Big Data Is A Big Problem : เปลี่ยนดีเอ็นเอให้เป็นฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล

Loading

By : sopon supamangmee | Feb 18, 2020 เคยมีคำถามกันบ้างไหมครับเวลาอัพโหลดรูปภาพบนเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือลงวิดีโอไว้บนยูทูบแล้วรูปไปอยู่ที่ไหน? เราใช้บริการเหล่านี้ในชีวิตประจำวันจนแทบไม่เคยตั้งคำถามหรือคิดถึงมันเลยด้วยซ้ำ หลายคนก็อาจจะตอบว่าก็คงไปอยู่บนคลาวน์ “ที่ไหนสักแห่งหนึ่ง” ที่มีพื้นที่มากมาย ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ก็ไม่ถูกซะทีเดียว เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไฟล์หรือข้อมูลเหล่านี้แม้ว่าจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ใช่ปึกกองกระดาษเหมือนหนังสือเล่ม หรือม้วนวิดีโอ แต่ว่าไฟล์ดิจิทัลเหล่านี้ก็ยังต้องการพื้นที่สำหรับจัดเก็บที่เรียกว่า ‘data center’ หรือ ศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ตึกที่เต็มไปด้วยเซิร์ฟเวอร์หลายพันหลายหมื่นตัว (มีการประมาณการจาก Gartner ว่าในปี 2016 กูเกิลมีเซิร์ฟเวอร์กว่า 2.5 ล้านตัวใน data center ของตัวเองทั่วโลก) ไฟล์ดิจิทัล แต่พื้นที่จัดเก็บนั้นไม่สามารถเป็นดิจิทัลได้ ไม่ใช่แค่ยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิลเท่านั้นที่มี data center ขนาดเท่าสนามฟุตบอลกระจายอยู่ทั่วโลก บริษัทอื่นๆ อย่างเน็ตฟลิกซ์, ไลน์, วอทส์แอป, ทวิตเตอร์, แอมะซอน ฯลฯ หรือเรียกได้ว่าผู้ให้บริการออนไลน์ทุกเจ้าจะต้องมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ด้วยกันทั้งนั้น ทุกครั้งที่มีการส่งอีเมล แชร์รูปบนเฟซบุ๊ก สตรีมเน็ตฟลิกซ์ ค้นหาบนกูเกิล ​เซิร์ฟเวอร์เหล่านี้แหละที่ทำงานอยู่เบื้องหลังตลอดเวลา มีการคาดการณ์ว่าข้อมูลออนไลน์จะเติบโตจาก 33 ZB…

เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่

Loading

จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ทำให้เกิดเทคโนโลยีหนึ่ง ก็คือ การจดจำใบหน้า แม้ภาครัฐอ้างว่าจะใช้เพื่อป้องกันภัยจากการก่อการร้ายหรืออาชญากรรม แต่ประชาชนกลับมองว่านี้อาจลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของตัวเอง เพระาไม่สามารถตรวจสอบการเข้าถึงได้ รัฐนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันมาใช้ โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องและป้องกันภัยจากการก่อการร้ายและอาชญากรที่พัฒนาขึ้นทุกวัน แต่ประชาชนทั่วไปรู้สึกว่า สิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเขากำลังถูกลิดรอน เพราะไม่สามารถตรวจสอบหน่วยงานรัฐได้ว่าเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวมากน้อยเพียงใด โปรแกรมหนึ่งที่กำลังถูกพูดถึงคือ โปรแกรมจดจำใบหน้า หรือ face-recognition technology ซึ่งหน่วยงานความมั่นคงนำมาใช้เพื่อช่วยให้สืบหาตัวคนร้ายได้รวดเร็วฉับไวมากยิ่งขึ้น ทางการของเกาะฮ่องกง นำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับกลุ่มผู้ประท้วง เพื่อหาทางจัดการทางกฎหมายกับผู้ประท้วงที่ฮ่องกง เริ่มมาตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคม 2562 ในช่วงแรกการชุมนุมเป็นไปอย่างสงบ ก่อนที่เหตุการณ์จะเริ่มรุนแรงในเวลาต่อมา หลายต่อหลายครั้งทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจ ต้นตอเริ่มแรกของการประท้วงมาจากความไม่พอใจร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งผู้ชุมนุมมองว่า รัฐบาลจีน กำลังแทรกแซงสิทธิเสรีภาพของชาวฮ่องกง การประท้วงยืดเยื้อข้ามปี เพราะผู้ประท้วงต้องการเรียกร้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป โดยระบุว่ารัฐบาลฮ่องกงไม่ได้ทำตามคำมั่นสัญญาเกี่ยวกับสิทธิดังกล่าว นับตั้งแต่จีนได้เข้าปกครองฮ่องกงในปี 2540 ว่ากันว่า ตอนนี้ทั้งสองฝ่ายพยายามยั่วยุกัน โดยทางการฮ่องกงเชื่อว่า หากปล่อยให้มีการประท้วงต่อไปเรื่อยๆ ผู้ประท้วงเองจะเลิกราไปเอง ส่วนผู้ประท้วงก็พยายามยั่วยุ เพื่อให้ทางการหมดความอดทน ครั้งหนึ่งมีการเผยแพร่ภาพหนึ่งในโลกออนไลน์ที่เข้าใจว่า เป็นภาพของผู้ประท้วงชาวฮ่องกงคาดศีรษะด้วยอุปกรณ์ดิจิทัล ประกอบด้วยจอโปรเจ็คเตอร์ ซึ่งจะฉายเป็นภาพบุคคลอื่นบนใบหน้าของคนๆ นั้น เพื่อพรางตัวไม่ให้โปรแกรมจดจำใบหน้าจำได้ แต่ต่อมามีการเปิดเผยว่า ภาพดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่คิดค้นโดย จิง ไซ หลิว นักศึกษาของ Utrecht School of the Arts…

