ภรรยา กับ ภริยา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

Loading

โดย : พรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา           ราชบัณฑิตยสถานเป็นสถาบันที่ให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนทั่วไปในเรื่องที่เกี่ยวกับภาษาไทย ด้วยเหตุนี้ ในแต่ละวันจึงมีผู้โทรศัพท์มาสอบถามปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยยังราชบัณฑิตยสถานเป็นจำนวนมาก และหนึ่งในคำถามที่นักวรรณศิลป์ (กองศิลปกรรม) จะต้องเจอกันเป็นประจำ คือ คำถามว่า ภรรยา กับ ภริยา ใช้เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร เนื่องจากมักพบการใช้คำว่า ภรรยา กับหญิงที่เป็นคู่ครองของชายซึ่งเป็นบุคคลทั่วไป และมักพบการใช้คำว่า ภริยา กับหญิงที่เป็นคู่ครองของชายซึ่งเป็นบุคคลระดับสูงหรือบุคคลสำคัญ           ดังนั้น ในคอลัมน์องค์ความรู้ภาษาไทยโดยราชบัณฑิตยสถานฉบับนี้ ผู้เขียนจึงขออธิบายให้ได้ทราบถึงความเหมือนและความแตกต่างของสองคำดังกล่าวนี้           ความเหมือนของคำว่า ภรรยา กับ ภริยา คือ เป็นคำนามเหมือนกัน และมีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เหมือนกัน คือ เมีย หญิงที่เป็นคู่ครองของชาย คู่กับสามี  …

LIVE–ลิฟ หรือ ไลฟ์

Loading

โดย : แสงจันทร์ แสนสุภา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา           เวลามีการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬารายการใหญ่ ๆ ทางทีวี เช่น ฟุตบอล เทนนิส กอล์ฟ บนจอทีวีมักจะมีคำว่า LIVE ปรากฏอยู่ มีผู้สอบถามมายังราชบัณฑิตยสถานว่า คำนี้ออกเสียงว่า ไลฟ์ หรือ ลิฟ เข้าใจว่าที่ถามเช่นนี้ คงเป็นเพราะคุ้นเคยกับคำว่า live ที่แปลว่า อยู่ อาศัย           คำว่า live ถ้าเป็นคำกริยา จะออกเสียงว่า ลิฟ แปลเป็นความหมายทั่ว ๆ ไปว่า อยู่ อาศัย แต่ถ้าเป็นคำคุณศัพท์ จะออกเสียงว่า ไลฟ์ แปลว่า แพร่กระจายเสียงทางสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์ โดยไม่มีการบันทึกเทปไว้ก่อน หรือหากเป็นเรื่องของการแสดง ก็เป็นการแสดงต่อหน้าผู้ชม มิใช่การแสดงที่บันทึกเทปไว้ …

ความต่าง “เผยแผ่” กับ “เผยแพร่”

Loading

โดย : สำรวย นักการเรียน สำนักงานราชบัณฑิตยสภา           ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง เช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เอกสารที่ออกมาจากหน่วยงานเหล่านี้มักจะใช้คำว่า “เผยแผ่” มากกว่า “เผยแพร่” มีเหตุผลอะไรซ่อนอยู่เบื้องหลังหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่คำทั้งสองนี้ดูเหมือนจะคล้ายหรือเหมือนกัน และสามารถใช้แทนกันได้           พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า           เผยแผ่ ก. ทำให้ขยายออกไป ขยายออกไป เช่น เผยแผ่พระศาสนา.           เผยแพร่ ก. โฆษณาให้แพร่หลาย เช่น เผยแพร่ความรู้.           คำอธิบายต่อไปนี้เป็นความต่างระหว่าง…

body of knowledge – knowledge – knowledge management (km)

Loading

โดย : จำเรียง  จันทรประภา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา           ศัพท์ภาษาอังกฤษข้างต้นเป็นที่สนใจในวงวิชาการที่ต้องการทราบความหมายอย่างมาก แม้แต่ชื่อในคอลัมน์นี้ ผู้เขียนในฐานะเป็นเลขานุการคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ใคร่ขอเสนอความหมายของศัพท์ดังนี้           คำว่า body of knowledge บัญญัติศัพท์ว่า องค์ความรู้ หมายถึงความรู้ที่ประกอบด้วยมโนทัศน์หลัก โครงสร้างและช่องทางที่จะเข้าถึงความรู้ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในกระบวนการต่อไปนี้ (1) รวบรวม ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งและมีส่วนร่วม (2) ทดลองปฏิบัติ วิเคราะห์และสรุปสาระ (3) เกิดแนวคิด เนื้อหาและแนวทางพัฒนา เรียกว่า ความรู้ (4) การสังเคราะห์ แนวคิด เนื้อหา แนวทาง บูรณาการมาเป็นความรู้ในระดับสูงขึ้น           คำว่า knowledge บัญญัติศัพท์ว่า ความรู้ หมายถึง สาระ ข้อมูล แนวคิด หลักการ…

“ระเบียบวาระแห่งชาติ”

Loading

โดย : สุปัญญา  ชมจินดา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา           คำว่า “ระเบียบวาระการประชุม” หมายถึง “ลำดับรายการที่กำหนดไว้ในการประชุมแต่ละครั้ง” มักมีผู้นำมาใช้เป็นภาษาปากในรูปย่อว่า “วาระการประชุม”  ทำให้เข้าใจกันไปว่าคำว่า “วาระ” และ “ระเบียบวาระ” มีความหมายเหมือนกันและใช้แทนกันได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ยังคลาดเคลื่อน ทั้งนี้เพราะ “วาระ” กับ “ระเบียบวาระ” มีความหมายต่างกัน และ “ระเบียบวาระการประชุม” ก็มิอาจใช้คำว่า “วาระการประชุม” แทนได้  ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าคำว่า “ระเบียบวาระ” ใช้คำว่า “วาระ” แทนได้ จึงทำให้มีการใช้คำว่า “วาระแห่งชาติ” เพื่อสื่อความหมายถึงคำว่า “ระเบียบวาระแห่งชาติ” ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เพราะ “ระเบียบวาระแห่งชาติ” ไม่อาจใช้คำว่า “วาระแห่งชาติ” แทนได้ เพราะจะทำให้การสื่อความหมายผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป   ราชบัณฑิตยสถานโดยคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ได้พิจารณาเรื่องคำดังกล่าวไว้แล้วว่าคำว่า “วาระ” และ “ระเบียบวาระ” มีความหมายต่างกัน กล่าวคือ “วาระ”…