วิธีเอาชีวิตรอด เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้รถไฟฟ้า

Loading

เคยสงสัยไหมว่า อยู่ในรถไฟฟ้า ถ้าเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นมา ในสถานที่ระบบปิดแบบนี้ เราจะเอาชีวิตรอดให้ปลอดภัยได้อย่างไร?                 ดาวน์โหลดไฟล์แบบ PDF ขอบคุณข้อมูลจาก  การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทสไทย     ———————————————————————————————————————————- ที่มา : ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ของราชการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทสไทย     /  วันที่เผยแพร่ 1 พ.ย.65 Link : http://www.oic.go.th/infocenter6/603/

Details

เปิดภาพถ่ายดาวเทียม สำรวจความเปลี่ยนแปลงและความเสียหายที่เกิดขึ้นในมาริอูโปล หลังรัสเซียถล่มโจมตี

Loading

  สัปดาห์ที่ผ่านมา นับเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของเมืองมาริอูโปล เมืองท่าทางตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครน ซึ่งถูกโจมตีถล่มอย่างหนักหน่วงจนบ้านเมืองเสียหายอย่างหนัก ปรากฏหลักฐานเป็นภาพถ่ายดาวเทียมที่ทำให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่า หลังถูกรัสเซียโจมตีถล่ม เมืองแห่งนี้เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง   เซอร์เกย์ ออร์ลอฟ รองนายกเทศมนตรีเมืองมาริอูโปล กล่าวว่า ขณะนี้มีประชาชนในมาริอูโปลเสียชีวิตแล้ว 1,160 คน และคนประมาณ 200,000 คนต้องการอพยพออกจากเมือง แต่มีคนที่สามารถออกจากเมืองได้ไปเพียงประมาณ 2,000-3,000 คนต่อวันเท่านั้น     ภาพแรก ที่ถ่ายโดยดาวเทียมของ Maxar เผยให้เห็นความเสียหายอย่างใหญ่หลวงที่เกิดกับร้านขายของชำและห้างสรรพสินค้าในเมือง โดยอาคารทั้งสองหลังถูกทำลายไปจากการโจมตีที่รุนแรง       ภาพต่อมาเผยให้เห็นความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพื้นที่อยู่อาศัย ซึ่งทำให้ผู้อยู่อาศัยจำนวนมากถูกตัดขาดจากไฟฟ้า ระบบความร้อน น้ำประปา หรือการสื่อสาร เป็นเวลากว่า 1 สัปดาห์ พื้นที่บางส่วนของอาคารถึงขั้นถูกทำลายทั้งหมด       อีกภาพหนึ่งแสดงให้เห็นบ้านพักอาศัยหลายหลังถูกทำลาย โดยที่สวนสาธารณะใกล้เคียงดูเหมือนจะถูกเผาทำลายไปแล้ว และสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นตึกอะพาร์ตเมนต์ (ที่บริเวณด้านซ้ายของรูป) ได้รับความเสียหายอย่างหนัก       และอีกภาพแสดงให้เห็นความเสียหายที่เกิดขึ้นกับห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า โดยหลังคาของอาคารกลางพังทลายลงบางส่วนและภายในถูกทำลายเละ การโจมตีถล่มเมืองมาริอูโปลที่เลวร้ายที่สุดเกิดขึ้นทางทิศตะวันตกของเมือง…

