็นโออาร์ซี พบว่า 72% ของชาวอเมริกัน ต้องการให้รัฐบาลสหรัฐอนุมัติสถานะผู้ลี้ภัย แก่ชาวอัฟกันที่เคยเป็นล่ามแปลภาษา หรือ ทำงานอื่น ๆ ช่วยเหลือทหารสหรัฐในอัฟกานิสถาน รวมทั้งสมาชิกในครอบครัว หากกลุ่มคนเหล่านี้ผ่านการตรวจสอบด้านความมั่นคง     ส่วนผลสำรวจคณะเจ้าหน้าที่สหรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ อดีตทหารผ่านศึกสงครามอัฟกานิสถาน และทีมงานอพยพชาวอัฟกันออกนอกประเทศ หลังกลุ่มตาลีบันบุกยึดกรุงคาบูล เมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มคนเหล่านี้มองว่าเป็น “หน้าที่” และ “ความจำเป็น” ของทางการสหรัฐ ในการช่วยเหลือชาวอัฟกัน ที่เคยช่วยเหลือทหารสหรัฐ ในช่วง 20 ปีของการทำสงครามกับกลุ่มตาลีบันและกลุ่มติดอาวุธอื่น ๆ รวมถึง กลุ่มไอเอส ชาวอัฟกันเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อชีวิตสูงมาก เนื่องจากแต่ละคนถูกกลุ่มตาลีบันหมายหัวไว้หมด ในช่วงก่อนที่จะกลับมายึดครองอัฟกานิสถานเกือบทั้งประเทศ  …

ไม่ได้ไปต่อ เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ไม่ผ่านกฎหมายความเป็นส่วนตัว

Loading

  เทคโนโลยีการจดจำใบหน้านั้นมีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งก่อนหน้านี้ ในประเทศจีนได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การบังคับใช้กฎหมาย ใครไม่ข้ามทางม้าลาย ใบสั่งส่งถึงบ้าน หรือบ้วนน้ำลายหรือทิ้งขยะในที่สาธารณะก็ต้องจ่ายเช่นกัน พร้อมกันนี้ ในแง่ของการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล จีนใช้ระบบสแกนใบหน้าเพื่อจ่ายค่าเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ทำให้คนจีนไม่ต้องควักเงิน บัตร หรืออะไรต่างออกมาจ่ายเงิน เพียงแค่เดินผ่านไประบบจะทำการหักเงินในบัญชีอัตโนมัติ ทั้งนี้ ในปัจจุบันเทคโนโลยีการจดจำใบหน้ากำลังได้รับความนิยมทั่วโลก แม้จะมีการต่อต้านจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนและรัฐบาลทั่วโลก แต่บริษัทใหญ่ ๆ อย่างเช่น Amazon และ Clearview ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีและพยายามขายเทคโนโลยีดังกล่าวให้กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย แต่เรื่องนี้กำลังถูกยุติในฝั่งยุโรป โดยรัฐสภายุโรป (EP) MEPs ได้เรียกร้องอย่างเป็นทางการให้แบนการใช้เทคโนโลยีการจดใบหน้าในพื้นที่สาธารณะ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน นอกจากนี้ MEPs รู้สึกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำไปสู่การเลือกปฏิบัติระหว่างชนกลุ่มน้อย ผู้หญิง ผู้สูงอายุ และสมาของกลุ่ม LGBT เพราะมีความเป็นไปได้ว่าโปรแกรมเมอร์ที่เขียนอัลกอริทึ่มของระบบ อาจใส่อคติลงไป ทำให้ Ai อาจมีอคติเช่นกันครับ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และมีปัญหาให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง หากเรื่องนี้ถูกบังคับใช้เมื่อใด ประเทศที่อยู่สมาชิกประเทศยุโรปจะต้องไม่มีการใช้ Facial Recognition ในที่สาธารณะทั้งหมด รวมถึงประเทศที่มีการใช้กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น…