เอฟบีไอ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอันทรงอิทธิพล!!

Loading

  หลายคนสงสัยมากว่า FBI คือตำรวจหรือไม่ ทำหน้าที่อะไร วันนี้หนอนโรงพักจะพามาไขข้อข้องใจกันครับ ว่ากันต่อกับเรื่องตำรวจต่างประเทศครับ เรามาถึงหน่วยงานที่เรียกภาษาไทยว่า สำนักงานสอบสวนกลาง หรือชื่อย่อ FBI ซึ่งมาจากชื่อเต็มว่า Federal Bureau of Investigation อำนาจของเอฟบีไอมีหลายคนสงสัยมากว่าคือตำรวจหรือไม่ ก็ถ้าตอบตรง ๆ ก็คือ ไม่ใช่ตำรวจครับ แต่ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเหมือนกัน อธิบายให้หายงงก็คือ ในสหรัฐอเมริกานั้น แต่ละรัฐเขาจะมีตำรวจของตัวเอง ใช้กฎหมายของตัวเอง ฝึกกันเอง เอาเข้าจริงหลายประเทศในโลกนี้ก็ใช้ตำรวจแบบเดียวกับอเมริกา ทีนี้พออาชญากร ฆาตกรก่อเหตุข้ามรัฐ มันก็จะต้องประสานงานกันระหว่างตำรวจแต่ละรัฐ ซึ่งตามหลักสูตรข้าราชการ ข้ารัฐการทั่วโลก มีหน่วยงานเยอะ แต่ประสานงานกันไม่ค่อยได้เรื่อง ดังนั้นเอฟบีไอจึงกำเนิดมาตรงนี้แหละครับ คือ ไล่ล่าคนร้ายข้ามรัฐหรือก่อเหตุในหลายพื้นที่ จุดเริ่มต้นของเอฟบีไอ ซึ่งเป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อกระทรวงยุติธรรมอเมริกานั้น เริ่มจากช่วงเศรษฐกิจตกต่ำก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เรามีอาชญากรที่ก่อเหตุปล้นธนาคารในหลายพื้นที่มาก สื่อมวลชนก็ตั้งฉายาให้คนพวกนี้กลายเป็นคนดังเพื่อขายข่าว เอฟบีไอถือว่าคนเหล่านี้คือศัตรูของสาธารณะ ต้องไล่ล่าจัดการให้เด็ดขาด ทางรัฐบาลก็ให้อำนาจเอฟบีไอในส่วนนี้มากขึ้นในการจัดการคนร้ายเอฟบีไอเป็นหน่วยงานที่คนในองค์กรเน้นย้ำว่า เปลี่ยนแปลงช้า แต่ทุกครั้งที่เปลี่ยนจะมีประสิทธิภาพ จากหน่วยงานที่ไม่มีใครให้ความสนใจ การจับกุมคนร้าย ใช้หลักวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ การรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้เอฟบีไอสามารถจัดการเข้าถึงอาชญากร ฆาตกร องค์กรอาชญากรรมได้อย่างง่ายดาย และเป็นต้นแบบให้หลายประเทศทั่วโลกเอามาปรับใช้ ของไทยก็เอามาปรับใช้ครับ แต่ดูเหมือนประสิทธิภาพจะไม่ได้ดีเท่า…

สทป.ประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วม จำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน

