Deepfake แบบใหม่ ใช้ AI ขยับปากตามเสียงพากย์ได้แล้ว

Loading

  Flawless บริษัทสตาร์ตอัปที่พัฒนาด้าน AI ได้พัฒนาเทคโนโลยี Deepfake แบบใหม่ ที่สามารถปรับภาพปากของนักแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวูดต้นฉบับ สามารถขยับตามปากตามเสียงที่ถูกพากย์ทับในภาษาอื่น ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงภาพยนตร์ได้มากขึ้น โดยปกติแล้ว เทคโนโลยี Deepfake จะถูกนำมาใช้ในการนำใบหน้าของบุคคลอื่นมาซ้อนทับกับใบหน้าของนักแสดงในภาพยนตร์ได้อย่างแนบเนียน แต่ Flawless ได้เน้นการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้เฉพาะกับองค์ประกอบของปากเท่านั้น โดยการนำเอาภาพยนตร์หรือซีรีส์ที่ถูกพากย์เสียงทับใหม่สำหรับฉายในต่างประเทศ มาผสานการทำงานเข้ากับซอฟต์แวร์ของ Flawess ซึ่งโมเดล AI ของ Flawless จะสร้างภาพการเคลื่อนไหวของริมฝีปากขึ้นมาให้ตรงกับภาษาที่พากย์ทับเข้ามา และวางภาพริมฝีปากใหม่นี้ลงบนใบหน้าของนักแสดงในภาพยนตร์นั้น ๆ ได้อย่างสมจริง     Nick Lynes ผู้ร่วมก่อตั้ง Flawless ได้กล่าวกับเว็บไซต์ TheVerge ว่า “บางครั้งในการชมภาพยนตร์ที่ถูกพากย์เสียงทับมาใหม่ ก็จะสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของปากที่ไม่ตรงกับเสียงพากย์ ซึ่งทำให้ผู้ชมลดทอนการแสดงของนักแสดงคนนั้น ๆ ลงไปด้วย ระบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่นี้จะเข้ามาช่วยให้ผู้ชมยังคงเห็นการแสดงของนักแสดงจากภาพยนตร์ต้นฉบับไปพร้อมกับเสียงพากย์ใหม่ได้อย่างลงตัว” แม้ว่าผลลัพธ์จะยังไม่ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพเต็ม 100% แต่ก็ได้ผลที่น่าประทับใจ โดยเห็นได้จากตัวอย่างที่เป็นฉากหนึ่งจากภาพยนตร์คลาสสิกอย่าง A Few Good Men เมื่อปี 1992…

10 ปีหลังการตายของบิน ลาเดน ‘อัลกออิดะห์’ ยังอยู่ดีหรือไฉน?

Loading

  หลังจากครบรอบ 10 ปีหลังการตายของบิน ลาเดน ผู้นำอัลกออิดะห์ จากปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐในเมืองอับบอตตาบัด ปากีสถาน วันนี้อัลกออิดะห์เป็นอย่างไรบ้าง? 2 พ.ค.2554 เป็นวันครบรอบ 10 ปีการตายของโอซามา บิน ลาเดน (Osama bin Laden) ผู้นำอัลกออิดะห์ จากปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐในเมืองอับบอตตาบัด ปากีสถาน สถานภาพของอัลกออิดะห์เสื่อมทรามลงอย่างมาก แต่ยังไม่พ่ายแพ้ รายงานประมาณการข่าวกรองบางฉบับชี้ว่ากลุ่มก่อการร้ายนี้ยังคงมีนักรบในสังกัดประมาณ 40,000 คนทั่วโลก การถอนทหารสหรัฐออกจากอัฟกานิสถานอาจช่วยฟื้นชีวิตอัลกออิดะห์ เช่นเดียวกับที่สหรัฐถอนตัวออกจากอิรักในปี 2554 นำไปสู่การปรากฏขึ้นของกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ปัจจุบันอัลกออิดะห์ยังคงเป็นภัยคุกคามและอาจกระจายตัวหลังการถอนทหารสหรัฐ ปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐต่อเป้าหมายเจาะจงอย่างโจ่งแจ้งเมื่อ 2 พ.ค.2554 ที่เมืองอับบอตตาบัด ปากีสถาน เพื่อสังหารบุคคลซึ่งรับผิดชอบการโจมตี 9/11 ก่อให้เกิดความรู้สึกมองโลกในแง่ดีอย่างมาก ในห้วงเวลาขณะนั้น การลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านรัฐบาลซึ่งเรียกว่า “Arab Spring” ได้แพร่ขยายไปทั่วแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง โดยเป็นสัญญาณความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยสงครามและความรุนแรง แต่การประกาศแผนการถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานภายใน 11 ก.ย.2564 ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน มีผลตอบรับในแง่ดีเพียงเล็กน้อย ประธานาธิบดีไบเดนประกาศว่า “เหตุผลที่เราคงอยู่ในอัฟกานิสถานเริ่มไม่ชัดเจน…

อิสราเอล-ปาเลสไตน์ : ข้อตกลงหยุดยิงระหว่างกองทัพอิสราเอลและกลุ่มฮามาสจะนำมาซึ่งสันติภาพถาวรหรือเปล่า ?