โซเชียลมีเดีย สื่อป่วนโลก : เฟค นิวส์ ข่าวป่วนเมือง

Loading

วิกฤติไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเชื่อว่า ต้นตอของเชื้อโรคมาจากสัตว์ได้สร้างความตื่นตระหนกและเชื้อโรคได้ลุกลามไปหลายประเทศจนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศทำให้ประชาชนทั้งโลกต่างอยู่ในภาวะเตรียมรับมือและหาวิธีป้องกันตัวเอง รวมทั้งหามาตรการยับยั้งการแพร่กระจายของโรคอย่างเข้มข้น สิ่งที่แพร่ออกไปพร้อมๆกันกับเชื้อไวรัสโคโรน่าคือ ข่าวปลอม ที่ถูกสร้างด้วยน้ำมือของมนุษย์เอง ซึ่งไม่เพียงสร้างความสับสนวุ่นวายต่อสังคมและรัฐบาลของประเทศที่ได้รับผลกระทบแล้วยังเป็นการเพิ่มภาระให้กับภาครัฐที่ต้องมานั่งแถลงข่าวการจับผู้ปล่อยข่าวปลอมไม่เว้นแต่ละวันต้องเสียเงินเสียทอง เสียเวลาแก้ข่าวและบั่นทอนความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาของภาครัฐอยู่ไม่น้อย ข่าวปลอมจากโซเชียลมีเดีย มิใช่เกิดเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น การปล่อยข่าวปลอมผ่านสื่อโซเชียลเกิดขึ้นกับหลายประเทศในโลกและเกิดขึ้นได้ในทุกสถานการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีความอ่อนไหวต่อการเกิดความรุนแรง เพราะข่าวปลอมสามารถทำให้คนบริสุทธิ์ต้องสังเวยชีวิตดังที่เกิดขึ้นมาแล้วในประเทศอินเดียซึ่งมีผู้ถูกรุมประชาทัณฑ์จนเสียชีวิตจากข่าวลือผ่านโซเชียลมีเดียและมีผู้ถูกเผาทั้งเป็นจากการเผยแพร่ข่าวลือผ่านโซเชียลมีเดียในประเทศเม็กซิโก เป็นต้น ในช่วงที่ไวรัสโคโรน่ากำลังแพร่ระบาดมีการเผยแพร่ข่าวปลอมผ่านสื่อโซเชียลต่างๆในประเทศไทยจำนวนมาก เป็นต้นว่า ข่าวการเดินทางของคนจีน 5 ล้านคนมายังประเทศไทยที่มีสื่อนำเสนอและเผยแพร่ต่อทางโซเชียลมีเดีย การแพร่ข่าวการติดเชื้อของผู้คนตามสถานที่ต่างๆโดยคิดเอาเองว่า เป็นความจริงหรือแชร์ต่อจากเพื่อน การแพร่ข่าวตลาดที่เชื่อว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ข่าวและรูปแสดงการกินสัตว์แปลกๆ หรือแม้แต่การแนะนำให้กินสมุนไพรเพื่อรักษาอาการติดเชื้อไวรัส ซึ่งข่าวสารเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข่าวปั้นน้ำเป็นตัวที่มาจากโซเชียลมีเดียทั้งสิ้น ข่าวปลอมที่ถูกแพร่ออกมาจากโซเชียลมีเดียในขณะที่โลกอยู่ในภาวะวิกฤติได้สร้างความแตกตื่น รวมทั้งสร้างความเชื่อที่ผิดต่างๆแก่ผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่ผู้คนยังขาดความรู้ ขาดวิจารณญาณและใช้สื่อโซเชียลด้วยความคึกคะนองหรือต้องการสร้างเครดิตจากยอดไลค์แก่ตัวเองโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา ยิ่งจะทวีความสับสนให้กับผู้คนที่บริโภคข่าวผ่านโซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดาย โซเชียลมีเดียจึงเป็นสื่อตัวแม่ที่ช่วยกระพือข่าวปลอมไปยังทุกมุมโลกด้วยระยะเวลาเพียงแค่เสี้ยววินาที สิ่งน่ารังเกียจเป็นอย่างยิ่งที่ไม่น่าเกิดขึ้นในสถานการณ์วิกฤติก็คือ การใช้โซเชียลมีเดียเพื่อหวังผลทางการเมือง ทั้งจากตัวนักการเมืองเองและพลพรรคที่สนับสนุนกลุ่มการเมืองโดยใช้ความมีชื่อเสียงของตัวเองในการเผยแพร่ข่าว ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่าความเห็นที่ไร้ความสร้างสรรค์ต่างๆจะออกมาจากปากของนักการเมืองที่มักถูกเรียกว่า ผู้ทรงเกียรติและชอบอ้างตัวเองอยู่เสมอว่ามาจากประชาชน เพราะแทนที่นักการเมืองเหล่านี้จะให้คำแนะนำที่สร้างสรรค์หรือให้กำลังใจต่อรัฐบาลหรือประชาชน แต่กลับเพิ่มความเลวร้ายของสถานการณ์ให้มากขึ้นไปอีกด้วยการฉกฉวยสถานการณ์ปล่อยข่าวด้านลบเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและพรรคพวก ซึ่งในที่สุดจะไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายใดเลย เพราะนอกจากการกระทำดังกล่าวจะประจานความไม่เอาไหนของตัวเองแล้วยังบั่นทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลภายใต้สถานการณ์อ่อนไหว รวมถึงลดทอนความน่าเชื่อถือของสถาบันผู้แทนราษฎรของประเทศไทยอีกด้วย ไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่โซเชียลมีเดียถูกนำมาใช้ในการเผยแพร่ข่าวปลอมในภาวะวิกฤติ ประเทศต่างๆล้วนแต่เผชิญปัญหาการเผยแพร่ข่าวปลอมไม่แพ้กัน เป็นต้นว่า พม่าประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของเรากำลังผจญกับปัญหาข่าวปลอมจากสื่อโซเชียลอยู่เช่นกัน ด้วยความเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับจีนจึงทำให้ผู้คนในพม่าสนใจเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรน่าเป็นพิเศษและมีการเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับการรักษาไวรัสโคโรน่ากันอย่างกว้างขวาง เช่น การแพร่ข่าวว่าหัวหอมมีสรรพคุณช่วยป้องกันไวรัสได้ เพราะพบว่า มีคนป่วยใกล้ตายนำหัวหอมวางไว้ใกล้ตัวขณะนอนแล้วเห็นผลในการรักษาหรือการแพร่ข่าวว่าการดื่มสุราสามารถป้องกันไวรัสโคโรนาได้ เป็นต้น การระบาดของข่าวปลอมไม่ได้สร้างความเสียหายต่อมนุษย์เฉพาะในยุคของการเบ่งบานของข้อมูลข่าวสารเช่นในปัจจุบันเท่านั้น ในยุคที่มนุษย์เริ่มใช้เครื่องพิมพ์เมื่อหลายร้อยปีก่อน มีการเผยแพร่ข่าวสารที่ผิดๆและสร้างความหายนะให้กับมนุษย์ผู้บริสุทธิ์อย่างมากมาย เพราะทันทีที่การพิมพ์ได้เริ่มขึ้นปัญหาความขัดแย้งก็เริ่มปรากฏในชั่วเวลาไม่นาน การแพร่กระจายของสิ่งพิมพ์ นอกจากจะทำให้ความรู้ของผู้คนเพิ่มอย่างรวดเร็วแล้ว การเผยแพร่สิ่งพิมพ์ได้นำไปสู่เหตุการณ์น่าเศร้าสลด…

