แบบประวัติบุคคล (รปภ.สขช.1) และหลักฐานที่ยื่นในวันสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

Loading

ดาวน์โหลดแบบประวัติบุคคล สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (รปภ.สขช.1)    คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด พิมพ์ รปภ.สขช.1 ออกมากรอกรายละเอียดด้วยลายมือให้ครบถ้วน (ยังไม่ต้องลงลายมือชื่อใน รปภ.สขช.1) เขียนตำแหน่งที่สอบพร้อมเลขประจำตัวสอบไว้ที่มุมขวาบนของ รปภ.สขช.1 (เฉพาะหน้าแรก) นำ รปภ.สขช.1 ที่กรอกรายละเอียดแล้วมายื่นในวันสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (วันเข้ารับการสอบสัมภาษณ์)   – คำแนะนำในการกรอกแบบประวัติบุคคล (รปภ.สขช.1) – คำแนะนำการวาดแผนที่ ในแบบประวัติบุคคล (รปภ.สขช.1)     ผู้เข้าสอบจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้มายื่นในวันสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (วันเข้ารับการสอบสัมภาษณ์) 1.ใบสมัครที่พิมพ์จากอินเทอร์เน็ต ให้ติดรูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก และไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไม่เกิน 1 ปี ขนาด 1×1.5 นิ้ว จำนวน 1 รูป (เขียนชื่อ-สกุล และเลขประจำตัวสอบหลังรูป) ลงลายมือชื่อในใบสมัครให้ครบถ้วน 2.สำเนาปริญญาบัตร และ/หรือ สำเนาระเบียนแสดงผลการศึกษา (Transcript of Records) ที่แสดงว่าเป็นผู้มีคุณวุฒิทางการศึกษาตรงตามประกาศรับสมัคร โดยต้องสำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติภายในวันปิดรับสมัคร (วันปิดรับสมัครสอบ คือ…

แนวทางปฏิบัติการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล

Loading

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2552 หมวด 4 การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล ข้อ 24 – ข้อ 32 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐกำหนดมาตรการสำหรับใช้ปฏิบัติกับผู้ที่อยู่ระหว่างรอว่าจ้าง บรรจุ หรือแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ที่จะได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ หรือให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่สำคัญ หรือทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน โดยกำหนดให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล (2) รับรองความไว้วางใจบุคคลเพื่อให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ แนวทางปฏิบัติการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2553 โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ 1. หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการเอง ดังต่อไปนี้ 1.1 ให้ผู้ถูกตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคลกรอกรายละเอียดในแบบประวัติบุคคล (รปภ.1) 1.2 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทำหนังสือถึงหัวหน้าสถานีตำรวจนครบาล หรือหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรที่ผู้ถูกตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคลมีภูมิลำเนาอยู่ เพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือส่งให้กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจสอบพิมพ์ลายนิ้วมือและประวัติอาชญากร 1.3…

การประชุม อป.กรช. ครั้งที่ 1/2562

Loading

วันที่ 3 เมษายน 2562  นายเกียรติศักดิ์  วรจิตรานนท์ รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติในฐานะปฏิบัติหน้าที่ประธานคณะอนุกรรมการประสานการปฏิบัติตามนโยบายการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (อป.กรช.) ได้เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการประสานการปฏิบัติตามนโยบายการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2562 ระหว่างเวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักข่าวกรองแห่งชาติ 4 สำนักงานวังปารุสกวัน การประชุมดังกล่าวเป็นการรับทราบมติการประชุมของคณะกรรมการนโยบายรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (กรช.) ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2552  ครั้งที่ 1/2562 เมื่อ 8 มี.ค.62 ซึ่งมีประเด็นสำคัญ คือ การขับเคลื่อนการบริหารจัดการงานรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ รวมทั้งวาระเกี่ยวกับการพิจารณาร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องหลักเกณฑ์การตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล และแบบเอกสารที่ใช้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2552  โดยการประชุมร่วมด้วยหน่วยงานด้านความมั่นคง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ในฐานะองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ในฐานะองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายทหาร กองบัญชาการตำรวจสันติบาล     ในฐานะองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายตำรวจ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องหลักเกณฑ์การตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล และแบบเอกสารที่ใช้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ…