การก่อวินาศกรรมด้วยระบบไฟฟ้าหรือกระแสแม่เหล็กไฟฟ้า (Electronic and Electromagnaetic Interference)

Loading

การก่อวินาศกรรมด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หมายถึงการนำเอาพลังงานดังกล่าวมาใช้รบกวน ขัดขวาง หรือสร้างความสับสนเกี่ยวกับการรับ-ส่งสัญญาณหรือสร้างความไม่เข้าใจระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับในระบบโทรคมนาคม แบ่งเป็น 1. การเข้าแทรกสัญญาณข้อมูล การใช้อุปกรณ์พิเศษในการแผ่สัญญาณไฟฟ้าหรือคลื่นแม่เหล็กที่มีความเข้มสูงไปรบกวน(Jam)หรือขัดขวางสัญญาณสื่อสาร ทำให้การส่งหรือรับสัญญาณพร่ามั่ว เบี่ยงเบน หรือขาดหายไป เช่น การส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนหรือขัดขวางการรับ-ส่งสัญญาณสื่อสารผ่านดาวเทียม เรดาห์ เครื่องตรวจรับสัญญาณ(Sensor) ระบบสื่อสารหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือการใช้ Electro-Magnetic Pulse (EMP) ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กความถี่สูงไปรบกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะคลื่นแม่เหล็กทำให้เกิดความหน่วงในระบบของคอมพิวเตอร์ และหากคลื่นแม่เหล็กที่ส่งออกมามีความเข้มสูงมาก ก็จะมีผลให้แผ่นดิสเก็ตที่เป็นจานแม่เหล็ก ซึ่งใช้จัดเก็บข้อมูลถูกทำลาย เพราะวิธีการจัดเก็บข้อมูลในดิสเก็ตนี้ใช้หลักเส้นแรงแม่เหล็กเช่นกัน 2. การตรวจจับการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปล่งออกมาจากแหล่งกำเนิด การตรวจจับนี้เพื่อหาตำแหน่งที่เกิดคลื่นนั้นๆ เมื่อสามารถทราบตำแหน่งที่ชัดเจนแล้ว จึงค่อยดำเนินการวินาศกรรม เช่น กรณีการสังหารนาย Dzhokhar Dudayev หัวหน้ากบฏแบ่งแยกดินแดนเชเชชที่บ้านพัก ซึ่งห่างจากกรุงกรอซนีราว 30 ไมล์  สำนักข่าว Interfax ของสหภาพโซเวียต รายงานว่า ได้ใช้จรวดยิงเป้าหมาย หลังจากสามารถตรวจจับสัญญาณโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมที่นาย Dudayev ใช้สนทนาในบ้านพัก โดยใช้สัญญาณโทรศัพท์ดังกล่าวเป็นตัวชี้เป้าของจรวดโจมตี เป็นต้น

อุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับสำนวนการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด

Loading

ผู้อุทธรณ์ : นาง ก. หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย อุทธรณ์เรื่องนี้ได้ความว่า นาง ก. ผู้อุทธรณ์ พนักงานบริหารงานทั่วไป ๗ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีบันทึกลงวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๖ ถึงผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยขอข้อมูลข่าวสารเพื่อประกอบการดำเนินการ กรณีการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยตามมติคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ความรับผิดทางละเมิด โดยผู้อุทธรณ์ขอเอกสารในสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด จำนวน ๕ รายการ คือ ๑. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ที่ ๒๑๑/๒๕๕๓ลงวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๒. สาเหตุหรือความเสียหายแก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเห็นว่ามีเหตุอันสมควรเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของผู้อุทธรณ์ ๓. สำเนาการสอบสวนผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มทำการสอบสวนจนถึงรายงานการสรุปผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ เสนอผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยให้ออกคำสั่งดังกล่าว ๔. รายละเอียดกรณีให้ผู้อุทธรณ์ต้องรับผิดชดใช้เงินที่ถูกยักยอกไปส่วนไหน สัดส่วนเท่าใด มีผู้ใดที่ต้องร่วมรับผิดชดใช้จำนวนเท่าใด ใช้เกณฑ์ใดเป็นตัวกำหนด ๕. เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องที่คณะกรรมการฯ นำมาใช้ประกอบการพิจารณาอันเป็นเหตุให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีคำสั่งที่ ๔๖๖/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหนังสือ ลับ…

อุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ศรีสะเกษ เขต ๒ เกี่ยวกับการสอบสวนข้อเท็จจริง

