บิดาแห่งปัญญาประดิษฐ์เตือนภัย พัฒนาการ AI น่ากลัว ชี้อีกไม่นานฉลาดเกินมนุษย์

Loading

    เจฟฟรีย์ ฮินตัน ชายผู้ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นดั่งบิดาและเจ้าพ่อแห่งวงการปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) วัย 75 ปี ได้ลาออกจากงานพร้อมเตือนถึงอันตรายที่เพิ่มขึ้นจากการพัฒนาเอไอ   ฮินตันซึ่งประกาศลาออกจากกูเกิลได้เผยแพร่แถลงการณ์ผ่านนิวยอร์กไทม์สว่า ขณะนี้เขารู้สึกเสียใจกับงานที่ทำ และบอกว่าอันตรายบางประการของแชทบอทที่ควบคุมโดยเอไอค่อนข้างน่ากลัว “เท่าที่ผมสามารถบอกได้ ตอนนี้พวกเขาไม่ได้ฉลาดไปกว่าเรา แต่ผมคิดว่าอีกไม่นานพวกเขาอาจจะฉลาดกว่าเราได้”   งานวิจัยบุกเบิกของฮินตันเกี่ยวกับการเรียนรู้เชิงลึกและโครงข่าวประสาทเทียมได้ปูทางไปสู่ระบบเอไอในปัจจุบัน เช่น ChatGPT ที่ฮินตันบอกว่า แชตบอตสามารถที่จะแซงหน้าระดับข้อมูลที่สมองของมนุษย์สามารถจดจำได้ในเร็วๆ นี้   “ตอนนี้สิ่งที่เราเห็นคือ GPT-4 ได้บดบังความรู้ที่คนทั่วไปคนหนึ่งมี และมันจะก้าวล้ำนำหน้าความรู้ของคนๆ หนึ่งแบบทิ้งห่าง ในแง่ของเหตุและผลมันไม่ใช่เรื่องดี แต่มันก็เป็นไปแล้ว”ฮินตันระบุ และว่า เมื่อคำนึงถึงความรวดเร็วของพัฒนาการ คาดว่าสิ่งต่างๆ จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราจำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับมัน   ฮินตันยังกล่าวกับบีบีซีถึงรายละเอียดในเรื่องนี้ว่า นี่เป็นเพียงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด มันเป็นฝันร้าย ให้ลองจินตนาการดูว่า นักแสดงแย่ ๆ อย่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ตัดสินใจให้หุ่นยนต์สามารถสร้างเป้าหมายย่อยขึ้นมาเองได้ ท้ายที่สุดแล้วมันอาจสร้างเป้าหมายย่อยอย่าง ฉันจะต้องมีอำนาจมากกว่านี้   ฮินตันกล่าวด้วยว่า เขาได้ข้อสรุปว่าประเภทของความฉลาดและปัญญาที่เราพัฒนาขึ้นมานั้นแตกต่างจากปัญญาที่เรามี มนุษย์เป็นระบบชีวภาพ แต่มันเป็นระบบดิจิทัล ความแตกต่างอย่างใหญ่หลวงคือด้วยระบบดิจิทัล…

อิตาลีปลดล็อคให้ ChatGPT กลับมาใช้ได้ใหม่

Loading

    สำนักข่าวเอพีรายงานวันศุกร์ว่า “แช็ตจีพีที” (ChatGPT) โปรเเกรมปัญญาประดิษฐ์เเช็ตบอต สามารถกลับมาใช้ได้ในประเทศอิตาลีอีกครั้งหลังจากที่บริษัทผู้พัฒนาแอปฯ ทำตามข้อเรียกร้องเจ้าหน้าที่กำกับดูเเลกฎหมายของอิตาลี   บริษัทโอเพนเอไอ (OpenAI) ผู้พัฒนาแช็ตจีพีที กล่าวว่าฝ่ายตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลายข้อของทางการอิตาลีเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว ก่อนถึงกำหนดเส้นตายวันที่ 30 เมษายน โดยก่อนหน้านี้หน่วยงานกำกับดูเเลกฎหมายของอิตาลี สั่งระงับใช้เเช็ตบอตดังกล่าวชั่วคราว   โอเพนเอไอซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สหรัฐฯ ระบุในอีเมลแจ้งการกลับมาใช้ได้ใหม่ของเเอปฯ ในประเทศอิตาลี ว่า “เรายังคงมุ่งมั่นในการปกป้องความเป็นส่วนตัว” ของผู้ใช้   การแบนเกิดขึ้นเมื่อเดือนที่เเล้ว เมื่อหน่วยงานกำกับดูเเลกฎหมายที่ชื่อ Garante ของอิตาลีห้ามโอเพนเอไอประมวลผลข้อมูลผู้ใช้เป็นการชั่วคราว ขณะที่ทางการทำการสอบสวนว่ามีการละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องธุรกรรมการเงิน   โดยทั่วไประบบปัญญาประดิษฐ์ที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยข้อมูลออนไลน์ เช่น หนังสือดิจิทัล การเขียนและโพสต์บล็อก รวมถึงภาพต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ผู้เชี่ยวชาญด้านประเด็นสังคมและจริยธรรมบนโลกไซเบอร์กังวลว่าระบบดังกล่าวอาจนำความเสี่ยงมาสู่สังคม   ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรปกำลังร่างกฎเพิ่มเติมให้ใหม่ขึ้นสำหรับการกำกับดูเเลปัญญาประดิษฐ์   ในครั้งนี้เจ้าหน้าที่อิตาลีกล่าวว่า ไม่ต้องการสกัดกั้นการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ แต่ย้ำถึงความสำคัญเรื่องการปฏิบัติตามมาตรฐานที่เคร่งครัดว่าด้วยความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้   ประเด็นที่โอเพนเอไอยอมปรับเพื่อให้เเอปฯ แช็ตจีพีที กลับมาใช้ได้ใหม่คือ การเพิ่มเติมเนื้อหาเว็บของตนเกี่ยบกับการเก็บและใช้ข้อมูลเพื่อฝึกในการทำงานของแช็ตจีพี เป็นต้น…

