เตือน! ดาวน์โหลดข้อมูลผ่านเว็บเถื่อน เสี่ยงโดนฝังมัลแวร์ขโมยข้อมูล

Loading

  วันที่ 16 ก.ค.66 เพจ ตำรวจสอบสวนกลาง โพสต์ข้อความระบุว่า ปัจจุบันมีเว็บไซต์เถื่อนที่ปล่อยให้ผู้ท่องโลกอินเตอร์เน็ตเข้าไปดาวน์โหลดข้อมูลฟรีเป็นจำนวนมาก ทั้งปล่อยให้ดาวน์โหลดเพลง หรือวิดีโอฟรี ซึ่งไฟล์ดังกล่าวที่ให้ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์เถื่อนเหล่านี้จะมีการฝังมัลแวร์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อขโมยข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือของเรา หรืออาจทำให้เครื่องเสียหายได้   เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของอาชญากรไซเบอร์ จึงไม่ควรดาวน์โหลดไฟล์ต่าง ๆ จากเว็บไซต์เถื่อน การที่เราจะตรวจสอบว่าเป็นเว็บไซต์เถื่อนหรือไม่ สามารถสังเกตได้ดังนี้   –  ตรวจสอบความถูกต้องของ URL หากเป็นเว็บไซต์ที่ถูกต้องจะขึ้นต้นด้วย https หรือตรวจสอบข้อมูลการจดโดเมนเนมก่อนทำการดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์นั้น ๆ –  เลือกใช้ระบบป้องกันที่ครอบคลุมการรักษาความปลอดภัยในการเล่นเว็บไซต์ (Internet Security) –  สังเกตชื่อไฟล์ที่ดาวน์โหลดอยู่เสมอ แม้ว่าจะดาวน์โหลดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ก็ตาม ไฟล์วีดีโอควรเป็น .mkv และ .mp4 โดยนามสกุลของไฟล์ไม่ควรเป็น .exe   ขอบคุณข้อมูลและภาพ เพจ ตำรวจสอบสวนกลาง       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :     …

ไมโครซอฟท์ถูกแฮ็กกุญแจเซ็นโทเค็น Azure AD แฮ็กเกอร์เข้าดาวน์โหลดเมลรัฐบาลสหรัฐฯ สำเร็จ

Loading

  ไมโครซอฟท์ออกรายงานถึงกลุ่มแฮ็กเกอร์ Storm-0558 ที่โจมตีจากประเทศจีนโดยมีแนวทางมุ่งขโมยข้อมูล โดยคนร้ายสามารถขโมยกุญแจเซ็นโทเค็นของ Azure AD ออกไปจากไมโครซอฟท์ได้ ทำให้สามารถเซ็นโทเค็นปลอมตัวเป็นบัญชีผู้ใช้อะไรก็ได้ของเหยื่อ   หน่วยงานที่ถูกโจมตีคือฝ่ายบริหารฝั่งพลเรือนของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (Federal Civilian Executive Branch – FCEB) โดยพบล็อกใน Microsoft 365 ว่ามีรายงาน MailItems Accessed ซึ่งเป็นการเข้าอ่านเมลจากไคลเอนต์ต่าง ๆ แต่ที่แปลกออกไปคือค่า AppID นั้นไม่เคยพบ แปลว่าอยู่ ๆ ก็มีคนใช้อีเมลไคลเอนต์ประหลาดเข้ามาอ่านอีเมล   หลังจากไมโครซอฟท์ได้รับแจ้งจากลูกค้า ตรวจสอบพบว่าคนร้ายเข้าอ่านเมลทาง Outlook Web Access ซึ่งน่าจะแปลว่าเครื่องผู้ใช้ถูกแฮ็ก เพื่อขโมยโทเค็นหลังจากผู้ใช้ล็อกอินตามปกติ แต่เมื่อวิเคราะห์เหตุต่อเนื่องภายหลังจึงพบว่าโทเค็นที่ใช้ล็อกอินนั้นไม่ตรงกับโทเค็นที่ออกไปจากระบบ Azure AD โดยโทเค็นที่เซ็นออกไปมี scope ผิดปกติที่ Azure AD ไม่เคยออกโทเค็นในรูปแบบเช่นนั้น   ภายหลังไมโครซอฟท์จึงยืนยันว่า Storm-0558 ขโมยกุญแจเซ็นโทเค็น Microsoft Account ออกไปได้…

คนไข้รวมตัวฟ้องโรงพยาบาลเหตุข้อมูลรั่ว ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าระบบไม่ได้มาตรฐาน

Loading

  โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์เผชิญกับการฟ้องแบบกลุ่มโดยบรรดาคนไข้ที่อ้างว่าระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลฯ ไม่สามารถป้องกันข้อมูลของพวกเขาจากการแฮ็กได้   กรณีการแฮ็กนี้คือการโจมตี MOVEit แพลตฟอร์มส่งไฟล์ที่กระทบองค์กรทั่วโลกอยู่ในขณะนี้   ในคำฟ้องกล่าวหาว่าโรงพยาบาลรู้อยู่แล้วว่าระบบไอทีของตัวเองไม่ได้มาตรฐาน แต่ก็ไม่ยอมพัฒนาให้มีความปลอดภัย   รวมถึงยังอ้างด้วยว่าโรงพยาบาลไม่ยอมแจ้งให้คนไข้รับรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์โจมตีที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย HIPAA ที่บังคับให้มีการแจ้งเตือนโดยทันที เว้นแต่มีเหตุผลอันควร   ที่มา EdScoop       ————————————————————————————————————————- ที่มา :                   แบไต๋                  / วันที่เผยแพร่  15 ก.ค.66 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/1280045

