แรงมาแรงกลับ! ติ๊กต็อกยื่นฟ้อง ‘รัฐมอนทานา’ ค้านกม.แบนใช้แอป

Loading

    สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ติ๊กต็อก แอปพลิเคชันแชร์วิดีโอชื่อดังของบริษัทไบต์แดนซ์ ของจีน ได้ยื่นฟ้องต่อศาลรัฐบาลกลางสหรัฐเพื่อคัดค้านการที่รัฐมอนทานาผ่านร่างกฎหมายแบนไม่ให้ประชาชนของรัฐสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันติ๊กต็อก   การยื่นฟ้องดังกล่าวมีขึ้นหลังเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐมอนทานากลายเป็นรัฐแรกของสหรัฐอเมริกาที่ประกาศผ่านร่างกฎหมายแบนติ๊กต็อก ท่ามกลางกระแสการเรียกร้องจากสมาชิกสภานิติบัญญัติและเจ้าหน้าที่รัฐให้มีการแบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อกทั่วประเทศสหรัฐจากข้อกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลของรัฐบาลจีนที่มีต่อติ๊กต็อก   ส่งผลให้ติ๊กต็อกยื่นฟ้องร้องต่อศาลรัฐบาลกลางสหรัฐในรัฐมอนทานา โดยระบุว่าการแบนดังกล่าวซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม ปี 2024 ได้ละเมิดบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 (First Amendment) ถึงสิทธิเสรีภาพในการพูด และเรียกร้องให้ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐประกาศให้การแบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อกของรัฐมอนทานานั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญและสกัดกั้นไม่ให้รัฐมอนทานามีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว   โฆษกของติ๊กต็อกกล่าวในแถลงการณ์ว่า “เราขอคัดค้านการแบนติ๊กต็อกของรัฐมอนทานาที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพื่อปกป้องธุรกิจและผู้ใช้งานติ๊กต็อกหลายแสนคนในรัฐมอนทานา” พร้อมกับระบุอีกว่าเราเชื่อว่าจะได้รับชัยชนะในการยื่นคัดค้านทางกฎหมายจากคำพิพากษาในอดีตและข้อเท็จจริงจำนวนมาก และรัฐมอนทานาได้ออกมาตรการพิเศษที่ไม่เคยมีมาก่อนจากการคาดการณ์ที่ไม่มีมูล พร้อมกับยืนยันในการยื่นฟ้องว่าติ๊กต็อกไม่เคยและจะไม่ส่งข้อมูลของผู้ใช้งานในสหรัฐให้กับรัฐบาลจีน   นายเกร็ก เกียนฟอร์เต ผู้ว่าการรัฐมอนทานาเผยว่าเขาลงนามรับรองกฎหมายการแบนดังกล่าวเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัวของประชาชนในรัฐจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน   ภายใต้กฎหมายการแบนแอปติ๊กต็อกของรัฐมอนทานา แอปเปิลและกูเกิลจะต้องนำแอปติ๊กต็อกออกจากแอปสโตร์ (App store) มิเช่นนั้นจะถูกปรับเป็นเงินสูงถึง 1 หมื่นดอลลาร์ หรือกว่า 3.4 แสนบาทต่อวัน อย่างไรก็ตาม จะไม่มีบทลงโทษต่อผู้ใช้งานติ๊กต็อกและจะไม่มีการห้ามไม่ให้ผู้ที่ใช้งานติ๊กต็อกอยู่ก่อนหน้าเลิกใช้งานแอปดังกล่าว   ด้านทนายความของทางการรัฐมอนทานากล่าวว่า พวกเขาเตรียมที่จะปกป้องการแบนดังกล่าวในชั้นศาล  …

