ตำรวจยุโรปเตือน! มิจฉาชีพอาจเริ่มใช้ AI หลอกเอาเงิน สมจริงยิ่งกว่าเดิม

Loading

  มิติใหม่ภัยโลกไซเบอร์ ตำรวจยุโรปเตือน มิจฉาชีพอาจเริ่มใช้ AI เขียนข้อความ หลอกเอาเงิน แบบสมจริงกว่าที่เป็นมาแล้ว   เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเคยมีประสบการณ์ได้รับข้อความหรือเมลจากมิจฉาชีพ เพียงแต่รอดจากการถูกหลอกมาได้ เพราะรู้ทันคนพวกนั้น จากลักษณะการใช้คำหรือความไม่สมเหตุสมผลของข้อความสักครั้งสองครั้ง   ดังนั้น นี่จึงอาจจะเป็นข่าวที่น่ากังวลพอสมควรเลย เพราะเมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจสากลยุโรป (Europol) ก็เพิ่งจะออกมาประกาศเตือนประชาชนเลยว่า มันกำลังมีความเป็นไปได้สูงเลยที่มิจฉาชีพจะเริ่มนำ AI อย่าง ChatGPT มาช่วยในการต้มตุ๋น     นั่นหมายความว่า อีกหน่อยเราอาจจะยิ่งตรวจจับข้อความหรืออีเมลหลอกลวงได้ยากขึ้น เนื่องจากไม่สามารถพึ่งพาการใช้คำผิด หรือข้อความที่ดูไม่เป็นธรรมชาติอีกต่อไป “ความสามารถในการร่างข้อความที่เหมือนจริงสูงของ ChatGPT ทำให้มันถือเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากที่จะนำไปใช้โดยมิจฉาชีพเลย” ChatGPT ระบุ   และแม้ว่าในปัจจุบันภาษาที่ AI เชี่ยวชาญมากพอที่จะเป็นปัญหาเช่นนี้ได้ จะยังมีแค่ภาษาอังกฤษ จนทำให้ประเทศที่เสี่ยงส่วนใหญ่จะอยู่แค่ในฝั่งตะวันตกอยู่ก็ตาม แต่หากดูจากการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ AI หลายๆ ตัว มันก็ไม่แน่เหมือนกันว่าอีกไม่นานเราก็อาจจะได้เห็นข้อความหรืออีเมลต้มตุ๋นในภาษาอื่นๆ รวมถึงภาษาไทย ถูกเขียนขึ้นโดย AI ภาษาระดับสูงเลยก็เป็นได้     เรื่องของ…

กลุ่มแฮ็กเกอร์สนับสนุนอาหรับโจมตีเว็บไซต์การท่า

Loading

    เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (26 เมษายน) แฮ็กเกอร์โจมตีเว็บไซต์ของการท่าเรืออิสราเอลด้วยวิธีการ Distributed Denial-of-Service (DDoS) จนล่ม   Anonymous Sudan กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ต่อต้านนโยบายปาเลสไตน์ของอิสราเอลออกมาอ้างความรับผิดชอบต่อการโจมตีในครั้งนี้   กลุ่มดังกล่าวยังอ้างว่าได้โจมตีเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข หน่วยข่าวกรองภายในประเทศ (Shin Bet) สำนักงานหลักทรัพย์อิสราเอล และการท่าของเมืองไฮฟา ด้วย   แต่เว็บไซต์เหล่านี้ยังทำงานได้อย่างเป็นปกติอยู่         ที่มา The Jerusalem Post         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                                 …

