ทำลายพยานหลักฐานในการกระทำความผิด มีโทษอย่างไร

Loading

  สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ สัปดาห์นี้มีเรื่องที่น่าสนใจและประชาชนให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับประเด็นของผู้กำกับการ สถานีตำรวจแห่งหนึ่งกับพวกรวม 7 คน ร่วมกันเอาถุงพลาสติกคลุมหัวผู้ต้องหาในคดียาเสพติดจนถึงแก่ความตาย เหตุเกิดในสถานีตำรวจ ซึ่งเป็นสถานที่ราชการ มีประชาชนพลุกพล่าน และมีกล้องวงจรปิด ต่อมามีข่าวแพร่สะพัดออกมา รวมถึงมีคลิปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้วันที่เกิดเหตุ จึงทำให้ประชาชนรวมทั้งสื่อมวลชน ตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงพฤติการณ์ของผู้กำกับการสถานีตำรวจและพวกดังกล่าวมากมาย จนกระทั่งศาลอนุมัติออกหมายจับ และจับกุมตัวผู้กระทำความผิดได้ครบทั้ง 7 คน พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาเบื้องต้น รวมถึงยื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาล เนื้อหาตามคำร้องได้บรรยายพฤติการณ์ของการกระทำความผิด และแจ้งข้อกล่าวหา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มาตรา 157 มาตรา 288 มาตรา 289 และมาตรา 309 ทั้งนี้ การตั้งข้อกล่าวหาอาจจะเปลี่ยนแปลงไป หรือ อาจจะแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมอีกก็ได้ ขึ้นอยู่กับการสืบสวนสอบสวนและการรวบรวมพยานหลักฐานในสำนวนคดี ในคดีนี้มีประเด็นที่น่าสนใจเพิ่มเติมอีกอย่างหนึ่ง คือ หลังจากก่อเหตุแล้ว ผู้กำกับการสถานีตำรวจดังกล่าว มีคำสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ลบข้อมูลในเครื่องบันทึกข้อมูลกล้องวงจรปิด ตลอดจนให้ถอดกล้องวงจรปิดภายในสถานีตำรวจทั้งหมด การกระทำดังกล่าวจะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร ข้อมูลในเครื่องบันทึกข้อมูลกล้องวงจรปิด ถือเป็นหลักฐานสำคัญในการคลี่คลายคดี เป็นข้อมูลในการบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่เกิดเหตุ ดังนั้น การทำลายพยานหลักฐานในการกระทำความผิด เพื่อช่วยผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง จึงมีความผิด…

ETDA เดินหน้าผลักดัน Digital Standards Master Plan

Loading

  จากบทบาทหน้าที่ของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการขับเคลื่อนพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และสนับสนุนคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (คธอ.) ซึ่งพระราชบัญญัติสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 มาตรา 5 (2) กำหนดให้ ETDA จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐานที่สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ แผนเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (Digital Economy) ซึ่งมีเป้าหมายและแนวทางที่กำหนดในพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 มาตรา 6 (4) การส่งเสริมให้เกิดมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ใน การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลให้สอดคล้องกันเพื่อให้การทำงานระหว่างระบบสามารถทำงานเชื่อมโยงกันได้อย่างมีความมั่นคงปลอดภัย อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน รวมตลอดทั้งทำให้ระบบหรือการให้บริการมีความน่เชื่อถือ และแนวทางการส่งเสริมให้เกิด การใช้งานเท้คโนโลยีดิจิทัลในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และมีหลักประกันการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ของประชาชนอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2564 ETDA จึงได้จัดทำแผนดังกล่าวที่บูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์และนโยบายระดับชาติ และสามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้จริง รวมทั้งมีการบูรณาการ การทำงานระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมภาคเอกชนในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องต่อไป     อย่างไรก็ดี จากการหารือร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนฉบับนี้ต้องดำเนินการเปลี่ยนชื่อแผนเป็น “แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนามาตรฐานดิจิทัล ระยะที่…

สงครามโลกครั้งที่ 2 กับบทบาทขบวนการเสรีไทยสายอังกฤษ

Loading

  2 ก.ย. 2564 ครบรอบ 76 ปีของการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ ผมขอใช้โอกาสนี้เล่าถึงบทบาทของคนไทยในอังกฤษที่เข้าเป็นสมาชิกของหน่วยงานราชการลับของรัฐบาลอังกฤษภายใต้ชื่อ Special Operations Executive หรือ SOE ที่ทำงานด้านหาข่าว สอดแนม และจารกรรมฝ่ายอักษะในยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนไทยกลุ่มนี้คือส่วนหนึ่งของขบวนการเสรีไทยสายอังกฤษที่ร่วมมือกับขบวนการเสรีไทยในประเทศไทยที่นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ นำข้อมูลเกี่ยวกับกองทัพญี่ปุ่นที่ยึดครองไทยขณะนั้น แจ้งต่อประเทศสัมพันธมิตร จนนำไปสู่การสิ้นสุดของสงครามในตะวันออกไกล และสงครามโลกครั้งที่สองในเวลาต่อมา บทความนี้ให้ความสำคัญกับบทบาทของคนไทยกลุ่มนี้ โดยอ้างอิงข้อมูลส่วนใหญ่จากเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ และ SOE ที่ระบุถึงข้อมูลของบุคคลสำคัญของไทย ต่างจากที่คนไทยเข้าใจกัน เช่น ใช้ตำแหน่งของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช และ พระยามนูเวทย์วิมลนาทว่า อัครราชทูต (Minister) ไม่ใช่เอกอัครราชทูต (Ambassador)     ช่วงเริ่มต้นของสงครามมหาเอเชียบูรพา ตั้งแต่ 02.00 น. ของ 8 ธ.ค. 2484 เรือรบญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ สงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์…

คำถามนี้ “ดี” พี่ตอบให้: e-Signature VS Digital Signature มันคืออะไร? ต้องใช้อันไหนดี??

