แกะรอย “ก่อการร้าย” ในไทย สัญญาณเตือนภัยจาก ญี่ปุ่น

Loading

  ปฐมบท การก่อความไม่สงบเริ่มปี 2558 หลัง “รัฐประหาร” ไม่ถึงปี เกิดเหตุลอบวางระเบิดใจกลาง กทม. หลายครั้ง เช่นเดียวหลายจังหวัดภาคใต้ตอนบน ที่ยังมีความคลุมเครือว่าเป็นเรื่องการเมือง หรือ “ก่อการร้าย”   พลันที่กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น ส่งสัญญาณไปยังสถานทูตต่างๆที่ประจำในประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทย แจ้งเตือนพลเมืองให้เฝ้าระวัง “ก่อการร้าย” หลัง “ตอลิบัน” ยึด “อัฟกานิสสถาน” และทยอยปล่อยนักโทษมุสลิม ทั้ง มาเลเซีย,อินโดนีเซีย,ฟิลิปปินส์ ที่ถูกสหรัฐฯควบคุมตัวก่อนหน้านี้กลับประเทศ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี สั่งการไปยัง “หน่วยงานความมั่นคง” ประสานไปยังสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และ ประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียขอข้อมูล “ก่อการร้าย” แม้จะไม่ได้รายละเอียดอะไรเพิ่มเติมนอกเหนือจากข่าวที่ปรากฎในหน้าสื่อ แต่ “พล.อ.ประวิตร” ได้กำชับ “ความมั่นคง” ไม่ให้ประมาท ติดต่อประสานข้อมูลก่อการร้ายกับเครือข่ายในภูมิภาคอาเซียนอย่างใกล้ชิด ในขณะ พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้จับตาบุคคลที่มีประวัติเดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง เพราะเหตุการณ์ลอบวางระเบิดแยกราชประสงค์ และ จังหวัดภาคใต้ตอนบนคือบทเรียนสำคัญ   ปฐมบท…

ดีอีเอสย้ำหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2564 เพื่อคุ้มครองประชาชนจากภัยโซเชียล

Loading

  ดีอีเอสแจงประกาศฯ “หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ.2564” ปรับปรุงเพื่อให้กฎหมายทันสมัย สอดคล้องแนวปฏิบัติสากล มุ่งปกป้องคุ้มครองประชาชนจากอาชญากรรมและภัยโซเชียลรูปแบบใหม่ๆ   น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 13 ส.ค.2564 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ.2564 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 26 ของ พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และปี 2560 แต่ประกาศฉบับนี้ใช้มาตั้งแต่ปี 2550 จึงต้องปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีในปัจจุบัน   ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และบริบททางสังคมที่อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในแทบทุกกิจกรรมของชีวิตประจำวัน เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมายต่างๆ ได้ง่าย ทำให้จำเป็นต้องมีกฎหมายที่ก้าวทันการกระทำผิดกฎหมายในรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต เช่น สื่อโซเชียล บริการออนไลน์ หรือการให้บริการผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ จำเป็นที่ประเทศไทยต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์ตามประกาศฉบับเดิมซึ่งใช้มานานถึง 14 ปีแล้ว เพื่อให้ทันสมัย สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เป็นสากล และสามารถพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ใช้งาน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายและการคุ้มครองประชาชน ป้องกันความเสียหายต่อประชาชน เศรษฐกิจ สังคม และความสงบเรียบร้อยของประเทศ…

