“สำนักนายกฯ” จ้าง 10 ล้าน ออกแบบพัฒนา “บิ๊กดาต้า” รองรับภารกิจ สร.1 ด้านต่างประเทศ

Loading

  เปิดสเปก “บิ๊กดาต้า” มูลค่ากว่า 10 ล้าน เน้นระบบ AI พัฒนาภารกิจนายกรัฐมนตรี ด้านการต่างประเทศ “สำนักนายกฯ” จัดงบฯ ออกแบบรองรับรัฐบาลใหม่ ใช้ทำรายงานวิเคราะห์สถานการณ์ระหว่างประเทศ ภารกิจเยือน-เข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศ-ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง-หารือข้อราชการเต็มคณะ รวมถึงจัดทำข้อมูลประกอบการสนทนากับประมุขและบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ   วันนี้ (22 มิ.ย.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) เผยแพร่ ประกาศประกวดราคาจ้างจัดทำ “ฐานข้อมูล “บิ๊กดาต้า” ภารกิจนายกรัฐมนตรี ด้านการต่างประเทศ” จำนวน 1 ระบบ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)   พบว่า เป็นโครงการของ กองการต่างประเทศ สลน. กำหนดราคากลาง วงเงิน 9,232,634 บาท จากงบประมาณ ปี 2566 ที่ได้รับจัดสรร 9,849,700 บาท เพื่อว่าจ้างคณะทำงานเพื่อออกแบบและพัฒนา “บิ๊กดาต้า” ในระยะเวลา 300 วัน…

เตือน! ระวังเว็บไซต์ปลอมเลียนแบบระบบจองคิว “กรมขนส่ง”

Loading

    “กรมการขนส่งทางบก” เตือนระวังเว็บไซต์ปลอมเลียนแบบระบบจองคิว ย้ำ! ให้จองคิวผ่านเว็บไซต์ที่ลิงก์ https://gecc.dlt.go.th/login หรือ แอปพลิเคชัน DLT Smart Queue ที่โหลดผ่าน Official Store (Play Store หรือ App store) เท่านั้น   นายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และโฆษก ขบ. เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีกลุ่มมิจฉาชีพได้ทำการสร้างเว็บไซต์ปลอมเลียนแบบระบบจองคิวของ ขบ. มาหลอกลวงประชาชน โดยจะใช้ชื่อเว็บไซต์ https://dlt-license.com/login และเมื่อทำการกรอกข้อมูลเพื่อเข้าสู่ระบบฯ และกดปุ่มลงทะเบียน หรือกดปุ่มลืมรหัสผ่าน เว็บไซต์ปลอมดังกล่าวจะแสดงภาพหน้าจอเพื่อให้ทำการแอดไลน์ ขบ. ขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อเข้าเว็บไซต์ปลอมดังกล่าว หรือกรอกข้อมูลส่วนบุคคลเด็ดขาด เพราะเสี่ยงถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางเสียหายและอาจสูญเสียทรัพย์สิน   ทั้งนี้ย้ำว่าหากประชาชนต้องการจองคิวทำธุรกรรมต่างๆ กับ ขบ. เช่น ทำใบขับขี่ใหม่ ต่อใบขับขี่ ทำใบขับขี่ระหว่างประเทศ การจดทะเบียนรถ ตรวจสภาพรถ ฯลฯ สามารถจองคิวออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบกที่ถูกต้องได้ที่ลิงก์ https://gecc.dlt.go.th/login…

ผบ.ตร. นั่งหัวโต๊ะถกเข้ม แลกเปลี่ยนข้อมูลหน่วยงานเกี่ยวข้อง วางระบบป้องกันแก้ไขปัญหาภัยออนไลน์

Loading

  ผบ.ตร. นั่งหัวโต๊ะถกเข้ม แลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง วางระบบป้องกัน แก้ไขปัญหาภัยออนไลน์ พัฒนาระบบรับส่งข้อมูล ผ่านระบบ Banking   วันที่ 22 มิ.ย.66 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 1/2566 โดยมีนายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นรองประธาน พร้อมผู้แทน สำนักงานศาลยุติธรรม , สำนักงานอัยการสูงสุด , ปปง., กรมสอบสวนคดีพิเศษ , ธนาคารแห่งประเทศไทย , สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ , กสทช., สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ , ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย และผู้ทรงคุณวุฒิอีก 4 ท่าน เป็นอนุกรรมการ   โดยสาระสำคัญในครั้งนี้ ได้วางมาตรการตรวจสอบ พฤติการณ์เหตุอันควรสงสัยที่เกี่ยวข้องกับบัญชีม้า ธุรกรรมต้องสงสัย ซิมม้า การสื่อสารที่ใช้หลอกลวงประชาชน เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันมิให้เกิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้ในเชิงรุก และหารือเรื่องระบบ ช่องทาง และ วิธีการ…

