ก.ดีอีเอส เตรียมดันให้หน่วยงานใช้ระบบคลาวด์ พร้อมตั้งศูนย์ลดการโกงดิจิทัล

Loading

  ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) อัปเดตว่ากำลังพัฒนาระบบ Digital Identification (Digital ID) ภายใต้โครงการ ThaiD พร้อมยังระบุว่ากำลังผลักดัน Go Cloud First สร้างระบบคลาวด์ในประเทศ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนสามารถใช้งานได้   ดีอีเอสยังอัปเดตในส่วนของมาตรการลดการหลอกลวงทางออนไลน์ หลังจากที่มีการบังคับใช้ พ.ร.ก. ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้จำนวนการแจ้งความคดีออนไลน์จาก 800 คดี เหลือประมาณ 600 คดีต่อวัน   เป้าหมายต่อไป ดีอีเอสกำลังร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ในการพัฒนาศูนย์ลดการโกงดิจิทัลเรียกว่าระบบ “Central Fraud Registry” เป็นแพลตฟอร์มรองรับการทำธุรกรรมผ่านธนาคาร ช่วยแก้ปัญหาการถูกหลอกลวงและช่วยหยุดการโกงและลดการสูญเสียผ่านออนไลน์   ทางกระทรวงดีอีเอสพยายามเพิ่มช่องทางให้ประชาชนเห็นข้อมูลรูปแบบกลโกงมิจฉาชีพผ่านการร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ , ธนาคาร , การศึกษา ผ่านโครงการ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน รู้ทันกลโกง ที่พึ่งเปิดตัวเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อให้ธนาคารมีอำนาจในการหยุดยับยั้งได้เร็วขึ้นเมื่อธนาคารได้รับการแจ้งจากเจ้าของบัญชี รวมไปถึงสร้างการรับรู้ผ่านการแจ้งเตือนในแอปเป๋าตังและแอปธนาคาร ถึงแม้ว่าตอนนี้การหลอกลวงใหม่ๆ จะเกิดขึ้น…

Microsoft เผยแฮ็กเกอร์ที่เชื่อมโยงกับจีนเข้าถึงอีเมลของรัฐบาลตะวันตก

Loading

  Microsoft เผยแฮ็กเกอร์ที่เชื่อมโยงกับจีนได้เข้าถึงบัญชีอีเมลของหน่วยงานและองค์กรของรัฐบาลตะวันตกในแคมเปญจารกรรมทางไซเบอร์   Microsoft ออกแถลงการณ์เมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์ชื่อ Storm-0558 ได้ปลอมแปลงโทเค็นการตรวจสอบสิทธิ์ดิจิทัลเพื่อเข้าถึงบัญชีเว็บเมลที่ทำงานบนบริการ Outlook ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม   “ Microsoft ได้ติดต่อองค์กรที่เป็นเป้าหมายหรือถูกบุกรุกทั้งหมดโดยตรงผ่านทางผู้ดูแลระบบ และให้ข้อมูลที่สำคัญแก่พวกเขาเพื่อช่วยในการตรวจสอบและแก้ปัญหา” บริษัทกล่าวในแถลงการณ์ พร้อมเสริมว่า “ฝ่ายตรงข้ามมุ่งเน้นไปที่การจารกรรม” รวมถึงการเข้าถึงอีเมลเพื่อรวบรวมข้อมูลข่าวกรอง   อย่างไรก็ตาม Microsoft ไม่ได้ระบุว่าองค์กรหรือประเทศใดบ้างที่ได้รับผลกระทบ แต่ระบุว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์ดังกล่าวมีเป้าหมายหลักคือหน่วยงานในยุโรปตะวันตก   บริษัทกล่าวว่ากำลังทำงานร่วมกับกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ และหน่วยงานความปลอดภัยทางไซเบอร์และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อ “ปกป้องลูกค้าที่ได้รับผลกระทบและแก้ไขปัญหา”   Adam Hodge โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาวกล่าวว่าการบุกรุกในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ของ Microsoft นั้น “ส่งผลกระทบต่อระบบที่ไม่ได้เป็นชั้นความลับ” โดยไม่ได้อธิบายเพิ่มเติม   “เจ้าหน้าที่ติดต่อ Microsoft ทันทีเพื่อค้นหาแหล่งที่มาและช่องโหว่ในบริการคลาวด์ของพวกเขา”   ด้านเจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาวกล่าวว่า สหรัฐฯ ตรวจพบการละเมิดบัญชีของรัฐบาลกลาง “ค่อนข้างเร็ว” และกำลังสืบสวนเรื่องนี้   แต่จีนปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยเรียกสหรัฐฯ ว่า “อาณาจักรแฮ็คที่ใหญ่ที่สุดในโลกและหัวขโมยไซเบอร์ระดับโลก”   โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน…

