ฟ้อง! OpenAI ใช้ข้อมูลสาธารณะฝึก ChatGPT

Loading

    กลุ่มบุคคลนิรนามบริษัท โอเพ่นเอไอ (OpenAI) ฐานใช้ข้อมูลสาธารณะเพื่อฝึกปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) อย่างแชตจีพีที (ChatGPT)   ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) ชื่อดังอย่าง แชตจีพีที (ChatGPT) ของบริษัท โอเพ่นเอไอ (OpenAI) กลายเป็นดราม่าอีกครั้ง เมื่อกลุ่มบุคคลนิรนามรวมตัวกันเพื่อฟ้องร้องบริษัท โอเพ่นเอไอ ต่อศาลแขวงของสหรัฐอเมริกา เขตทางตอนเหนือของแคลิฟอร์เนีย ฐานใช้ข้อมูลสาธารณะเพื่อฝึกเอไอ ซึ่งละเมิดกฎหมายความเป็นส่วนตัว     คำฟ้องของกลุ่มคนนิรนาม   โดยกลุ่มบุคคลนิรนามระบุเอกสารในการยื่นฟ้องว่าบริษัท โอเพ่นเอไอได้คัดลอกข้อความบนอินเทอร์เน็ตกว่า 3 แสนล้านคำ เพื่อฝึกเอไอ ซึ่งเป็นข้อมูลสาธารณะที่อยู่บนวิกิพีเดีย (Wikipedia) และบนเฟซบุ๊ก (Facebook)   “แม้จะมีสนธิสัญญาชั้นต้นที่กำหนดไว้สำหรับการซื้อและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล แต่จำเลยกลับใช้วิธีการที่แตกต่างออกไป นั่นคือการโจรกรรม พวกเขาคัดแยกคำศัพท์ 3 แสนล้านคำจากอินเทอร์เน็ต, หนังสือ, บทความ, เว็บไซต์และโพสต์ รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้มาโดยไม่ได้รับความยินยอม” – ข้อความที่ระบุไว้ในเอกสารยื่นฟ้องที่มีความยาวกว่า 157 หน้า   โดยกลุ่มผู้ฟ้องร้องได้อ้างถึงพระราชบัญญัติการฉ้อฉลและการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นกฎหมายต่อต้านการแฮ็กของรัฐบาลกลาง…

หายนะแน่ ! GISTDA เตือน เอกชนควรเตรียมพร้อมรับ พายุสุริยะ เหลือเวลาอีก 730 วัน

Loading

    GISTDA เตือนเอกชนเร่งหาทางป้องกัน “พายุสุริยะ” ที่เกิดขึ้นทุก 11 ปี คาดรอบนี้ค่อนข้างรุนแรงพร้อมยันเน็ตล่มแน่ หากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนสัญญาณหนักจนโรงไฟฟ้าระเบิด   ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ GISTDA (จิสด้า) กล่าวในรายการสปริง ดิจิทัลไลฟ์ อัปเดต ที่จะออกอากาศในวันที่ 6 ก.ค.66 นี้ ว่า จากข้อมูลที่นาซาแจ้งเตือนมานั้น หากย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ให้มาพบว่า ปัญหาพายุสุริยะนี้ จะวนมาเกิดขึ้นทุก 11 ปี ในรูปแบบลมสุริยะและจะเกิดซ้ำอีก   ทั้งนี้ ลมสุริยะ จะเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กอย่างรวดเร็วกลายเป็นพายุสนามแม่เหล็ก ส่งผลกระทบให้ระบบการสื่อสาร คลื่นความถี่สูงและต่ำหาย ไม่สามารถใช้งานเครือข่ายและไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้   ส่งผลกระทบต่อดาวเทียมสื่อสาร ทำให้โทรศัพท์มือถือไม่สามารถใช้งานได้ แต่อาจไม่ถึงขั้นส่งผลให้ตัวเครื่องระเบิด แต่ถ้าเป็นกรณีที่ร้ายแรงแบบสุด ๆ คือเกิด พายุแม่เหล็กโลก หรือ Geomagnetic strom ที่จะรุนแรงจนเกิดกระแสเหนี่ยวนำ ทำให้โรงงานไฟฟ้าระเบิดได้   หากถามว่าปัญหานี้น่ากลัวไหม ต้องบอกว่า ต้องเตรียมพร้อมรับมือและวางแผนแก้ไขปัญหาล่วงหน้า…