เหตุใดชาวประมงจีนจึงพบ “ยานสอดแนมใต้น้ำ” จำนวนมาก

Loading

  “จีนให้รางวัลชาวประมงที่ดักพบอุปกรณ์สอดแนมต่างชาติ” นี่คือหัวข้อข่าวที่อาจดูเป็นเรื่องแปลกในตอนแรก และชวนให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ว่ามีโอกาสเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดที่จะเกิดเรื่องทำนองนี้ขึ้น” ทว่าเบื้องหลังหัวข้อข่าวที่ปรากฏอยู่ในสื่อของทางการจีนนั้น กลับมีเรื่องราวที่แตกต่างและน่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง ประการแรก ในข่าวนี้ไม่ได้มีชาวประมงแค่ 2-3 คนที่ได้รับรางวัลจากทางการจีน ทว่ามีมากถึง 11 คน ในจำนวนนี้หนึ่งคนเป็นผู้หญิง พวกเขาดักพบ “อุปกรณ์สอดแนมต่างชาติ”รวมกันทั้งสิ้น 7 ชิ้น ประการที่สอง นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ชาวประมงจากมณฑลเจียงซูพบ “ยานสอดแนมใต้น้ำ” ในปี 2018 มีชาวประมง 18 คนได้รับรางวัลจากการพบอุปกรณ์สอดแนม 9 ชิ้น และมีพิธีมอบรางวัลไปเมื่อปีก่อน ประการที่สาม รางวัลที่ทางการจีนมอบให้มีมูลค่าสูงถึง 500,000 หยวน (ราว 2.2 ล้านบาท) แล้ว “ยานสอดแนมใต้น้ำ” ที่ว่านี้มาจากไหน มาทำอะไร และเหตุใดจึงมีมูลค่าสูงนัก และคำถามสำคัญก็คือ เหตุใดชาวประมงจีนจึงพบอุปกรณ์ชนิดนี้เป็นจำนวนมาก   เจียงซู เป็นมณฑลทางภาคตะวันออกของจีนซึ่งมีชายฝั่งทะเลทอดยาวเป็นระยะทางกว่า 1,000 กม.แวดล้อมไปด้วยประเทศเพื่อนบ้าน มีญี่ปุ่นและเกาหลีใต้อยู่ตรงข้าม และไต้หวันอยู่ห่างลงไปทางใต้ราว 500 ไมล์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์นี้ และการมีกองทัพสหรัฐฯ ประจำการอยู่เป็นจำนวนมากในภูมิภาค…