แฮ็กเกอร์รัสเซียใช้โฆษณาหลอกขายรถราคาถูก หวังเจาะคอมฯ นักการทูตในยูเครน

Loading

  พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ก บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระบุในรายงานในวันนี้ (12 ก.ค.) ว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ต้องสงสัยว่าทำงานให้กับหน่วยข่าวกรองรัสเซีย ได้มุ่งเป้าไปที่นักการทูตหลายสิบคนตามสถานทูตต่าง ๆ ในยูเครนด้วยการโฆษณารถยนต์มือสองปลอมเพื่อพยายามที่จะเจาะเข้าไปในคอมพิวเตอร์ของพวกเขา   นักวิเคราะห์จากฝ่ายวิจัยยูนิต 42 ของพาโล อัลโต เน็ตเวิร์กระบุว่า ปฏิบัติการจารกรรมอย่างกว้างขวางได้มุ่งเป้าไปที่นักการทูตซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในคณะผู้แทนทางการทูตอย่างน้อย 22 กลุ่มจากประมาณ 80 กลุ่มในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน   รายงานระบุว่า “การจารกรรมดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นจากอีเวนต์ที่ไม่มีอันตรายและเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยในช่วงกลางเดือน เม.ย. 2566 นักการทูตคนหนึ่งภายในกระทรวงการต่างประเทศโปแลนด์ได้ส่งอีเมลใบปลิวที่ถูกต้องตามกฎหมายให้แก่สถานทูตต่าง ๆ เพื่อโฆษณาการขายรถยนต์ซีดานบีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 5 ที่จัดขึ้นในกรุงเคียฟ”   ทั้งนี้ นักการทูตโปแลนด์คนดังกล่าวได้ยืนยันว่า โฆษณาของเขามีส่วนถูกใช้ในการบุกรุกทางดิจิทัลจริง โดยบริษัทระบุว่า แฮ็กเกอร์ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ APT29 หรือ “Cozy Bear” ได้เข้าแทรกแซงและคัดลอกใบปลิวดังกล่าว ก่อนจะฝังซอฟต์แวร์ปองร้าย และส่งต่อให้กับนักการทูตหลายสิบคนที่ทำงานอยู่ในกรุงเคียฟ   รายงานระบุว่า “การกระทำดังกล่าวนับว่าน่าตกใจอย่างยิ่ง โดยปกติแล้วปฏิบัติการภัยคุกคามขั้นสูง (APT) จะมีขอบเขตที่แคบและเป็นความลับ”…