พบมัลแวร์ใหม่บน Android หลบเลี่ยงการตรวจจับจาก Antivirus ได้

Loading

    ใครที่ใช้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ตอนนี้ต้องระวังตัวให้ดี เพราะมีมัลแวร์ใหม่บน Android หลบเลี่ยงการตรวจจับจาก Antivirus ได้ โดยมันพุ่งเป้าที่ข้อมูลสำคัญๆ อย่างข้อมูลธนาคาร รวมถึงล็อกไฟล์เพื่อเรียกค่าไถ่ได้   ผู้เชี่ยวชาญจาก CloudSEK ได้ออกมาเตือนภัยคุกคามใหม่บนแอนดรอนด์ที่มีชื่อว่า Daam มันเป็นมัลแวร์ที่ออกแบบมาให้จู่โจมได้ทั้งสมาร์ทโฟนและพีซีที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows (แต่ส่วนใหญ่พบบนมือถือมากกว่า)   ความสามารถของมันคือ สามารถแอบบันทึกเสียงจากมือถือโดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว แอบอ่านบันทึกการโทร ขโมยรายชื่อติดต่อ แม้แต่การใช้งานการโทรผ่านแอปอย่าง WhatsApp ก็ยังบันทึกได้ นั่นหมายความว่าถ้าเราเผยข้อมูลระหว่างคุยสาย เช่น ข้อมูลธนาคาร ก็อาจจะโดนขโมยข้อมูลได้อย่างง่ายดาย   มัลแวร์ตัวนี้แพร่กระจายมาจากการโหลดแอปจากเว็บภายนอกที่ไม่ใช่ Play Store ดังนั้น การป้องกันตัวเบื้องต้นก็คือ อย่าโหลดแอปจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ Play Store ต่อมาคือการอ่านรีวิวของคนที่โหลดไปก่อนหน้านี้ รวมถึงอัปเดตระบบความปลอดภัยให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเสมอ         ที่มา The Sun         —————————————————————————————————————————————— ที่มา…

ทริคใหม่ ติด AI ให้กล้องจับความร้อน หารหัสผ่านจากคีย์บอร์ดได้

Loading

  อีกหนึ่งวิธีแฮ็กรหัสผ่าน ก็คือการเช็คร่องรอยจากอุปกรณ์โดยตรง ซึ่งผู้ใช้มักจะเหลือไว้โดยไม่รู้ตัว จนเปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีแอบสังเกตเห็นได้ และนำไปสู่การแฮ็กรหัสผ่านได้ในที่สุด   นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกลาสโกลว์ (Glasglow) เผยวิธีการเดารหัสผ่านจากแป้นคียบอร์ดและหน้าจอสมาร์ทโฟน ด้วยการใช้กล้องตรวจจับความร้อน มาค้นหาร่องรอยการกดรหัสผ่านได้   ส่วนนี้คนร้ายสามารถจ้องเล่นงานเหยื่อ ที่ใช้คอมฯ ในที่สาธารณะ หรืออาจขโมยสมาร์ทโฟนมา จากนั้นก็ใช้กล้องตรวจจับความร้อน หาตำแหน่งรอยนิ้วมือที่มีการกดรหัสผ่าน และใช้ระบบ AI ที่ชื่อ ThermoScure มาช่วยคาดเดาอีกที จนได้รหัสผ่านที่ถูกต้องในที่สุด   มีรายงานด้วยว่า ThermoScure สามารถคาดเดารหัสผ่านได้ถูกต้องอย่างน้อย 62 – 93% และยังใช้เวลาวิเคราะห์ได้เร็วสุดภายใน 20 วินาทีด้วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับความยาวของรหัสผ่าน โดยยิ่งมีความยาวมาก ก็ยิ่งใช้เวลา   ส่วนคียบอร์ดหากใช้ Keycab หรือปุ่มกดแบบทำจากพลาสติก PBT ก็จะลดอัตราความสำเร็จลงเหลือ 14% ในขณะที่พลาสติกแบบ ABS จะมีอัตราความสำเร็จ 50%   สุดท้ายนี้ตัวระบบ AI ดังกล่าว เป็นเพียงเครื่องมือทดสอบสำหรับการวิจัยนี้เท่านั้น ยังไม่ได้หลุดไปยังกลุ่มแฮ็กเกอร์…