Details

ภาพดาวเทียมฟ้องรัสเซียเพิ่มกำลังล้อมยูเครน

Loading

ไบเดนส่งทหาร 3,000 ปกป้องยุโรปตะวันออก ขณะภาพดาวเทียมฟ้องรัสเซียเพิ่มกำลังล้อมยูเครน อเมริกาเตรียมส่งทหาร 3,000 นายไปประจำในโปแลนด์และโรมาเนียเพื่อเป็นโล่ป้องกันยุโรปตะวันออกจากการทำท่าจะบุกยูเครนของรัสเซีย และขณะที่มอสโกยืนกรานปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นได้เผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียมที่ฟ้องว่า รัสเซียกำลังสร้างสมอาวุธและทหารรอบยูเครนอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังขยายกำลังพลในหลายจุดของเบลารุส ไครเมีย และด้านตะวันตกของรัสเซีย   ขณะที่รัสเซียปฏิเสธไม่ถอนทหาร 100,000 นายออกจากแนวชายแดนยูเครน อเมริกาประกาศเมื่อวันพุธ (2 ก.พ.) เตรียมส่งทหารอเมริกัน 1,000 นาย จากเยอรมนีไปโรมาเนีย และอีก 2,000 นาย ไปประจำในเยอรมนีและโปแลนด์   ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แถลงว่า การประจำการดังกล่าวจะสอดคล้องกับสิ่งที่ตนเตือนประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินก่อนหน้านี้ว่า ตราบใดที่รัสเซียยังมีพฤติกรรมก้าวร้าว อเมริกาจะทำให้แน่ใจว่า สามารถรับประกันกับพันธมิตรในองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) และยุโรปตะวันออกได้ว่า พร้อมเคียงข้างช่วยเหลือ   จอห์น เคอร์บี โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สำทับว่า เป้าหมายของการดำเนินการนี้คือ ส่งสัญญาณที่ชัดเจนถึงปูติน และทั่วโลกว่า นาโต้และพันธมิตรมีความสำคัญต่ออเมริกา   ขณะเดียวกัน การดำเนินการทางการทูตยังคงดำเนินต่อเนื่อง ถึงแม้สหรัฐฯ และบางชาติตะวันตกเช่นอังกฤษระบุว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะทำตามข้อเรียกร้องของรัสเซียที่ให้ฝ่ายตะวันตกให้หลักประกันด้านความมั่นคงแก่มอสโก…

Details

ดูเต็มอิ่ม! ประมวลภาพทหารอเมริกันติดอาวุธทั่วรัฐสภาสหรัฐ คุ้มกันพิธีสาบานตน

Loading

14 มกราคม 64 ภาพทหารอเมริกันติดอาวุธจากกองกำลังพิทักษ์ชาติสหรัฐ หรือกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ กว่า 10,000 นาย ที่ถูกไปคุ้มกันรักษาความปลอดภัยทั้งภายในและนอกอาคารรัฐสภาสหรัฐ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อดูแลความปลอดภัยในช่วงพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของว่าที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน หลังจากเกิดเหตุจลาจลเมื่อกลุ่มผู้ชมนุมที่สนับสนุนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ บุกเข้าไปในรัฐสภา เมื่อวันที่ 6 มกราคม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 คน และสร้างความเสียหายให้กับอาคารสถานที่และทรัพย์สินจำนวนมาก ว่ากันว่ากองกำลังติดอาวุธจำนวนมากนี้มีจำนวนมากกว่าจำนวนทหารสหรัฐในอิรักและอัฟกานิสถานเสียอีก หลังจากสำนักงานสอบสวนกลาง ( เอฟบีไอ ) มีจดหมายเวียนเป็นการภายใน ให้เจ้าหน้าที่ยกระดับมาตรการจับตา การเตรียมการของกลุ่มขวาจัดติดอาวุธ ซึ่งมีแนวโน้มจะจัดการชุมนุมในทั้ง 50 รัฐ และกรุงวอชิงตันตั้งแต่ปลายสัปดาห์นี้ ต่อเนื่องไปจนถึงวันสาบานตนของไบเดน                                      …

