กรมประชาฯ เจอดี มิจฉาชีพทำเพจปลอม “ข่าวจริงประเทศไทย” ล้วงตับชาวเน็ต

Loading

  ทีมงานข่าวจริงประเทศไทย สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ แจ้งความเอาผิดกับคนที่ทำเพจปลอมเลียนแบบ ทักแชตแล้วอ้างศูนย์ดำรงธรรม ให้ส่งข้อมูลไปที่ไอดีไลน์และลิงก์ ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ   เมื่อ 3 มิ.ย. รายงานข่าวแจ้งว่า ทีมงานข่าวจริงประเทศไทย สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ ได้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่แอบอ้างกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ หลังจากที่มีเพจเฟซบุ๊กใช้ชื่อเลียนแบบว่า “ข่าวจริงประเทศไทย” สร้างขึ้นเมื่อเดือน เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา มีผู้ติดตาม 379 คน   สำหรับพฤติกรรมของเพจเลียนแบบก็คือ เมื่อเข้าไปที่กล่องข้อความแล้วพิมพ์ข้อความ จะมีข้อความอัตโนมัติ ระบุว่า “สวัสดีครับ ผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีออนไลน์ สามารถแจ้งหรือร้องทุกข์ได้ที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรม Line : … (ขอสงวนไอดีไลน์) คลิก : … (ขอสงวนลิงก์) ส่งหลักฐานประวัติการสนทนาและสลิปที่ถูกหลอกลวงหรือฉ้อโกงให้เจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมเพื่อดำเนินการสืบสวนขยายผลดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้นะครับ” ซึ่งเป็นไอดีไลน์ปลอม   พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ให้ข้อมูลว่า กลุ่มคนร้ายมักจะดำเนินการในลักษณะดังกล่าว ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ หากคลิกลิงก์หรือแอดไลน์…

ฮือฮา!! พันเอกเผยกองทัพสหรัฐฯ แอบทดสอบลับใช้ AI บังคับ “โดรน” โจมตีไซต์ SAM พบเจอรูปแบบสุดโหดหันไปโจมตี “มนุษย์คนควบคุม”

Loading

ภาพประกอบข่าวทางอินเทอร์เน็ต   เอเจนซีส์ – ที่ประชุมซัมมิตของราชสมาคมการบินอังกฤษ ที่เกิดขึ้นสัปดาห์ที่ผ่านมาในกรุงลอนดอน เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เผยอเมริกากำลังทดสอบ AI ให้บังคับโดรนทหารเพื่อโจมตีพิกัดมิสไซล์จากภาคพื้นสู่อากาศตามรหัส SAM แต่พบ AI เลือกวิธีการสุดโหดหันไปสังหารมนุษย์ผู้ควบคุมแทนเพื่อภารกิจสำเร็จ แต่หลังข่าวแพร่รายงานตามหน้าสื่อ เพนตากอนโร่ออกมาปฏิเสธไม่เคยทำการทดสอบเช่นนี้มาก่อน ด้านผู้นำจีน สี จิ้นผิง ในวันอังคาร (30 พ.ค.) เตือนระดับสูงให้ต้องทำการควบคุมเทคโนโลยี AI อย่างกว้างขวาง เชื่อร้ายกาจทางความมั่นคง   ฟ็อกซ์นิวส์ของสหรัฐฯ รายงานวานนี้ (1 มิ.ย.) ว่า กลายเป็นที่ฮือฮาไปทั่วในการประชุมที่จัดโดยราชสมาคมการบินอังกฤษ (The Royal Aeronautical Society) ที่มีแขกรับเชิญผู้มีเกียรติขึ้นกล่าว 70 คน ท่ามกลางผู้เข้าร่วมจำนวนมากทั่วโลกกว่า 200 คน และรวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรมทหารและนักวิชาการ   ในงานสัมมนา ‘Future Combat Air and Space Capabilities’ ที่ถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 มิ.ย.…

