ส.ส.ญี่ปุ่นเตรียมเสนอให้รัฐบาลแบน ‘ติ๊กต็อก’

Loading

  กลุ่ม ส.ส.ญี่ปุ่นจากพรรคแอลดีพี เตรียมเสนอให้รัฐบาลสั่งแบนแอปพลิเคชันยอดนิยมหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งรวมทั้ง ‘ติ๊กต็อก’ ด้วย หากพบว่ามีการใช้งานในแง่ลบ   27 มี.ค. 2566 กลุ่ม ส.ส.พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) ของญี่ปุ่น วางแผนรวบรวมข้อเสนอเพื่อยื่นต่อรัฐบาลในเดือนหน้า ให้มีมาตรการสั่งแบนแอปพลิเคชันโซเชียลเน็ตเวิร์กหลายแพลตฟอร์ม ถ้าหากพบว่ามีการนำไปใช้เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ซึ่งหนึ่งในนั้นมีแอปพลิเคชันยอดนิยมที่กำลังตกเป็นเป้าหมายของการสั่งแบนในสหรัฐอย่าง ‘ติ๊กต็อก’ รวมอยู่ด้วย   ส.ส.ของสหรัฐเ รียกร้องรัฐบาลของประธานาธิบดีพิจารณาสั่งห้ามการใช้แอปพลิเคชันติ๊กต็อกที่มีต้นตอมาจากประเทศจีน โดยกล่าวหาว่ามีการใช้แอปพลิเคชันดังกล่าวเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ใช้ รวมถึงเซ็นเซอร์เนื้อหาและเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตของเยาวชน   โนริฮิโระ นากายามะ ส.ส.พรรคแอลดีพี กล่าวว่า ถ้าหากมีการพิสูจน์ได้ว่ามีการใช้งานแอปพลิเคชันใด ๆ โดยเจตนา เพื่อผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง เพื่อเผยแพร่อิทธิพลในทางประสงค์ร้าย ก็ควรพิจารณาสั่งให้เลิกใช้แอปพลิเคชันนั้นๆ   นากายามะ กล่าวว่า หากมีความชัดเจนว่าแอปพลิเคชันจะโดนสั่งปิดได้ ถ้าทำผิดกฎเกณฑ์ ก็จะช่วยให้บริษัทผู้พัฒนาและเป็นเจ้าของแอปพลิเคชันคอยตรวจสอบการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น แอปติ๊กต็อก ซึ่งมีผู้ใช้งานชาวญี่ปุ่นเป็นจำนวนมากถึง 17 ล้านคน ก็จะเข้าถึงแอปไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยป้องกันความปลอดภัยของผู้ใช้งานได้   นากายามะ กล่าวว่าควรมีการพิจารณาจำกัดการใช้งานแอป เพิ่มเติม…

Europol ตำรวจยุโรป เตือน! มิจฉาชีพ อาจใช้ ChatGPT หลอกแฮ็ก-ดูดเงิน ประชาชน

Loading

    Europol เตือนภัย ChatGPT อาจตกเป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพ เพื่อหลอกรัก แฮ็กข้อมูล ดูดเงินประชาชน หลังฉลาดเป็นกรด จนนึกว่าคนจริง   กองกำลังตำรวจของสหภาพยุโรป หรือ Europol ออกมาเตือนเกี่ยวกับการใช้ แชตบอทที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ อย่าง ChatGPT ในทางที่ผิด เช่น หลอกคุยเพื่อแฮ็กบัญชีด้วยหน้าเว็บปลอม (ฟิชชิ่ง) การบิดเบือนข้อมูล และ ใช้ก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์   นับตั้งแต่ ChatGPT เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว เจ้าของอย่าง OpenAI ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Microsoft สร้างกระแสให้โลกด้วยความสามารถของมัน จนทำให้บริษัทด้านเทคโนโลยีใหญ่ ๆ ต่างพยายามเปิดตัวแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ไปตาม ๆ กัน   “ความสามารถของ LLM (โมเดลภาษาขนาดใหญ่) อย่าง ChatGPT กำลังได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การใช้ประโยชน์จากระบบ AI ประเภทนี้ โดยอาชญากร จึงเป็นที่น่ากังวล” ตามรายงานของ Europol  …