RDP Honeypot อ่วม ถูกบุกโจมตี 3.5 ล้านครั้ง (จบ)

Loading

    สัปดาห์ที่แล้วผมได้เล่าถึงระบบโดยรวมของ Honeypot และวิธีการในการโจมตีรวมถึงการที่แฮ็กเกอร์ใช้ username และ รหัสผ่านในหลากหลายรูปแบบเพื่อเข้าสู่ระบบ วันนี้เราจะมาตามกันต่อในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแฮ็กระบบนะครับ   จากความพยายามของแฮ็กเกอร์ที่รวบรวมข้อมูลของเหยื่อเพื่อเข้าสู่ระบบนั้น จึงมีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ เมื่อมีการเชื่อมโยงสถิติเหล่านี้กับการโจมตี IP address แล้วพบว่าชื่อ RDP certificate ถูกใช้เฉพาะในการพยายามเข้าสู่ระบบจาก IP address ในประเทศจีนถึง 98% และรัสเซีย 2%   ซึ่งนี่ไม่ได้หมายความว่าแฮ็กเกอร์จะมาจากทั้ง 2 ประเทศ แต่สามารถสื่อได้ว่าพวกเขาใช้โครงสร้างพื้นฐานจากทั้ง 2 ประเทศ และอีกหนึ่งข้อสังเกตคือมีแฮ็กเกอร์จำนวนประมาณ 15% ที่ได้ใช้รหัสผ่านหลายพันอันกับ username เพียง 5 ชื่อเท่านั้น   แฮ็กเกอร์จะปฏิบัติการโดยเริ่มจากการสอดแนมภายในระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อหาข้อมูลที่สำคัญและที่มีมูลค่าอีกทั้งปริมาณการแฮ็กมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเห็นได้ชัด   จุดนี้เองทำให้นักวิจัยจึงตัดสินใจจัดทำแผนผัง (heat map) เพื่อแสดง IP address ที่กำหนดให้ Honeypot เป็นเป้าหมายในการโจมตีและแสดงให้เห็นว่ามีลักษณะการบุกโจมตีเป็นแบบรายวันโดยมีช่วงหยุดชั่วคราวซึ่งหมายความว่าแฮ็กเกอร์จะหยุดพักการโจมตี…

“ควอนตัม” เทคโนโลยีอัจฉริยะ กำลังมา“ดิสรัปชั่น”โลกดิจิทัล!!

Loading

    ถือเป็นเทคโนโลยีที่ต้องจับตานับต่อจากนี้สำหรับ  “ควอนตัม เทคโนโลยี” (Quantum Technology) ที่มีการคาดการณ์กันว่าจะเป็นเทคโนโลยี ที่จะมา “เปลี่ยนโลก” และทำให้เกิดการ “ดิสรัปชั่น” ของดิจิทัล เทคโนโลยี    ส่งผลให้เกิดเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ อุตสาหกรรม รวมถึงอาจจะส่งผลกระทบในเรื่อง “ไซเบอร์ ซีเคียวริตี้” ด้วย จึงถือเป็นเทคโนโลยีที่มีทั้งด้านบวกและลบ!?!   วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับ “ควอนตัม”  จาก “ดร.จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ควอนตัม เทคโนโลยี ฟาวเดชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ที่เป็น “กูรู” เรื่องนี้  และเป็นนักเรียนทุนรัฐบาล ที่จบปริญญาเอกด้าน “ควอนตัม คอมพิวติ้ง”    ดร.จิรวัฒน์ บอกว่า เราผ่านยุค “อนาล็อก” ในอดีต มาเข้าสู่ยุค “ดิจิทัล” ในปัจจุบัน และอนาคตกำลังจะเข้าสู่ยุค “ควอนตัม”  ซึ่งเป็นเทคโนโลยที่แตกต่างและเป็นคนละเทคโนโลยีกัน ซึ่ง…

