ระบบกฎหมายระหว่างประเทศ เกราะป้องกันสงคราม

Loading

    ระบบกฎหมายระหว่างประเทศ เกราะป้องกันสงคราม – สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 11 ล้านชีวิต และสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพียง 20 ปี ได้สังหารชีวิตมนุษย์ไประหว่าง 45-65 ล้านคน แถมด้วยระเบิดนิวเคลียร์ขนาดเล็กอีก 2 ลูกที่ทิ้งลงที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบทเรียนให้โลกเรียนรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อสันดานของประเทศมหาอำนาจแบบดั้งเดิมบวกกับอาวุธที่ทำลายล้างมวลมนุษย์อย่างสูงอย่างอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งย่อมหมายความถึงความพินาศฉิบหายอย่างสุดที่จะจินตนาการได้     หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี ค.ศ.1945 โลกได้เรียนรู้บทเรียนราคาแพงว่าการขาดระบบกฎหมายระหว่างประเทศที่เข้มแข็งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความขัดแย้งที่คร่าชีวิตผู้คนนับสิบล้าน การก่อตั้งสหประชาชาติ (UN) และสนธิสัญญาสำคัญ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ (UN Charter) ได้วางรากฐานให้กับระบบกฎหมายระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายป้องกันสงครามและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ   ถึงแม้ว่าระบบนี้จะไม่สมบูรณ์แบบ และหลายครั้งถูกละเมิดโดยมหาอำนาจ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันสามารถรักษาสันติภาพระหว่างมหาอำนาจมาได้กว่า 80 ปีแล้ว โดยเฉพาะการป้องกันสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งหากเกิดขึ้นก็อาจเป็นจุดจบของอารยธรรมมนุษย์   ความเปราะบางของกฎหมายระหว่างประเทศในทางปฏิบัติจะมีลักษณะที่เปราะบาง เพราะไม่มี “ตำรวจโลก” คอยบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศโดยตรง การเคารพหรือไม่เคารพกฎหมายเหล่านี้ขึ้นอยู่กับเจตจำนงของรัฐและแรงกดดันจากประชาคมระหว่างประเทศ บ่อยครั้งที่มหาอำนาจเช่นสหรัฐอเมริกา…

เชื่อมโยงสู่ความมั่นคง: บทบาทของไทยในเอเชีย ยุคแห่งความท้าทาย

Loading

ในยุคที่เศรษฐกิจโลกและภูมิรัฐศาสตร์ผันแปรอย่างรวดเร็ว การเสริมสร้างความเชื่อมโยงในเอเชียจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการรับมือกับความท้าทายนานัปการ ประเทศไทยควรก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการผลักดันวิสัยทัศน์นี้ โดยมองอนาคตผ่านเลนส์ของการร่วมมือและการประสานพลัง

AGI เมื่อปัญญาประดิษฐ์คิดและเรียนรู้เองได้เหมือนมนุษย์

Loading

AI หรือปัญญาประดิษฐ์กลายมาตัวเร่งโลกของเราให้หมุนเร็วขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน และอยู่วิถีชีวิตมนุษย์ทุกคนเรียบร้อยแล้ว ถ้าคุณคิดว่า AI ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันฉลาดล้ำจนเปลี่ยนโลกได้ขนาดนี้ เราขอแนะนำให้คุณรู้จักกับ AGI หรือ Artificial General Intelligence (ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป)

สรุป 5 ประเด็น ‘การประชุมสองสภาจีน’ ปี 2025

Loading

ใน “การประชุม 2 สภาจีน” ซึ่งถือเป็นการประชุมทางการเมืองยิ่งใหญ่ที่สุดประจำปีของแดนมังกรที่ได้สิ้นสุดไปแล้วในวันนี้ 11 มี.ค. โดยผลของการประชุม คือ ผู้แทนได้ลงมติผ่านร่างกฎหมาย 7 ฉบับ รวมถึงข้อเสนอแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับผู้แทนในสภาระดับชาติและท้องถิ่น โดยระบุว่า ผู้แทนควรยึดมั่นในแนวคิดสีจิ้นผิงว่าด้วย “สังคมนิยมอันมีอัตลักษณ์จีนยุคใหม่” นี่คือ “5 ประเด็นสำคัญ”