Loading

  สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาโครงการประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วมเพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อสนับสนุนภารกิจทางทหารด้านความมั่นคงของกระทรวงกลาโหม (กห.) ที่ต้องปฏิบัติหลายประการ รวมไปถึงภารกิจที่ไม่ใช่ภารกิจด้านการรบ เช่น การส่งกำลังเข้าสนับสนุนการพัฒนาประเทศ การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ และการให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ และภารกิจการตอบสนองขณะประเทศประสบสภาวะวิกฤติและขาดสัญญาณการสื่อสาร โดยการจัดทำแผนที่สถานการณ์ร่วมจากข้อมูลภาพถ่ายที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV โครงการประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วมเพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงดำเนินการสถาปนาระบบสื่อสารขึ้นเอง เพื่อสนับสนุนการเข้าช่วยเหลือของทหารในพื้นที่ฉุกเฉิน และการขยายขีดความสามารถของแผนที่สถานการณ์ช่วยสร้างผลกระทบในเชิงบวกกับหน่วยงานด้านความมั่นคง อีกทั้งในด้านเศรษฐกิจเพื่อเตรียมการรับมือ ตอบสนอง และบรรเทาภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม เป็นต้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้หน่วยงานภายใต้สังกัด กห. ได้นำแผนที่สถานการณ์ร่วมไปประยุกต์ใช้เพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้สถานการณ์ร่วมให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการที่ศูนย์ควบคุม และสั่งการในพื้นที่ห่างไกลได้ออกคำสั่งตามหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด รวมถึงการตัดสินใจต่อการปฏิบัติภารกิจฉุกเฉินให้ทหารที่ปฏิบัติการในพื้นที่รับคำสั่งไปปฏิบัติได้ทันที ในการนี้ สทป. และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย หรือ บก.ทท. (นทพ.) ได้ตกลงร่วมกันจัดทำบันทึกข้อตกลงในการวิจัยและพัฒนาร่วม เพื่อให้ได้เครื่องมือซึ่งเป็นต้นแบบให้ทหารนำไปใช้ฝึกก่อนการปฏิบัติภารกิจฉุกเฉินขณะเกิดเหตุฉุกเฉินจากภัยพิบัติและสาธารณภัย และเมื่อสิ้นสุดโครงการจะส่งมอบให้หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 31 หรือ นพค.31 ที่มีขอบเขตความรับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดน่าน นำเข้าประจำการทดสอบทดลองเพื่อปฏิบัติภารกิจในพื้นที่รับผิดชอบ โครงการประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วมเพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นการวิจัยและพัฒนาต่อยอดแผนที่สถานการณ์ร่วมในรูปแบบสามมิติด้วยภาพถ่ายจาก UAV มาถ่ายทอดสัญญาณและแสดงผลการปฏิบัติหน้าที่ของทหารขณะปฏิบัติภารกิจในสถานการณ์ฉุกเฉิน จากนั้นจึงใช้เทคโนโลยีการสร้างตัวแบบและการจำลองภาพสถานการณ์ฉุกเฉินในระบบศูนย์อำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉิน…

แคสเปอร์สกี้ระบุ ปี 2020 คือปีแห่ง “Ransomware 2.0” ของเอเชียแปซิฟิก

Loading

    แคสเปอร์สกี้ บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก ระบุว่าปี 2020 เป็นปีแห่ง “Ransomware 2.0” สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ผู้เชี่ยวชาญยังได้กล่าวถึงตระกูลแรนซัมแวร์ชื่อฉาวสองกลุ่ม คือ REvil และ JSWorm ที่จับจ้องเหยื่อในภูมิภาคโดยเฉพาะ Ransomware 2.0 หมายถึงกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่เปลี่ยนจากการใช้ข้อมูลเป็นตัวประกัน เป็นการขุดเจาะข้อมูลที่ควบคู่ไปกับการแบล็กเมล์ การโจมตีที่ประสบความสำเร็จนั้นรวมถึงการสูญเสียเงินจำนวนมาก และการสูญเสียชื่อเสียง ซึ่งเกือบทุกครั้งเป็น “การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ที่กำหนดเป้าหมาย” ทั้งสิ้น นายอเล็กซี่ ชูลมิน หัวหน้านักวิเคราะห์มัลแวร์ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ปี 2020 เป็นปีที่มีประสิทธิผลมากที่สุดสำหรับตระกูลแรนซัมแวร์ที่เปลี่ยนจากการใช้ข้อมูลเป็นตัวประกันไปเป็นการฉกข้อมูลควบคู่ไปกับการแบล็กเมล์ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้ เราสังเกตเห็นการเกิดขึ้นใหม่ที่น่าสนใจของกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่มีการเคลื่อนไหวสูงสองกลุ่มคือ REvil และ JSWorm ทั้งสองกลุ่มนี้กลับมาปรากฏตัวอีกครั้งในช่วงการแพร่ของโรคระบาดในภูมิภาคเมื่อปีที่แล้ว และเราไม่เห็นสัญญาณว่าจะหยุดปฏิบัติการในเร็วๆ นี้”   -REvil (หรือ Sodinokibi, Sodin) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2019 แคสเปอร์สกี้เขียนเกี่ยวกับแรนซัมแวร์ REvil เป็นครั้งแรก หรือที่เรียกว่า Sodinokibi และ…