กลุ่ม Hacktivist จากประเทศกัมพูชาประกาศปฏิบัติการ “OpThailand” โจมตีทางไซเบอร์ต่อประเทศไทยสางแค้นปมสร้างวัดเลียนแบบ

Loading

    ศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ด้านโทรคมนาคม (TTC-CERT) ตรวจพบข้อมูลจาก channel บน Telegram จำนวนหลายกลุ่มซึ่งคาดว่าเป็นกลุ่มแฮ็กเกอร์ประเภท Hacktivist จากประเทศกัมพูชา ได้แก่ “Anonymous Cambodia” “K0LzSec” “CYBER SKELETON” และ “NDT SEC” ได้ประกาศปฏิบัติการ “OpThailand” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการโจมตีทางไซเบอร์ต่อองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวไม่พอใจกรณีที่ประเทศไทยได้สร้างวัดแห่งหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกับนครวัดของประเทศกัมพูชา โดยกลุ่มดังกล่าวได้ประกาศว่าจะทำการโจมตีเว็บไซต์ขององค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย ด้วยวิธีการ Distributed Denial of Service (DDoS) รวมถึงการขโมยข้อมูลต่าง ๆ ขององค์กรเป้าหมายเพื่อนำมาเผยแพร่ต่อสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยการโจมตีเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ประมาณวันที่ 29 มิ.ย.66 ซึ่งยังคงมีการปฏิบัติการอยู่จนถึง ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ (3 ก.ค.66 เวลา 17.00 น.)     จากข้อมูลที่ศูนย์ TTC-CERT ตรวจพบเบื้องต้น พบว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์ทำการโจมตีแบบ…

‘มาครง’ โทษโซเชียลปลุกกระแสจลาจลในฝรั่งเศส เตรียมใช้อำนาจรัฐ ‘จัดการคอนเทนต์’ ปลุกปั่น!!

Loading

  (3 ก.ค. 66) เอมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศสเดือดจัด ออกมากล่าวโทษสื่อโซเชียล อาทิ Tiktok , Snapchat และอื่นๆ เป็นตัวการสุมเชื้อไฟความรุนแรงในฝรั่งเศสที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ที่มีต้นเหตุจากคดีตำรวจฝรั่งเศสยิงนาย นาเฮล เอ็ม วัยรุ่นชายเชื้อสายแอลจีเรียวัย 17 ปีเสียชีวิต   โดยคลิปข่าว และการปลุกระดมจากคดีของ นาเฮล ถูกส่งต่อจนกลายเป็นไวรัลทั่วโลกโซเชียลในฝรั่งเศส ก่อให้เกิดความไม่พอใจในชุมชนคนกลุ่มน้อย และกลุ่มผู้อพยพ ลุกขึ้นมาประท้วงเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่นาเฮล จนกลายเป็นจลาจลวุ่นวายไปทั่วประเทศ และทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ‘พฤติกรรมเลียนแบบ’ ชักชวนกันออกมาป่วนตามกระแสจากโซเชียล รวมถึงเกมออนไลน์ที่แฝงความรุนแรง เป็นแรงเสริมให้เกิดพฤติกรรมป่วนบ้าน ป่วนเมืองในกลุ่มเยาวชน วัยรุ่น   มาครง ถึงขั้นใช้คำว่า เด็กๆ พวกนี้ โดน “ล้างสมอง” จากการเสพคอนเทนต์ หรือ เกมออนไลน์ ที่ยุยงให้เกิดความรุนแรงจนกลายเป็นปัญหาสังคม เห็นทีต้องเร่งประสานงานกับเหล่าบรรดาสื่อโซเชียลให้กำจัด “เนื้อหาที่มีความละเอียดอ่อน” และขอให้ระบุตัวตนของผู้ใช้ที่เผยแพร่ ปลุกระดม ให้เกิดความรุนแรงในสถานการณ์ที่เป็นอยู่นี้ ซึ่งผู้นำฝรั่งเศสไม่ได้เอ่ยออกมาตรงๆ ว่า “เนื้อหาที่มีความละเอียดอ่อน”…