การก่อวินาศกรรมโดยไม่ใช้วัตถุระเบิด

Loading

การก่อวินาศกรรมวิธีนี้อาศัยคุณสมบัติของสิ่งที่จะนำมาใช้วินาศกรรมโดยไม่ต้องอาศัยวัตถุระเบิด เพียงแต่ตัววินาศกรอาจต้องพลีชีพไปพร้อมด้วยเท่านั้น  อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้จำเป็นจะต้องมีการวางแผนและเตรียมการในกลุ่มผู้ปฏิบัติเป็นอย่างดี ทั้งจะต้องมีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอ นอกจากนี้วินาศกรต้องมีความรู้และศึกษาลู่ทางก่อนที่จะพิจารณาเลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือยานพาหนะที่มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพเพียงพอที่จะทำลายเป้าหมาย สำหรับการก่อวินาศกรรมในรูปแบบนี้นอกจากจะให้ผลทำลายล้างแล้ว ยังก่อให้เกิดภาวะหวาดระแวงในสังคมและลดศรัทธาที่มีต่อฝ่ายปกครองด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีวินาศกรของกลุ่ม อัล เควดาใช้เครื่องบินพาณิชย์พุ่งชนอาคารเวิร์ดเทรด เซ็นเตอร์ในสหรัฐฯ  นับเป็นการก่อวินาศกรรมที่สามารถกระทำได้อย่างเกินความคาดหมาย และยากต่อการป้องกัน  อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางความคิดของวินาศกร ที่เลือกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องบินมาทำลายอาคาร ซึ่งให้ผลลัพธ์ได้เท่าเทียมกับวัตถุระเบิด กรณีวินาศกรรมดังกล่าวนับเป็นตัวอย่างของการนำเอาสิ่งประกอบในชีวิตประจำวันมาใช้ในก่อวินาศกรรมอย่างบรรลุผล  ฉะนั้นวิธีการนี้ยอมส่งผลให้เกิดการปรับใช้กับสิ่งอื่นได้อีก เช่น รถยนต์ รถไฟ หรือเรือบรรทุกน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ  และรอโอกาสที่เหมาะสมในการดำเนินการ เท่านั้น

การก่อวินาศกรรมด้วยอาวุธชีวภาพ (Biology Warefare)

Loading

อาวุธชีวภาพในที่นี้หมายถึง การเพาะไวรัส แบคทีเรีย เห็ดรา และพืชบางชนิด เพื่อเตรียมไว้สำหรับการบ่อนทำลาย วินาศกรรม หรือเพื่อทำสงคราม โดยมุ่งกระทำต่อสิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์และพืช อันจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ  ตัวอย่างเช่น เชื้อโรคที่เชื่อว่ามีการเพาะเลี้ยงไว้อย่างปกปิดในหลายประเทศ ได้แก่ เชื้อแอนแทรกซ์(Anthrax)ที่สร้างแผลพุพองในสัตว์เลี้ยง เมื่อมนุษย์ได้เชื้อประเภทนี้ก็อาจเสียชีวิตได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีเชื้อกาฬโรค อหิวาตกโรค เชื้อโรคที่ทำให้อาหารเป็นพิษ(Botulism) เชื้อเห็ดราหรือแบคทีเรียที่สามารถทำลายพืชผลผลิตการเกษตรและปศุสัตว์ เป็นต้น  เชื้อชีวภาพเหล่านี้ เมื่อนำไปปล่อยในแหล่งสาธารณูปโภค แหล่งที่อยู่อาศัย หรือพื้นที่กสิกรรม จะสร้างความเสียหายและก่อกวนความสงบในสังคมทั้งภาครัฐและประชาชนอย่างยิ่ง  ปัจจุบัน มีการกล่าวโทษหลายประเทศว่า ทำการเพาะเลี้ยงเชื้อชีวภาพไว้ใช้ในการสู้รบ อย่างเช่น สหรัฐฯ กล่าวโทษว่า อิรักมีเชื้อแอนแทรกซ์ประมาณ 12,000 ลิตร และ Botulism ประมาณ 500,000 ลิตร เพื่อบรรจุที่หัวขีปนาวุธสำหรับยิงไปตามประเทศศัตรู เป็นต้น การก่อวินาศกรรมด้วยอาวุธชีวภาพสามารถดำเนินการได้ โดยนำเชื้อโรคที่เพาะเลี้ยงไปปล่อยลงตามแหล่งเป้าหมายที่ง่ายต่อการดำเนินการและให้ผลรวดเร็ว เช่น สถานีผลิตน้ำประปา อ่างเก็บน้ำ หลังจากนั้น เชื้อชีวภาพจะแพร่กระจายตัวเอง โดยทำลายสิ่งมีชีวิตด้วยพิษภัยที่สร้างไว้  เชื้อชีวภาพที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงนี้เชื่อว่า สามารถแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่า พิษร้ายแรงกว่า และทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าเชื้อชีวภาพตามธรรมชาติ…

การก่อวินาศกรรมด้วยสารเคมีพิษ

Loading

1. การใช้สารเคมีในลักษณะเจือปนหรือปนเปื้อนในน้ำดื่ม อาหาร หรือจากการสัมผัสแตะต้อง เพื่อให้พิษของสารเคมีสะสมในร่างกาย เช่น ที่กระดูก ถุงน้ำดี ไต ตับ วิธีนี้จะใช้ระยะเวลายาวนาน แต่จะให้ผลลัพธ์แน่นอนโดยจะทำแก้ไขหรือรักษาได้ยาก 2. การใช้สารเคมีในรูปของก๊าซพิษฟุ้งกระจายในอากาศ เป็นวิธีที่ให้ผลและเหมาะกับการนำมาใช้ทำลายล้างมากที่สุด แต่ต้องกระทำในพื้นที่อับอากาศ เช่น มีอากาศหนาวเย็น หรือสถานที่ใช้เครื่องปรับอากาศหรือใช้ระบบระบายอากาศ เช่น บริเวณอาคารผู้โดยสารในท่าอากาศยาน โรงภาพยนตร์ อาคารสมัยใหม่ที่นิยมกระจกติดทึบ สถานที่เช่นนี้จะควบคุมการหมุนเวียนของอากาศ โดยระบบระบายอากาศที่ออกแบบสร้างไว้ ไม่ใช่การหมุนเวียนแบบธรรมชาติที่สามารถถ่ายเทออกสู่ภายนอกได้รวดเร็ว  ดังนั้น หากมีการปล่อยก๊าซพิษในสถานที่ดังกล่าว ระบบระบายอากาศจะช่วยให้ก๊าซฟุ้งกระจายตัวอย่างช้าๆ  ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบริเวณนั้น ต้องสูดหายใจรับก๊าซพิษเข้าไปเต็มที่ ก่อนที่จะทันรู้สึกตัว หรือได้รับความช่วยเหลือ หรือหลบออกจากพื้นที่เกิดเหตุได้ทัน อย่างไรก็ดี ในพื้นที่โล่งแจ้งหรืออากาศร้อน การใช้สารเคมีในรูปของการฟุ้งกระจายจะไม่ได้ผลเต็มที่ เพราะก๊าซพิษจะฟุ้งกระจายจนเจือจางไปก่อนที่จะก่อให้เกิดอันตรายแก่สิ่งมีชีวิตได้   ตัวอย่างเช่น ทางการสหภาพโซเวียตปล่อยก๊าซพิษทำร้ายกลุ่มกบฏเชเชนที่เข้ายึดและจับตัวประกันที่โรงละครในกรุงมอสโก เมื่อเดือนตุลาคม 2545 เป็นผลให้ทั้งกลุ่มกบฏและตัวประกันเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ลักษณะของสารเคมีพิษ แบ่งได้เป็น 1. Nerve Agent เป็นสารทำลายระบบประสาท หากได้รับสารนี้โดยตรงหรือเป็นจำนวนมาก จะเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น ก๊าซ Soman(GD), ก๊าซ…

การก่อวินาศกรรมด้วยระบบไฟฟ้าหรือกระแสแม่เหล็กไฟฟ้า (Electronic and Electromagnaetic Interference)