Elon Musk, Steve Wozniak และผู้นำเทคโนโลยี ลงนามขอให้หยุดฝึก AI ที่ทรงพลังกว่า GPT-4 เป็นเวลา 6 เดือน

Loading

  ผู้มีบทบาทด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) , อีลอน มัสก์ (Elon Musk) , Steve Wozniak (สตีฟ วอซเนียก) และผู้นำเทคโนโลยีหลายร้อยคน ร่วมกันลงนามเกี่ยวกับการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่ริเริ่มโดยสถาบันฟิวเจอร์ ออฟ ไลฟ์ (Future of Life Institute) เพื่อขอให้ห้องปฏิบัติการเอไอหยุดฝึกระบบเอไอที่ทรงพลังกว่า จีพีทีโฟร์ (GPT-4) เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน   โดยในจดหมายผนึกกล่าวไว้ว่า ระบบ AI ที่มีความฉลาดแข่งขันกับมนุษย์สามารถก่อให้เกิดภัยร้ายแรงต่อสังคมและมนุษยชาติ AI ขั้นสูงสามารถเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตบนโลกได้ เพราะเหตุนี้จึงควรได้รับการวางแผนและจัดการที่เหมาะสม   โดยการหยุดฝึก 6 เดือนนี้ เป็นการหยุดเพื่อพัฒนาและกำหนดกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ให้ AI มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น และการหยุดชั่วคราวนี้ควรเปิดเผยต่อสาธารณะและสามารถตรวจสอบได้ หากไม่สามารถประกาศใช้การหยุดชั่วคราวดังกล่าว รัฐบาลควรเข้ามาดำเนินการและควบคุมเรื่องนี้เช่นกัน   ดูจดหมายเปิดผนึกฉบับเต็มได้ที่ https://futureoflife.org/open-letter/pause-giant-ai-experiments/   ผู้ร่วมลงนามส่วนหนึ่งในจดหมายฉบับนี้   ยูวัล โนอาห์…

Twitter ใช้กระบวนการทางกฎหมาย สั่งลบโพสต์ซอร์สโค้ดที่รั่วไหลสู่โลกออนไลน์

Loading

    ทวิตเตอร์ แพลตฟอร์มที่ อีลอน มัสก์ เป็นเจ้าของ หวังใช้กระบวนการทางกฎหมาย เพื่อให้ระบุตัวคนที่ปล่อยซอร์สโค้ดออกสู่โลกออนไลน์   ทวิตเตอร์ เปิดเผยว่า ซอร์สโค้ดบางส่วนของบริษัทถูกเผยแพร่ลงสู่โลกออนไลน์ โดย อีลอน มัสก์ ในฐานะเจ้าของทวิตเตอร์ จะใช้กระบวนการทางกฎหมายเพื่อระบุตัวคนที่เปิดเผยซอร์สโค้ดที่ว่านี้   ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ได้ยื่นเรื่องต่อศาลเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกา โดยทวิตเตอร์ได้เรียกร้องให้ กิตฮับ (Github) ซึ่งเป็นบริการแบ่งปันโค้ดในโลกออนไลน์ ระบุตัวคนที่ปล่อยซอร์สโค้ดของทวิตเตอร์ลงสู่กิตฮับ   แม้ในเวลาต่อมา กิตฮับ จะได้ลบโพสต์ที่มีโค้ดดังกล่าวออกไปแล้วก็ตาม แต่ศาลได้สั่งให้กิตฮับระบุตัวผู้ที่ปล่อยซอร์สโค้ดดังกล่าว   จากประเด็นดังกล่าว ทำให้ผู้เชี่ยวชาญในวงการความมั่นคงทางไซเบอร์ มีความเป็นกังวลว่า ซอร์สโค้ดที่หลุดรั่วออกไปนั้น อาจทำให้เกิดช่องโหว่ความปลอดภัยของทวิตเตอร์ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลในเชิงพาณิชย์ที่มีความละเอียดอ่อน         อ้างอิง  The Guardian           —————————————————————————————————————————————— ที่มา :   …

เตือนภัย มิจฉาชีพเลียนแบบเพจตำรวจไซเบอร์ หลอกลวงแอดไลน์ อ้างช่วยเหลือคดี ขโมยข้อมูลส่วนตัวสร้างความเสียหายกับเหยื่อ

