สงครามข่าวสารกับโควิด 19

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ นักภูมิรัฐศาสตร์ฝรั่งสมัยก่อนกล่าวว่า “ใครคุมใจกลาง (Heartland) ของแผ่นดินได้ คนนั้นครองโลก” ซึ่งเรียกกันว่า “ทฤษฎีฮาร์ตแลนด์ กับริมแลนด์” ต่อมา มีนักภูมิรัฐศาสตร์ฝรั่งเช่นกันมองกลับกันว่า “ผู้ที่คุมชายขอบแผ่นดิน (Rimland) ต่างหาก ที่จะครองโลก” นักภูมิรัฐศาสตร์ฝรั่งขณะนั้นมองแผ่นดินยุโรปก็คือโลก ใครครองแผ่นดินใหญ่ยุโรปได้ ก็เท่ากับครองโลกนั่นเอง โรมเคยเป็นศูนย์กลางโลกที่ขยายอาณาเขตยึดครองยุโรปได้ตั้งแต่เหนือจรดใต้ ตะวันออกจรดตะวันตก สมัยฮิตเลอร์ก็เคยยึดยุโรปได้เกือบทั้งหมด ส่วนนักภูมิรัฐศาสตร์ฝรั่งที่กล่าวไว้ในเวลาต่อมาว่า ใครคุมชายขอบของแผ่นดินได้ก็เท่ากับครองโลก นักคิดกลุ่มนี้ก็ไม่ผิดเหมือนกัน ซึ่งต่อมา อัลเฟรด เทเยอร์ มาฮาน ได้กล่าวไว้ว่า “ใครคุมทะเลได้ก็เท่ากับครองโลก” ประเทศที่ติดทะเลเช่น สเปน โปรตุเกส อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา มีกองเรือขนาดใหญ่ออกไปสำรวจดินแดนใหม่ ค้าขายต่างประเทศ และมีอาณานิคมซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญมากมาย เมื่ออเมริกาถือผงาดขึ้นในขณะที่ชาติมหาอำนาจทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ง่อยเปลี้ยลง คริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงเป็นศตวรรษของอเมริกาแต่ผู้เดียว ศูนย์กลางของโลกมารวมศูนย์อยู่ที่สหรัฐที่เป็นทั้งฮาร์ตแลนด์และริมแลนด์ คุมสองฝั่งมหาสมุทรโดยเวลานี้ให้น้ำหนักมากที่ “ทรานส์แปซิฟิค” มากกว่า ทรานส์แอตแลนติค” เช่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง สมัยสงครามเย็น ใครครองโลกเขาจะวัดกันด้วยพลังทางการทหาร ใครมีอาวุธนิวเคลียร์ จรวดติดหัวรบนิวเคลียร์ ใครครองอวกาศได้มากน้อยกว่ากัน หลังสงครามเย็นเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ โลกยุคนี้วัดกันด้วยพลังทางเศรษฐกิจ จึงเกิด “สงครามเศรษฐกิจ” และ “สงครามการค้า” เป็นครั้งคราว ประเทศไหนมีพลังอำนาจมากก็เป็นผู้ “จัดระเบียบโลก” แต่บางครั้งบางคราวธรรมชาติก็มาช่วยจัดระเบียบโลกให้กับมนุษย์ด้วย เช่น ครั้งนี้เป็นต้น…