Details

เหตุการณ์ประท้วงสายการบินฯ ท่าอากาศยานนานาชาติอิสลามาบัต เมื่อ 14 พ.ย.61

Loading

  กรุงอิสลามาบัต ปากีสถาน เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2561           กลุ่มผู้โดยสารสายการบินปากีสถานอินเตอร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์ (Pakistan International Airlines : PIA) เที่ยวบิน PK-607 เส้นทาง อิสลามาบัต-กิลกิท ทำการสอบถามเจ้าหน้าที่ประจำท่าอากาศยานนานาชาติอิสลามาบัต ถึงสาเหตุที่เที่ยวบินดังกล่าวต้องเลื่อนการเดินทางออกไปอย่างไม่มีกำหนดเวลา โดยเจ้าหน้าที่ให้เหตุผลการเลื่อนกำหนดครั้งแรกว่ามาจากปัญหาทางเทคนิค และเหตุผลในการเลื่อนกำหนดครั้งที่ 2 มาจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย โดยระหว่างการสอบถามมีทหารประจำท่าอากาศยานเข้ามาร่วมการชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ด้วย   ภาพ : บันทึกโดยผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์         แต่การชี้แจงของเจ้าหน้าที่ไม่เป็นผล ผู้โดยสารเที่ยวบิน PK-607 บางส่วนยังคงไม่พอใจและแสดงท่าทีประท้วง เจ้าหน้าที่สนามบินจึงได้นำเครื่องดับเพลิงมาฉีดสลายการประท้วงดังกล่าว เพื่อยับยั้งไม่ให้สถานการณ์บานปลาย   ———————————————————————————————————-   จัดทำโดย : องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน

Details

กรณีการวางเพลิงรัฐสภาที่กรุงอาซัยซีออง ปารากวัย เมื่อ 1 เมษายน 2560

Loading

จากเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงต่อต้านการลงมติของวุฒิสภาปารากวัย สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประธานาธิบดีแห่งปารากวัยสามารถบริหารประเทศได้หลายสมัย ส่งผลให้การชุมนุมประท้วงขยายความรุนแรงจนกลายเป็นการจลาจล และกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าทำลายและวางเพลิงอาคารรัฐสภาที่กรุงอาซัยซีออง ปารากวัย ในช่วงกลางคืนของวันที่ 31 มีนาคม 2560 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย ของทางการปารากวัยจากการเผยแพร่ภาพของสื่อมวลชนและจาก Social Network สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. คาดว่า หน่วยงานด้านความปลอดภัยของทางการปารากวัยประเมินสถานการณ์การชุมนุมประท้วงการลงมติของวุฒิสภาในครั้งนี้ต่ำเกินไป ต่อเมื่อขยายความรุนแรงจนกลายเป็นการจลาจลจึงไม่ได้เตรียมมาตรการรองรับที่เหมาะสมกับเหตุร้ายที่เกิดขึ้น     1.1 ปรากฎภาพกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนมากบริเวณภายนอกทางเข้าอาคารรัฐสภา ช่วงเย็นวันที่ 31 มีนาคม 2560 ซึ่งยังมิได้แสดงท่าทีให้เห็นว่าจะขยายความรุนแรงเป็นการจลาจล    1.2 เมื่อปรากฏข่าวสารว่า วุฒิสภาบางส่วนทำการหารืออยู่ในอาคารรัฐสภาและลง มติลับสนับสนุนให้แก้ไขบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งได้เพียงสมัยเดียว เป็นผลให้กลุ่มผู้ชุมนุมไม่พอใจอย่างยิ่ง และต้องการขัดขวางการหารือของวุฒิสภา  ผู้ชุมนุมประมาณ 100 คน จึงบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาชั้นล่างแต่ยังมิได้มีการทำลายทรัพย์สินในอาคารรัฐสภา ขณะเดียวกันไม่ปรากฏรายงานข่าวสารว่าฝ่ายรัฐบาล ดำเนินการควบคุมหรือป้องกันใดๆอย่างไรก็ดี รายงานข่าวสารของสื่อมวลชนต่างชาติแจ้งว่า กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้นำเอกสารและวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงมารวมไว้ที่ด้านนอกอาคารรัฐสภา และก่อเพลิงจนลุกไหม้อาคารชั้นล่าง    1.3 การแสดงออกของผู้ชุมนุมขณะเพลิงไหม้อาคารรัฐสภา จะเห็นว่า ผู้ชุมนุมไม่มีความกังวลต่อความผิดจากการก่อการจลาจล ทั้งไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาระงับเหตุที่เกิดขึ้นอีกด้วย  …

Details