สแกมเมอร์ขอเครื่องหมายยืนยันตัวตนกับ Gmail สำเร็จ เริ่มหลอกลวงผู้อื่นแล้ว

Loading

  ก่อนหน้านี้ Gmail ได้ออกเครื่องหมายถูกสีฟ้าหลังชื่อผู้ส่งอีเมล เพื่อใช้ในการยืนยันองค์กร ซึ่งเครื่องหมายถูกเป็นสิ่งที่ทำเพื่อใช้ในการตรวจสอบตัวตนออนไลน์เบื้องต้นได้ทันทีที่เห็น ล่าสุด Chris Plummer วิศวกรด้านความมั่นคงทางไซเบอร์สังเกตว่า มิจฉาชีพเจอวิธีใช้ประโยชน์จากเครื่องหมายของถูก Google เพื่อหลอกลวงผู้อื่นให้เชื่อว่าเป็นข้อความมาจากบริษัทที่น่าเชื่อถือ   Plummer แสดงหน้าจอที่คนร้ายปลอมตัวเป็นบริษัท UPS โดยอาศัยการยืนยันตัวตนจาก sub-domain ของ UPS ที่ชื่อว่า kelerymjrlnra.ups.com อีกทีหนึ่ง ไม่แน่ชัดว่าคนร้ายสามารถยึดโดเมนนี้อย่างไร แต่ผลสุดท้ายคือคนร้ายสามารถส่งอีเมลโดยได้รับเครื่องหมายสีน้ำเงินจากกูเกิลได้   ต่อมา Plummer ทวีตเล่าถึงความไม่พอใจจากการที่ติดต่อกับทาง Google เพื่อแจ้งให้ทราบถึงข้อผิดพลาด แต่ถูกปฏิเสธและตอบกลับว่าเป็น “พฤติกรรมโดยเจตนา” แต่เกิดเป็นกระแสวิจารณ์ใน Twitter จำนวนมากทำให้ Google เริ่มกลับมาพิจารณาปัญหาดังกล่าวอีกครั้ง   Gmail มีการให้บริษัทและองค์กรต่า งๆ สามารถยืนยันตัวตนได้ด้วยระบบต่าง ๆ เช่น BIMI (ตัวบ่งชี้แบรนด์สำหรับการระบุข้อความ), VMC (เครื่องหมายรับรองที่ได้รับการยืนยัน) และ DMARC (การตรวจสอบข้อความตามโดเมน, การรายงาน และการยอมรับ)…

Group-IB เตือนกลุ่มแฮ็กเกอร์ Dark Pink แฮ็กหน่วยงานรัฐแถบอาเซียน ระบุทหารไทยโดนด้วย

Loading

  Group-IB บริษัทความปลอดภัยไซเบอร์จากสิงคโปร์ ออกรายงานถึงกลุ่มแฮ็กเกอร์ Dark Pink ที่มุ่งโจมตีหน่วยงานรัฐในแถบอาเซียน และรายงานฉบับล่าสุดพบว่ามีหน่วยงานทหารไทยถูกโจมตีเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา   กลุ่ม Dark Pink เริ่มต้นจากการส่งอีเมลหลอกให้เหยื่อรันโปรแกรมในเครื่องของตัวเอง จากนั้นฝังโปรแกรมลงในเครื่อง และดาวน์โหลดโมดูลเพิ่มเติมจาก GitHub จากนั้นส่งส่งข้อมูลที่ขโมยมาได้กลับออกไปทาง Telegram   ทาง Group IB พบกลุ่ม Dark Pink โจมตีหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงปี 2021 โดยเริ่มจากองค์กรในเวียดนาม และในปีที่แล้วเริ่มเห็นการโจมตีหน่วยงานชาติอื่น ๆ ในอาเซียนเพิ่มขึ้น       ที่มา – Group-IB       ————————————————————————————————————————- ที่มา :                     Blognone…

