เจาะลึก ‘หวังลี่เฉียง’ ที่อ้างเป็น ‘สายลับจีน’ผู้แปรพักตร์

Loading

ภาพถ่ายจากวิดีโอรายการทีวีออสเตรเลีย ซึ่ง หวัง “วิลเลียม” ลี่เฉียง ผู้อ้างตัวเป็น “สายลับจีน” แปรพักตร์ ออกมาให้สัมภาษณ์ ‘Defector’ Wang Liqiang and the Great GameBy Dave Makichuk ความเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ดูเหมือน หวัง “วิลเลียม” ลี่เฉิง อดีตนักศึกษาศิลปะวัย 27 ปี ผู้อ้างเป็นสายลับจีนซึ่งขอ “แปรพักตร์” อย่างเก่งที่สุดก็น่าจะเป็นมือปฏิบัติการระดับล่างๆ เท่านั้น เจมส์ แองเกิลตัน (James Angleton) [1] อดีตผู้คุมงานด้านต่อต้านสปายสายลับ ในสำนักงานซีไอเอมาอย่างยาวนาน เคยพูดถึงการต่อต้านข่าวกรอง โดยบรรยายว่ามันคือ “ดงแห่งกระจก” (Wilderness of Mirrors) ซึ่งภาพของสิ่งต่างๆ จะถูกสะท้อนไปสะท้อนมา ยากแก่การจำแนกว่า สิ่งนั้นมีรูปร่างลักษณะที่แท้จริงอย่างไรกันแน่ คำพูดนี้เห็นกันว่าคมคายสมเหตุสมผล เนื่องจากในธุรกิจของสปายสายลับนั้น สิ่งต่างๆ ไม่เคยเป็นอย่างที่มันดูเหมือนจะเป็นเลย ในเดือนธันวาคมนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนและหน่วยงานด้านข่าวกรองของประเทศนั้น กลายเป็นข่าวพาดหัวหลายๆ…

เปิดปมทหารซาอุฯ กราดยิงฐานทัพสหรัฐฯ สะเทือนสัมพันธ์ ‘วอชิงตัน-ริยาด’

Loading

เรืออากาศตรี โมฮัมเหม็ด ซาอีด อัลชามรานี วัย 21 ปี นายทหารซาอุฯ ซึ่งลุกขึ้นมาก่อเหตุกราดยิงภายในฐานทัพเรือเพนซาโคลา รัฐฟลอริดา นับเป็นโศกนาฏกรรมที่สร้างความตกตะลึงเมื่อทหารอากาศซาอุฯ นายหนึ่งลงมือกราดยิงคนตาย 3 ศพ และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก ภายในฐานทัพเรือเพนซาโคลาที่รัฐฟลอริดาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นำมาสู่คำสั่งกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ให้ระงับการฝึกของทหารจากซาอุดีอาระเบียทั้งหมด ขณะเดียวกันก็จุดประเด็นคำถามเกี่ยวกับความร่วมมือทางทหารระหว่างวอชิงตันและริยาด รวมถึงมาตรการคัดกรองทหารต่างชาติที่จะเข้ารับการฝึกฝนในอเมริกา มาตรการ ‘safety stand down’ นี้จะส่งผลต่อนักเรียนการบินทหารซาอุฯ กว่า 300 นาย ตลอดจนทหารราบ (infantry personnel) และปฏิบัติการฝึกอื่นๆ ทั้งหมดของทหารซาอุฯ ยกเว้นแต่การเรียนภายในห้องเรียน เช่น วิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งจะยังมีการเรียนการสอนตามปกติ เจ้าหน้าที่อาวุโสของเพนตากอนระบุว่า มาตรการนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้กระทรวงฯ ได้พิจารณาทบทวนมาตรการด้านความปลอดภัย ซึ่งท้ายที่สุดจะถูกนำไปใช้กับนักศึกษาทหารต่างชาติทั้งหมดในสหรัฐฯ ซึ่งมีอยู่ราวๆ 5,000 นาย เรือโทหญิงแอนเดรียนา เจนูอัลดี โฆษกกองทัพเรือสหรัฐฯ ยืนยันว่า คำสั่งระงับปฏิบัติการฝึกของนักเรียนการบินทหารซาอุฯ ที่เริ่มมีผลตั้งแต่วันจันทร์ (9) จะครอบคลุมศูนย์ฝึก 3 แห่ง ได้แก่…