ล็อคเป้าอาเซียน ตอลิบานจุดชนวนก่อการร้ายอาละวาด

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญเตือนอาเซียนเสี่ยงก่อการร้ายจากการผงาดของตอลิบานในอัฟกัน ทำเอาตื่นตกใจไปตามๆ กันเมื่อ AP รายงานว่ากระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นเตือนให้พลเมืองของตนอยู่ห่างจากสถานที่ทางศาสนาและฝูงชนใน 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเตือนถึงการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นได้   กระทรวงกล่าวว่าได้รับข้อมูลว่า “มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เช่น ระเบิดฆ่าตัวตาย” คำเตือนนี้ไม่ได้เฉพาะเจาะจงที่ไหน แต่เตือนแบบหว่านแหกับพลเมืองญี่ปุ่นในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย และเมียนมา   เมื่อเตือนแบบหว่านแหแบบนี้จึงเล่นเอาบางประเทศงงเป็นไก่ตาแตกและทำอะไรไม่ถูก ยิ่งประชาชนในประเทศนั้นตื่นตูมอยู่แล้วยิ่งลงไปกับรัฐบาลตัวเองว่าปิดบังอำพรางอะไรไว้หรือเปล่า อย่างในไทยตอบรับฉับไวเพราะตกเป็นประเทศต้องสงสัย นายธานี แสงรัตน์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ญี่ปุ่นไม่ได้เปิดเผยที่มาของคำเตือน และสถานทูตญี่ปุ่นไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมและ “ไม่เฉพาะเจาะจงกับประเทศไทย” ฝ่ายความมั่นคงของไทยก็บอกในทำนองเดียวกันว่าไม่มีข้อมูลเรื่องภัยคุกคาม   ตกลงมันเป็น False alarm หรือสัญญาณเตือนหลอกให้ตื่นตกใจหรือไม่? ถ้าคิดดูดีๆ อาจไม่น่าจะใช่ หากลองดูทัศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง   ชัยชนะของกลุ่มตอลิบานในอัฟกานิสถานเมื่อวันที่ 15 ส.ค. อาจเป็นแรงบันดาลใจให้กลุ่มก่อการร้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลุกขึ้นมาลงมือก่อเหตุในบ้านเกิดอีกครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีฐานที่มั่นในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และภาคใต้ของฟิลิปปินส์ หลังจากบางกลุ่มอ่อนแอลงเพราะถูกรัฐบาลปราบปรามอย่างหนัก ผู้เชี่ยวชาญพุ่งเป้าไปที่กลุ่มอาบูไซยาฟ (Abu Sayyaf) ในฟิลิปปินส์ที่ขึ้นชื่อเรื่องการลักพาตัวนักท่องเที่ยว และกลุ่มญะมาอะห์อิสลามิยะห์…

ผู้นำองค์กรต้องเพิ่มกลยุทธ์ป้องกันการปลอมแปลงอัตลักษณ์บุคคล (Deep-Fake)

Loading

  เดือนมีนาคม 2562 ซีอีโอของบริษัทพลังงานแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษได้รับสายด่วนจากเจ้านายซึ่งเป็นผู้บริหารของบริษัทแม่ที่เยอรมนี โดยเจ้านายชาวเยอรมันสั่งให้ลูกน้องของเขาโอนเงินจำนวน 220,000 ยูโร (ประมาณ 8.5 ล้านบาท) ให้กับตัวแทนซัพพลายเออร์ในฮังการี ซึ่งต้องโอนเงินเป็นกรณีเร่งด่วนและต้องแล้วเสร็จภายใน 1 ชั่วโมง เนื่องจากซีอีโอชาวอังกฤษจำสำเนียงเยอรมันที่โดดเด่นของเจ้านายได้ดี เขาจึงรีบอนุมัติการโอนเงินในทันที ทว่าโชคร้ายที่ซีอีโอชาวอังกฤษไม่ได้คุยกับเจ้านายของเขา แต่กลับคุยกับปัญญาประดิษฐ์ที่เลียนเสียงและแอบอ้างตัวเป็นเจ้านายชาวเยอรมัน   องค์กรธุรกิจควรต้องตระหนกกับเหตุการณ์นี้หรือไม่? คำตอบคือทั้งใช่และไม่ใช่ ที่ธุรกิจต้องกังวลคือรูปแบบความซับซ้อนในการหลอกลวงที่ดูแนบเนียนและที่สำคัญเป็นการโจมตีที่ประสบความสำเร็จ แต่ที่ยังเบาใจได้คือมันยังต้องใช้ความพยายามและทรัพยากรอย่างมากในการจู่โจมรูปแบบนี้และเป้าหมายใหญ่อย่างบริษัทข้ามชาติ ซึ่งสิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนไป โดยเครื่องมือที่ใช้บิดเบือนข้อมูลสามารถขยายเป็นสองทางอย่างน่าทึ่ง อย่างแรก คือ มันทำให้ผู้ที่ไม่หวังดีใช้วิธีนี้จู่โจมได้ง่ายมากขึ้น แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จน้อยแต่สิ่งที่ได้มาก็คุ้ม อย่างที่สองเมื่อเทคโนโลยี Deep-Fake หรือการปลอมแปลงอัตลักษณ์ของบุคคลด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่ทรงพลังและใช้ง่ายตกอยู่ในมือคนจำนวนมากที่ทำให้ใครก็ได้สามารถโจมตีเป้าหมายที่ต้องการไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม   เทคโนโลยีเอไอ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (Machine Learning) แทรกซึมอยู่ในธุรกิจและการสื่อสารสมัยใหม่ ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่จะมีการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ไปในทางที่ผิดกฎหมาย การล่อลวงแบบดีปเฟก (Deepfakes) สามารถเป็นได้ทั้งเสียง รูปภาพ และวิดีโอที่ดูเสมือนจริงแต่กลับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นด้วยเอไอ เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ครั้งล่าสุดของการบิดเบือนข้อมูลในแบบที่ RAND Corporation หน่วยงานด้านนโยบายระดับโลกของอเมริกา ได้อธิบายไว้ว่าเป็น “วัฒนธรรมการเสื่อมสลายของความจริง” (หรือ Truth Decay) เป็นพลวัตที่มีการถกเถียงอย่างมากถึงขอบเขตในด้านการเมืองและทฤษฎีสมคบคิด…

เมื่อคนไทยใช้โซเชียลมีเดียเป็นแหล่งข่าวมากที่สุดในโลก

Loading

    เปิดดูข้อมูลสถิติผลสำรวจการใช้ “โซเชียลมีเดีย” ของผู้คนในโลกจาก We are Social และ Hootsuite ซึ่งเป็นข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2564 พบว่าทั่วโลกมีคนใช้โซเชียลมีเดีย 4.48 พันล้านคน คิดเป็น 56.8% ของประชากรโลก เพิ่มขึ้นถึง 13.1% จากปีก่อน ซึ่งน่าจะเป็นผลพวงจากสถานการณ์โควิดด้วย เมื่อออกนอกบ้านกันไม่สะดวก โลกออนไลน์จึงคือคำตอบ โดย 99% เป็นการเข้าใช้ผ่านโทรศัพท์มือถือ และค่าเฉลี่ยของการเข้าใช้งานโซเชียลมีเดีย อยู่ที่ 2 ชั่วโมง 24 นาที ต่อวัน   ในบรรดาแพลตฟอร์มต่างๆ ทั่วโลก Facebook ยังคงมีผู้ใช้งานเป็นอันดับ 1 โดยมีจำนวนผู้ใช้งานถึง 2.853 พันล้านคน ตามมาด้วย YouTube ซึ่งมีผู้ใช้งานอยู่ที่ 2.291 พันล้านคน ข้อมูลที่น่าสนใจและออกจะน่าเป็นห่วงคือจากผลการสำรวจของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ประเทศไทยและไนจีเรียมีการใช้โซเชียลมีเดียเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารมากเป็นอันดับ 1 ของโลก อยู่ที่…

เมื่อต้องแปลงสื่อ : จากกระดาษสู่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

Loading

    การปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการทำงานเป็น WFH ส่งผลให้มีคำถามที่หลากหลายเกี่ยวกับวงจรเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับนี้จะหยิบยกบางประเด็นเกี่ยวกับการแปลงสื่อ “จากกระดาษสู่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์” มาอธิบายให้ฟัง   การแปลงสื่อ : กระดาษ VS อิเล็กทรอนิกส์ การแปลงสื่อ หรือ เปลี่ยนรูปแบบของเอกสาร หมายความว่า เอกสารหรือข้อมูลที่จัดทำในรูปแบบกระดาษ ได้ถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือในทางกลับกัน เอกสารหรือข้อมูลนั้นแรกเริ่มเดิมทีอาจอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และต่อมาได้ถูกจัดทำให้อยู่ในรูปแบบกระดาษ เช่น เอกสารรายงานฉบับหนึ่ง ขององค์กร A ถูกสร้างแบบกระดาษและได้ลงลายมือชื่อแบบปากกา ต่อมา เอกสารฉบับดังกล่าวถูกส่งไปยังองค์กร B ทางอีเมล ต่อมาเมื่อองค์กร B ได้รับจึงปริ้นต์ออกมาเพื่อเซ็นด้วยปากกา หรืออาจเซ็นแบบอิเล็กทรอนิกส์และส่งกลับไป ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เอกสาร/ข้อความ อาจถูกแปลงรูปแบบระหว่างกระดาษและอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างทางตลอดการใช้งาน เหตุการณ์เช่นว่านี้ มักเกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่าน (transition period) ที่วงจรเอกสารอาจยังไม่ได้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดตั้งแต่แรกสร้าง ดังนั้น ประเด็นจึงมีอยู่ว่า กฎหมายกำหนดหลักการในเรื่องเหล่านี้ไว้อย่างไร?   กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแปลงสื่อ กฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีบทบัญญัติที่รองรับปัญหาที่อาจเกิดจากการแปลงสื่อตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งปรากฎอยู่ใน ม.10 (เอกสารต้นฉบับ และการรับรองสิ่งพิมพ์ออก)…