เกิดอะไรขึ้น เจอ มัลแวร์ซ่อนในไดรเวอร์ ติดตั้งอัตโนมัติบน Windows

Loading

  สำหรับคนที่อัปเดต Windows รวมทั้งไดรเวอร์ต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ ก็คาดหวังว่าคอมเราจะมีความปลอดภัยแต่ตอนนี้ดันไม่ใช่   ข่าวล่าสุดคือ ไดรเวอร์กว่า 133 ตัว ที่ได้รับการรับรองจาก Microsoft ว่ามีความปลอดภัย ดันมีมัลแวร์แฝงมา ซึ่งมันอันตรายมากเพราะว่า ไดรเวอร์เหล่านี้ดาวน์โหลดและติดตั้งโดย Windows โดยจะไม่ได้แจ้งให้ผู้ใช้ทราบ   หลังจากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น Microsoft ได้ทำการบล็อกไดรเวอร์ที่ได้รับผลกระทบ 133 รายการและบัญชีของนักพัฒนาที่เกี่ยวข้องก็ถูกล็อกเช่นกัน   ทั้งนี้ Microsoft ได้แนะนำให้ทุกคนอัปเดต Windows Defender ให้เป็นระบบล่าสุดก่อน จากนั้นให้ทำการสแกนระบบในแบบออฟไลน์ หมายถึงอัปเดตระบบก่อน ถอดสาย Lan หรือปิด Wifi แล้วทำการสแกนเครื่องครับ   ซึ่งไดรเวอร์ที่มีปัญหา จะมีการดาวน์โหลดและติดตั้ง ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคมเป็นต้นมาครับ     ที่มาข้อมูล   pcworld         ————————————————————————————————————————-…

แบงก์ชาติระบุแอปดูดเงินแรงขึ้นช่วงสองเดือนที่ผ่านมาหลังคนร้ายใช้เทคนิคใหม่ ระบบล็อกบัญชีเร่งด่วนเสร็จสิ้นปีนี้

Loading

  ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานถึงการพัฒนามาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตทางการเงิน หรือที่มักเรียกกันว่าแอปดูดเงิน โดยพบว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมา มูลค่าความเสียหายค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จนเหลือ 116 ล้านบาทในเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่พอมาถึงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนก็กลับมียอดความเสียหายเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคนร้ายอาศัยเทคนิคใหม่ ๆ   แนวทางใหม่ของคนร้าย เช่น การหลอกลวงด้วยบทใหม่ ๆ ที่แนบเนียนขึ้น มีการปลอมตัวเป็นหน่วยงานราชการ, บริษัทขนาดใหญ่, หรือญาติพี่น้อง กระบวนการส่ง SMS นั้นอาศัยแนวทางสร้างเสาสัญญาณโทรศัพท์ปลอมเพื่อส่ง SMS ได้โดยไม่ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ตลอดจนแอปดูดเงินเวอร์ชันใหม่ ๆ มีความสามาถหลบการตรวจจับโดยธนาคาร   ความเสียหายรวม ย้อนหลัง 7 เดือน •  ธันวาคม 2022: 182 ล้านบาท •  มกราคม 2023: 185 ล้านบาท •  กุมภาพันธ์ 2023: 161 ล้านบาท •  มีนาคม 2023: 135…

รายงานเผยในปี 2022 เว็บและเพจปลอมสูงขึ้นหลายเท่า

Loading

  ในรายงาน Digital Risk Trends 2023 (แนวโน้มความเสี่ยงบนโลกดิจิทัล) ของ Group-IB เผยว่าเว็บไซต์และหน้าเพจปลอมสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในปี 2022   สถิติชี้ว่าเว็บไซต์ฟิชชิงที่ใช้หลอกดูดข้อมูลเหยื่อสูงขึ้น 62% เมื่อเทียบกับปี 2021 และหน้าเพจหลอกลวงเพิ่มขึ้นถึง 304% หรือมากกว่า 3 เท่า   นอกจากนี้ สถิติของการนำภาพลักษณ์หรือโลโก้ของธุรกิจต่าง ๆ ไปใช้ในการหลอกลวงยังเพิ่มขึ้นถึง 162% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพิ่มขึ้นสูงถึง 211%   ภาคที่ตกเป็นเป้าที่สุดมากที่สุดคือภาคบริการทางการเงิน (74%) รองลงมาคือหวย พลังงาน และภาคค้าปลีก   หากแบ่งเป็นรายภูมิภาคพบว่า การหลอกลวงในยุโรปส่วนใหญ่แพร่กระจายบนแอปสนทนา ส่วนเอเชียแปซิฟิก และตะวันออกกลางและแอฟริกา จะแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย   รายงานระบุว่าสิ่งที่ทำให้การหลอกลวงมีเพิ่มขึ้นคือการใช้ระบบอัตโนมัติและโซเชียลมีเดียที่เพิ่มขึ้น และคาดว่าก็จะเพิ่มขึ้นอีกผ่านการใช้ AI     ที่มา Infosecurity Magazine      …