Loading

  1. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) กับ ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) คืออะไร ? ตอบ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) เป็นชุดข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ เสียง ที่ใช้ระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อที่เกี่ยวข้องกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) เพื่อแส่ดงว่า บุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ส่วน ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบหนึ่งที่ได้จากกระบวนการเข้ารหัสลับของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยให้สามารถยืนยันตัวเจ้าของและสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อความและลายมือชื่อได้     2. e-Signature หรือ Digital Signature แบบไหนถึงจะมีผลทางกฎหมาย ? ตอบ มีผลทางกฎหมายทั้งคู่ และมีผลเช่นเดียวกับการเซ็นบนกระดาษ     3. ทำไมต้องใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนการเซ็นบนกระดาษ ? ตอบ เพราะมีความสะดวกรวดเร็ว ลดการใช้กระดาษ ประหยัดพื้นที่จัดเก็บเอกสาร ประหยัดค่าส่งเอกสาร มีผลทางกฎหมายเหมือนการเซ็นบนกระดาษ และยังลดการสัมผัส…

ETDA Live Ep.7: e-Saraban กับก้าวสำคัญสู่ภาครัฐดิจิทัล

Loading

  การรับส่งหนังสือด้วยอีเมล ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับงานราชการ เพราะตั้งแต่ปี 2544 ก็อนุญาตให้ใช้ได้แล้ว ต่อมาปี 2548 ก็เริ่มมีระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเข้ามา ดังนั้น การออกระเบียบฯ ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) ในปีนี้ จึงแค่วางกรอบแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐที่ยังไม่ได้ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในงานสารบรรณ ร่วมมือกันหันมาใช้งาน ด้วยภาระที่น้อยที่สุด และเหมาะสมที่สุด ในยุคโควิด-19 ETDA Live Ep.7 โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้รับเกียรติจากผู้แทนของ 3 ใน 7 หน่วยนำร่องเชื่อมโยงระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมพูดคุยในหัวข้อ e-Saraban กับก้าวสำคัญสู่ภาครัฐดิจิทัล “พลอย เจริญสม” เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส ฝ่ายให้คำปรึกษาและพัฒนาทักษะ ETDA เกริ่นนำว่า ตั้งแต่เกิด COVID-19 ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและการทำงานของเราอย่างปฏิเสธไม่ได้ อย่างการสัมมนาหรือเวทีเสวนาที่จัด ETDA Live Ep.7 วันนี้ (11 สิงหาคม 2564)…

อัฟกานิสถาน: ประเทศไหนจะได้หรือเสียประโยชน์อะไร จากการขึ้นครองอำนาจของตาลีบัน

Loading

GETTY IMAGES   ขณะกองกำลังร่วมของชาติตะวันตกซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกากำลังถอนทัพ ประเทศอื่น ๆ อย่างจีน รัสเซีย ปากีสถาน และอิหร่าน ก็ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วย ประเทศเหล่านี้ รวมถึงกลุ่มติดอาวุธต่าง ๆ จะได้หรือเสียประโยชน์อย่างไรในวันที่อัฟกานิสถานอยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน   ปากีสถาน ด้วยความที่มีชายแดนติดต่อกับอัฟกานิสถานยาวถึง 2,400 กิโลเมตร แน่นอนว่าปากีสถานกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มีผู้อพยพชาวอัฟกันที่ลงทะเบียนอยู่ในปากีสถานถึง 1.4 ล้านคน และคาดว่ายังมีที่ไม่ได้ลงทะเบียนอยู่อีกเท่าตัว กลุ่ม “ตาลีบัน” หรือแปลว่า “นักเรียน” ในภาษาพัชโต (Pashto) เริ่มปรากฏตัวในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ทางตอนเหนือของปากีสถาน โดยชาวอัฟกันหลายคนที่เข้าร่วมกลุ่มนี้เคยเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาในปากีสถาน แม้ว่าจะปฏิเสธว่าไม่ได้ช่วยตาลีบัน ปากีสถานเป็นหนึ่งในสามประเทศ พร้อมด้วยซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ยอมรับในตัวตนของกลุ่มตาลีบันตอนพวกเขาขึ้นสู่อำนาจในทศวรรษ 1990 และก็เป็นประเทศสุดท้ายที่ตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับตาลีบันด้วย   EPA   มีผู้อพยพชาวอัฟกันที่ลงทะเบียนอยู่ในปากีสถานถึง 1.4 ล้านคน และคาดว่ามีที่ไม่ได้ลงทะเบียนอยู่อีกเท่าตัว   แม้ว่าช่วงหลังมาความสัมพันธ์ของสองฝ่ายจะไม่ลงรอยกันนัก อูเมอร์ คาริม จากสถาบันรอยัลยูไนเต็ดเซอร์วิส (RUSI) ในกรุงลอนดอน บอกว่า ผู้กำหนดนโยบายในปากีสถานรู้สึกร่วมกันว่านี่ถือเป็นเรื่องที่ดี…