Loading

ผู้อุทธรณ์ : นาง ก. หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๒ อุทธรณ์เรื่องนี้ได้ความว่า นาง ก. ผู้อุทธรณ์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านโคกหล่าม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๒ ถูกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๒ มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง กรณีมีความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวกับนาย ส. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบอนใหญ่ โดยต่างฝ่ายต่างมีคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วเป็นเหตุให้ครอบครัวอีกฝ่ายได้รับความเดือดร้อน ต่อมาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๒ มีคำสั่งลงโทษปลดผู้อุทธรณ์ออกจากราชการ ผู้อุทธรณ์จึงอุทธรณ์คำสั่งลงโทษต่อ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ซึ่งทำการแทนคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต่อมา อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ พิจารณาแล้วเห็นว่า พฤติการณ์ของ ผู้อุทธรณ์เป็นเพียงความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงสมควรให้ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งลดโทษผู้ฟ้องคดีจากปลดออกจากราชการเป็นลดขั้นเงินเดือนหนึ่งขั้นและสั่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการต่อมาผู้อุทธรณ์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองนครราชสีมา ซึ่งศาลปกครองนครราชสีมามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ว่าผู้อุทธรณ์มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันเกินสมควรกับนาย ส. ซึ่งเป็นคู่สมรสของผู้อื่น อันเป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการกระทำที่เสื่อมเสียถึงเกียรติของข้าราชการและความรู้สึกของสังคมที่มีต่อการกระทำของผู้อุทธรณ์ซึ่งเป็นข้าราชการครู ผู้ต้องเป็นแบบอย่างต่อสังคมอันทำให้ราชการได้รับความเสียหายต่อภาพพจน์ชื่อเสียง แต่พฤติการณ์เป็นเพียงความผิดวินัยไม่ร้ายแรงคำสั่งลดโทษผู้อุทธรณ์จึงเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์จึงมีหนังสือลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ ถึงผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ…

อุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของโรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด เกี่ยวกับข้อมูลการรักษาพยาบาล

Loading

ผู้อุทธรณ์ : นาง ก. หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ : โรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด อุทธรณ์เรื่องนี้ได้ความว่า นาง ก. ผู้อุทธรณ์ มีหนังสือลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด และหนังสือลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ถึงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ขอข้อมูลการรักษาพยาบาลของนายพนัส ธรรมเกตุ ซึ่งเป็นคู่สมรสที่ถึงแก่ความตาย เพื่อประกอบการขอรับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันชีวิตโรงพยาบาลอาจสามารถเสนอความเห็นต่อนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ดว่า ไม่อาจเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้อุทธรณ์ได้เพราะต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๕๐ และต่อมานายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ดมีบันทึกท้ายคำขอผู้อุทธรณ์ฉบับลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เห็นชอบด้วยกับความเห็นของโรงพยาบาลอาจสามารถที่ปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแก่ผู้อุทธรณ์ผู้อุทธรณ์มีหนังสือ (ไม่ได้ระบุวันที่) เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ถึงคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ อุทธรณ์คำสั่งของโรงพยาบาลอาจสามารถที่ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมายพิจารณาคำอุทธรณ์ คำชี้แจงของผู้อุทธรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอาจสามารถเหตุผลที่โรงพยาบาลอาจสามารถไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว ข้อเท็จจริงสรุปความได้ว่า ผู้อุทธรณ์เป็นภรรยาของนาย ข. ซึ่งได้ทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด โดยกรมธรรม์ระบุให้ผู้อุทธรณ์เป็นผู้รับประโยชน์ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๕นาย ข. ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอาจสามารถซึ่งตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอาจสามารถกับโรงพยาบาลศรีนครินทร์อยู่ระยะหนึ่ง ต่อมานาย ข.กลับไปรักษาตนเองที่บ้าน และเสียชีวิตในวันที่ ๒๗…

อุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน

Loading

ผู้อุทธรณ์ : นาย ก. หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ : บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (บมจ. อสมท) อุทธรณ์เรื่องนี้ได้ความว่า นาย ก. ผู้อุทธรณ์ ตำแหน่งผู้เรียบเรียงข่าวอาวุโส ฝ่ายข่าวในประเทศ ๑ สำนักข่าวในประเทศ สายงานสำนักข่าวไทย ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากองบรรณาธิการข่าวการเมือง ฝ่ายข่าวในประเทศเป็นเวลา ๖ เดือน ต่อมาผู้บังคับบัญชาได้ประเมินผลการปฏิบัติงานและมีคำสั่งเลื่อนขึ้นให้ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ ผู้อุทธรณ์จึงได้ร้องเรียนขอความเป็นธรรมในการประเมินความเหมาะสมในการปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้ากองบรรณาธิการข่าวการเมือง ฝ่ายข่าวในประเทศต่อคณะกรรมการ บมจ. อสมท คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ตรวจสอบ ผู้อุทธรณ์จึงมีหนังสือลงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๖ และวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๖ ถึงประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการ บมจ. อสมท ขอข้อมูลข่าวสารพร้อมรับรองสำเนา จำนวน ๓ รายการ ดังนี้ ๑. หนังสือการประเมินผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด (KPIS) และแบบบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อุทธรณ์ที่นาย ข. ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักข่าวในประเทศ…