Google จะให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปีลบรูปหรือคลิปตัวเองออกจาก Google และ YouTube ได้

Loading

” Google ออกนโยบายใหม่ พร้อมฟีเจอร์ปกป้องเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี “   ปัญหาการล่วงละเมิดในเด็กเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกพยายามจะแก้ไขให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ๆ โดยเฉพาะบนโลกโซเชียลหรือโลกเน็ตเวิร์ค ปัญหาล่วงละเมิดดังกล่าวเกิดขึ้นจนยากจะแก้ไข ไม่ว่าจะเรื่องของภาพ คลิป ข้อมูลที่อยู่ คำด่าทอ ความเกลียดชัง ถือเป็นหนึ่งในการล่วงละเมิดที่พบได้ในทุกวันทุกเวลาในปัจจุบัน ซึ่งนั่นทำให้ทาง “Google” เลือกที่จะเปลี่ยนนโยบายของตนเองใหม่ เพื่อที่จะปกป้องเด็ก ๆ ทั่วโลกจากการล่วงละเมิดผ่านแพลตฟอร์มของตนเองให้ได้มากที่สุด   Google ออกนโยบายใหม่ พร้อมฟีเจอร์ปกป้องเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี   นโยบายใหม่ของ Google นี้จะมีผลทั้งบนแพลตฟอร์ม Google และ YouTube โดยเนื้อหาใจความสำคัญ คือการจะเพิ่มช่องทางที่จะให้ “เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถส่งเรื่องขอลบรูปหรือคลิปที่ปรากฎตัวเองออกจากผลการค้นหาต่าง ๆ ได้ พร้อมกับบล็อกการกำหนดเป้าหมายโฆษณาตามอายุ เพศ หรือความสนใจของผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี” นั่นหมายความว่าอนาคตแบรนด์การทำการตลาดต่าง ๆ จะเจาะกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ผ่านทาง Google และ YouTube ได้ยากขึ้นมาก ๆ นโยบายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้แล้ว  …

‘น้ำเสียดื่มได้’ วงจรสิงคโปร์รักษ์โลก

Loading

  ภายใต้ภาวะขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศเล็กๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างสิงคโปร์กลับพัฒนาก้าวหน้ากว่าเพื่อนร่วมภูมิภาค แม้แต่เรื่องของการใช้น้ำก็ไปไกลกว่าที่อื่น แทบไม่น่าเชื่อว่า ปั๊มน้ำยักษ์ฝังอยู่ใต้ดินลึก ณ โรงงานแห่งหนึ่งในสิงคโปร์จะช่วยเปลี่ยนน้ำเสียเป็นสะอาดถึงขนาดมนุษย์ดื่มได้ พร้อมๆ กับช่วยลดมลพิษในทะเล เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศเกาะเล็กๆ แห่งนี้มีทรัพยากรน้ำจากธรรมชาติเพียงน้อยนิด จำต้องพึ่งพาน้ำจากเพื่อนบ้านมาเลเซียมาอย่างยาวนาน แต่เพื่อเพิ่มการพึ่งพาตนเอง รัฐบาลสิงคโปร์พัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียทันสมัยที่ต้องใช้เครือข่ายอุโมงค์และโรงบำบัดไฮเทค ขณะนี้น้ำเสียผ่านการบำบัดแล้วสามารถตอบสนองความต้องการน้ำของสิงคโปร์ได้ถึง 40% คาดว่าตัวเลขจะเพิ่มเป็น 55% ภายในปี 2603 แม้น้ำเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ไปเพื่อวัตถุประสงค์ด้านอุตสาหกรรม แต่บางส่วนก็ป้อนให้กับอ่างเก็บน้ำเพื่อจัดทำน้ำดื่มในประเทศที่มีประชากร 5.7 ล้านคน และระบบนี้ยังช่วยลดการปล่อยมลพิษลงทะเลเนื่องจากน้ำผ่านการบำบัดแล้วที่ถูกปล่อยทิ้งลงทะเลมีปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ช่างตรงข้ามกับประเทศส่วนใหญ่ สหประชาชาติประเมินว่า 80% ของน้ำเสียทั่วโลกไหลลงสู่ระบบนิเวศโดยปราศจากการบำบัดหรือนำไปใช้ซ้ำ “สิงคโปร์ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ก็มีจำกัด นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงมักหาทางสำรวจทรัพยากรน้ำและขยายแห่งน้ำสำรองอยู่เสมอ” โลว์ เป้ย จิน หัวหน้าวิศวกรแผนกปรับปรุงน้ำ คณะกรรมาการสาธารณูปโภคกล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพี ระบุ ยุทธศาสตร์หนึ่งคือ “เก็บน้ำทุกหยด แล้วนำมาใช้ใหม่ไม่จบไม่สิ้น” การนำน้ำบำบัดแล้วมาใช้ซ้ำเป็นการเพิ่มเติมจากยุทธศาสตร์หลักในการจัดหาน้ำของประเทศ นั่นคือการนำเข้าน้ำ ใช้อ่างเก็บน้ำ และนำน้ำทะเลมาทำน้ำจืด หัวใจของระบบรีไซเคิลน้ำอยู่ที่โรงหมุนเวียนน้ำชางงีที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง ตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันออกของประเทศ หลายส่วนของโรงงานตั้งอยู่ใต้ดินเพราะสิงคโปร์หาที่ดินยาก บางแห่งลึกเท่าตึก 25 ชั้น รับน้ำเสียจากอุโมงค์ขนาดใหญ่มหึมายาว 48 กิโลเมตรที่เชื่อมต่อกับท่อระบายน้ำ ในอาคารหลังหนึ่งมีการติดตั้งระบบระบายอากาศเพื่อให้อากาศสดชื่น…