ไทยหนีไม่พ้น เราจะต้องระวังอะไรจากความขัดแย้งอิหร่าน-สหรัฐ

Loading

บทวิเคราะห์โดย กรกิจ ดิษฐาน อิหร่านหักปากกาเซียนด้วยการโจมตีสหรัฐแบบตรงไปตรงมา ไม่ใช่วิธียืมมือกลุ่มติดอาวุธที่ตัวเองสนับสนุนอย่างที่บางคนคาดการณ์ไว้ การโจมตีด้วยขีปนาวุธถล่มฐานทัพสหรัฐในอิรัก คือการทำสงครามแบบ Conventional warfare หรือ “สงครามในรูปแบบ” นั่นคือการรบโดยใช้อาวุธโจมตีกันไปมา ไม่ว่าจะเป็นอาวุธแบบมาตรฐาน เช่นจรวดหรือแบบล้ำสมัยเช่นโดรน บรรดาเซียนการเมืองเชื่อว่าอิหร่านอาจจะรบแบบ Unconventional warfare หรือสงครามนอกระบบ โดยเฉพาะการใช้ตัวแทนรบกับสหรัฐ (Proxy war) ด้วยการบ่อนทำลายผลประโยชน์ของสหรัฐเป็นจุดๆ ไป อย่างที่สหรัฐเรียกว่า “การก่อการร้าย” อิหร่านควรใช้วิธีนี้เพราะมีแสนยานุภาพด้อยกว่าสหรัฐแต่มี “บริวาร” ที่เป็นเครือข่ายติดอาวุธที่ทำงานครอบคลุมไปทั่วโลก เช่น ฮิซบุลลอฮ์ แต่อย่างที่เราทราบ อิหร่านเลือกที่จะปะทะตรงๆ ทั้งๆ ที่แสนยานุภาพของอิหร่านเมื่อเทียบกับสหรัฐแล้วเหมือนหนูกับช้าง นั่นแสดงว่าอิหร่านกำลังเลือดเข้าตา และเห็นแก่ศักดิ์ศรีที่ถูกหยามมากกว่าจะมองความเป็นจริงในการรบ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าอิหร่านจะไม่รบนอกแบบ และใช้ตัวแทนรบกับสหรัฐ Quds Force ของอิหร่านซึ่งผู้บัญชาการเพิ่งจะถูกสังหารไป มีสายสัมพันธ์กับกองกำลังติดอาวุธหลายกลุ่มในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ (Hezbollah) จากการรายงานของ Institute for Near East Policy ในกรุงวอชิงตัน ในระยะหลังทั้งสองกลุ่มนี้ทำงานร่วมกันเพื่อโจมตีเป้าหมายสหรัฐ อิสราเอล และประเทศตะวันตก…

หลังจากการสังหารพลเอกกาเซ็ม สุไลมานี สหรัฐฯจะหลีกเลี่ยงสงครามกับอิหร่านอย่างไร

Loading

พลเอกกาเซ็ม สุไลมานี (Qasem Suleimani) ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษ “คุดส์”ของอิหร่าน ที่มาภาพ : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/ รายงานโดย ปรีดี บุญซื่อ จากการอนุมัติของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ให้กับการโจมตีด้วยเครื่องโดรนเพื่อสังหารพลเอกกาเซ็ม สุไลมานี (Qasem Suleimani) ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษ “คุดส์” ของอิหร่าน ที่สนามบินแบกแดด อิรัก เมื่อวันศุกร์ที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา กล่าวกันว่า เป็นปฏิบัติการที่อุกอาจที่สุดของสหรัฐฯ นับจากปฏิวัติของอิหร่านเมื่อปี 1979 พลเอกสุไลมานีถือเป็นบุคคลที่มีอำนาจอิทธิพลมากสุดอันดับสองของอิหร่าน และเป็นผู้บัญชาการกองกำลังคุดส์ ที่เป็นกองกำลังพิเศษในต่างประเทศของกองกำลังพิทักษ์อิสลามของอิหร่าน สุไลมานีมีบทบาทสำคัญที่กำหนดความเป็นไปต่างๆที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง เช่น สงครามการเมืองในซีเรีย และสร้างกองกำลังอาสาสมัครกลุ่มชีอะห์ในอิรัก เพื่อต่อสู้กับกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอซิส พลเอกเดวิด เพทราอุส อดีตผู้อำนวยการ CIA และผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯในอิรักปี 2007-2008 กล่าวว่า “หากจะเปรียบกับตำแหน่งในสหรัฐฯ กาเซ็ม สุไลมานีคือคนที่ดำรงตำแหน่ง ทั้งผู้อำนวยการ CIA ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษ และทูตพิเศษของประธานาธิบดีต่อภูมิภาค” รัฐบาลสหรัฐฯในสมัยจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช และบารัค…