14 เสี่ยง เมื่อ GO ONLINE ช่วง WORK FROM HOME

Loading

14 ความเสี่ยง จากการทำ ที่ควรระวัง ช่วง WORK FROM HOME มีอะไรบ้าง     1. การปลอมแปลงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เพราะมีคนขโมย Username และ Password ดังนั้น ไม่ควรบอก Username หรือ Password กับใคร ห้ามเขียนไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือจุดที่ใครเห็นได้ และไม่กรอกข้อมูลเหล่านี้กับลิงก์แปลก ๆ ที่ส่งเข้ามาขอ 2. ไฟล์เอกสารสูญหาย แต่จริง ๆ แล้ว มันอาจไม่หายไปไหน อาจจะเก็บไว้ในหลายที่ แต่หาไม่เจอ ปัญหาอาจจะอยู่ที่การจัดเก็บไฟล์มากกว่า 3. e-Document/e-Signature แม้ปลอมแปลง/แก้ไขได้ยาก โดยคนที่ทำเช่นนี้ได้ ต้องเป็นที่ชำนาญด้านนี้โดยเฉพาะ แต่ความเสี่ยงคืออาชญากรอาจสามารถพัฒนารูปแบบการคุกคามที่เพิ่มขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งควรต้องมีมาตรการป้องกันรัดกุม 4. การใช้อินเทอร์เน็ตบ้าน หรือ Wi-Fi อาจไม่ปลอดภัย ควรใช้ VPN เมื่อเข้าใช้งานทรัพยากรเครือข่ายของสำนักงานจากภายนอก       5.…

“เหยียดคนเอเชีย” จากความกลัวสู่ความเกลียดชัง ปัญหาเรื้อรังรุนแรงในสหรัฐฯ

Loading

  ช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา หลายชุมชนในสหรัฐฯ มีข่าวเหตุรุนแรงพุ่งเป้าโจมตีคนเชื้อสายเอเชียเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการปล้นชิงทรัพย์ และทำร้ายร่างกาย โดยเฉพาะเหยื่อผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุ ขณะที่ตลอดทั้งปีที่แล้ว (มี.ค.-ธ.ค.2563) มีสถิติการแจ้งเหตุทำร้ายร่างกายคนอเมริกันเชื้อสายเอเชีย 2,808 ราย ข่าวการถูกทำร้ายร่างกายเสียชีวิตของ นายวิชา รัตนภักดี ผู้ที่มีเชื้อสายไทย วัย 84 ปี ในนครซานฟรานซิสโก เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ทำให้เกิดกระแสการเคลื่อนไหวทั้งจากภาครัฐและชุมชนคนไทยในสหรัฐฯ และทำให้ทั่วโลกหันมาสนใจปมปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับคนเชื้อสายเอเชีย เครือข่ายสังคมออนไลน์ร่วมกันออกมาแชร์คลิปวิดีโอเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับคนเชื้อสายเอเชียผ่านอินสตาแกรมและทวิตเตอร์ พร้อมรณรงค์ผ่านแฮชแท็ก #AsiansAreHuman และ #JusticeForVicha เพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมด้านสิทธิมนุษยชน และต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ   กรณีที่เกิดขึ้นกับคุณปู่วิชา รัตนภักดี ไม่ได้เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่คนเชื้อสายเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก (Asian American and Pacific Islander-AAPI) ตกเป็นเหยื่อถูกทำร้าย ที่เมืองซานโฮเซ รัฐแคลิฟอร์เนีย หญิงชาวอเมริกันเชื้อสายเวียดนาม วัย 64 ปี ถูกทำร้ายร่างกายชิงทรัพย์ไปเป็นเงินกว่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนที่นิวยอร์ก หญิงชราชาวอเมริกันเชื้อสายฟิลิปปินส์ วัย 61…

มาตรการเพื่อความมั่นคงปลอดภัยสำหรับ e-Meeting 7 กระบวนการ ภายใต้ พ.ร.ก. การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

Loading

คธอ. เปิดข้อกำหนดใช้ e-Meeting อย่างไรให้มั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ รองรับ Work from Home ในช่วง COVID-19 ระลอกใหม่ ประธาน คธอ. เปิดมาตรการเพื่อความมั่นคงปลอดภัยสำหรับ e-Meeting 7 กระบวนการ ภายใต้ พ.ร.ก. การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เตือนหน่วยงานรัฐหากมีการประชุมลับต้องมี มาตรการควบคุมสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของผู้เข้าประชุม และต้องใช้ระบบควบคุมการประชุมที่ติดตั้งและให้บริการในประเทศเท่านั้น ชวนตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรองทางทุกช่องทางของ ETDA     ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ประธานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (คธอ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลให้หลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน ต่างมีมาตรการให้พนักงานทำงานที่บ้าน หรือ Work from home ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) พร้อมปรับเปลี่ยนรูปแบบการประชุมที่เป็นขั้นตอนทำงานสำคัญ เป็นการประชุมออนไลน์ หรือ e-Meeting ซึ่งได้รับความนิยมและมีจำนวนการใช้งานเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อดูแลให้การประชุมออนไลน์มีความมั่นคงปลอดภัยและลดความเสี่ยงของภัยคุกคามต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ การประชุมออนไลน์จึงควรดำเนินการให้สอดคล้องตามมาตรฐานขั้นต่ำที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบัน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม…

เตือนผู้เล่นแอป Clubhouse ระวังเรื่องความเป็นส่วนตัว

Loading

  เตือนผู้เล่นแอป Clubhouse แอปโซเชียลใหม่ที่กำลังมาแรงในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เป็นแอปการคุยด้วยเสียงอย่างเดียว หรือการโทรด้วยเสียงแบบกลุ่มเป็นแบบสาธารณะ โดยคุณสร้างห้องต่างๆที่มีผู้ใช้มากถึง 5,000 คนต่อครั้ง และล่าสุดมีคนดังมากมายมี clubhouse กันแล้ว ทั้ง นักธุรกิจ, นักลงทุน, นักแสดง, Content Creator หลังจาก Elon musk พูดถึง clubhouse นั่นเอง แม้จะเป็นแอปยอดฮิตมีเพื่อนมาเล่น Clubhouse มากมาย แต่ผู้เชี่ยวชาญจากทาง Forbes และผู้ใช้งานต่าง ๆ มีข้อกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ( Privacy ) รวมถึงทาง ACIS จากไทย ก็พบจุดที่ต้องระวังเกี่ยวกับ PRIVACY ด้วยเช่นกัน เตือนผู้เล่นแอป Clubhouse สิ่งที่ระวังเรื่อง Privacy ความเป็นส่วนตัว 1. การเข้าถึง contact ในโทรศัพท์ Clubhouse มีการขอการเข้าถึง Contact ในโทรศัพท์ในช่วงการลงทะเบียน…

รัฐบาลสิงคโปร์เดินหน้าลดความเสี่ยงด้าน IT หลัง Digital Transformation อย่างรวดเร็วในช่วงโควิด 19

Loading

  คณะกรรมการ Public Accounts Committee ของสิงคโปร์รายงานถึงสถานการณ์ของระบบดิจิทัลและ IT ภายในภาครัฐ โดยพบความเสี่ยงในหลายด้านเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัลอย่างกว้างและรวดเร็วในช่วงวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ก็เป็นโจทย์ด้าน IT ที่รัฐบาลวางแผนจะแก้ไขต่อไป รายงานของ Public Accounts Committee เผยถึงจุดอ่อนและความเสี่ยงในระบบ IT ของหน่วยงานราชการสิงคโปร์ในปี 2020 ที่ผ่านมา โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก Digital Transformation ที่ถูกเร่งให้เกิดในช่วงโรคระบาด ความเสี่ยงเหล่านี้ก็มีเช่น ความปลอดภัยของข้อมูล การรักษาความปลอดภัยระบบ การจัดการกับบัญชีผู้ใช้สำหรับพนักงานของรัฐที่โยกย้ายตำแหน่งหรือไม่ใช้งานแล้ว ระบบ Log ที่สามารถตรวจสอบการเข้าใช้งานระบบ IT ได้ และกลกไกการจัดการอื่นๆ เช่น กระบวนการรายงานเหตุเกี่ยวกับความปลอดภัยข้อมูล โดยความเสี่ยงเหล่านี้มีทั้งปัญหาเชิงเทคโนโลยี กระบวนการทำงาน และเชิงนโยบาย แผนการต่อไปของรัฐบาลสิงคโปร์จึงเป็นการอุดรูรั่วเหล่านี้ และเสริมสร้างระบบไอทีที่แข็งแรง ตรวจสอบได้ขึ้น เพื่อให้เป็นที่น่าเชื่อถือในอนาคตที่จะมีการพึ่งพาระบบดิจิทัลมากขึ้น สิงคโปร์มีหน่วยงานอย่าง Smart Nation and Digital Government Group (SNDGG) มาช่วยประเมินความเสี่ยง และจัดการปัญหาด้วยโครงการต่างๆ…

วิธีใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุ

Loading

  วิธีใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุ หลังผู้คนทั่วโลกต่างพึ่งพาเครื่องมือเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลในชีวิตประจำวันมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งก็มีความเสี่ยงด้านการปลอดภัยอยู่ด้วย ทาง Google ได้รวบรวมเคล็ดลับต้านความเสี่ยงด้านความปลอดภัยออนไลน์ใหม่ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่หรือผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยบนโลกอินเทอร์เน็ต วิธีใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุ และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ 1. ปกป้องบัญชีออนไลน์ของคุณเอง – สร้างรหัสผ่านที่คาดเดายาก – ลองใช้ประโยคที่จำง่าย และใช้ตัวอักษรตัวแรกของแต่ละคำโดยใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กตามความเหมาะสม หากเป็นไปได้ให้แทนที่ตัวอักษรด้วยตัวเลขหรือสัญลักษณ์ – อย่าใช้รหัสผ่านซ้ำ – ใช้โปรแกรมจัดการรหัสผ่าน เช่น passwords.google.com ,1password เพื่อสร้างและจัดเก็บรหัสผ่านที่คาดเดายาก     2. ระมัดระวังในการแชร์ข้อมูล – ควรงดการโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคล เช่นชื่อนามสกุลและที่อยู่อีเมลของคุณในฟอรัมสาธารณะหรือพื้นที่ออนไลน์ – อย่าเปิดเผยข้อมูลบัญชีธนาคาร PIN หรือรหัสผ่านของคุณ คุณจะพิมพ์ข้อมูลเหล่านี้ได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในเว็บไซต์ที่คุณรู้จักและเชื่อถือได้ และเป็นเว็บไซต์ที่คุณสามารถเข้าถึงได้โดยตรง เพื่อความปลอดภัย อย่าคลิกที่ลิงก์ไปยังธนาคารหรือเว็บไซต์อื่น ๆ หากลิงก์นั้นส่งถึงคุณทางอีเมลหรือข้อความ ให้ไปที่เว็บไซต์ที่ต้องการโดยตรงโดยพิมพ์ URL ของเว็บไซต์นั้นในแถบที่อยู่ของบราวเซอร์ หรือค้นหาเว็บไซต์ – ตรวจสอบการตั้งค่าการแชร์ของคุณบนโซเชียลมีเดียและทำความเข้าใจว่าคุณแชร์โพสต์แบบสาธารณะ และหากเป็นเรื่องเฉพาะบางคนเท่านั้นให้ตั้งค่าเปลี่ยนเป็น แชร์ให้เห็นเฉพาะบางคน…