ธุรกิจในอาเซียนระวัง !! แคสเปอร์สกี้ชี้ ‘โจมตีออนไลน์พุ่ง 45%

Loading

    ปี 2565 ดูจะเป็นปีที่ยุ่งสุดๆ ของเหล่าอาชญากรไซเบอร์ ที่มีเป้าหมายโจมตีบริษัทองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) พบการขยายตัวของภัยคุกคามทางเว็บแบบก้าวกระโดดถึง 45%   ภัยคุกคามทางเว็บ หรือภัยคุกคามออนไลน์ หมายถึงความพยายามที่จะดาวน์โหลดอ็อปเจ็กต์อันตรายจากเว็บไซต์ที่ติดเชื้อหรือมีอันตราย ซึ่งจงใจสร้างขึ้นมาโดยยูสเซอร์ที่ประสงค์ร้าย เว็บไซต์ที่ตกอยู่ในอันตรายทั้งหลายประกอบด้วย เว็บไซต์ที่ยูสเซอร์ใส่คอนเท็นท์ลงไปด้วย เช่น ฟอรั่ม และเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ต่างๆ   ภัยคุกคามทางเว็บนั้นเกิดได้เพราะมีช่องโหว่จากทางเอ็นด์ยูสเซอร์ นักพัฒนาเว็บเซอร์วิส ผู้บริหารเว็บเซอร์วิส และตัวเว็บเซอร์วิสเอง ไม่ว่าจะมาจากความจงใจหรือสาเหตุอื่นใด ผลจากภัยคุกคามทางเว็บนั้นก็ส่งผบกระทบอันไม่พึงประสงค์ต่อทั้งตัวบุคคลและองค์กร     ช่วงสูงสุดของโรคระบาดเมื่อปี 2563 นั้น แคสเปอร์สกี้ได้บล็อกการโจมตีผ่านเว็บจำนวน 10,200,817 ครั้งเพื่อไม่ให้กระทบต่อธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาในปี 2564 พบว่า จำนวนการโจมตีเว็บลดลงนิดหน่อยอยู่ที่ 9,180,344 ครั้ง และทะยานเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2565 ที่จำนวน 13,381,164 ครั้ง   ในปี 2565 สิงคโปร์มีตัวเลขการเติบโตของภัยคุกคามทางเว็บที่โจมตีธุรกิจในอัตราก้าวกระโดดสูงที่สุด นับแบบ YOY ยอดรวมของจำนวนภัยคุกคามทางเว็บต่อประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นถึงสามเท่า…

Sberbank ของรัสเซียเปิดตัว GigaChat เพื่อแข่งกับ ChatGPT

Loading

  Sberbank ธนาคารรายใหญ่ของรัสเซียได้ประกาศเปิดตัว GigaChat แชตบอต AI ของตนเองที่มีเป้าหมายเพื่อแข่งขันกับ ChatGPT ของ Microsoft แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบ   การมาของ ChatGPT โดย OpenAI ได้กระตุ้นการแข่งขันในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี AI ส่งผลให้หลาย ๆ บริษัทพัฒนา AI ของตนเองขึ้น ในส่วนของ Sberbank เป้าหมายต้องการลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ Sberbank กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้ GigaChat แตกต่างจากคู่แข่ง คือ ความสามารถที่เหนือกว่าในการสื่อสารอย่างชาญฉลาดในภาษารัสเซียมากกว่าโครงข่ายต่างประเทศอื่น ๆ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของตนใช้ภาษารัสเซียเป็นหลัก โดยต้องการให้ GigaChat ช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมแล้วเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของผู้คนและดำเนินธุรกิจในรัสเซีย โดยหวังพัฒนาสู่การแข่งขันในตลาดแชตบอตในไม่ช้า           ที่มา Reuters           —————————————————————————————————————————————— ที่มา :   …

เตือนภัย ปชช.อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพหลอกขายแผงโซลาร์เซลล์