“โรคทางจิตเวช” กับ “โรควิตกกังวล” แตกต่างกันอย่างไร

Loading

    หลายคนอาจสงสัยระหว่างคำว่า “โรคทางจิตเวช” กับ กับ “โรควิตกกังวล” เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ ในทางการแพทย์ ให้คำนิยามของทั้งสองคำนี้อย่างไร มาหาคำตอบกัน    โรคทางจิตเวช คือ อะไร “โรคทางจิตเวช” เป็นกลุ่มของโรคที่ส่งผลต่อความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และการรับรู้ของบุคคล อาจมีอาการรุนแรงจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน หรือการเข้าสังคม   ตัวอย่างโรคในกลุ่มจิตเวช โรคจิตเภท (Schi zophrenia) – ผู้ป่วยมีอาการหลงผิดหรือหวาดระแวง หูแว่ว ประสาทหลอน หากเป็นแล้วไม่รักษาตั้งแต่ต้น หรือปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำให้การรักษามีความยุ่งยาก และผลการรักษาไม่ดีนัก โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) – จะมีอารมณ์ขึ้นลงรุนแรงเป็นช่วงๆ อารมณ์แปรปรวนรุนแรง มีช่วงซึมเศร้าและช่วงอารมณ์ดีผิดปกติ – ช่วงเวลาที่เป็น Manic Episode (ภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ) ผู้ป่วยจะรื่นเริงสนุกสนานผิดปกติ มีพลังในการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่มีเหน็ดเหนื่อย มีความมั่นใจมาก ขาดความยับยั้งชั่งใจ หากถูกห้ามหรือขัดขวางในสิ่งที่ต้องการจะหงุดหงิด ในรายที่มีความรุนแรงจะพบมีอาการหลงผิดคิดว่ามีพลังวิเศษ – ช่วงเวลาที่เป็น Depressive Episode (ภาวะซึมเศร้า) ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่อหน่าย ซึมเศร้า…

เมื่อตกเป็นเหยื่อสแกมเมอร์ เสียเงินอาจไม่เลวร้ายเท่าเสียความรู้สึก

Loading

    Summary ปัญหาสแกมเมอร์กลายเป็นวาระระดับโลกเพราะมีต้นเหตุจากเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ อีกทั้งยังส่งผลกระทบมากกว่าด้านการสูญเสียเงิน แต่ยังส่งผลสะเทือนถึงจิตใจอีกด้วย การศึกษาพบว่าเหยื่อที่เสียเงินจำนวนมากมักเผชิญความเครียดและความอับอาย หลายครั้งไม่กล้าที่จะพูดคุยกับคนรอบข้าง ผลกระทบทางใจ เช่น ความเครียด ความสิ้นหวัง การโทษตนเอง ส่งผลรุนแรงกว่ามูลค่าการสูญเสียที่เป็นตัวเงิน โดยเฉพาะในสแกมหลอกให้รัก (romance scam) ที่ผู้ถูกหลอกจะรู้สึกถูกหักหลังโดยคนที่ตัวเองรักหมดใจและสูญเสียความสามารถที่จะเชื่อใจคนใกล้ตัว ในฐานะคนใกล้ชิด การให้กำลังใจและรับฟังโดยไม่ตัดสินคือสิ่งสำคัญที่สุดเมื่อรู้ว่าคนใกล้ตัวตกเป็นเหยื่อ รวมถึงการช่วยรวบรวมหลักฐานเพื่อแจ้งความดำเนินคดี และหากเห็นสัญญาณความเครียดในระดับที่รุนแรงก็ควรพาเหยื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิต     ในยุคสมัยที่เราต้องเอาตัวรอดจากสารพัดกลโกงที่ส่งต่อมาทั้งทางโทรศัพท์มือถือ เว็บไซต์ และอีเมล์ สำหรับใครที่ยังอยู่รอดปลอดภัยก็ถือว่าโชคดี แต่จากสถิติที่ผู้เขียนไปพบปะกับเพื่อนครั้งล่าสุด ตัวพวกเขาเองหรือคนใกล้ตัวต่างผ่านประสบการณ์พลาดพลั้งถูกหลอกเอาเงินมาแล้วทั้งนั้น   คนในครอบครัวของผมเองก็ยังไม่พ้นตกเป็นเหยื่อ ทั้งกรอกบัตรเครดิตใส่เข้าไปในเว็บไซต์ปลอมที่ส่งมาทางอีเมล หรือสั่งซื้อของออนไลน์จากเว็บไซต์ที่ไม่มีอยู่จริง คงไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่าถ้าใครไม่เคยถูกหลอกหรือมีคนใกล้ตัวตกเป็นเหยื่อคงนับเป็นคนส่วนน้อยที่ตกขบวน!   หลายคนเข้าใจผิดว่าปัญหาสแกมเมอร์คือปัญหาระดับชาติ ผมอยากจะให้ทำความเข้าใจเสียใหม่ว่านี่คือ ‘ปัญหาระดับโลก’ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ The Economist ถึงขั้นพาดหัวข่าวไว้ว่าอุตสาหกรรมสแกมเมอร์ออนไลน์อาจเป็นเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติที่ใหญ่สูสีกับอุตสาหกรรมยาเสพติด   เครือข่ายดังกล่าวทำงานกระจายกันหลายประเทศทั่วโลก แต่มีศูนย์ใหญ่อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ใกล้ไม่ไกลจากประเทศไทย โดยองค์การสหประชาชาติประมาณการไว้ในปี 2023 ว่าสแกมเมอร์กว่า 200,000 ชีวิตจาก 70 ประเทศทั่วโลกเองก็เป็น ‘เหยื่อ’ ที่ถูกหลอกให้มาทำงานในแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่พม่าและกัมพูชา…