Group-IB เตือนแฮ็กเกอร์ได้ล็อกอิน ChatGPT ไปมากขึ้นเรื่อยๆ

Loading

  บริษัทความปลอดภัยไซเบอร์ Group-IB ออกรายงานเหตุข้อมูลรั่วไหลจากมัลแวร์ขโมยข้อมูล พบว่า ช่วงหลังมัลแวร์ที่อาละวาดหนักๆ 3 ตัว คือ Raccoon , Vidar , และ Redline ดึงข้อมูลล็อกอิน ChatGPT ไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามความนิยมในบริการ โดยรวมพบล็อกอิน ChatGPT หลุดกว่าแสนรายการแล้ว   ไม่มีข้อมูลว่ามัลแวร์เหล่านี้มุ่งดึงข้อมูลเว็บ ChatGPT เป็นการเฉพาะ แต่การใช้งาน ChatGPT ในช่วงหลังเกี่ยวกับงานมากขึ้นเรื่อยๆ รายงานนี้ก็เป็นเครื่องเตือนใจว่าควรดูแลความปลอดภัย ChatGPT ให้ดี และรีเซ็ตรหัสผ่านหากมีเหตุข้อมูลรั่วไหล การตั้งค่าเริ่มต้นของ ChatGPT จะเก็บประวัติการแชตเป็นค่าเริ่มต้น หากพนักงานใส่ข้อมูลที่เป็นความลับในแชตก็อาจจะทำให้ข้อมูลเหล่านี้หลุดไปยังคนร้ายด้วย ที่มา – Group-IB   ——————————————————————————————————————————————————————————   ที่มา : blognone     /     วันที่เผยแพร่ 21 มิ.ย.66 Link : https://www.blognone.com/node/134461

นายกฯ ห่วงภัยไซเบอร์ย้ำทุกกระทรวง-หน่วยงานภาครัฐ เฝ้าระวังป้องกันหากตรวจพบต้องรีบชี้แจงให้ข้อมูลที่ถูกต้อง

Loading

  โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ห่วงภัยอาชญากรรมทางไซเบอร์ ย้ำทุกกระทรวง-หน่วยงานภาครัฐ เฝ้าระวังป้องกันต่อเนื่องใกล้ชิด หากตรวจพบข้อมูลเท็จ ต้องรีบชี้แจงให้ข้อมูลที่ถูกต้องโดยเร็ว ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน   วันที่ 21 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมห่วงใยกรณีที่ขณะนี้พบปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์หลากหลายรูปแบบมากขึ้น ทั้งการทุจริตหลอกลวงที่เกิดขึ้นบนโลกอินเทอร์เน็ตและช่องทางออนไลน์ประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย หรือแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ เช่น ล่าสุดกรณีมิจฉาชีพส่ง SMS หลอกลวง อ้างชื่อกรมการจัดหางาน แจ้งผู้ประกันตนได้รับเงินชดเชย 2,000 บาท ระหว่างว่างงาน รวมถึงกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลเท็จผ่านสื่อออนไลน์ ระบุรัฐบาลทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี 5,000 บาท ในเดือน มิ.ย. 66 ฯลฯ จึงเน้นย้ำให้ทุกกระทรวงและทุกหน่วยงานของภาครัฐ เฝ้าระวังป้องกันปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เกิดอย่างต่อเนื่องใกล้ชิด หากตรวจสอบพบข้อมูลอันเป็นเท็จ ให้ทุกหน่วยงานรีบแก้ไขปัญหาและชี้แจงให้ข้อมูลที่ถูกต้องให้ประชาชนและสังคมรับทราบโดยเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเผยแพร่ข้อมูลหรือข่าวสารที่เป็นเท็จขยายวงกว้างเพิ่มขึ้น อันจะส่งผลเสียหายต่อประชาชนทั้งชีวิตและทรัพย์สิน   นายอนุชาฯ กล่าวว่าสำหรับการป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ อีกหนึ่งแนวทางสำคัญคือ…

Meta โชว์ Voicebox ปัญญาประดิษฐ์สร้างเสียงจากข้อความ , เลียนแบบเสียงใครก็ได้โดยใช้ตัวอย่างแค่สองวินาที

Loading

  ทีมวิจัย Meta AI รายงานถึงปัญญาประดิษฐ์ Voicebox ที่แปลงข้อความเป็นเสียง (text-to-speech – TTS) ด้วยความแม่นยำสูง มีอัตราความผิดพลาดของคำต่ำ และยังสามารถเลียนแบบเสียงใครก็ได้ โดยต้องการตัวอย่างเสียงเพียงสั้นๆ เท่านั้น   ทีมงานสร้าง Voicebox จากหนังสือเสียงภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส, สเปน, เยอรมนี, และโปรตุเกส รวมข้อมูล 50,000 ชั่วโมง ความสามารถของ Voicebox สามารถเลียนแบบเสียงจากตัวอย่างเสียงสั้นๆ เท่านั้น , สามารถเลียนแบบสไตล์การพูดข้ามภาษาได้ ด้วยการใส่ข้อความภาษาอื่นๆ เข้าไปแม้ว่าตัวอย่างเสียงจะพูดอีกภาษา , ใช้ลบเสียงรบกวนและตัดต่อข้อความได้ โดยการตัดช่วงเวลาที่ไม่ต้องการออกจากตัวอย่าง แล้วใส่แต่ข้อความเข้าไป   Voicebox มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น การสร้างเสียงเพื่อทดแทนสำหรับผู้ป่วยที่พูดไม่ได้แล้ว ให้สามารถสื่อสารด้วยเสียงเดิมของตัวเอง แต่ Meta AI ก็ยอมรับว่ามันมีอันตรายมาก เพราะสามารถใช้สร้างข่าวปลอมได้หลากหลาย ในอนาคตทีมงานจะสร้างโมเดลที่สมจริงแต่ตรวจสอบได้ง่ายว่าเป็นเสียงที่สังเคราะห์ขึ้นมา   ที่มา – Meta AI…