แม่น้ำโขง : ฮิวแมนไรท์วอทช์ชี้เขื่อนจีนในกัมพูชาเป็น “หายนะ” ทางสิทธิมนุษยชน

Loading

ฮิวแมนไรท์วอทช์ บอกว่า การสร้างเขื่อนนี้ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทำให้คนเกือบ 5,000 คน ต้องอพยพย้ายถิ่น   องค์กรสิทธิมนุษยชนฮิวแมนไรท์วอทช์ เผยแพร่รายงานเรื่องผลกระทบของการดำเนินโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ของจีนในกัมพูชาโดยระบุว่า เขื่อนขนาดใหญ่ที่จีนลงทุนสร้างเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชาได้ทำลายชีวิตและความเป็นอยู่ของชนพื้นเมืองและชนกลุ่มน้อยหลายพันชีวิต เขื่อนเซซานตอนล่าง 2 (Lower Sesan 2) ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อปี 2018 ตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำเซซานและเซรย์ปก มาบรรจบกัน โดยเป็นแม่น้ำย่อยสองสายที่จะไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโขงอีกที รายงานยาว 137 หน้า ที่เผยแพร่ในวันนี้ (10 ส.ค.) ระบุว่า การสร้างเขื่อนนี้ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทำให้คนเกือบ 5,000 คน ซึ่งตั้งรกรากอยู่บริเวณนั้นมาหลายชั่วอายุคนต้องอพยพย้ายถิ่น นอกจากนี้ ฮิวแมนไรท์วอทช์ ยังชี้ด้วยว่าเจ้าหน้าที่กัมพูชาและเจ้าหน้าที่ของบริษัทไชน่า หัวเหนิง กรุ๊ป (China Huaneng Group) ผู้สร้างและดำเนินการเขื่อน ไม่ได้พูดคุยรับฟังความเห็นและความกังวลของชุมชนที่จะได้รับผลกระทบเพียงพอ ก่อนที่จะลงมือสร้าง จอห์น ซิฟตัน ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนภูมิภาคเอเชียของฮิวแมนไรท์วอทช์ บอกว่า เขื่อนเซซานตอนล่าง…