อุยกูร์ : จีนทดลองซอฟต์แวร์เอไอตรวจจับอารมณ์ชนกลุ่มน้อยมุสลิม

Loading

  “รัฐบาลจีนใช้ชาวอุยกูร์เป็นตัวทดลองในการทดลองต่าง ๆ ราวกับหนูที่ใช้ในห้องแล็บ” นี่คือความเห็นของวิศวกรซอฟต์แวร์คนหนึ่งที่ให้สัมภาษณ์ในรายการพาโนรามา (Panorama) ของบีบีซีภายใต้เงื่อนไขว่าจะไม่เปิดเผยตัวตนของเขา โดยระบุว่าทางการจีนได้ทำการทดลองระบบกล้องที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ และเทคโนโลยีจดจำใบหน้าเพื่อตรวจจับอารมณ์ของผู้คนกับชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมอุยกูร์ ในเขตปกครองตนเองซินเจียง วิศวกรรายนี้เปิดเผยว่า มีการติดตั้งระบบดังกล่าวตามสถานีตำรวจในเขตปกครองตนเองซินเจียง ซึ่งมีชาวอุยกูร์อาศัยอยู่ราว 12 ล้านคน และพวกเขามักตกอยู่ภายใต้การสอดส่องอย่างใกล้ชิดจากทางการ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ “ศูนย์ปรับทัศนคติ” ที่องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่าเป็นสถานกักกันที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงและมีชาวอุยกูร์ถูกคุมขังอยู่กว่า 1 ล้านคน รัฐบาลจีนยืนกรานมาตลอดว่าการสอดส่องเป็นเรื่องจำเป็นในภูมิภาคนี้ เพราะกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ต้องการก่อตั้งรัฐของตนเองได้สังหารประชาชนไปหลายร้อยคนในเหตุก่อการร้าย     กล้องตรวจจับอารมณ์ วิศวกรซอฟต์แวร์ที่ให้ข้อมูลกับบีบีซี ระบุว่าไม่ต้องการเปิดเผยชื่อและบริษัทที่ทำงานอยู่ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม เขาได้โชว์รูปถ่าย 5 รูปของผู้ถูกคุมขังชาวอุยกูร์ ซึ่งเขาอ้างว่าได้ทดสอบระบบกล้องตรวจจับและจดจำอารมณ์กับคนกลุ่มนี้ วิศวกรรายนี้เล่าว่าเขาได้ติดตั้งกล้องชนิดนี้ที่สถานีตำรวจในเขตปกครองตนเองซินเจียง “เราตั้งกล้องตรวจจับอารมณ์ห่างจากผู้ถูกทดลอง 3 เมตร มันคล้ายกับเครื่องจับเท็จแต่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่ามาก” เขาเล่าว่าเจ้าหน้าที่ใช้ “เก้าอี้หน่วงเหนี่ยว” ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายตามสถานีตำรวจทั่วประเทศจีน “ข้อมือคุณจะถูกล็อกอยู่กับที่ด้วยเครื่องยึดที่เป็นโลหะ เช่นเดียวกับที่ข้อเท้าของคุณ”       วิศวกรผู้นี้ยังแสดงหลักฐานการฝึกฝนให้เอไอตรวจจับและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสีหน้าและรูขุมขนที่เกิดขึ้นภายในเสี้ยวนาที เขาอธิบายการทำงานของระบบว่า ซอฟต์แวร์จะนำข้อมูลที่ได้มาประมวลแล้วสร้างเป็นแผนภูมิวงกลม เพื่อบ่งชี้ถึงอารมณ์ของผู้ถูกทดสอบ โดยส่วนสีแดงสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกเชิงลบหรือความวิตกกังวล เขาระบุว่า ซอฟต์แวร์มีเป้าหมายในการ…