สะดุ้งทั้งโลก! รัสเซียแฉตรวจพบสหรัฐฯ ปฏิบัติการจารกรรมผ่านการแฮ็กไอโฟน

Loading

  หน่วยงานความมั่นคงรัฐบาลกลางรัสเซีย (FSB) ออกมาเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดี (1 มิ.ย.) ตรวจพบปฏิบัติการจารกรรมของสหรัฐฯ ที่เข้ายึดไอโฟนหลายพันเครื่อง โดยใช้ซอฟต์แวร์สอดแนมล้ำสมัย   แคสเปอร์สกี แลป ผู้ให้บริการแอนติไวรัสและความมั่นคงทางไซเบอร์ข้ามชาติ สัญชาติรัสเซีย เปิดผยว่าอุปกรณ์มือถือของพนักงานหลายสิบคนถูกเข้าควบคุมในปฏิบัติการดังกล่าว ในขณะที่ FSB เผยแพร่ถ้อยแถลงเสริมว่าอุปกรณ์ของบริษัทแอปเปิล อิงค์ หลายพันชิ้นถูกแพร่เชื้อไวรัส ในนั้นรวมถึงผู้บอกรับสมาชิกภายในรัสเซีย เช่นเดียวกับบรรดานักการทูตต่างชาติในรัสเซียและอดีตสหภาพโซเวียต   “FSB ตรวจพบปฏิบัติการข่าวกรองของหน่วยพิเศษอเมริกา ที่ใช้อุปกรณ์มือถือของแอปเปิล” หน่วยงานความมั่นคงรัฐบาลกลางรัสเซียระบุในถ้อยแถลง   ถ้อยแถลงของ FSB ระบุว่า แผนการดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง “การร่วมมือใกล้ชิด” ระหว่างแอปเปิลกับสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) หน่วยงานสหรัฐฯ ที่รับผิดชอบด้านวิทยาการรหัสลับ ข่าวกรองและความปลอดภัยด้านโทรคมนาคม อย่างไรก็ตามทาง FSB ไม่ได้ให้หลักฐานเกี่ยวกับความร่วมมือของแอปเปิล หรือปฏิบัติการสอดแนมใด ๆ   จากนั้นไม่นาน แอปเปิลเผยแพร่ถ้อยแถลงปฏิเสธคำกล่าวหาดังกล่าว โดยบอกว่า “เราไม่เคยร่วมมือกับรัฐบาลไหน ๆ ในการแทรกซึมผ่านประตูหลังเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ใด ๆ ของแอปเปิล และไม่เคยมีความตั้งใจทำเช่นนั้นด้วย” ในขณะที่ทาง NSA…

“นินทา” บริษัทบนออนไลน์ ระวัง! ถูกสอดแนมด้วย Bossware ตรวจจับคนชอบเผือก

Loading

    ในไทยอาจยังไม่มี แต่บริษัทในสหรัฐกว่า 70% จะเริ่มใช้ “Bossware” ซอฟต์แวร์สอดแนมการ “นินทา” บนแอปฯ ประชุมทางไกล/กรุ๊ปแชทคุยงานทางไกล (Hybrid Work Gossip) ของลูกจ้าง ตามแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ในอีก 2 ปีข้างหน้า   Key Points:   – รู้ว่าไม่ดี แต่ก็หยุดไม่ได้ เมื่อ “การนินทา” เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว และมักเกิดขึ้นเพื่อทำลายความจำเจของกิจวัตรประจำวัน หรือเพื่อเติมชีวิตชีวาให้แก่วงสนทนา   – แต่ในยุคนี้ที่มีสื่อสังคมโซเชียลเชื่อมต่อผู้คนได้แบบไร้พรมแดน ยิ่งทำให้การนินทาว่าร้ายบนโลกออนไลน์เกิดขึ้นได้ง่าย และแพร่กระจายได้รวดเร็วหลายพันเท่า โดยเฉพาะหากการนินทานั้นพาดพิงถึงบริษัทจนเกิดความเสียหาย   – ด้วยความกังวลดังกล่าว ทำให้หลายบริษัทในสหรัฐอเมริกา หาวิธีการสอดแนมและตรวจสอบการนินทาบนโลกออนไลน์ของลูกจ้าง ผ่านซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า “Bossware” หลายคนรู้อยู่แก่ใจว่าการ “นินทา” คนอื่นมันไม่ดี แต่ถามว่ามนุษย์ออฟฟิศหยุดนินทาได้ไหม? เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ตอบเสียงดังฟังชัดว่า “หยุดไม่ได้จริงๆ” ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะในทางจิตวิทยามีคำอธิบายว่า การนินทาอยู่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด…