กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : คุ้มครองหรือไม่คุ้มครอง

Loading

วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เป็นวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) หรือ PDPA) มีผลบังคับใช้หลังการประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเนื้อหาสาระของกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้คุ้มครองการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างแท้จริง ซึ่งแตกต่างจากชื่อของกฎหมายอย่างสิ้นเชิง อะไรคือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และทำไมต้องมีกฎหมายฉบับนี้! ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ที่เริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทำงานในรูปแบบของ Information Technology คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงานของผู้คนในสังคม และมีบทบาทในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น ทำให้มีการพูดถึงการคุ้มครองการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อคุ้มครองการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกรรมต่าง ๆ ที่เจ้าของข้อมูลไม่ต้องการให้ผู้อื่นนำไปใช้ จากวันนั้นถึงวันนี้ผ่านมา 23 ปี กฎหมายฉบับนี้คลอดออกมา และจะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2563 สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ การให้ความคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม ประวัติการทำงาน และข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียง เลขบัตรประชาชน หรือเลขหมายเอกสารส่วนตัวอื่น ๆ โดยห้ามไม่ให้ผู้อื่นนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เพื่อประโยชน์ในด้านใดด้านหนึ่งที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอมให้นำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากปัจจุบันเราต้องติดต่อกับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ…

ทำไมการประท้วงฮ่องกงจึงบานปลายจนควบคุมไม่อยู่

Loading

(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.asiatimes.com) Why Hong Kong protests are out of control By Ken Moak / 02/10/2019 สถานการณ์อันสลับซับซ้อนที่กำลังเกิดขึ้นในฮ่องกงเวลานี้ ไม่สามารถจัดการคลี่คลายได้อย่างง่ายๆ เนื่องจากมีต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างมากมาย, ผลกระทบของหลักสูตรการศึกษาที่ใช้กันในยุคที่ตกเป็นอาณานิคมถูกปกครองโดยอังกฤษ, ข้อจำกัดต่างๆ ภายใต้โครงสร้างแห่ง “หนึ่งประเทศ สองระบบ, และความแตกแยกกันภายในรัฐบาลฮ่องกงตลอดจนภายในประชากรของฮ่องกง เป็นเวลาหลายเดือนมาแล้ว ที่พวกนักเคลื่อนไหว “ฝักใฝ่ประชาธิปไตย” ได้สร้างความเดือดร้อนเสียหายอย่างมหาศาลให้แก่ทั้งเศรษฐกิจ, การเมือง, และสังคมของฮ่องกง โดยเริ่มแรกทีเดียวมาจากการประท้วงร่างแก้ไขกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ร่างกฎหมายที่ก่อให้เกิดการโต้เถียงขัดแย้งฉบับนั้นเวลานี้ได้ถูกถอนออกไปแล้ว กระนั้นความรุนแรงอย่างไร้สติก็ยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่ได้ลดถอยลง แต่มันกำลังเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.theguardian.com/world/2019/sep/04/hong-kong-lam-to-withdraw-extradition-bill-say-reports) ในวันอังคาร (3 ต.ค.) ที่ผ่านมา ผู้ประท้วงที่เป็นหนุ่มวัยรุ่นคนหนึ่งได้ถูกตำรวจยิงด้วยกระสุนจริง จนได้รับบาดเจ็บที่บริเวณหน้าอก (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.asiatimes.com/2019/10/article/hk-protester-shot-on-chinas-national-day/) ทว่าในประเทศจำนวนมากนั้น หากพวกเขากำลังเผชิญกับความรุนแรงอย่างที่ฮ่องกงกำลังอดทนอดกลั้นอยู่ในเวลานี้แล้ว ปฏิกิริยาเช่นนี้จากผู้มีอำนาจหน้าที่ย่อมเป็นสิ่งที่ได้รับการคาดหมายว่าจะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว โดยพวกซึ่งรับผิดชอบสำหรับความรุนแรงดังกล่าวจะต้องถูกจับกุมหรือกระทั่งถูกยิง ด้วยเหตุนี้จึงมีคำถามว่า ทำไมรัฐบาลฮ่องกงและรัฐบาลจีนจึงยอมปล่อยให้ความโกลาหลวุ่นวายนี้ดำเนินต่อไป? เห็นได้อย่างชัดเจนว่า สถานการณ์อันสลับซับซ้อนคราวนี้ไม่สามารถจัดการคลี่คลายได้อย่างง่ายๆ เนื่องจากมีต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างมากมาย, ผลกระทบของหลักสูตรการศึกษาที่ใช้กันในยุคที่ตกเป็นอาณานิคมถูกปกครองโดยอังกฤษ, ข้อจำกัดต่างๆ…

เมื่อสงครามเป็นไฮบริด เครื่องมือผสม-วิถีผสาน

Loading

โดย… สุรชาติ บำรุงสุข คอลัมน์ ยุทธบทความ “วิธีการทางทหารจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อถูกใช้ผสมผสานกับวิธีการที่ไม่ใช่ทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นการใช้มาตรการทางการเมือง เศรษฐกิจ ข้อมูลข่าวสาร ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม และอื่นๆ… [ในกรณีนี้] เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารจะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การปะทะของหน่วยหลักทางทหารในแนวหน้าจะค่อยๆ กลายเป็นอดีต” Lawrence Freedman นักยุทธศาสตร์ชาวอังกฤษ ในแต่ละช่วงเวลาของโลก จะเห็นได้ว่าแบบแผนของสงคราม (pattern of war) มีความแตกต่างกันออกไป แบบแผนเช่นนี้เป็นผลผลิตของปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น เมื่อโลกอยู่ในยุคอาณานิคมของศตวรรษที่ 19 การสงครามของโลกก็มีแบบแผนเป็น “สงครามอาณานิคม” (Colonial Warfare) หรือเมื่อโลกมีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม ผนวกเข้ากับพัฒนาการของเทคโนโลยีทหารแล้ว เราจะเห็นการกำเนิดของ “สงครามเบ็ดเสร็จ” (Total Warfare) ในศตวรรษที่ 20 และเมื่อเทคโนโลยีนิวเคลียร์มีพัฒนาการอย่างมากในยุคสงครามเย็น สงครามที่เกิดขึ้นไม่สามารถทำการรบใหญ่ได้ ทำให้สงครามที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็น “สงครามจำกัด” (Limited Warfare) และเมื่อโลกในยุคปัจจุบันได้ก้าวสู่การปฏิวัติสารสนเทศ การสงครามของโลกก็มีทิศทางล้อไปกับการปฏิวัติดังกล่าว และทำให้เห็นถึงการมาของสงครามชุดใหม่ที่มีแบบแผนเป็น “สงครามข่าวสาร”…