Loading

  อิสราเอลและกลุ่มติดอาวุธฮามาสได้บรรลุข้อตกลงหยุดยิงกันบริเวณฉนวนกาซา การสู้รบกันต่อเนื่อง 11 วัน ประกอบไปด้วยการยิงจรวด 4,000 ลูกของกลุ่มติดอาวุธ และกองทัพอิสราเอลที่โจมตีทางอากาศไปยัง 1,500 เป้าหมายในกาซา ทางการปาเลสไตน์บอกว่า ที่กาซา มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 243 ราย รวมถึงผู้หญิงและเด็กมากกว่า 100 ราย ขณะที่อิสราเอลบอกว่าสังหารสมาชิกกลุ่มติดอาวุธไปอย่างน้อย 225 ราย ด้านอิสราเอลบอกว่ามีผู้เสียชีวิตในประเทศ 12 ราย เป็นเด็ก 2 ราย   รายละเอียดของการหยุดยิง   การหยุดยิงเป็นเพียงการประกาศจากสองฝ่ายว่าจะหยุดสู้รบ อาจจะอย่างไม่มีกำหนด หรือแค่ช่วงหนึ่ง     หากดูจากประวัติศาสตร์การเผชิญหน้าระหว่างอิสราเอลและฮามาสที่ก็เคยบรรลุข้อตกลงหยุดยิงมาแล้ว มีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองฝ่ายจะกลับมาสู้รบกันอีกครั้ง ในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงเมื่อเวลา 02.00 น. เวลาท้องถิ่นเมื่อวันที่ 21 พ.ค. แต่ก่อนจะถึงกำหนดเวลาดังกล่าว มีรายงานว่าต่างฝ่ายก็โหมโจมตีกันและกัน   เงื่อนไขข้อตกลง   มีการเปิดเผยรายละเอียดข้อตกลงหยุดยิงต่อสาธารณะน้อยมาก โดยผู้มีส่วนร่วมในการเจรจาประกอบไปด้วยชาติมหาอำนาจในภูมิภาคนั้นอย่างอียิปต์และกาตาร์ รวมถึงสหรัฐฯ และสหประชาชาติ ด้วย…

สกัดข่าวปลอม Google สร้างเครื่องมือใหม่ ให้ผู้ใช้ร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง

Loading

  Google สร้างเครื่องมือใหม่ ให้ผู้ใช้ร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง   ผลกระทบจากข่าวปลอมบนเว็บไซต์และโซเชียล ทำให้ Google ในฐานะผู้นำ Search engine ออกมาพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยผู้ใช้ตรวจสอบ Fake news หรือข่าวลวงบนออนไลน์ที่เปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วมแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากเรื่องที่แต่งขึ้นได้ ล่าสุด Google ได้แบ่งปันเคล็ดลับในการตรวจสอบข้อมูลที่เป็นเท็จ ที่เปิดให้ทุกคนเข้าถึงได้ ผ่านโครงการ GNI University Verification Challenge ร่วมกับนักศึกษาวารสารศาสตร์ทั่วเอเชีย รวมถึงสำนักข่าวต่างๆ พร้อมเผยเคล็ดลับสังเกตข้อมูลปลอม ข่าวลวงบนโซเชียล แบบง่ายๆ ที่ทำได้เอง ผ่าน 5 เครื่องมือนี้   1. ตรวจสอบข้อเท็จด้วย Fact Check Explorer หากไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่ถูกส่งต่อกันมาบนโซเชียลเป็นเรื่องจริงหรือจ้อจี้ ให้ลองค้นหาด้วย Fact Check Explorer เครื่องมือตรวจสอบข้อเท็จจริง มากกว่า 100,000 รายการ จากผู้เผยแพร่ที่เชื่อถือได้ทั่วโลก แค่เข้าไปเช็คที่ Fact Check Explorer https://toolbox.google.com/factcheck/explorer  …

ภัยจาก ‘มือที่สาม’

Loading

  44% ขององค์กรถูกละเมิดความปลอดภัยช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เป็นเรื่องปกติที่การจำกัดจำนวนผู้เข้าใช้ให้น้อยที่สุดเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดกับอุปกรณ์หรือข้อมูลที่สำคัญของบริษัท แต่ในบางครั้งเราต้องให้บุคคลที่สาม (Third Party) เข้ามาในระบบเพื่อช่วยแก้ไขหรือเพื่อทำงานบางอย่างร่วมกัน นี่จึงเป็นสาเหตุให้การเข้าถึงจากระยะไกลโดยบุคคลที่สาม (Third-party Remote Access) กลายเป็นจุดอ่อนขององค์กรที่แฮกเกอร์อาจเข้ามาโจมตี ไม่กี่วันที่ผ่านมาสถาบันการวิจัยด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูล และผู้ให้บริการการเข้าถึงจากระยะไกลของบุคคลที่สามได้ออกรายงานฉบับใหม่ที่มีชื่อว่า “วิกฤติในการรักษาความปลอดภัยการเข้าถึงจากระยะไกลของบุคคลที่สาม” ซึ่งเผยให้เห็นความไม่สอดคล้องกันของความเข้าใจที่องค์กรมีเกี่ยวกับภัยคุกคามที่มาในรูปแบบของการเข้าถึงจากบุคคลที่สาม และมาตรการการป้องกันที่องค์กรได้กำหนดไว้ นักวิจัยพบว่า องค์กรต่างๆ กำลังทำให้ระบบเครือข่ายเกิดความเสี่ยงโดยการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด และไม่ลดความเสี่ยงจากการเข้าถึงของบุคคลที่สาม จากรายงานพบว่า 44% ขององค์กรถูกละเมิดความปลอดภัยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในบรรดาองค์กรเหล่านี้ 74% กล่าวว่า การละเมิดเกิดขึ้นจากการให้บุคคลที่สามเข้าถึงระบบเครือข่ายด้วยสิทธิพิเศษมากเกินไป นอกจากนี้องค์กรต่างๆ ไม่ได้ทำการตรวจสอบความปลอดภัยที่จำเป็น ก่อนแบ่งปันการเข้าถึงข้อมูลกับบุคคลที่สาม โดย 51% ขององค์กรกล่าวว่า พวกเขาไม่ได้ประเมินการปฏิบัติด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของบุคคลที่สามทั้งหมด ก่อนที่จะอนุญาตให้พวกเขาเข้าถึงข้อมูลสำคัญและเป็นความลับ ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นว่า การอนุญาตให้มีการเข้าถึงระยะไกลจากบุคคลที่สาม โดยไม่ได้ใช้มาตรการป้องกันความปลอดภัยที่เหมาะสม จะทำให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย รวมไปถึงการละเมิดข้อมูลที่สำคัญและเป็นความลับ นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรจะต้องประเมินแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของบุคคลที่สามที่สามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายของตน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขามีสิทธิ์เข้าถึงเพียงพอที่จะปฏิบัติงานตามที่กำหนดไว้ และไม่สามารถทำอย่างอื่นนอกเหนือไปจากนั้นได้ การค้นพบที่สำคัญอื่นๆ คือ 54% ขององค์กรไม่มีข้อมูลที่ครอบคลุมบุคคลที่สามทั้งหมดที่สามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายของตนได้ และ 65%…

เจาะลึกการทำงาน “โดมเหล็ก” ของอิสราเอล ระบบอัจฉริยะป้องกันขีปนาวุธ

Loading

  เหตุปะทะกันรุนแรงรอบล่าสุดระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส อิสราเอลถูกยิงถล่มข้ามพรมแดนด้วยจรวดเกือบ 3,000 ลูก ในช่วงเวลา 7 วันที่ผ่านมา แต่กว่า 90% ถูกสกัดได้โดยระบบป้องกันสุดอัจฉริยะ “ไอเอิร์น โดม” หรือ “ไอรอน โดม” (Iron Dome) ของกองทัพอิสราเอล “ไอรอน โดม” เป็นระบบที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการโจมตีทางอากาศแบบพิสัยใกล้ (4-70 กิโลเมตร) ซึ่งมีราคาแพงมหาศาล แต่สำหรับอิสราเอล ประเทศยิวที่อยู่ท่ามกลางคู่แค้นชาติอาหรับแล้วนับว่าคุ้มค่ามาก เพราะในรอบนี้ช่วยลดความสูญเสียชีวิตทหารและพลเรือนจากหลักพันมาเหลือหลักสิบ ขีปนาวุธทาเมียร์ที่อิสราเอลใช้ยิงขึ้นสกัดมีราคาลูกละกว่า 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ นับว่าแพงมากเมื่อเทียบกับราคาขีปนาวุธกาซซามของปาเลสไตน์ ซึ่งอยู่ที่ลูกละ 800 ดอลลาร์สหรัฐ การยิงถล่มเข้ามาแต่ละลูกแม้จะสกัดได้ แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่ต่างจากการโจมตีทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในทางอ้อม   จากข่าวสถานการณ์ความรุนแรงในตะวันออกกลางตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาจะเห็นภาพน่านฟ้าของอิสราเอลถูกกลุ่มฮามาสยิงถล่มด้วยจรวดแบบไม่ยั้ง ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแก้แค้นที่ถูกอิสราเอลโจมตีทางอากาศสังหารผู้บัญชาการทหารอาวุโสหลายนายของกลุ่มฮามาส และทำให้ตึกสูงในเมืองกาซา ซิตี้ พังถล่ม กองกำลังฮามาสเปิดเผยว่า นับจนถึงตอนนี้มีผู้เสียชีวิตในฉนวนกาซาแล้ว 192 ศพ ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 58 คน ผู้หญิง…