การก่อวินาศกรรมทางไซเบอร์

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ กิจกรรมค้นการข่าวกรองได้ปรับเปลี่ยนไปมากเมื่อเทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสาร หรือ ไอ.ที่.ก้าวหน้ามากขึ้น แม้วัตถุประสงค์คงเดิม แต่วิธีการได้ปลี่ยนไป บางอย่างง่ายขึ้น สะดวกสบายมากขึ้นแต่ก็ซับซ้อนมากขึ้น นอกจาก “ข่าวกรองทางไซเบอร์” ที่นำเสนอไปแล้ววันนี้ จะเขียนถึงการก่อวินาศกรรมทางไซเบอร์ที่ทำลายเป้าหมายได้กว้างขวางและรุนแรงกว่า การก่อวินาศกรรมทางไซเบอร์ หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ทำลาย ขัดขวางทำให้เสียหายต่อระบบ เครื่องจักร ที่มีเทคโนโลยีสูงคำว่า การก่อวินาศกรรม มาจากภาษาอังกฤษSabotage โดยพัฒนาจากคำว่า subot ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่ารองเท้าไม้ ที่กรรมกรฝรั่งเศสไม่พอใจนายจ้าง จึงเอารองเท้าไม้ใส่เข้าไปในเกียร์เครื่องจักร ทำให้เครื่องจักรหยุดทำงาน กระบวนการผลิตชะงัก เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ต่อมาการก่อวินาศกรรมได้พัฒนาวิธีการให้ทันสมัยขึ้น โดยมีเป้าหมายคือการบ่อนทำลายทางการเมืองต่อเสถียรภาพของรัฐบาล และความมั่นคงของประเทศ ย้อนหลังไปเมื่อปี 2510 คนที่ถูกฝึกให้เป็นนักก่อวินาศกรรม หรือ วินาศกร ต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจและมีชีวิตอยู่กับ “ระเบิดแรงสูง” หลายคนบาดเจ็บ เสียชีวิตระหว่างการฝึกก็มี วินาศกรทุกคนจะต้องมี “เซฟตี้ พิน” ติดตัวไว้จนเป็นนิสัย นักเรียนจะถูกฝึกให้รู้จักระเบิดและความรุนแรงของระเบิดชนิดต่างๆ ในการใช้ทำลายเป้าหมายบุคคลและสถานที่ รู้จักจุดอ่อนของเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ อาทิโรงกลั่นน้ำมัน โรงไฟฟ้า โรงกรองน้ำประปา สะพาน ฯลฯ…