7 ข้อต้องรู้ ปลอดภัยจาก ‘อาชญากรไซเบอร์’ ช่วงวิกฤติโควิด-19

Loading

สถานการณ์ความตื่นกลัวจากการระบาดโควิด-19 ได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้แฮกเกอร์และการหลอกลวงจากผู้ไม่หวังดีในโลกออนไลน์ ฉวยโอกาสนี้สร้างความเสียหายสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานออนไลน์ของไทย ทั้งนี้เห็นได้จาก หลายองค์กรได้รายงานถึงภัยอินเทอร์เน็ตในขณะที่ทุกคนกำลังตื่นกลัวกับการระบาดของโรคโควิด อาทิ อาชญากรไซเบอร์แอบอ้างเป็นองค์การอนามัยโลก หรือ หน่วยงานจากภาครัฐเพื่อทำการฉ้อโกง จัดตั้งเว็บไซต์ปลอม และ ฟิชชิ่ง (Phishing) หรือเผยแพร่ข้อมูลปลอมในรูปแบบภัยอินเทอร์เน็ต (Fake news) โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงนี้ระบาดหนักต้องระวังมิจฉาชีพปลอมเว็บ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัวคนลงทะเบียนรับมาตรการเยียวยา 5,000 บาท จากภาครัฐในกรณีได้รับผลกระทบโควิด-19 ไปสร้างความเสียหาย นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ระบุว่า สิ่งสำคัญในการใช้งานออนไลน์ในขณะนี้ คือ ทุกฝ่ายและคนใช้งานทุกคนต้องช่วยกันระวังภัยคุกคามจากอาชญากรไซเบอร์ที่กำลังเพิ่มเป็นอย่างมาก ซึ่งทุกประเทศจำเป็นต้องร่วมมือกันในการแก้ปัญหาภัยทางอินเทอร์เน็ตทั่วโลก สำหรับในต่างประเทศ เช่น หน่วยงานเอฟบีไอ (FBI) และหน่วยงานตำรวจยุโรป (Europol) ได้ออกมาเตือนถึงภัยคุกคามของอาชญกรรมไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงสถานการณ์ที่ทุกคนกำลังตี่นตระหนกกับโรคโควิด-19 สำหรับในประเทศไทยหน่วยงานภาครัฐได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินสกัดโรคโควิด-19 รวมทั้งกำหนดโทษในการเผยแพร่ข่าวปลอมผ่านทางออนไลน์ “คนที่จะป้องกันได้ดีที่สุดก็คือตัวของพวกเราเอง โดยเราจะต้องสังเกตและรู้จักรูปแบบการหลอกลวงต่างๆ ในโลกออนไลน์ สำหรับช่วงนี้ต้องระวังมิจฉาชีพปลอมเว็บไซต์โครงการเราไม่ทิ้งกันระบาดหนัก ซึ่งจะหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลบัญชีธนาคารจากคนลงทะเบียนไปฉ้อโกงได้”…

โค้งสุดท้ายก่อน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเริ่มบังคับใช้ กับ Microsoft

Loading

By  Kornpipat นี่เป็นช่วงโค้งสุดท้ายก่อนที่ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA (Personal Data Protection Act) จะเริ่มมีผลบังคับใช้จริงในวันที่ 27 พฤษภาคม 63 ล่าสุด Microsoft แนะแนวทางให้องค์กรทั่วไทยเตรียมตัวให้พร้อม โดย ดร. นิพนธ์ นาชิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด ให้ข้อมูลว่าทีมงานแบไต๋ว่า พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีรากฐานมาจาก GDPR ที่เริ่มบังคับใช้ในสหภาพยุโรปไปเมื่อ 2 ปีก่อน จนถึงวันนี้มีหลายบริษัทที่โดนดำเนินคดีแล้ว ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญมากสำหรับองค์กรคือ ต้องรู้ว่าเก็บข้อมูลไว้ที่ไหน ใครเก็บข้อมูลไว้บ้าง ข้อมูลเหล่านั้นมีการปกป้องหรือยัง และต้องรู้ว่าใครเข้าถึงข้อมูลได้ รวมถึงต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้ข้อมูลหลุดออกไป เพราะหากเกิดเหตุผิดพลาด อาจโดนฟ้องโดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ นอกจากนี้แล้วยังต้องเตรียมข้อมูลไว้เผื่อว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลขอดูหรือขอลบด้วย แนะแนวทางเตรียมรับ พ.ร.บ. ฉบับใหม่ สำหรับไมโครซอฟท์เอง พร้อมรองรับลูกค้าธุรกิจด้วยแพลตฟอร์มคลาวด์ Microsoft Azure และบริการครบครันอย่าง Microsoft 365…

ใครสร้างภาพ? VS ใครพยายามแก้ปัญหา?

Loading

Written by Kim ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับจีนเสื่อมทรามลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งเปลี่ยนพื้นฐานทางภูมิศาสตร์การเมือง เศรษฐกิจและสังคมอย่างชัดเจน นักการทูตจีนได้เผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theories) ข่าวลือเท็จและข้อมูลบิดเบือน (disinformation) โดยเจตนากล่าวหาสหรัฐฯว่าเป็นผู้รับผิดชอบการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา เครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อของจีนทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อควบคุมการเล่าเรื่อง เบี่ยงเบนการกล่าวโทษเรื่องไวรัส ขณะที่พยายามสร้างภาพให้จีนเป็นวีรบุรุษผู้กอบกู้ช่วยเหลือประเทศอื่นที่ประสบปัญหา โดยกำหนดกรอบการตอบสนอง COVID-19 ในฐานะตัวแบบรัฐอำนาจนิยมซึ่งตรงกันข้ามกับประชาธิปไตยแบบตะวันตกที่ล้มเหลวในการสกัดการแพร่กระจายของไวรัส[1]           รัฐบาลจีนประกาศเมื่อ 17 มีนาคม 2020 ว่าจะขับผู้สื่อข่าวชาวอเมริกันทั้งหมดที่ทำงานให้กับ The New York Times, The Washington Post,  และ The Wall Street Journal กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสารนิเทศได้ออกคำสั่งให้ผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์ทั้ง 3 ฉบับคืนใบรับรองการทำงานภายใน 10 วัน และพวกเขาก็ไม่สามารถทำงานในเขตปกครองพิเศษฮ่องกงและมาเก๊าด้วย[2] การขับไล่นักข่าวชาวอเมริกันจากประเทศจีนไม่เพียงเป็นการคิดสั้น แต่ยังเป็นอันตราย การขาดความโปร่งใสเกี่ยวกับปัญหาไวรัสโคโรนาจะทำให้สถานการณ์ในจีนแย่ลง ตลอดทั่วทั้งเอเชียตะวันออกและที่อื่น ๆ หลายเดือนที่ผ่านมา พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) พยายามทำให้ความรุนแรงของ COVID-19 ดูสำคัญน้อยลง และยับยั้งข่าวสารเชิงลบเกี่ยวกับการแพร่กระจายของไวรัสและความตาย           เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลสหรัฐฯรวมทั้งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ  ไมค์ ปอมเปโอ เรียกไวรัสโคโรนาว่า “ไวรัสจีน” และ “ไวรัสอู่ฮั่น” ตามลำดับ ขณะที่องค์การอนามัยโลกอ้อนวอนผู้นำโลกให้งดเว้นการเชื่อมโยงเชื้อโรคดังกล่าวกับประเทศหรือกลุ่มชาติพันธุ์ เพราะเกรงว่าจะทำให้อาชญากรรมของความเกลียดชังเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกและเกิดการต่อต้านชาวเอเชีย ขณะเดียวกันนักการทูตจีนได้เผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิด…

รัฐบาลควรแจ้งจุดเสี่ยงต่อโควิด-19 เพื่อลดเฟคนิวส์ ลดความตื่นตระหนกของประชาชน

Loading

ความวุ่นวายในสัปดาห์นี้สำหรับวิกฤตการระบาดโควิด-19 ในประเทศไทยก็คือ เมื่อกระทรวงสาธารณสุข ออกมาแถลงประจำวันต่อความคืบหน้าของสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย แล้วไม่ยอมระบุจุดที่มีการติดเชื้อว่าเกิดขึ้นที่ไหน ยกตัวอย่างเมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งพบผู้ป่วยเพิ่ม 6 ราย มี 2 รายเป็นเจ้าหน้าที่ในสนามบินสุวรรณภูมิ ในขณะที่อีก 4 รายไม่ระบุพิกัด (คนหนึ่งบอกแต่เพียงว่าเป็นชายชาวสิงคโปร์ เจ้าของร้านอาหารในกรุงเทพฯ) ซึ่งหลังจากนั้น ในโซเชียลมีเดียก็ว่อนไปด้วยข้อมูลข่าวสารการปิดอาคาร สำนักงาน ห้างร้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตึก All Season ธนาคาร TMB สาขาราชปรารภ หรือประกาศจาก SCG มาบตาพุด และอื่นๆ อีกมากมาย (ซึ่งบางประกาศไม่ได้ระบุโดยตรงว่าพนักงานหรือบุคคลในนั้นติดเชื้อ) ทั้งที่เป็นประกาศอย่างเป็นทางการจากภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานที่หรือบริษัทนั้นๆ และข่าวจากบุคคลทั่วไป เช่นเดียวกันกับในวันที่ 12 มีนาคม ที่กระทรวงสาธารณสุขแถลงความคืบหน้าสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 11 ราย จากการตรวจสอบพบว่า มีการดื่มเหล้าแก้วเดียวกัน สูบบุหรี่มวนเดียวกัน และพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งก่อนหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขจะแถลง ก็มีข่าวว่อนในโซเชียลมีเดียแล้วว่า กลุ่มคนที่ติดเชื้อเหล้านั้น ติดเชื้อมาจากการไปเที่ยวร้านเหล้าที่ทองหล่อ หลังจากการแถลงของกระทรวงสาธารณสุข…

5 เคล็ดลับในการซ่อนตัวตน ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้ได้มากที่สุด