‘ประชุมทิพย์’ อย่างมีมารยาท

Loading

ดร.บวร ปภัสราทร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำคอลัมน์ “ก้าวไกล วิสัยทัศน์”   เราอยู่กับการประชุมผ่านหน้าจอกันมานานปีกว่าแล้ว แต่ยังพบพฤติกรรมแปลกๆ ที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นในระหว่างการประชุมให้เห็นกันเสมอ การประชุมผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์คงจะเป็นสรณะของเรากันอีกยาวนาน เว้นเสียแต่จะมีอภิปาฏิหาริย์เกิดขึ้นเท่านั้น เราอยู่กับการประชุมผ่านหน้าจอกันมานานปีกว่าแล้ว แต่ยังพบพฤติกรรมแปลกๆ ที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นในระหว่างการประชุมให้เห็นกันเสมอ แม้กระทั่งในการประชุมของคนใหญ่คนโต จึงน่าจะมาทบทวนมารยาทในการประชุมผ่านจอภาพกันอีกวาระหนึ่ง ธรรมเนียมที่มีมาแต่ดั่งเดิมคือ มาประชุมก่อนเริ่มการประชุม ยิ่งเป็นการประชุมผ่านจอคอมพิวเตอร์ยิ่งควรเข้าแอพที่ใช้ในการประชุมก่อนเวลาเริ่มประชุม โดยใช้เวลาช่วงนั้นทดสอบการใช้งานแอพให้ครบถ้วนทุกหน้าที่ก่อน ดูว่าเปิดกล้องปิดกล้องได้อย่างไร เปิดไมค์ได้ตรงไหน จะแชทข้อความกดตรงไหน ซึ่งในระหว่างนั้นยังไม่ควรกดปุ่มเข้าประชุม จะเข้าไปต่อเมื่อพร้อมแล้วเท่านั้น เพราะท่านผู้นำไปปล่อยไก่ ทำอะไรไม่เป็นกลางการประชุมจะดูแย่มาก มารยาทพื้นฐานคือ เข้าประชุมผ่านจอภาพ โดยมuความสามารถในการใช้เครื่องมือการประชุมดีเพียงพอ อย่าสั่งการให้ลูกน้องช่วยทำตรงนั้นตรงนี้    ในระหว่างการประชุม ระวังไว้เสมอว่ามีคนอื่นมองเห็นหลังฉากการประชุมเสมอ ในการประชุมผ่านจอภาพนั้น ภาพของผู้เข้าประชุมมีผลต่อประสิทธิผลในการประชุมมาก ผู้เข้าประชุมควรเปิดกล้องให้ทุกคนเห็นในระหว่างการประชุม มุมกล้องมีความสำคัญกับภาพที่คนอื่นจะเห็นบนจอมากๆ  ประชุมอย่างมีมารยาทคือเลือกมุมกล้องที่ให้เห็นภาพตัวเราในสภาพเหมือนกับว่าเรากำลังประชุมจริงๆ ไม่ใช่เห็นแค่ด้านข้าง เห็นแค่หน้าผาก ปากหายหมด พยายามเลือกมุมกล้องที่ทำให้คนอื่นเห็นความเป็นตัวตนของเราในการประชุมนั้น ตัวตนเป็นภาษากายที่สื่อสารหลากหลายความหมายที่เป็นประโยชน์สำหรับการประชุม ตัวตนบอกได้ว่าเราเข้าใจประเด็นการประชุมหรือไม่ ตัวตนบอกสถานการณ์ของการประชุมได้ว่าเคร่งเครียดแค่ไหน  ในขณะเดียวกันต้องรู้ว่าในเหตุการณ์ใดบ้างที่ควรจะต้องปิดกล้องเป็นการชั่วคราว จะรับโทรศัพท์ระหว่างประชุมก็ปิดกล้องเสียหน่อย ลูกน้องเอาแฟ้มมาให้ก็ไม่ต้องให้ใครเห็นก็ได้  แต่ชั่วคราวไม่ได้หมายถึงแทบทั้งหมดของเวลาในการประชุม    รวมทั้งเมื่อประชุมทิพย์กันจากบ้าน การแต่งกายก็ระวังอย่าให้เป็นชุดอยู่บ้านจนเกินเลยไป การเลือกมุมกล้องและการแต่งกายที่ให้ได้ภาพที่แสดงตัวตนได้เป็นมารยาทสำคัญของการประชุมผ่านจอภาพ…

เครือข่ายไอโอ : พบบัญชีโซเชียลมีเดียปลอมหลายร้อย แพร่เนื้อหาสนับสนุนจีน ต้านตะวันตก