ข้อมูลลูกค้าสำนักงานกฎหมายระดับโลกอาจรั่ว หลัง CL0P อาละวาดหนัก

Loading

  ข้อมูลลูกค้าของ Kirkland & Ellis, K&L Gates และ Proskauer Rose สำนักงานกฎหมายชั้นนำของสหรัฐอเมริกาอาจหลุดรั่ว หลังโดนแฮ็กครั้งใหญ่   ผู้ที่อ้างว่าอยู่เบื้องหลังคือกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ชื่อว่า Lance Tempest ที่มีส่วนเชื่อมโยงกับแฮ็กเกอร์ระดับโลกอย่าง CL0P ซึ่งอ้างว่าได้โจมตีบริษัทข้ามชาติอีก 50 แห่งไปด้วยเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา   การแฮ็กดังกล่าวเกิดจากการเจาะผ่านช่องโหว่ของ MOVEit ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่หลายองค์กรทั่วโลกใช้ในการส่งไฟล์   สำหรับ CL0P เป็นกลุ่มที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลรัสเซีย มักจะรีดไถเงินจากเหยื่อเป็นจำนวนหลายล้านเหรียญ และมักจะโจมตีในช่วงวันหยุดยาว   เบรตต์ คัลโลว (Brett Callow) ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ชี้ว่าการแฮ็กครั้งนี้อาจมีผู้เสียหายสูงถึง 16 ล้านคน โดยบรรดาองค์กรที่ถูกแฮ็กมีทั้งมหาวิทยาลัย ธนาคาร และบริษัทประกัน   เมื่อเดือนที่แล้ว กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ตั้งค่าหัวมูลค่า 10 ล้านเหรียญ (ราว 351 ล้านบาท) แก่ผู้แจ้งเบาะแสของกลุ่มดังกล่าว     ที่มา…

2 แอปบน Google Play ที่มียอดดาวน์โหลด 1.5 ล้าน ที่แท้เป็นสปายแวร์ขโมยข้อมูล

Loading

    Pradeo บริษัทด้านความมั่นคงไซเบอร์ พบกับ 2 แอปบน Play Store ที่จริง ๆ แล้วเป็นสปายแวร์ขโมยข้อมูล แต่มียอดดาวน์โหลดกว่า 1.5 ล้านครั้ง   2 แอปนี้มีชื่อว่า File Recovery and Data Recovery (com.spot.music.filedate) ที่มียอดติดตั้ง 1 ล้านครั้ง และ File Manager (com.file.box.master.gkd) ที่มียอดดาวน์โหลด 500,000 ครั้ง ซึ่งทั้ง 2 แอปมีผู้พัฒนาเจ้าเดียวกัน   วิธีการทำงานของแอปทั้ง 2 ตัวคือจะหลอกว่าเป็นแอปสำหรับการจัดการและกู้คืนไฟล์ และยังหลอกด้วยว่าไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้   แต่จากการวิเคราะห์ของ Pradeo พบว่าทั้ง 2 แอปนี้เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้อย่าง รายชื่อผู้ติดต่อ ข้อมูลผู้ให้บริการเครือข่าย โค้ดเครือข่าย SIM เวอร์ชันระบบปฏิบัติการ ยี่ห้อและโมเดลของอุปกรณ์ และส่งไปยังบรรดาเซิร์ฟเวอร์ในจีนเป็นจำนวนมหาศาล…

Toyota Motor จะระงับการดำเนินงานบางส่วน หลังเหตุโจมตีไซเบอร์ต่อท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น

Loading

    Toyota Motor จะระงับการดำเนินงานในสายแพ็กเกจจิงของชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อการส่งออก หลังมีเหตุโจมตีทางไซเบอร์ต่อท่าเรือนาโกยา ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น   บริษัทชี้ว่าจะตัดสินใจว่าจะกลับมาดำเนินงานอีกครั้ง โดยดูจากความสามารถในการทำงานของท่าเรือฯ และชี้ว่ายังไม่เห็นว่าจะมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์ทั้งในและต่างประเทศ   ท่าเรือนาโกยา อยู่ในภาคกลางของญี่ปุ่น เป็นที่ส่งออกรถยนต์ส่วนใหญ่ของญี่ปุ่น แต่ต้องเผชิญกับการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทำให้ไม่สามารถขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์จากรถบรรทุกได้   การโจมตีดังกล่าวยังก่อให้เกิดความบกพร่องในระบบและทำให้การขนส่งล่าช้าไปมากกว่า 2 วันแล้ว   โดยสำนักงานการท่านาโกยาชี้ว่าระบบของท่าเรือได้กลับมาทำงานบางส่วนในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา แต่กว่าจะทำงานได้ตามปกติก็ล่วงไปถึงเย็นแล้ว ซึ่งถือว่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้มาก         ที่มา Deccan Herald         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                           …