เทคโนโลยีจดจำใบหน้าไหลบ่าท่วมจีน กับกระแสวิตกความปลอดภัยข้อมูลใบหน้า

Loading

ใบหน้าของผู้เข้าชมงานนิทรรศการดิจิตัล ไชน่า ในฝูโจว ปรากฏบนจอภาพของเทคโนโลยีจดจำใบหน้า ภาพเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2019 (แฟ้มภาพ รอยเตอร์ส) ระบบการจดจำใบหน้า (facial recognition) กำลังหลั่งบ่าสู่ชีวิตชาวจีนในมิติต่างๆมากขึ้นทุกวันในขณะที่ยังไร้มาตรการที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ระบบระบุอัตลักษณ์ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดได้ก่อความเคลือบแคลงวิตกกังวลให้กับบางกลุ่มเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนตัวและการนำไปในในทางมิดีมิร้ายต่าง ๆ ที่น่าสะพรึงอย่างไม่อาจจิตนาการ หลังจากที่จีนออกกฎข้อบังคับใหม่ให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือต้องสแกนใบหน้าเมื่อลงทะเบียนหมายเลขโทรศัพท์ ก็อาจกล่าวได้ว่าขณะนี้แทบไม่มีชาวจีนคนไหนรอดพ้นจากการแวะข้องกับเทคโนโลยีจดจำใบหน้ากันแล้ว กระทรวงสารสนเทศและเทคโนโลยีแห่งจีนซึ่งประกาศกฎข้อบังคับนี้มาตั้งแต่เดือนก.ย. โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา ออกโรงอธิบายมาตรการใหม่นี้จะช่วยป้องกันการขายต่อซิมการ์ดและป้องกันพวกมือมืดหรือมิจฉาชีพลงทะเบียนในเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในกรณีที่บัตรประชาชนถูกขโมย สื่อโซเชียลมีเดียและบริการออนไลน์หลายรายในจีนได้เชื่อมโยงกับหมายเลขโทรศัพท์เพื่อที่จะสามารถติดตามผู้ใช้ได้ แอพลิเคชั่นเชิงพาณิชย์และหน่วยงานตำรวจก็ใช้ระบบรู้จำใบหน้ากับคึกคัก เครือข่ายสถานีรถไฟใต้ดินปักกิ่งเป็นรายล่าสุดที่นำระบบรู้จำใบหน้ามาใช้ในปลายเดือนที่ผ่านมา(28 พ.ย.) ขณะที่สถานีรถไฟใต้ดินในหลายๆเมืองในจีนได้ใช้ระบบฯนี้กันไปเรียบร้อยโรงเรียนจีน จีนได้ทะยานขึ้นเป็นจ้าวเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (AI) ชั้นนำของโลก และกำลังนำเอไอมาใช้ในทุกมิติชีวิต ตามสถานที่สาธารณะเริ่มทยอยติดตั้งกล้องวงจรปิดเทคโนโลยีจดจำใบหน้าทั้งเพื่อการต่างๆ ทั้งการจับขโมย นักล้วงกระเป๋า ไปยันการขโมยกระดาษชำระในห้องน้ำ มีการเปิดเผยอย่างกว้างขวางระบุว่าจำนวนกล้องวงจรปิดที่ใช้ในจีน ราว 200 ล้านตัว และกำลังจะเพิ่มมากขึ้นถึง 626 ล้านตัว ไล่เรียงดูแล้วแทบจะพูดได้ว่าเทคโนโลยีจดจำใบหน้าแพร่ระบาดไปทั่วหย่อมหญ้าจีน แทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันชาวจีนจนกลายเป็นความปกติธรรมดาไปแล้ว สำหรับผู้ที่มองโลกในแง่ดีบอกว่ามาตรการใหม่ที่ให้สแกนใบหน้าเพื่อลงทะเบียนเปิดเบอร์โทรศัพท์มือถือนี้จะช่วยลดคดีฉ้อฉลในด้านโทรคมนาคม และการหลอกลวงเกี่ยวกับโทรศัพท์ มหาวิทยาลัยหลายแห่งคุยว่าการใช้ระบบจดจำใบหน้ามาเช็คชื่อผู้เข้าเรียนช่วยให้อัตราการเข้าห้องเรียนของนักศึกษาสูงขึ้น เป็นต้น ทว่า ในอีกด้านหนึ่งกลุ่มเคลือบแคลงสงสัยต่อระบบจดจำใบหน้าได้ชี้ถึงผลพวงอันไม่พึงประสงค์ของปัจเจกชน บ้างกล่าวว่ามันเป็นอีกตัวอย่างของการขยายการติดตามพลเมือง บ้างชี้ว่ามันเป็นการละเมิดและอาจจะถูกนำไปใช้ในการฉ้อฉลอย่างน่าสะพรึง…