Loading

แน่นอนว่าพวกเราต่างพยายามที่จะทำให้ตัวเองไม่เป็นจุดสนใจหรือโดนสืบความเคลื่อนไหว แต่มีน้อยรายมากที่เชี่ยวชาญจนกระทั่งแทบหลบเรดาร์การตรวจจับจากทุกฝ่ายได้โดยสิ้นเชิง ซึ่งทาง TechNotification.com ได้รวบรวมวิธีการที่จะทำให้คุณสร้างความไร้ตัวตนระหว่างการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้ได้มากที่สุด ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ต้องลงทุนอะไรใหม่ แต่เป็นการปรับปรุงจากสิ่งที่พวกเรามีอยู่แล้ว โดยจะเน้นวิธีที่ได้ประสิทธิภาพดีที่สุดอย่างการใช้วีพีเอ็น 01 การติดตั้งวีพีเอ็น ขั้นตอนแรกสุดของการรักษาความเป็นนิรนามบนโลกออนไลน์ของคุณก็คือ การติดตั้งระบบวีพีเอ็น (VPN) เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการซ่อนที่อยู่ไอพีที่แท้จริง และเข้ารหัสข้อมูลของคุณไปพร้อมกัน เพียงแค่ติดตั้งเครือข่ายภายในบนเซิร์ฟเวอร์ ตัววีพีเอ็นก็จะซ่อนที่อยู่ของคุณ ทำให้แฮ็กเกอร์สืบตามตัวหรือจับตากิจกรรมบนโลกออนไลน์ได้ยากกว่าเดิม ที่สำคัญที่สุดคือ วีพีเอ็นจะเข้ารหัสข้อมูลทุกอย่างที่มีการสื่อสารของคุณ จึงปลอดภัยแม้แฮ็กเกอร์เข้าถึงการเชื่อมต่อก็ตาม 02 การติดตั้งวีพีเอ็นบนระบบปฏิบัติการ หลายครั้งมากที่เราพบความผิดพลาดของผู้ใช้ที่เลือกติดตั้งวีพีเอ็นบนบราวเซอร์ตัวเองเพียงอย่างเดียว แทนที่จะติดตั้งกับระบบปฏิบัติการทั้งระบบ แม้จะยอมรับว่าความปลอดภัยของข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการรับส่งข้อมูลออนไลน์ แต่การติดตั้งวีพีเอ็นบนบราวเซอร์ก็หมายความว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากการปกป้องความเป็นส่วนตัวเฉพาะสิ่งที่ทำผ่านเว็บบราวเซอร์เท่านั้น ทั้งๆ ที่วีพีเอ็นควรจะสามารถปกป้องครอบคลุมทั้งระบบที่ใช้งาน โดยเฉพาะบนแพลตฟอร์มโอเอสด้วย 03 ใช้ที่อยู่ไอพีส่วนตัว ที่ล็อกไว้ตายตัว เวลาเลือกใช้บริการวีพีเอ็นนั้น แนะนำให้เลือกแบบที่ใช้ที่อยู่ไอพีแบบตายตัวที่อุทิศสำหรับเราคนเดียวมากกว่าที่อยู่ไอพีที่ใช้ร่วมกับคนอื่น เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการเป็นนิรนามมากที่สุด เพราะเป็นที่อยู่ไอพีที่คุณคนเดียวใช้งาน สิ่งที่แตกต่างจากที่อยู่ไอพีแบบ Shared คือ แบบ Dedicated จะไม่ถูกใช้งานร่วมกับผู้ใช้วีพีเอ็นรายอื่น ทำให้คุณได้ประโยชน์ทั้งความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวมากกว่า แต่นั่นหมายความว่าราคาค่าบริการก็จะแพงกว่าปกติด้วย 04 ตรวจสอบว่าไฟร์วอลล์และสวิตช์ปิดระบบ (Kill Switch) พร้อมใช้งานเสมอ กิจกรรมบนโลกออนไลน์ของคุณ หรือมาตรการด้านความปลอดภัยจะไร้ค่าทันทีถ้าการเชื่อมต่อแบบไพรเวทของคุณถูกปิดการทำงานไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม อันที่จริง ปัญหาการเชื่อมต่อนั้นมักเกิดขึ้นเสมอกับการเชื่อมต่อผ่านวีพีเอ็น ดังนั้นการเชื่อมต่อของคุณจำเป็นต้องมีสวิตช์ปิดระบบทันทีที่สามารถสั่งปิดเพื่อป้องกันข้อมูลจริงรั่วไหลออกไปโดยไม่ได้เข้ารหัสตามปกติ Kill Switch…