Loading

  กรุงเทพฯ 25 เม.ย. – ตำรวจไซเบอร์เตือนภัยประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพหลอกขายแผงโซลาร์เซลล์ ฉวยโอกาสช่วงค่าไฟฟ้าแพง   พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวเตือนภัยประชาชน กรณีมิจฉาชีพเข้ามาแฝงตัวในสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อหลอกลวงขายแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ดังนี้   ได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) พบว่าเริ่มมีผู้เสียหายหลายรายทยอยแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ หลังจากถูกมิจฉาชีพหลอกลวงขายแผงโซลาร์เซลล์ หรืออุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ให้กับเหยื่อผู้ที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายการอุปโภคและบริโภคจากการใช้ไฟฟ้าในรูปแบบของที่พักอาศัย โดยมิจฉาชีพฉวยโอกาสในช่วงโซลาร์เซลล์กำลังเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจในสถานการณ์ปัจจุบัน ใช้บัญชีเฟซบุ๊กปลอมแฝงตัวเข้ามาในกลุ่มต่าง ๆ ที่มีการซื้อขายโซลาร์เซลล์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โพสต์ประกาศขายสินค้าดังกล่าวในราคาถูกกว่าราคาท้องตลาด ใช้รูปภาพที่คัดลอกมาจากช่องทางที่มีการซื้อจริง โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณต่าง ๆ และมีการเร่งรัดให้รีบตัดสินใจว่าสินค้าใกล้จะหมด นอกจากนี้แล้วมิจฉาชีพยังใช้วิธีการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมาทั้งหมด เพื่อหลอกลวงขายสินค้าประเภทดังกล่าวอีกด้วย   ที่ผ่านมานับตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.65 – 16 เม.ย.66 พบว่าการหลอกลวงซื้อสินค้าหรือบริการ ยังคงมีประชาชนตกเป็นเหยื่อ โดยได้แจ้งความร้องทุกข์ผ่านระบบการรับแจ้งความออนไลน์สูงที่สุดเป็นลำดับที่ 1 จำนวนกว่า 85,395 เรื่อง หรือคิดเป็น 35.61% ของเรื่องที่มีการรับแจ้งความออนไลน์ทั้งหมด…

ธนาคารเร่งสแกนใบหน้า ยืนยันตัวตนเมื่อโอนเงินเกิน 50,000 เริ่มพ.ค.-มิ.ย นี้

Loading

    แบงก์ชาติ เร่งธนาคารเอกชน อัปเกรดระบบสแกนใบหน้า รวมทั้งเร่งอัปเดตระบบแอปพลิเคชั่น ให้สามารถตรวจสอบตัวตนภายในเดือนพ.ค.-มิ.ย.นี้ หากมีการโอนเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เพื่อป้องกันมิจฉาชีพออนไลน์   จากกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ มีนโยบายให้ธนาคารทุกแห่งที่ให้บริการโมบายแบงก์กิ้งแอปพลิเคชัน ยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมบนแอปธนาคาร   เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับมิจฉาชีพ ได้ใช้ช่องทางดังกล่าว หลอกให้ประชาชนโอนเงิน โดยแบงก์ชาติกำหนดให้ผู้ใช้บริการต้องยืนยันตัวตนเมื่อทำธุรกรรมตามกำหนด ถือว่าเป็นนโยบายการบริหารจัดการปัญหาการทุจริตและหลอกลวง ผ่านการใช้บัญชีเงินฝากหรือบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนทุกครั้ง   สำหรับธุรกรรมที่ต้องยืนยันตัวตนสแกนใบหน้า เมื่อใช้บริการผ่านแอปธนาคาร โมบายแบงก์กิ้ง ดังนี้   1.โอนเงินเกิน 50,000 บาทต่อครั้ง   2.โอนเงินเกิน 200,000 บาทต่อวัน   3.ปรับเปลี่ยนวงเงินโอน   โดยแบงก์ชาติกำหนดให้ทุกธนาคารเริ่มดำเนินการได้ภายในเดือนมิถุนายน 2566 แต่หากทำธุรกรรมโอนเงินไม่ถึงวงเงินดังกล่าว ก็ยังสามารถโอนเงินใช้บริการได้ตามปกติเช่นเดิม     โดยทางธนาคารเอกชนต่างก็อัปเกรดระบบแอปพลิเคชั่นทางการเงินและทยอยให้ผู้ใช้งานอัปเดตการสแกนใบหน้าบ้างแล้ว   ธนาคารไทยพาณิชย์   ไทยพาณิชย์ แจ้งลูกค้าเตรียมความพร้อมสำหรับการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า เมื่อทำธุรกรรม ผ่านแอปพลิเคชัน…