Loading

    โฆษก บช.สอท.เตือนภัย มิจฉาชีพเลียนแบบเพจตำรวจไซเบอร์ หลอกลวงแอดไลน์ อ้างช่วยเหลือคดี แต่กลับเอาข้อมูลส่วนตัวเหยื่อไปก่อเหตุสร้างความเสียหาย   วันนี้ (27 มี.ค.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย มิจฉาชีพปลอม หรือลอกเลียนแบบเพจเฟซบุ๊กของตำรวจไซเบอร์ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หลอกลวงประชาชน อ้างสามารถช่วยเหลือติดตามคดี แต่กลับนำข้อมูลส่วนบุคคลไปก่อเหตุสร้างความเสียหาย แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ดังนี้     ได้รับรายงานจาก กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) ว่าได้ตรวจสอบพบเพจเฟซบุ๊กปลอมชื่อ “สืบสวน สอบสวน การป้องกัน และปราบปรามการกระทำผิดทางเทคโนโลยี” ได้นำตราสัญลักษณ์ของของหน่วยงานมาใช้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการหลอกลวงประชาชน ภายในเพจดังกล่าวพบมีการคัดลอกรูปภาพ ข้อความ การเเจ้งเตือนภัยออนไลน์ต่างๆ และภารกิจของตำรวจไซเบอร์ของเพจจริงมาใช้ ทำให้ประชาชนที่พบเห็นเพจดังกล่าวเชื่อว่าเป็นเพจจริง เมื่อมีประชาชนติดต่อเข้าไปทาง Facebook Messenger มิจฉาชีพจะส่งไอดีไลน์ พร้อมลิงก์เพิ่มเพื่อนซึ่งใช้บัญชีไลน์ชื่อว่า “ศูนย์ช่วยเหลือ” โทร 1567 (แท้จริงแล้วเป็นเบอร์ของศูนย์ดำรงธรรม) แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ สามารถช่วยเหลือและติดตามคดีที่ประชาชนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ จากนั้นจะขอข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ เช่น ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด…

ฝรั่งเศสวางแผนเป็นประเทศแรกใช้ AI กับระบบกล้องวงจรปิดในโอลิมปิก 2024 ที่ปารีส!

Loading

    ณ ตอนนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์การใช้เทคโนโลยี AI กำลังมาแรงอย่างมาก โดยล่าสุดฝรั่งเศสเองก็มีแผนจะใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับระบบกล้องวงจรปิดในงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกปี 2024 ที่จะจัดขึ้นที่ปารีส   อ้างอิงจาก The Register พบว่าล่าสุดฝรั่งเศสได้ปรับใช้มาตรา 7 ของกฎหมายสำหรับกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกปี 2024 เพื่ออนุญาตให้ใช้การวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับวิดีโอจากกล้องวงจรปิดและกล้องโดรน   ตัวระบบจะใช้ในการตรวจจับเหตุการณ์ผิดปกติในที่สาธารณะ เช่น พฤติกรรมที่ผิดแผกไป เหตุการณ์ที่เหมือนมีการวางแผนเอาไว้ หรือเหตุการณ์ที่จำนวนคนล้น เป็นต้น ซึ่งหากแผนการนี้ได้รับการอนุมัติก็จะทำให้ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกในสหภาพยุโรปที่ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าว   อย่างไรก็ตามก็มีผู้ไม่เห็นด้วยกับแผนการนี้เช่นกัน โดยมีองค์กรภาคประชาสังคม 38 องค์กรที่แสดงความกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าวและได้ส่งจดหมายเปิดผนึก มีเนื้อหาว่า มาตรการสอดแนมนั้นละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และยังเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างไม่อาจยอมรับได้ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิในความเป็นส่วนตัว, อิสระในการรวมกลุ่ม และสิทธิในการไม่เลือกปฏิบัติ   “หากจุดประสงค์ของอัลกอริทึม AI ของกล้องทำเพื่อตรวจจับเหตุการณ์น่าสงสัยในพื้นที่สาธารณะ พวกเขาก็จำเป็นที่จะบันทึกภาพและวิเคราะห์ลักษณะทางสรีรวิทยาและพฤติกรรมของบุคคลในพื้นที่เหล่านี้ เช่น ตำแหน่งร่างกาย, ท่าเดิน, การเคลื่อนไหว หรือรูปลักษณ์ภายใน” เนื้อหาในจดหมายเปิดผนึกระบุ       อ้างอิง Techspot  …