เอไอป่วน! ภาพปลอมว่อนเน็ต เหตุเพนตากอนโดนบึ้ม ฉุดตลาดหุ้นมะกันร่วง

Loading

  สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ภาพปลอมที่แสดงให้เห็นการเกิดเหตุระเบิดขึ้นที่เพนตากอน หรือกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในเมืองอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย กลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์เมื่อวันจันทร์ (22 พ.ค.) และยังสร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดหุ้นสหรัฐที่ทำการซื้อขายในวันเดียวกันในช่วงสั้น ๆ ด้วย   ภาพปลอมดังกล่าวที่ผู้สังเกตการณ์หลายคนสงสัยว่าน่าจะเป็นภาพที่มาจากการใช้ระบบ Generative AI ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแขนงหนึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสร้างคอนเทนต์ขึ้นเองได้อย่างรวดเร็ว เช่น รูปภาพ และงานศิลปะ ซึ่งภาพปลอมดังกล่าวได้ถูกแชร์อย่างแพร่หลายโดยบัญชีผู้ใช้งานหลายบัญชี ส่งผลให้เพนตากอนต้องออกมาแถลงยืนยันว่าไม่มีเหตุระเบิดเช่นนั้นเกิดขึ้นที่เพนตากอน   “เรายืนยันได้ว่านี่เป็นรายงานเท็จและไม่มีเหตุโจมตีเพนตากอนวันนี้” โฆษกของเพนตากอนระบุ   BREAKING: Explosion near Pentagon pic.twitter.com/q49yTVWhR8 — whalechart (@WhaleChart) May 22, 2023     ด้านกรมดับเพลิงอาร์ลิงตันโพสต์ลงโซเชียลมีเดียยืนยันเช่นกันว่า ไม่มีเหตุระเบิดหรือเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นที่หรือใกล้กับเพนตากอน   ขณะที่ทวีตล่าสุดที่เอเอฟพีพบเกี่ยวกับการแชร์ภาพเพนตากอน มาจากบัญชีของผู้สนับสนุนกลุ่ม QAnon ที่เคยเผยแพร่ข้อมูลอันบิดเบือน แม้จะไม่ทราบแหล่งที่มาต้นทางของภาพปลอมดังกล่าว   ภาพปลอมที่เกิดกับเพนตากอน เป็นเหตุการณ์คล้ายคลึงกับที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ที่มีการเผยแพร่ภาพปลอมต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ รวมถึงภาพปลอมที่แสดงให้เห็นอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐ ขณะถูกเจ้าหน้าที่จับกุม…

บาดหมางไปอีก! จีนสั่งบ.เทคฯ เลิกใช้ชิป ‘ไมครอน’ ของสหรัฐฯ

Loading

    รัฐบาลจีนมีคำสั่งเมื่อวันอาทิตย์ ให้ผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ยุติการใช้ชิปจากบริษัทไมครอน เทคโนโลยี (Micron Technology Inc.) ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ นับเป็นการยกระดับความบาดหมางระหว่างรัฐบาลปักกิ่งและรัฐบาลวอชิงตันในประเด็นเทคโนโลยีและความมั่นคง ตามรายงานของเอพี   หน่วยงาน Cyberspace Administration of China หรือ CAC ของจีน ออกแถลงการณ์ความยาว 6 บรรทัด โดยไม่ได้ให้รายละเอียดใด ๆ เพิ่มเติมเมื่อวันอาทิตย์ว่า ผลิตภัณฑ์ของบริษัทไมครอนมี “ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของเครือข่ายอย่างร้ายแรง” ที่ไม่สามารถระบุได้ ซึ่งเป็นอันตรายของโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลของจีนและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ   ทาง CAC ระบุในแถลงการณ์ด้วยว่า “ผู้ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลสำคัญของจีนควรหยุดซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทไมครอน”   เมื่อวันที่ 4 เมษายน ทางการจีนสั่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของบริษัทไมครอน เพื่อตอบโต้การที่สหรัฐฯ และพันธมิตรบังคับใช้มาตรการจำกัดการส่งออกสินค้าเทคโนโลยี เพื่อลดโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีชิปประมวลผลขั้นสูงและเทคโนโลยีอื่น ๆ ของจีน ที่สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นมองว่าจีนอาจนำไปใช้พัฒนาอาวุธได้ ในช่วงเวลาที่จีนข่มขู่คุกคามและยกระดับความก้าวร้าวต่อไต้หวัน ญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียมากขึ้น   ทางการจีนเตือนว่าจะมีผลที่ตามมาจากมาตรการดังกล่าว แต่ดูเหมือนจะหาทางตอบโต้โดยไม่ให้กระทบกับการผลิตสมาร์โฟนหรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ…

ปรับเมต้าอ่วม 4.4 หมื่นล้าน ปมข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กยุโรป-หวั่นสหรัฐสอดแนม