นักวิจัยพบ Google Authenticator ไม่ได้เข้ารหัส end-to-end ขณะซิงก์ข้ามอุปกรณ์ – Google บอกจะเพิ่มฟีเจอร์นี้ในอนาคต

Loading

    เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา กูเกิลได้ประกาศเพิ่มคุณสมบัติซิงก์ข้อมูลข้ามอุปกรณ์ผ่านบัญชีกูเกิลของ Google Authenticator แอปจัดการรหัสผ่าน 2FA ซึ่งหลายคนรอคอยมานาน (หรือไม่รอแล้ว?) อย่างไรก็ตามฟีเจอร์นี้มาพร้อมประเด็นด้านความปลอดภัย   โดยนักวิจัยความปลอดภัยชื่อ Mysk เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบทราฟิกในการซิงก์ข้อมูลของ Google Authenticator พบว่าข้อมูลที่รับ-ส่งเข้าเซิร์ฟเวอร์กูเกิลนั้นไม่มีการเข้ารหัสแบบ end-to-end จึงเป็นความเสี่ยงหากมีผู้เข้าถึงข้อมูลดังกล่าว และอาจสร้างรหัส 2FA ขึ้นมาซ้ำได้หากรู้ seed ของโค้ดนั้น   ทั้งนี้ Authy แอปยอดนิยมในการจัดการ 2FA มีคุณสมบัติที่รองรับการเข้ารหัสแบบ end-to-end ซึ่งผู้ใช้งานต้องกำหนดเปิดใช้เพิ่มเติม   Christiaan Brand ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของกูเกิลตอบประเด็นดังกล่าวว่า บริการของกูเกิลมีความปลอดภัย และเข้ารหัสข้อมูลในทุกจุดอยู่แล้ว ส่วนคุณสมบัติเข้ารหัสแบบ end-to-end นั้น ได้เพิ่มเติมแล้วในหลายผลิตภัณฑ์ซึ่ง Google Authenticator ก็จะรองรับด้วยในอนาคต       ที่มา: Bleeping Computer    …

กทม. ใช้ระบบ AI ทดสอบ คุมหีบเลือกตั้ง ยกระดับความปลอดภัย-โปร่งใส

Loading

    กทม. ใช้ระบบ AI ทดสอบ เฝ้าหีบบัตร – ห้องรักษาบัตรและอุปกรณ์เลือกตั้ง ส.ส. หวังยกระดับความปลอดภัย แจ้งเตือนความผิดปกติเรียลไทม์แทนกล้อง CCTV ที่ต้องไล่เช็คภาพย้อนหลัง เมื่อเกิดเหตุ   เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุว่า กทม.ต้องการยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย ซึ่งตามระเบียบ กกต. แม้ได้กำหนดมาตรฐานไว้อยู่แล้ว เช่น ต้องมีผู้ดูแลรักษาความปลอดภัย 3 คนเฝ้าด้านหน้าห้องเก็บรักษาบัตรและหีบบัตรเลือกตั้ง และต้องมีระบบติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV)   แต่การใช้บุคคลนั่งเฝ้า ก็อาจเกิดเรื่องไม่คาดคิด หรือ ผิดพลาดได้ และกล้อง CCTV ก็เป็นระบบ บันทึกภาพเพียงอย่างเดียว ทาง กทม.จึงคิดว่าทำอย่างไรที่จะดึงเทคโนโลยี ดึงระบบออนไลน์มาใช้ให้ทันสมัย เราจะทำได้หรือไม่ โดยเปิดเป็นระบบออนไลน์ ให้ประชาชนช่วยกันดูแทนที่จะให้ รปภ. 3 คนดู ก็ให้ประชาชนช่วยกันจับตา   สำหรับ…