Loading

รายงานการศึกษาใหม่พบว่า เครือข่ายบัญชีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียปลอมมากกว่า 350 บัญชี กำลังส่งเสริมเนื้อหาที่สนับสนุนจีน และพยายามที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของผู้ที่ถูกมองว่าเป็นศัตรูของรัฐบาลจีน รายงานของศูนย์ปฏิบัติการข้อมูล (Centre for Information Resilience – CIR) ระบุว่าเป้าหมายของเครือข่ายนี้คือ การทำให้ชาติตะวันตกไร้ความชอบธรรม และส่งเสริมอิทธิพลและภาพลักษณ์ของจีนในต่างประเทศ รายงานการศึกษาที่เผยแพร่ให้กับบีบีซีนี้ พบว่า เครือข่ายผู้ใช้งานบัญชีปลอมจะช่วยกันส่งภาพการ์ตูนที่ทำขึ้นมาหลายภาพ ภาพหนึ่งเป็นภาพของ กวอ เหวินกุ้ย เศรษฐีจีนที่ลี้ภัยอยู่ซึ่งเป็นผู้ที่มักออกมาวิพากษ์วิจารณ์จีน ส่วนบุคคลที่มีผู้คนพูดถึงกันมากและปรากฏในการ์ตูนด้วยรวมถึง เยี่ยน ลี่เมิ่ง นักวิทยาศาสตร์ “ผู้ออกมาเปิดโปง” และสตีฟ แบนนอน อดีตนักกลยุทธ์การเมืองของโดนัลด์ ทรัมป์ คนเหล่านี้ต่างถูกกล่าวหาว่า เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงข้อมูลปลอมเกี่ยวกับโควิด-19 ด้วย การ์ตูนที่มีการส่งต่อกันเป็นภาพล้อเลียนของ แบนนอน, เยี่ยน ลี่เมิ่ง และ กวอ เหวินกุ้ย (จากซ้ายไปขวา) บัญชีบางส่วนทั้งทางทวิตเตอร์, เฟซบุ๊ก, อินสตาแกรม และยูทิวบ์ ใช้ภาพโปรไฟล์ปลอมที่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ สร้างขึ้น ขณะที่อีกหลายบัญชี  ดูเหมือนจะถูกขโมยมาใช้งาน เพราะมีการโพสต์เป็นภาษาอื่น…

วิเทศวิถี : ผู้แทนพิเศษ ปธ.อาเซียน เรื่องเมียนมา เรื่องไม่ควรวุ่นที่ดูคล้ายวุ่นวาย ในการประชุม รมว.กต.อาเซียน ครั้งที่ 54

Loading

  ผู้แทนพิเศษ ปธ.อาเซียน เรื่องเมียนมา เรื่องไม่ควรวุ่นที่ดูคล้ายวุ่นวาย ในการประชุม รมว.กต.อาเซียน 54 การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (เอเอ็มเอ็ม) ครั้งที่ 54 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรวม 18 การประชุม ซึ่งถือเป็นการประชุมใหญ่ที่ยืดยาวที่สุดในรอบปีของอาเซียนผ่านพ้นไปแล้ว หลังใช้เวลายาวนานตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญที่มีการหารือกันประเด็นแรกยังคงอยู่ที่การรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะการเข้าถึงวัคซีนและการฟื้นฟูหลังโควิด-19 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้มีการนำเงินจากกองทุนอาเซียนรับมือโควิด-19 (COVID-19 ASEAN Response Fund) ซึ่งจัดขึ้นตามข้อริเริ่มของไทยไปจัดซื้อวัคซีนให้กับประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เฉลี่ยประเทศละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการยกร่างข้อตกลง โดยสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อที่จะให้มีการลงนามในการจัดหาวัคซีนผ่านโครงการโคแวกซ์ (COVAX) ขององค์การอนามัยโลก โดยให้กองทุนเพื่อเด็ก    แห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) เป็นหน่วยงานที่ช่วยจัดซื้อและกระจายวัคซีนให้กับชาติสมาชิกอาเซียนทั้งหมด ซึ่งคิดว่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าน่าจะดำเนินการได้ ขณะนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างก็เร่งดำเนินการให้ได้ข้อยุติโดยไว เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบันน่าวิตกกังวลอย่างยิ่งยวด ไทยในฐานะฐานะประเทศผู้ประสานงานอาเซียนในเรื่องความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้ผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (บีซีจี) เพื่อช่วยฟื้นฟูภูมิภาคจากโควิด-19 และสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะที่ในความพยายามช่วยเหลือเมียนมา เพื่อรับมือกับโควิด-19 ไทยก็ได้เสนอให้มีการประชุมประเทศผู้บริจาค ซึ่งบรูไนในฐานะประเทศอาเซียนน่าจะมีการจัดการในเรื่อง ดังกล่าวในเร็วๆ…