Loading

    ปรับเมต้าอ่วม 4.4 หมื่นล้าน – วันที่ 22 พ.ค. รอยเตอร์รายงานว่า คณะกรรมาธิการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่ไอร์แลนด์ มีคำสั่งลงโทษปรับ “เมต้า” ผู้ให้บริการเฟซบุ๊กเป็นเงิน 1.2 พันล้านยูโร หรือกว่า 4.4 หมื่นล้านบาท ถือเป็นโทษปรับมูลค่าสูงสุดเท่าที่เอกชนไอทีเคยเผชิญมา   โทษปรับดังกล่าวของคกก.ไอร์แลนด์ หรือดีพีซี เกิดขึ้นหลังเมต้าล้มเหลวที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปเมื่อปี 2563 ที่ให้ยุติความร่วมมือการส่งข้อมูลระหว่างยุโรปกับสหรัฐอเมริกา โดยดีพีซียังขีดเส้นตายให้เมต้าต้องยุติการโอนถ่ายข้อมูลภายใน 5 เดือน   ค่าปรับของดีพีซีนั้นนับว่าสูงที่สุดเท่าที่ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีเผชิญมา สูงยิ่งกว่าค่าปรับที่แอมะซอนเคยถูกสั่งลงโทษมูลค่า 746 ล้านยูโร หรือกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท เมื่อปี 2564   คดีความการต่อสู้เรื่องความปลอดภัยข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กในทวีปยุโรปเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน มีจุดเริ่มต้นจากนายแม็กซ์ เชร็มส์ นักรณรงค์ชาวออสเตรีย ฟ้องร้องต่อทางการโดยระบุถึงความเสี่ยงที่ชาวยุโรปอาจถูกสำนักงานความมั่นคงสหรัฐฯ หรือเอ็นเอสเอล้วงข้อมูล ตามที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนวเด็น อดีตลูกจ้างเอ็นเอสเอ ออกมาเปิดเผยต่อประชาคมโลก   ด้านเมต้า ระบุว่า…

Apple แบน ChatGPT และแพลตฟอร์มอื่น ๆ ห้ามพนักงานใช้งาน

Loading

    บริษัท แอปเปิล (Apple) แบน ChatGPT และแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ (AI) อื่น ๆ ห้ามพนักงานใช้งาน   วันที่ 18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่าบริษัท แอปเปิล (Apple) บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกประกาศแบนแชทจีพีที (ChatGPT) และแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ (AI) อื่น ๆ เช่น การสร้างรูปภาพ วิดีโอและการเขียนโปรแกรม Copilot ของ GitHub โดยห้ามพนักงานใช้งานเนื่องจากข้อกังวลเกี่ยวกับการรั่วไหลของความลับบริษัท   ก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายน บริษัท โอเพนเอไอ (OpenAI) ผู้พัฒนาบริการแชทจีพีที (ChatGPT) ได้เพิ่มฟีเจอร์ไม่ระบุตัวตนให้กับผู้ใช้งานสามารถเลือกได้เพื่อไม่ให้ระบบเก็บข้อมูลการใช้งานหรือข้อมูลอื่น ๆ เพื่อนำไปใช้ฝึกสอนปัญญาประดิษฐ์ บริษัท โอเพนเอไอ (OpenAI) ยืนยันว่า ไม่มีนโยบายขโมยข้อมูลจากผู้ใช้งานในองค์กรต่าง ๆ   อย่างไรก็ตามยังมีกระแสข่าวหลายบริษัทแบน นอกจากบริษัท แอปเปิล (Apple)…

กลุ่ม G7 เรียกร้องให้มีมาตรฐานควบคุมความน่าเชื่อถือของ AI

Loading

    ผู้นำกลุ่มประเทศ (G7) เรียกร้องให้มีการจัดทำและประกาศใช้มาตรฐานทางเทคนิคเพื่อควบคุมความน่าเชื่อถือของปัญญาประดิษฐ์ โดยชี้ว่ากติกาที่มีอยู่ตามเทคโนโลยีไม่ทัน   เหล่าผู้นำจากแคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เดินทางไปร่วมประชุมกันที่เมืองฮิโระชิมา ประเทศญี่ปุ่น   ในแถลงการณ์ร่วมของ G7 ชี้ว่ากฎเกณฑ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลต้องสอดคล้องกับคุณค่าประชาธิปไตยที่ทุกประเทศมีร่วมกัน และชี้ว่าต้องมีการทำความเข้าใจโอกาสและความท้าทายของปัญญาประดิษฐ์เชิงสังเคราะห์ (เช่น ChatGPT)   โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันให้มีการจัดการประชุมในระดับรัฐมนตรีในชื่อ Hiroshima AI Process เพื่อหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์เชิงสังเคราะห์ เช่น ประเด็นลิขสิทธิ์ และการเผยแพร่ข่าวปลอม ภายในสิ้นปีนี้   นอกจากนี้ ผู้นำ G7 ยังเรียกร้องให้องค์การระหว่างประเทศอย่าง องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ร่วมวิเคราะห์ผลกระทบของการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องด้วย   เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน (Ursula von der Leyen) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรปชี้ว่าต้องการให้ปัญญาประดิษฐ์มีความแม่นยำ ชื่อถือได้ ปลอดภัย…