‘Disqus Widget’ ประมวลผลข้อมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย

Loading

  ส่องบทเรียน “Disqus Widget” บริษัทสัญชาติอเมริกันที่นำเสนอแพลตฟอร์มการแบ่งปันความคิดเห็นสาธารณะทางออนไลน์ แต่กลับกระทำความผิดตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป และได้รับลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงินราวๆ 2.5 ล้านยูโร เมื่อวันที่ 2 พ.ค.2564 Datatilsynet ซึ่งเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศนอร์เวย์ ได้มีหนังสือแจ้งไปยัง Disqus Inc. บริษัทสัญชาติอเมริกันที่นำเสนอแพลตฟอร์มการแบ่งปันความคิดเห็นสาธารณะทางออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าสู่ระบบและสร้างโปรไฟล์เพื่อเข้าร่วมการสนทนา ว่าได้กระทำความผิดตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปหรือ GDPR ในหลายกรณี โดยจะลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงินราวๆ 2.5 ล้านยูโร เนื่องจากการกระทำความผิดดังนี้ (1) ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองนอร์เวย์ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ โดยใช้ระบบการเฝ้าติดตาม วิเคราะห์ข้อมูลและโปรไฟลิ่ง และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีฐานทางกฎหมาย Datatilsynet เห็นว่า Disqus ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากความยินยอมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (2) ไม่แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการประมวลผลให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบตามที่กฎหมายกำหนด (3) ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยขัดต่อหลักความรับผิดชอบ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดในคดีนี้ สืบเนื่องมาจากการเผยแพร่ข่าวของสื่อมวลชนในประเทศนอร์เวย์เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของ Disqus โดยใช้ Disqus Widget เชื่อมต่อเว็บไซต์ต่างๆ (NRK.no/ytring, P3.no, tv.2.no/broom, khrono.no, adressa.no, rights.no และ document.no) เข้ากับแพลตฟอร์มการแบ่งปันความคิดเห็นสาธารณะที่ให้บริการโดย…

‘ไทย’ บนรอยขัดแย้ง ‘อิสราเอล-ปาเลสไตน์’

Loading

  วิกฤติความขัดแย้ง “อิสราเอล-ปาเลสไตน์” ดูห่างไกลประเทศไทย แต่เหตุการณ์ยิงจรวดโจมตีตอบโต้ของกลุ่มฮามาสไปยังนิคมเกษตรโมชาฟ ได้ปลิดชีพแรงงานไทยในอิสราเอล อาจเป็นจุดเปลี่ยนท่าทีไทยต่อปมขัดแย้งเรื่องนี้ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่ยืดเยื้อยาวนาน และเกิดปะทุเป็นระยะๆ รวมถึงเหตุการณ์เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เกิดการโจมตีตอบโต้ครั้งล่าสุด ต่อเนื่องเป็นเวลา 11 วัน ก่อนสามารถทำข้อตกลงหยุดยิง แล้วเรื่องนี้จะดำเนินต่อไปอย่างไร ท่ามกลางความห่วงกังวลทั่วโลก เพราะหลายประเทศเริ่มรับผลกระทบ รวมทั้งแรงงานไทยในอิสราเอล ต้องบาดเจ็บและเสียชีวิตจากจรวดโจมตีของกลุ่มฮามาส ทางคณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ ร่วมกับสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (ISIS Thailand) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ “ฬ.จุฬาฯนิติมิติ” รอบพิเศษ เรื่อง “ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ : ความสัมพันธ์และกฎหมายระหว่างประเทศ กับมุมมองของไทย” เพื่อร่วมสะท้อนมุมมองในเชิงความสัมพันธ์ กฎหมายระหว่างประเทศ และทิศทางลดความขัดแย้งนี้     “ภาวัฒน์ สัตยานุรักษ์” อาจารย์ประจำวิชากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าเรียงลำดับเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล – กลุ่มผู้ติดอาวุธในปาเลสไตน์ครั้งล่าสุด เกิดขึ้นจากปมปัญหาใหญ่ๆ 3 เหตุการณ์ เริ่มจากเหตุการณ์แรก เมื่อกลางเดือน เม.ย.…