Loading

การก่อวินาศกรรมด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หมายถึงการนำเอาพลังงานดังกล่าวมาใช้รบกวน ขัดขวาง หรือสร้างความสับสนเกี่ยวกับการรับ-ส่งสัญญาณหรือสร้างความไม่เข้าใจระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับในระบบโทรคมนาคม แบ่งเป็น 1. การเข้าแทรกสัญญาณข้อมูล การใช้อุปกรณ์พิเศษในการแผ่สัญญาณไฟฟ้าหรือคลื่นแม่เหล็กที่มีความเข้มสูงไปรบกวน(Jam)หรือขัดขวางสัญญาณสื่อสาร ทำให้การส่งหรือรับสัญญาณพร่ามั่ว เบี่ยงเบน หรือขาดหายไป เช่น การส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนหรือขัดขวางการรับ-ส่งสัญญาณสื่อสารผ่านดาวเทียม เรดาห์ เครื่องตรวจรับสัญญาณ(Sensor) ระบบสื่อสารหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือการใช้ Electro-Magnetic Pulse (EMP) ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กความถี่สูงไปรบกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะคลื่นแม่เหล็กทำให้เกิดความหน่วงในระบบของคอมพิวเตอร์ และหากคลื่นแม่เหล็กที่ส่งออกมามีความเข้มสูงมาก ก็จะมีผลให้แผ่นดิสเก็ตที่เป็นจานแม่เหล็ก ซึ่งใช้จัดเก็บข้อมูลถูกทำลาย เพราะวิธีการจัดเก็บข้อมูลในดิสเก็ตนี้ใช้หลักเส้นแรงแม่เหล็กเช่นกัน 2. การตรวจจับการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปล่งออกมาจากแหล่งกำเนิด การตรวจจับนี้เพื่อหาตำแหน่งที่เกิดคลื่นนั้นๆ เมื่อสามารถทราบตำแหน่งที่ชัดเจนแล้ว จึงค่อยดำเนินการวินาศกรรม เช่น กรณีการสังหารนาย Dzhokhar Dudayev หัวหน้ากบฏแบ่งแยกดินแดนเชเชชที่บ้านพัก ซึ่งห่างจากกรุงกรอซนีราว 30 ไมล์  สำนักข่าว Interfax ของสหภาพโซเวียต รายงานว่า ได้ใช้จรวดยิงเป้าหมาย หลังจากสามารถตรวจจับสัญญาณโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมที่นาย Dudayev ใช้สนทนาในบ้านพัก โดยใช้สัญญาณโทรศัพท์ดังกล่าวเป็นตัวชี้เป้าของจรวดโจมตี เป็นต้น

อุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับสำนวนการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด

Loading

ผู้อุทธรณ์ : นาง ก. หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย อุทธรณ์เรื่องนี้ได้ความว่า นาง ก. ผู้อุทธรณ์ พนักงานบริหารงานทั่วไป ๗ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีบันทึกลงวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๖ ถึงผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยขอข้อมูลข่าวสารเพื่อประกอบการดำเนินการ กรณีการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยตามมติคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ความรับผิดทางละเมิด โดยผู้อุทธรณ์ขอเอกสารในสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด จำนวน ๕ รายการ คือ ๑. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ที่ ๒๑๑/๒๕๕๓ลงวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๒. สาเหตุหรือความเสียหายแก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเห็นว่ามีเหตุอันสมควรเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของผู้อุทธรณ์ ๓. สำเนาการสอบสวนผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มทำการสอบสวนจนถึงรายงานการสรุปผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ เสนอผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยให้ออกคำสั่งดังกล่าว ๔. รายละเอียดกรณีให้ผู้อุทธรณ์ต้องรับผิดชดใช้เงินที่ถูกยักยอกไปส่วนไหน สัดส่วนเท่าใด มีผู้ใดที่ต้องร่วมรับผิดชดใช้จำนวนเท่าใด ใช้เกณฑ์ใดเป็นตัวกำหนด ๕. เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องที่คณะกรรมการฯ นำมาใช้ประกอบการพิจารณาอันเป็นเหตุให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีคำสั่งที่ ๔๖๖/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหนังสือ ลับ…