เจาะลึก กองทัพโดรน..อาวุธไฮเทคฝีมือคนไทย

Loading

กองทัพทั่วโลกกำลังแข่งขันกันพัฒนาอาวุธ ก้าวเข้าสู่ยุค “สงครามไฮเทค” โดยเฉพาะการใช้ “กองทัพโดรน” เพื่อลดความเสี่ยงสูญเสียชีวิตของกำลังพล และลดงบประมาณจัดซื้ออาวุธขนาดใหญ่ หลายประเทศแอบพัฒนา “อาวุธโดรน” ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น บินได้เร็ว บินได้สูง บินได้ไกล และติดตั้งจรวดโจมตีขนาดใหญ่ให้ได้มากสุด…กองทัพไทยก็มีการทุ่มเทพัฒนาโดรนสายพันธุ์ไทยแท้เช่นกัน คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับ “โดรน” (Dynamic Remotely Operated Navigation Equipment) อุปกรณ์ที่ใช้รีโมทในการบังคับให้เคลื่อนที่ ถ้าเป็นจำพวกเครื่องบินขนาดจิ๋วหรืออุปกรณ์ที่บินได้ด้วย จะใช้คำ “ยูเอวี” (Unmanned Aerial Vehicle) แต่สำหรับโดรนที่นำมาพัฒนาให้เป็นอาวุธหรือเครื่องมือต่างๆ ในกองทัพทหารนั้น ถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า “อากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ” หรือ “ยูซีเอวี” (Unmanned Combat Air Vehicle) ซึ่งอาวุธโดรนประเภทนี้ จะสามารถบรรทุกกล้องสอดแนม ปืน ระเบิด จรวดขนาดต่างๆ ได้ด้วย ปัจจุบัน อาวุธโดรน หรือ ยูซีเอวี กลายเป็นพระเอกตัวสำคัญที่บริษัทผลิตอาวุธพยายามพัฒนาออกมาเพื่อเชิญชวนกองทัพทั่วโลกให้ซื้อไปใช้ป้องกันประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทผู้ค้าอาวุธยักษ์ใหญ่ เช่น จีน มักจัดงานโรดโชว์อาวุธโดรนไปทั่วโลก ล่าสุดจีนได้ติดตั้งปืนไรเฟิลเข้ากับยูซีเอวี หวังให้เป็นเครื่องบินรบรุ่นใหม่ไร้คนขับแทนที่ฝูงบินรบแบบเก่า…

การรวบรวมพยานหลักฐานในคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

Loading

สรชา สุเมธวานิชย์, ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ ศูนย์ศึกษากฎหมายกับเทคโนโลยี ในคดีอาญา กฎหมายกำหนดให้โจทก์ต้องนำสืบพยานหลักฐานถึงขนาดที่ศาลเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดโดย “ปราศจากข้อสงสัย” หากโจทก์นำสืบไม่ได้ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ศาลจะยกฟ้อง และพิพากษาว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา[1] ดังนั้น การรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะพยานหลักฐานใดที่ได้มาโดยไม่ถูกต้องตามกระบวนการของกฎหมายย่อมไม่สามารถนำมาพิจารณาในชั้นศาลได้ สำหรับคดีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พยานหลักฐานที่ผู้เสียหายมีเมื่อนำคดีมาแจ้งความ สามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ[2] คือ 1. คดีที่รู้ตัวผู้กระทำความผิดชัดเจน 2. คดีที่พอจะมีหลักฐานให้ตามสืบได้บ้างว่าผู้กระทำความผิดเป็นใคร 3. คดีที่ไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิดเลย ผู้เสียหายทราบแต่เพียงว่าตนถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งจำนวนและคุณภาพของพยานหลักฐานที่ผู้เสียหายมีนั้นจะส่งผลต่อการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนด้วย การสืบหาพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นผู้กระทำผิดมักจะปฏิบัติการผ่านทางแพลตฟอร์ม (platform) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น Social Network หรือ E-mail ซึ่งกระบวนการสืบหาผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์สามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งการสืบจาก IP Address หรือตรวจสอบจากข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Traffics data) เพื่อให้ทราบว่าต้นทางที่ส่งมาจากสถานที่ใด รวมถึงกระบวนการที่มีความซับซ้อนอย่างเช่น กระบวนการสร้างค่า Hash  ด้วย เมื่อเกิดการกระทำความผิดขึ้นผู้เสียหายส่วนใหญ่มักจะนำหลักฐานที่เป็นเพียงรูปภาพที่เกิดจากการ Capture ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ของตนเองมาเป็นหลักฐานในการแจ้งความ ดำเนินคดี[3] ซึ่งภาพเหล่านั้นเป็นสิ่งที่นำมาใช้ในการสืบหาผู้กระทำผิดได้ยาก หรือแทบจะระบุตัวผู้กระทำความผิดไม่ได้เลย จึงต้องมีการนำเอารายละเอียดที่เก็บอยู่ใน log file…